สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 22
ด้วยความเคารพ อยากให้ สว ที่เกษียณได้รับเงินก้อน บำเหน็จ กบข ฯลฯ “เก็บ” ค่ะ เก็บไว้
บ้านเรานี่แหละ อดีตข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจเต็มบ้านไปหมด ไล่มาตั้งแต่ปู่ ตา พ่อ ลุง ป้า ขอยืนยันค่ะว่า “เก็บ” ค่ะ คิดอะไรไม่ออกก็สลากออมสิน หรือฝากออมทรัพย์ไปเลยยังดีกว่า
เพราะอะไรคะ? เพราะคุณมีความรู้เฉพาะทางค่ะ (ถ้าไม่ได้เคยอยู่กระทรวงคลัง / พานิช อะไรพวกนี้) ไม่ได้สันทัดเรื่องการเงินการลงทุนเลย แรกๆได้เงินก้อนมา ทุกคนล้วนฝันหวานค่ะ จะลงทุนโน่นนี่ให้เงินงอกเงย มีมรดกให้ลูกหลานเยอะๆ
ร้อยทั้งร้อย…ทุนหายกำไรหดค่ะ หนักๆหน่อยคือหายไปทั้งก้อนเลย เช่น เล่นหุ้นเงินหายไปกว่าครึ่งก้อน (อันนี้พ่อเราเอง) หรือไปโดนเพื่อนฝูงคนรู้จักหลอกให้ร่วมลงทุน สัญญาร่วมลงทุนอะไรก็ไม่สันทัด เพื่อนบริหารเจ๊ง (หรือโกงก็ไม่รู้) เงินลงทุนหายอีก หรือไปโดนหลอกให้ซื้อที่ดินทำเลเน่าๆ ถือไปอีก 20 ปีราคาจะขึ้นหรือเปล่าเถอะ หรืออยากไปลงทุนทำเกษตร ลงเงินไปเป็นแสนๆ ถมที่ ขุดบ่อ ล้อมรั้ว ลงต้นไม้ ผ่านไปหลายปีไม่เคยได้เงินจากสวน เพราะปลูกทิ้งๆขว้างๆ มันก็ไม่ออกดอกออกผลอะไรให้เก็บ (หรือออก แต่เสร็จคนเฝ้าสวนหมดก็ไม่รู้นะคะ ของแบบนี้มันต้องขยันไปดูแล นี่พอ สว จะขับรถไปดูเองไกลๆก็ไม่ไหวอีก อีกอย่างค่าจ้างคนเฝ้า + ค่า maintenance สวน + ค่าน้ำมันรถไปดูบ่อยๆ จะคุ้มกับที่ขายผลผลิตได้หรือเปล่าเถอะ?)
คนแก่บ้านเรายังดีหน่อยค่ะ ไม่มีหนี้ กับยังมีเงินกงสี (ค่าเช่าอาคาร) ให้พอเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือน กับถ้าก้อนใหญ่ๆ เช่น รักษาพยาบาลก็ยังมีลูกหลานดูแล ขืนมีแต่เบี้ยคนชรานี่คงไม่ไหว
ดังนั้น สรุปว่าไม่มั่นใจจริงๆ อย่า(พยายามไปสรรหา)ลงทุนค่ะ เก็บๆ ใช้ๆ ให้สบายใจดีกว่านะคะ
บ้านเรานี่แหละ อดีตข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจเต็มบ้านไปหมด ไล่มาตั้งแต่ปู่ ตา พ่อ ลุง ป้า ขอยืนยันค่ะว่า “เก็บ” ค่ะ คิดอะไรไม่ออกก็สลากออมสิน หรือฝากออมทรัพย์ไปเลยยังดีกว่า
เพราะอะไรคะ? เพราะคุณมีความรู้เฉพาะทางค่ะ (ถ้าไม่ได้เคยอยู่กระทรวงคลัง / พานิช อะไรพวกนี้) ไม่ได้สันทัดเรื่องการเงินการลงทุนเลย แรกๆได้เงินก้อนมา ทุกคนล้วนฝันหวานค่ะ จะลงทุนโน่นนี่ให้เงินงอกเงย มีมรดกให้ลูกหลานเยอะๆ
ร้อยทั้งร้อย…ทุนหายกำไรหดค่ะ หนักๆหน่อยคือหายไปทั้งก้อนเลย เช่น เล่นหุ้นเงินหายไปกว่าครึ่งก้อน (อันนี้พ่อเราเอง) หรือไปโดนเพื่อนฝูงคนรู้จักหลอกให้ร่วมลงทุน สัญญาร่วมลงทุนอะไรก็ไม่สันทัด เพื่อนบริหารเจ๊ง (หรือโกงก็ไม่รู้) เงินลงทุนหายอีก หรือไปโดนหลอกให้ซื้อที่ดินทำเลเน่าๆ ถือไปอีก 20 ปีราคาจะขึ้นหรือเปล่าเถอะ หรืออยากไปลงทุนทำเกษตร ลงเงินไปเป็นแสนๆ ถมที่ ขุดบ่อ ล้อมรั้ว ลงต้นไม้ ผ่านไปหลายปีไม่เคยได้เงินจากสวน เพราะปลูกทิ้งๆขว้างๆ มันก็ไม่ออกดอกออกผลอะไรให้เก็บ (หรือออก แต่เสร็จคนเฝ้าสวนหมดก็ไม่รู้นะคะ ของแบบนี้มันต้องขยันไปดูแล นี่พอ สว จะขับรถไปดูเองไกลๆก็ไม่ไหวอีก อีกอย่างค่าจ้างคนเฝ้า + ค่า maintenance สวน + ค่าน้ำมันรถไปดูบ่อยๆ จะคุ้มกับที่ขายผลผลิตได้หรือเปล่าเถอะ?)
คนแก่บ้านเรายังดีหน่อยค่ะ ไม่มีหนี้ กับยังมีเงินกงสี (ค่าเช่าอาคาร) ให้พอเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือน กับถ้าก้อนใหญ่ๆ เช่น รักษาพยาบาลก็ยังมีลูกหลานดูแล ขืนมีแต่เบี้ยคนชรานี่คงไม่ไหว
ดังนั้น สรุปว่าไม่มั่นใจจริงๆ อย่า(พยายามไปสรรหา)ลงทุนค่ะ เก็บๆ ใช้ๆ ให้สบายใจดีกว่านะคะ
ความคิดเห็นที่ 18
ตอบจากประสบการณ์จริง
1. เงินที่มีทั้งหมดเท่าไหร่ รวมเงินสด กองทุน ประกันบำนาญ หุ้น รายได้อื่นๆ ที่มี : บำนาญ เงินคืนจากประกัน ปันผลหุ้น ฯลฯ
2. รายจ่ายเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายรายเดือน เบี้ยประกันที่ยังต้องจ่าย ค่าผ่อนต่างๆ (ถ้ายังมี)
3. ในอุดมคติที่พยายามทำคือบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้มีส่วนงอกเงยมากกว่ารายจ่าย ผลลัพธ์แค่ใกล้เคียง ยังไม่ cover ทั้งหมด
4. ที่น่ากลัวสุดคือเรื่องสุขภาพเพราะเป็นเรื่อง unforseen และคาดเดาค่าใช้จ่ายไม่ได้ ถ้ายอมตื่นตีสี่ไปรับบัตรคิวที่ รพ.รามาก่อน 6 โมงเช้าได้ก็อาจจะประหยัดดี แต่ถ้าอยากสะดวกไปเอกชนก็จ่ายแพงหน่อย ประเด็นคือจ่ายเท่าไหร่ถึงจะหาย แล้วถ้าเป็นเรื้อรังแบบที่ต้องจ่ายไปเรื่อยๆ แบบนี้นรกแน่นอน
5. มีท่องเที่ยวบ้าง แต่จะทำงบไว้รายปีเลยว่าจะไม่เกินปีละเท่าไหร่
6. จะพยายามไม่ให้มีรายจ่ายที่เกิดเพราะความอยากล้วนๆ เช่น อยากได้มือถือใหม่ อยากออกรถใหม่ ฯลฯ
อย่างน้อยที่สุดให้มั่นใจว่าในวันเราจากไป เรามีเงินเหลือมากพอที่จะจัดงานศพให้ตัวเอง
1. เงินที่มีทั้งหมดเท่าไหร่ รวมเงินสด กองทุน ประกันบำนาญ หุ้น รายได้อื่นๆ ที่มี : บำนาญ เงินคืนจากประกัน ปันผลหุ้น ฯลฯ
2. รายจ่ายเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายรายเดือน เบี้ยประกันที่ยังต้องจ่าย ค่าผ่อนต่างๆ (ถ้ายังมี)
3. ในอุดมคติที่พยายามทำคือบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้มีส่วนงอกเงยมากกว่ารายจ่าย ผลลัพธ์แค่ใกล้เคียง ยังไม่ cover ทั้งหมด
4. ที่น่ากลัวสุดคือเรื่องสุขภาพเพราะเป็นเรื่อง unforseen และคาดเดาค่าใช้จ่ายไม่ได้ ถ้ายอมตื่นตีสี่ไปรับบัตรคิวที่ รพ.รามาก่อน 6 โมงเช้าได้ก็อาจจะประหยัดดี แต่ถ้าอยากสะดวกไปเอกชนก็จ่ายแพงหน่อย ประเด็นคือจ่ายเท่าไหร่ถึงจะหาย แล้วถ้าเป็นเรื้อรังแบบที่ต้องจ่ายไปเรื่อยๆ แบบนี้นรกแน่นอน
5. มีท่องเที่ยวบ้าง แต่จะทำงบไว้รายปีเลยว่าจะไม่เกินปีละเท่าไหร่
6. จะพยายามไม่ให้มีรายจ่ายที่เกิดเพราะความอยากล้วนๆ เช่น อยากได้มือถือใหม่ อยากออกรถใหม่ ฯลฯ
อย่างน้อยที่สุดให้มั่นใจว่าในวันเราจากไป เรามีเงินเหลือมากพอที่จะจัดงานศพให้ตัวเอง
ความคิดเห็นที่ 12
ที่ทำงานเก่าเป็นรัฐวิสาหกิจ เค้าจะได้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพราวๆ 5-7 ล้าน แล้วแต่ว่าจะส่งเท่าไร ลงทุนยังไง ในตอนสมัยยังทำงานอยู่ แล้วก็หุ้นสหกรณ์มูลค่ารวมราวๆ 1-3 ล้าน บวกกับเงินชดเชย 400 วัน ตาม พรบ แรงงานรัฐวิสาหกิจฯ (ประมาณ 13 เท่าของเงินเดือน)
- บางคนก็ถอนหมดเลย เอาไปโปะหนี้บ้าน หนี้รถ บลาๆๆ เพราะคนพวกนี้หนี้เยอะครับ ตอนทำงานดูรวยมากๆ จากนั้นจะมั่งคั่งได้อีกสักพัก ใช้เที่ยวต่างประเทศ เปย์นั่นนี่ เปย์หญิง ให้ลูกให้หลาน แล้วก็จะมีปัญหาการเงินในบั้นปลายชีวิต กลุ่มนี้เจอบ่อยมากครับ และมักจะเป็นกลุ่มเดียวกับพวกที่ชอบกู้เยอะๆ ตอนสมัยทำงาน พอเวลาผ่านไปไม่นานเงินหมดนี่คือหายนะเลยทีเดียว
- คนที่วางแผนทางการเงินก็จะฝากไว้ใน สหกรณ์ออมทรัพย์กินปันผล ได้ปันผลปีนึงก็ราวๆ 2-3 แสน บาท นำไปลงทุนหุ้น ลงทุนต่างๆ บ้าง แล้วแต่ตามความถนัด ของแต่ละคน กลุ่มนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาทางการเงินเท่าไร มีใช้กันยาวๆ แต่จะไม่อู้ฟู่ เหมือนช่วงที่ใกล้เกษียณ
- รัฐวิสาหกิจค่อนข้างจะดีช่วงวัยใกล้เกษียณครับ คือ ช่วงอายุงานเกิน 25 ปี เพราะฐานเงินเดือนจะสูงมาก เมื่อเทียบกับภาคราชการ หรือเอกชนทั่วไป ที่ไม่ใช่ระดับบริหาร
- แต่สิ่งที่ต้องระวังคือค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณครับ เป็นแปรหนึ่งที่ทำให้เงินหมดเร็ว เพราะ หลังพ้นสภาพการเป็นพนักงานแล้วสิทธิสวัสดิการต่างๆ แทบจะหมดไปเลย ต้องมาใช้สิทธิบัตรทองเหมือนคนทั่วไป เจอโรคเรื่ฝ้อรัง หนักๆ ร้ายแรง ปนะกันที่มีก็เอาไม่อยู่ ดังนั้น จะเห็นได้บ่อยๆ ที่พนักงานฯ หลายๆ คน จะพยายามให้ลูกเข้าทำงานที่เดียวกับพ่อแม่ หรือรับราชการ เพื่อที่จะได้สวัสดิการส่วนนี้หลังเกษียณต่อไป
- บางคนก็ถอนหมดเลย เอาไปโปะหนี้บ้าน หนี้รถ บลาๆๆ เพราะคนพวกนี้หนี้เยอะครับ ตอนทำงานดูรวยมากๆ จากนั้นจะมั่งคั่งได้อีกสักพัก ใช้เที่ยวต่างประเทศ เปย์นั่นนี่ เปย์หญิง ให้ลูกให้หลาน แล้วก็จะมีปัญหาการเงินในบั้นปลายชีวิต กลุ่มนี้เจอบ่อยมากครับ และมักจะเป็นกลุ่มเดียวกับพวกที่ชอบกู้เยอะๆ ตอนสมัยทำงาน พอเวลาผ่านไปไม่นานเงินหมดนี่คือหายนะเลยทีเดียว
- คนที่วางแผนทางการเงินก็จะฝากไว้ใน สหกรณ์ออมทรัพย์กินปันผล ได้ปันผลปีนึงก็ราวๆ 2-3 แสน บาท นำไปลงทุนหุ้น ลงทุนต่างๆ บ้าง แล้วแต่ตามความถนัด ของแต่ละคน กลุ่มนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาทางการเงินเท่าไร มีใช้กันยาวๆ แต่จะไม่อู้ฟู่ เหมือนช่วงที่ใกล้เกษียณ
- รัฐวิสาหกิจค่อนข้างจะดีช่วงวัยใกล้เกษียณครับ คือ ช่วงอายุงานเกิน 25 ปี เพราะฐานเงินเดือนจะสูงมาก เมื่อเทียบกับภาคราชการ หรือเอกชนทั่วไป ที่ไม่ใช่ระดับบริหาร
- แต่สิ่งที่ต้องระวังคือค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณครับ เป็นแปรหนึ่งที่ทำให้เงินหมดเร็ว เพราะ หลังพ้นสภาพการเป็นพนักงานแล้วสิทธิสวัสดิการต่างๆ แทบจะหมดไปเลย ต้องมาใช้สิทธิบัตรทองเหมือนคนทั่วไป เจอโรคเรื่ฝ้อรัง หนักๆ ร้ายแรง ปนะกันที่มีก็เอาไม่อยู่ ดังนั้น จะเห็นได้บ่อยๆ ที่พนักงานฯ หลายๆ คน จะพยายามให้ลูกเข้าทำงานที่เดียวกับพ่อแม่ หรือรับราชการ เพื่อที่จะได้สวัสดิการส่วนนี้หลังเกษียณต่อไป
แสดงความคิดเห็น
คนที่ทำงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่เวลาเกษียณไปเขาเอาเงินบำเหน็จไปทำอะไรกันบ้าง?