คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 29
ศปก. ศบค. เห็นชอบให้ ศธ.ใช้อาคารสถานที่ของสถานศึกษาในการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียน
ระดับประถมศึกษาปีที่ 1
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และปีที่ 4
ขอให้ปฏิบัติตามมาตรการ ศบค. กำหนดรวมทั้งมาตรการของจังหวัดในพื้นที่
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/324237519194579
มาตรการจัดห้องจับฉลากและห้องสอบคัดเลือกนักเรียน เข้าเรียน
ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และปีที่ 4
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/324243759193955
ขอความร่วมมือ ผู้กักตัวแบบ Home Quarantine อยู่ในการติดตามดูแลของเจ้าหน้าที่สำนักอนามัย กทม. อย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยจำกัดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/324252185859779
Walk in ฉีดวัคซีน เริ่มพร้อมกัน มิ.ย. 64 หากมีวัคซีนเพียงพอ ย้ำ! ลงทะเบียน "หมอพร้อม" แน่นอนที่สุด
นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมจุดให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 นอก รพ. วันนี้ ถึงกรณีการเปิดให้บริการฉีดวัคซีนแบบ Walk in ว่าได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข และ กทม. เร่งจัดทำแนวทางที่ชัดเจนเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน เนื่องจากเป็นการเตรียมการในช่วงเดือน มิ.ย. 64 หากมีวัคซีนเพียงพอ
พร้อมย้ำว่า หากประชาชนลงทะเบียนผ่านระบบ “หมอพร้อม” ก็จะได้รับการฉีดวัคซีนแน่นอนที่สุด เนื่องจากเป็นการจองคิวที่มีการระบุวัน เวลา และสถานที่อย่างชัดเจน
และขณะนี้ กทม. ได้มีการเพิ่มจำนวนสถานบริการฉีดวัคซีนนอก รพ. เป็น 25 จุดแล้ว เพื่อเร่งปูพรมฉีดวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/1173559653109839
หนุน Walk in ฉีดวัคซีนโควิด มิ.ย. 64 พร้อมเปิดแผนรองรับปี 2565
การปูพรมฉีดวัคซีนโควิด-19 ในช่วงเดือน มิ.ย. 64 เป็นต้นไป จะทำให้ประชาชนจำนวนมากได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกได้อย่างกว้างขวางครอบคลุมทั่วประเทศ
สำหรับการแบ่งสัดส่วนการฉีดวัคซีนนั้น เบื้องต้นจะใช้สูตร 30 : 50 : 20 ทั้งนี้ สูตรดังกล่าว สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เช่น มี 1,000 โดส อาจเป็นตามนัดจากแอปพลิเคชัน 30% จาก รพ. 50% และการ Walk in 20% เป็นต้น
โดยตั้งเป้าให้แต่ละจังหวัดจะต้องฉีดวัคซีนให้ได้ครอบคลุมร้อยละ 70 ของประชากรในพื้นที่
นอกจากนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการวัคซีนในระยะต่อไป เกิดเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติได้เห็นชอบแนวทางการจัดหาวัคซีนโควิด-19 สำหรับปี 2565 ประกอบด้วย
- เร่งเจรจากับผู้ผลิตที่มีการพัฒนาวัคซีนรุ่นที่ 2 ที่สามารถครอบคลุมไวรัสกลายพันธุ์ ส่งมอบได้ภายในไตรมาส 1 ของปี 2565
- เร่งรัดการแสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยแพลตฟอร์มใหม่
- สนับสนุนการวิจัยพัฒนาวัคซีนแบบรองรับการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส แนวทางการขึ้นทะเบียนวัคซีนที่วิจัยพัฒนาในประเทศ
- แสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศในการทดสอบวัคซีนในมนุษย์ระยะที่ 3
สำหรับแนวทางดังกล่าว จะทำให้ประเทศไทยมีทางเลือกวัคซีนรุ่นใหม่ ยี่ห้อใหม่ ที่ครอบคลุมสายพันธุ์เพิ่มเติมให้มากที่สุด โดยจะรายงาน ศบค.รับทราบต่อไป
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/1173532673112537
ทะลุ 2.4 ล้านรายแล้ว สำหรับยอดจองวัคซีนป้องกันโควิด-19
โดยประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนได้ที่ LINE Official Account "หมอพร้อม" https://moph.cc/7-kcKlfGF
หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน "หมอพร้อม" ได้ที่
iOS : https://moph.cc/b-rMEjDnT
Andriod : https://moph.cc/0e9oyPCdM
สำหรับประชาชนทั่วไป ขอให้อดใจรอสักนิดนะครับ
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/1173335229798948
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เข้าใจง่าย ๆ เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19
โดย 6 หมอ 3 โรงเรียนแพทย์ (ศิริราช จุฬาฯ รามาฯ)
------------------
1. เขาว่าฉีดแล้วตาย?
ในประเทศไทยมี 1.7 ล้านคน ที่ฉีดวัคซีนแล้วยังไม่มีคนตาย แต่มีคนตายจากโควิดทุกวัน
2. ฉีด ไม่ฉีด หรือรอ?
ฉีดเลย ฉีดแล้วโอกาสติดลดลงครึ่งหนึ่งทันที และช่วยป้องกันคนในครอบครัว โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีน
3. วัคซีนยี่ห้อไหนดีกว่ากัน?
ทุกยี่ห้อประสิทธิภาพในภาพรวมไม่ต่างกัน ที่ต้องมีหลายยี่ห้อไม่ใช่เพื่อแข่งขัน แต่เพื่อจะได้ช่วยกันระดมฉีดที่มีให้ครอบคลุมประชากรมากที่สุด อิสราเอล อเมริกา อังกฤษ จีน ใช้วัคซีนต่างชนิดกัน แต่กลับสู่ภาวะปกติได้เหมือนกัน (ฝรั่งเศสใช้ตัวเดียวกับอังกฤษ แต่ขณะนี้ยังมีวิกฤติ เพราะฉีดได้น้อย)
4. ป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้?
ได้ ไวรัสกลายพันธุ์บางตัวทำให้ประสิทธิภาพลดลง แต่ลดลงแปลว่ายังมีประสิทธิภาพอยู่
5. เข็ม 1 กับเข็ม 2 คนละยี่ห้อ?
ทำได้ แต่ไม่แนะนำ ยกเว้นกรณีหมอเห็นว่าจำเป็น ตอนนี้เมื่อฉีดเข็มแรกระบบจะจองเวลา/สถานที่สำหรับฉีดเข็ม 2 ให้ทันที ยิ่งเปลี่ยนจะยิ่งช้า
6. โอกาสเกิดคลัสเตอร์ใหม่?
สถานการณ์ตอนนี้เป็นสัญญาณเตือนว่าการระบาดเกิดได้ทุกชุมชน ถ้าไม่อยากเป็นคลัสเตอร์ใหม่ ต้องรีบฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุด
7. เมื่อใดจะกลับสู่ภาวะปกติ?
ยิ่งฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมมาก ยิ่งกลับสู่ภาวะปกติได้เร็ว เราต้องฉีด 100 ล้านโดส ถ้าได้วันละ 3 แสน ต้องใช้เวลา 10 เดือน ถ้าจะปลดล็อกภายในสิ้นปีต้องร่วมมือกันฉีดให้เร็วกว่านั้น
8. หมอพร้อมแค่ไหน?
หมอพร้อมแล้ว มิถุนายนนี้ ถ้าวัคซีนพร้อม คนรับวัคซีนพร้อม ฉีดได้ทันที
9. ผลข้างเคียง อาการเป็นอย่างไร?
ผลข้างเคียงที่เป็นอาการแพ้จริง ๆ มีเพียง 1 ในแสนส่วน ไข้ต่ำ ปวด บวม แดง ร้อน มีรายงานไม่ถึง 10% มีไข้ เป็นอาการปกติ แสดงว่าร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อวัคซีน อายุน้อย/เพศหญิงเป็นมากกว่า
10. ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันจริงไหม?
การฉีดไม่ได้เพิ่มปรากฏการณ์การเกิดลิ่มเลือดทั่วไป แต่เป็นลิ่มเลือดอุดตันชนิดพิเศษ พบน้อยมาก ยังไม่พบในคนไทย และรักษาได้ แต่ถ้าติดโควิดมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันมีมากกว่า
11. มีอาการชาครึ่งตัวหลังฉีดจริงไหม?
อาการชา หรืออ่อนแรงครึ่งตัวเกิดได้ เป็นอาการชั่วคราว อาจเกิดจากร่างกายไม่พร้อม อ่อนเพลีย หรือกลัว หายเป็นปกติได้ใน 1-3 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์
12. ต่างวัย ผลข้างเคียงต่างไหม?
ต่าง อายุน้อย/เพศหญิงพบอาการมากกว่า กรณีผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว ไม่ได้ทำให้มีผลข้างเคียงมากขึ้น แต่ถ้าติด อาการจะรุนแรง ดังนั้น ต้องรีบมาฉีด
13. วัคซีนต่างยี่ห้อ ผลข้างเคียงต่างกันไหม?
ต่าง แอสตราเซเนกาเป็นวัคซีน "เชื้อเป็น" ทำให้มีไข้ ปวดเมื่อย แต่มีประสิทธิภาพสูงตั้งแต่เข็มแรก ซิโนแวคเป็นวัคซีน "เชื้อตาย" ผลข้างเคียงน้อย แต่ต้องฉีดครบ 2 เข็ม จึงจะมีภูมิคุ้มกันเต็มที่
14. กรณีพบอาการข้างเคียงหลังฉีด?
ณ จุดฉีดวัคซีนทุกจุดจะมี จนท. และอุปกรณ์พร้อมดูแลตามมาตรฐาน หลังฉีดจะต้องอยู่ดูอาการ 30 นาที ถ้ามีอาการข้างเคียงสามารถแก้ไข และส่งต่อได้ทันที
15. ทำไมให้คนแก่ฉีดซิโนแวค?
ก่อนหน้านี้ จริง ๆ ไม่ได้มีข้อห้าม แต่เพราะตอนหลังนี้มีผลการศึกษาเพิ่มขึ้น ที่ยืนยันว่าปลอดภัย ทีมหมอจึงเสนอให้ปลดล็อกเรื่องอายุ มีตัวไหน จะได้ฉีดตัวนั้นก่อน แต่ไม่ได้บังคับ
16. ใครบ้างที่ยังไม่ควรฉีด
1) กำลังเจ็บป่วย 2) มีโรคประจำตัวอาการหนัก เช่น โรคหัวใจ ที่มีภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะอยู่ ต้องให้แพทย์ประจำตัวประเมิน 3) หญิงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก (น้อยกว่า 12 สัปดาห์)
------------------
ที่มา:
16 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19
จากหมอศิริราช-จุฬาฯ-รามาฯ
(ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ รศ.นพ.วิชัย รัตนสุวรรณ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ รศ.พญ.ธันยวีร์ ภูธนกิจ ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม ศ.นพ.พันธุ์เทพ อังชัยสุขศิริ)
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/544281110290549
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รัฐบาลมีเป้าหมายให้คนไทยทุกคนได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างรวดเร็ว
เดือน พ.ค.นี้ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้ฉีดเกือบครบทุกคนแล้ว เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้บุคลากรด่านหน้า
รวมทั้งยังได้เร่งระดมฉีดให้กลุ่มเฉพาะกิจในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดสูง เช่น สมุทรสาคร ชุมชนคลองเตย เพื่อจำกัดวงแพร่ระบาด
ตั้งเป้าเดือน มิ.ย. นี้ จะเร่งเครื่องปูพรมระดมฉีดวัคซีนเข็มแรกให้กลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือกลุ่มผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง และจากนั้นจะเร่งฉีดให้ประชาชนทั่วไปทันที
ปัจจุบัน มีศูนย์ฉีดวัคซีนเอกชนแล้ว 14 ศูนย์ ที่พร้อมให้บริการ และจะเพิ่มเป็น 25 ศูนย์ในเร็ว ๆ นี้ และจะขยายโมเดลนี้ไปจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป
รัฐบาลยืนยันจะจัดหาวัคซีนให้เพียงพอและทั่วถึงคนไทยทุกคน รวมทั้งชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในไทย โดยจะจัดหาเพิ่มจาก 100 ล้านโดส เป็น 150 ล้านโดส ซึ่ง 100 ล้านโดสแรก รัฐบาลได้เจรจากับผู้ผลิตแล้ว โดยวัคซีนล็อตใหญ่ของแอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตในประเทศไทยจะส่งมอบได้สิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ ส่วนของผู้ผลิตรายอื่นๆ อยู่ในระหว่างการเจรจา
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/543970850321575
ศปก. ศบค. เห็นชอบให้ ศธ.ใช้อาคารสถานที่ของสถานศึกษาในการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียน
ระดับประถมศึกษาปีที่ 1
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และปีที่ 4
ขอให้ปฏิบัติตามมาตรการ ศบค. กำหนดรวมทั้งมาตรการของจังหวัดในพื้นที่
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/324237519194579
มาตรการจัดห้องจับฉลากและห้องสอบคัดเลือกนักเรียน เข้าเรียน
ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และปีที่ 4
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/324243759193955
ขอความร่วมมือ ผู้กักตัวแบบ Home Quarantine อยู่ในการติดตามดูแลของเจ้าหน้าที่สำนักอนามัย กทม. อย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยจำกัดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/324252185859779
Walk in ฉีดวัคซีน เริ่มพร้อมกัน มิ.ย. 64 หากมีวัคซีนเพียงพอ ย้ำ! ลงทะเบียน "หมอพร้อม" แน่นอนที่สุด
นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมจุดให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 นอก รพ. วันนี้ ถึงกรณีการเปิดให้บริการฉีดวัคซีนแบบ Walk in ว่าได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข และ กทม. เร่งจัดทำแนวทางที่ชัดเจนเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน เนื่องจากเป็นการเตรียมการในช่วงเดือน มิ.ย. 64 หากมีวัคซีนเพียงพอ
พร้อมย้ำว่า หากประชาชนลงทะเบียนผ่านระบบ “หมอพร้อม” ก็จะได้รับการฉีดวัคซีนแน่นอนที่สุด เนื่องจากเป็นการจองคิวที่มีการระบุวัน เวลา และสถานที่อย่างชัดเจน
และขณะนี้ กทม. ได้มีการเพิ่มจำนวนสถานบริการฉีดวัคซีนนอก รพ. เป็น 25 จุดแล้ว เพื่อเร่งปูพรมฉีดวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/1173559653109839
หนุน Walk in ฉีดวัคซีนโควิด มิ.ย. 64 พร้อมเปิดแผนรองรับปี 2565
การปูพรมฉีดวัคซีนโควิด-19 ในช่วงเดือน มิ.ย. 64 เป็นต้นไป จะทำให้ประชาชนจำนวนมากได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกได้อย่างกว้างขวางครอบคลุมทั่วประเทศ
สำหรับการแบ่งสัดส่วนการฉีดวัคซีนนั้น เบื้องต้นจะใช้สูตร 30 : 50 : 20 ทั้งนี้ สูตรดังกล่าว สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เช่น มี 1,000 โดส อาจเป็นตามนัดจากแอปพลิเคชัน 30% จาก รพ. 50% และการ Walk in 20% เป็นต้น
โดยตั้งเป้าให้แต่ละจังหวัดจะต้องฉีดวัคซีนให้ได้ครอบคลุมร้อยละ 70 ของประชากรในพื้นที่
นอกจากนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการวัคซีนในระยะต่อไป เกิดเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติได้เห็นชอบแนวทางการจัดหาวัคซีนโควิด-19 สำหรับปี 2565 ประกอบด้วย
- เร่งเจรจากับผู้ผลิตที่มีการพัฒนาวัคซีนรุ่นที่ 2 ที่สามารถครอบคลุมไวรัสกลายพันธุ์ ส่งมอบได้ภายในไตรมาส 1 ของปี 2565
- เร่งรัดการแสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยแพลตฟอร์มใหม่
- สนับสนุนการวิจัยพัฒนาวัคซีนแบบรองรับการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส แนวทางการขึ้นทะเบียนวัคซีนที่วิจัยพัฒนาในประเทศ
- แสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศในการทดสอบวัคซีนในมนุษย์ระยะที่ 3
สำหรับแนวทางดังกล่าว จะทำให้ประเทศไทยมีทางเลือกวัคซีนรุ่นใหม่ ยี่ห้อใหม่ ที่ครอบคลุมสายพันธุ์เพิ่มเติมให้มากที่สุด โดยจะรายงาน ศบค.รับทราบต่อไป
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/1173532673112537
ทะลุ 2.4 ล้านรายแล้ว สำหรับยอดจองวัคซีนป้องกันโควิด-19
โดยประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนได้ที่ LINE Official Account "หมอพร้อม" https://moph.cc/7-kcKlfGF
หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน "หมอพร้อม" ได้ที่
iOS : https://moph.cc/b-rMEjDnT
Andriod : https://moph.cc/0e9oyPCdM
สำหรับประชาชนทั่วไป ขอให้อดใจรอสักนิดนะครับ
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/1173335229798948
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เข้าใจง่าย ๆ เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19
โดย 6 หมอ 3 โรงเรียนแพทย์ (ศิริราช จุฬาฯ รามาฯ)
------------------
1. เขาว่าฉีดแล้วตาย?
ในประเทศไทยมี 1.7 ล้านคน ที่ฉีดวัคซีนแล้วยังไม่มีคนตาย แต่มีคนตายจากโควิดทุกวัน
2. ฉีด ไม่ฉีด หรือรอ?
ฉีดเลย ฉีดแล้วโอกาสติดลดลงครึ่งหนึ่งทันที และช่วยป้องกันคนในครอบครัว โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีน
3. วัคซีนยี่ห้อไหนดีกว่ากัน?
ทุกยี่ห้อประสิทธิภาพในภาพรวมไม่ต่างกัน ที่ต้องมีหลายยี่ห้อไม่ใช่เพื่อแข่งขัน แต่เพื่อจะได้ช่วยกันระดมฉีดที่มีให้ครอบคลุมประชากรมากที่สุด อิสราเอล อเมริกา อังกฤษ จีน ใช้วัคซีนต่างชนิดกัน แต่กลับสู่ภาวะปกติได้เหมือนกัน (ฝรั่งเศสใช้ตัวเดียวกับอังกฤษ แต่ขณะนี้ยังมีวิกฤติ เพราะฉีดได้น้อย)
4. ป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้?
ได้ ไวรัสกลายพันธุ์บางตัวทำให้ประสิทธิภาพลดลง แต่ลดลงแปลว่ายังมีประสิทธิภาพอยู่
5. เข็ม 1 กับเข็ม 2 คนละยี่ห้อ?
ทำได้ แต่ไม่แนะนำ ยกเว้นกรณีหมอเห็นว่าจำเป็น ตอนนี้เมื่อฉีดเข็มแรกระบบจะจองเวลา/สถานที่สำหรับฉีดเข็ม 2 ให้ทันที ยิ่งเปลี่ยนจะยิ่งช้า
6. โอกาสเกิดคลัสเตอร์ใหม่?
สถานการณ์ตอนนี้เป็นสัญญาณเตือนว่าการระบาดเกิดได้ทุกชุมชน ถ้าไม่อยากเป็นคลัสเตอร์ใหม่ ต้องรีบฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุด
7. เมื่อใดจะกลับสู่ภาวะปกติ?
ยิ่งฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมมาก ยิ่งกลับสู่ภาวะปกติได้เร็ว เราต้องฉีด 100 ล้านโดส ถ้าได้วันละ 3 แสน ต้องใช้เวลา 10 เดือน ถ้าจะปลดล็อกภายในสิ้นปีต้องร่วมมือกันฉีดให้เร็วกว่านั้น
8. หมอพร้อมแค่ไหน?
หมอพร้อมแล้ว มิถุนายนนี้ ถ้าวัคซีนพร้อม คนรับวัคซีนพร้อม ฉีดได้ทันที
9. ผลข้างเคียง อาการเป็นอย่างไร?
ผลข้างเคียงที่เป็นอาการแพ้จริง ๆ มีเพียง 1 ในแสนส่วน ไข้ต่ำ ปวด บวม แดง ร้อน มีรายงานไม่ถึง 10% มีไข้ เป็นอาการปกติ แสดงว่าร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อวัคซีน อายุน้อย/เพศหญิงเป็นมากกว่า
10. ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันจริงไหม?
การฉีดไม่ได้เพิ่มปรากฏการณ์การเกิดลิ่มเลือดทั่วไป แต่เป็นลิ่มเลือดอุดตันชนิดพิเศษ พบน้อยมาก ยังไม่พบในคนไทย และรักษาได้ แต่ถ้าติดโควิดมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันมีมากกว่า
11. มีอาการชาครึ่งตัวหลังฉีดจริงไหม?
อาการชา หรืออ่อนแรงครึ่งตัวเกิดได้ เป็นอาการชั่วคราว อาจเกิดจากร่างกายไม่พร้อม อ่อนเพลีย หรือกลัว หายเป็นปกติได้ใน 1-3 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์
12. ต่างวัย ผลข้างเคียงต่างไหม?
ต่าง อายุน้อย/เพศหญิงพบอาการมากกว่า กรณีผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว ไม่ได้ทำให้มีผลข้างเคียงมากขึ้น แต่ถ้าติด อาการจะรุนแรง ดังนั้น ต้องรีบมาฉีด
13. วัคซีนต่างยี่ห้อ ผลข้างเคียงต่างกันไหม?
ต่าง แอสตราเซเนกาเป็นวัคซีน "เชื้อเป็น" ทำให้มีไข้ ปวดเมื่อย แต่มีประสิทธิภาพสูงตั้งแต่เข็มแรก ซิโนแวคเป็นวัคซีน "เชื้อตาย" ผลข้างเคียงน้อย แต่ต้องฉีดครบ 2 เข็ม จึงจะมีภูมิคุ้มกันเต็มที่
14. กรณีพบอาการข้างเคียงหลังฉีด?
ณ จุดฉีดวัคซีนทุกจุดจะมี จนท. และอุปกรณ์พร้อมดูแลตามมาตรฐาน หลังฉีดจะต้องอยู่ดูอาการ 30 นาที ถ้ามีอาการข้างเคียงสามารถแก้ไข และส่งต่อได้ทันที
15. ทำไมให้คนแก่ฉีดซิโนแวค?
ก่อนหน้านี้ จริง ๆ ไม่ได้มีข้อห้าม แต่เพราะตอนหลังนี้มีผลการศึกษาเพิ่มขึ้น ที่ยืนยันว่าปลอดภัย ทีมหมอจึงเสนอให้ปลดล็อกเรื่องอายุ มีตัวไหน จะได้ฉีดตัวนั้นก่อน แต่ไม่ได้บังคับ
16. ใครบ้างที่ยังไม่ควรฉีด
1) กำลังเจ็บป่วย 2) มีโรคประจำตัวอาการหนัก เช่น โรคหัวใจ ที่มีภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะอยู่ ต้องให้แพทย์ประจำตัวประเมิน 3) หญิงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก (น้อยกว่า 12 สัปดาห์)
------------------
ที่มา:
16 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19
จากหมอศิริราช-จุฬาฯ-รามาฯ
(ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ รศ.นพ.วิชัย รัตนสุวรรณ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ รศ.พญ.ธันยวีร์ ภูธนกิจ ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม ศ.นพ.พันธุ์เทพ อังชัยสุขศิริ)
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/544281110290549
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รัฐบาลมีเป้าหมายให้คนไทยทุกคนได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างรวดเร็ว
เดือน พ.ค.นี้ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้ฉีดเกือบครบทุกคนแล้ว เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้บุคลากรด่านหน้า
รวมทั้งยังได้เร่งระดมฉีดให้กลุ่มเฉพาะกิจในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดสูง เช่น สมุทรสาคร ชุมชนคลองเตย เพื่อจำกัดวงแพร่ระบาด
ตั้งเป้าเดือน มิ.ย. นี้ จะเร่งเครื่องปูพรมระดมฉีดวัคซีนเข็มแรกให้กลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือกลุ่มผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง และจากนั้นจะเร่งฉีดให้ประชาชนทั่วไปทันที
ปัจจุบัน มีศูนย์ฉีดวัคซีนเอกชนแล้ว 14 ศูนย์ ที่พร้อมให้บริการ และจะเพิ่มเป็น 25 ศูนย์ในเร็ว ๆ นี้ และจะขยายโมเดลนี้ไปจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป
รัฐบาลยืนยันจะจัดหาวัคซีนให้เพียงพอและทั่วถึงคนไทยทุกคน รวมทั้งชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในไทย โดยจะจัดหาเพิ่มจาก 100 ล้านโดส เป็น 150 ล้านโดส ซึ่ง 100 ล้านโดสแรก รัฐบาลได้เจรจากับผู้ผลิตแล้ว โดยวัคซีนล็อตใหญ่ของแอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตในประเทศไทยจะส่งมอบได้สิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ ส่วนของผู้ผลิตรายอื่นๆ อยู่ในระหว่างการเจรจา
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/543970850321575
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭มาลาริน/13 พ.ค.เสียชีวิต 34 คน ติดเชื้อใหม่ 2,052 คน คลัสเตอร์เรือนจำ 2,835คน รวมป่วย 4,887คน/สธ.ใช้แผนคุมโควิดในคุก
จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ติดเชื้อใหม่ 2,052 ราย คลัสเตอร์เรือนจำ 2,835 ราย รวมป่วย 4,887 ราย สะสม 93,794 ราย เสียชีวิต 32 คน สะสมนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดรวม 518 คน
วันนี้ (13 พ.ค.) เมื่อเวลา 07.30 น. ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมของประเทศไทย ประจำวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 ดังนี้.....🖍
พบจํานวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่มขึ้น 2,052 ราย จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม 93,794 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 32 คน ยอดสะสม 518 คน
https://mgronline.com/qol/detail/9640000045869
https://www.sanook.com/news/8380606/
สธ.ใช้แผน"Factory Quarantine "คุมโควิดในคุก รักษาอาการตามสี มั่นใจไม่แพร่สู่ภายนอก
13 พ.ค.64 - นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการติดเชื้อในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร และทัณฑสถานหญิงกลาง 2,835 ราย ว่า เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่น่าเสียใจ แต่พื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ปิด จึงมั่นใจว่าสามารถดูแลควบคุมโรคได้ ซึ่งกรมควบคุมโรคได้ประสานงานไปยังกรมราชทัณฑ์ จะใช้แนวทางควบคุมโรคเช่นเดียวกับกรณี
สมุทรสาคร คือ Factory Quarantine ให้ผู้ที่ติดเชื้อทั้งหมดอยู่ในสถานที่มิดชิด ไม่มีโอกาสแพร่เชื้อสู่ภายนอก รวมถึงคัดแยกระดับอาการผู้ป่วย ให้ยาตามสีของระดับอาการ โดยกลุ่มที่ไม่มีอาการรักษาประมาณ 14 วัน กลุ่มที่มีอาการปานกลางจะมีโรงพยาบาลราชทัณฑ์ดูแล ซึ่งมีการเตรียมพร้อมตั้งแต่ปี 2563 และหากมีอาการหนักสีเหลืองเข้มหรือแดง ทางกระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้รับช่วงนำผู้ต้องขังมารับการรักษาตามสิทธิที่มี
https://www.thaipost.net/main/detail/102820
สธ.มีแผนรักษาคนป่วยในเรือนจำ สามารถควบคุมได้ไม่แพร่ออกมาข้างนอก
ส่วนคนที่นำเข้าไปในเรือนจำ ก็ต้องระมัดระวังด้วยค่ะ
เห็นว่าเรือนจำมีการกักตัวคนเข้าไปใหม่ด้วย อย่างกรณีแกนนำม็อบสามนิ้วที่เคยมีปัญหา
เดือนหน้าจะฉีดวัคซีนแล้ว สู้ๆค่ะ...
แก้ไขที่หัวกระทู้ไม่ได้ค่ะ มาแก้ไว้ที่ท้ายกระทู้...
🇹🇭มาลาริน/13 พ.ค.เสียชีวิต 32 คน ติดเชื้อใหม่ 2,052 คน คลัสเตอร์เรือนจำ 2,835คน รวมป่วย 4,887คน/สธ.ใช้แผนคุมโควิดในคุก