อรรถกถานวกนิทเทส
ว่าด้วยอนุปุพพวิหารธรรม ๙
คำว่า นว อนุปุพฺพวิหารา - อนุปุพพวิหาร ๙ มีความว่า ภายหลังแห่งธรรมมีในก่อนๆ ชื่อว่าอนุปุพพะ - ตามลำดับ, วิหาระ - ธรรมเป็นเครื่องอยู่ตามลำดับ ชื่อว่าอนุปุพพวิหาระ เพราะเป็นธรรมอันพระโยคีบุคคลพึงอยู่คือพึงเข้าอยู่ตามลำดับ.
อธิบายว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่อันพระโยคีบุคคลพึงเข้าอยู่ตามลำดับ.
อนุปุพพวิหารธรรม ๙ เป็นไฉน?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๑-
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เข้าปฐมฌาน สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย มีวิตกวิจาร
มีปีติสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
๒. ภิกษุ เพราะระงับวิตกวิจารเสียได้ ก็เข้า
ทุติยฌาน อันเป็นความผ่องใสแห่งใจในภายใน มี
อารมณ์เป็นเอโกทิภาพ - ความที่จิตมีอารมณ์เดียว
ไม่มีวิตกวิจาร มีปีติสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่.
๓. ภิกษุเข้าตติยฌานอันปราศจากปีติอยู่
ด้วยอุเบกขา, สติ, สัมปชัญญะเสวยสุขทางกายซึ่ง
พระอริยะทั้งหลายเรียกว่า เป็นผู้มีอุเบกขา, มีสติ,
มีธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขดังนี้.
๔. ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์ดับโสมนัส
โทมนัสในก่อนเสียได้ จึงเข้าจตุตถฌานอันไม่มี
ทุกข์และสุข บริสุทธิด้วยอุเบกขาและสติอยู่.
๕. ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆ-
สัญญา ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาได้โดยประการทั้ง
ปวง จึงเข้าอากาสานัญจายตนะด้วยบริกรรมว่า
อนนฺโต อากาโส - อากาสไม่มีที่สุดอยู่.
๖. ภิกษุ ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะเสียได้
โดยประการทั้งปวง จึงเข้าวิญญาณัญจายตนะด้วย
บริกรรมว่า อนนฺตํ วิญฺญาณํ - วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่.
๗. ภิกษุ ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียได้
โดยประการทั้งปวง จึงเข้าอากิญจัญญายตนะด้วย
บริกรรมว่า นตฺถิ กิญฺจิ - นิดหนึ่งหน่อยหนึ่งไม่มีอยู่.
๘. ภิกษุ ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะเสียได้
โดยประการทั้งปวง จึงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
อยู่
๙. ภิกษุ ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
เสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
อยู่๑- ดังนี้.
____________________________
๑- องฺ. นวก. เล่ม ๒๓/ข้อ ๒๓๗
---------------------------
ที่มา
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=2&p=2
อนุปุพพวิหารธรรม ๙
ว่าด้วยอนุปุพพวิหารธรรม ๙
คำว่า นว อนุปุพฺพวิหารา - อนุปุพพวิหาร ๙ มีความว่า ภายหลังแห่งธรรมมีในก่อนๆ ชื่อว่าอนุปุพพะ - ตามลำดับ, วิหาระ - ธรรมเป็นเครื่องอยู่ตามลำดับ ชื่อว่าอนุปุพพวิหาระ เพราะเป็นธรรมอันพระโยคีบุคคลพึงอยู่คือพึงเข้าอยู่ตามลำดับ.
อธิบายว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่อันพระโยคีบุคคลพึงเข้าอยู่ตามลำดับ.
อนุปุพพวิหารธรรม ๙ เป็นไฉน?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๑-
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เข้าปฐมฌาน สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย มีวิตกวิจาร
มีปีติสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
๒. ภิกษุ เพราะระงับวิตกวิจารเสียได้ ก็เข้า
ทุติยฌาน อันเป็นความผ่องใสแห่งใจในภายใน มี
อารมณ์เป็นเอโกทิภาพ - ความที่จิตมีอารมณ์เดียว
ไม่มีวิตกวิจาร มีปีติสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่.
๓. ภิกษุเข้าตติยฌานอันปราศจากปีติอยู่
ด้วยอุเบกขา, สติ, สัมปชัญญะเสวยสุขทางกายซึ่ง
พระอริยะทั้งหลายเรียกว่า เป็นผู้มีอุเบกขา, มีสติ,
มีธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขดังนี้.
๔. ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์ดับโสมนัส
โทมนัสในก่อนเสียได้ จึงเข้าจตุตถฌานอันไม่มี
ทุกข์และสุข บริสุทธิด้วยอุเบกขาและสติอยู่.
๕. ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆ-
สัญญา ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาได้โดยประการทั้ง
ปวง จึงเข้าอากาสานัญจายตนะด้วยบริกรรมว่า
อนนฺโต อากาโส - อากาสไม่มีที่สุดอยู่.
๖. ภิกษุ ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะเสียได้
โดยประการทั้งปวง จึงเข้าวิญญาณัญจายตนะด้วย
บริกรรมว่า อนนฺตํ วิญฺญาณํ - วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่.
๗. ภิกษุ ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียได้
โดยประการทั้งปวง จึงเข้าอากิญจัญญายตนะด้วย
บริกรรมว่า นตฺถิ กิญฺจิ - นิดหนึ่งหน่อยหนึ่งไม่มีอยู่.
๘. ภิกษุ ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะเสียได้
โดยประการทั้งปวง จึงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
อยู่
๙. ภิกษุ ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
เสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
อยู่๑- ดังนี้.
____________________________
๑- องฺ. นวก. เล่ม ๒๓/ข้อ ๒๓๗
---------------------------
ที่มา https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=2&p=2