ผู้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป ควรได้รับการตรวจตาอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะผู้สูงอายุแม้ว่าจะไม่มีโรคประจำตัวใดๆ ก็มีโอกาสที่จะเกิดโรค "ศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมจากอายุ" ได้
โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติบริเวณจุดศูนย์กลางการรับภาพของจอประสาทตาทำให้สูญเสียการมองเห็น เฉพาะภาพตรงกลาง โดยที่ภาพด้านข้างของการมองเห็นยังดีอยู่ พบมากในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งโรคนี้เป็นภาวะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จะทำให้การมองเห็นลดลงจนอาจทำให้ตาบอดได้อย่างรวดเร็วภายใน 2 ปี หากไม่ได้รับการรักษา และหากพบว่าเป็นโรคนี้ในตาข้างหนึ่งข้างใดแล้ว จะมีความเสี่ยงสูงมากกว่า
40% ที่จะเกิดกับตาอีกข้างหนึ่งภายในระยะเวลา 5 ปี หลังจากที่เคยเป็นในตาข้างแรกแล้ว
สาเหตุของโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม
ปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม ได้แก่
1. อายุ สามารถพบได้ในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป
2. พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ควรได้รับการตรวจเช็คจอประสาทตาทุก 1 ปี
3. เชื้อชาติและเพศ พบโรคนี้ได้มากในคนต่างชาติ ยุโรป, อเมริกา และเพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
4. การสูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ถึง 4 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
5. ภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาลดความดันโลหิตและมีระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง
ระดับแคโรทีนอยด์ในเลือดต่ำ มีความเสี่ยงสูงมากต่อการเป็นโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก (Wet AMD)
6. วัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและไม่ได้รับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจน มักมีความเสี่ยงสูง
ในการเป็นโรคนี้
ชนิดของโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม
1. แบบแห้ง (Dry AMD)
เป็นชนิดที่พบมากที่สุด เกิดจากการเสื่อมและบางตัวลงของจุดศูนย์กลางการรับภาพของจอประสาทตา (Macular)
จากกระบวนการเสื่อมตามอายุ อาการเริ่มต้นของโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง คือ การมองเห็นภาพเบลอ
ทำให้มองเห็นหน้าคนไม่ชัดเจน เป็นผลให้จำหน้าบุคคลไม่ได้ หรือต้องใช้แสงสว่างมากขึ้นในการทำกิจกรรมต่างๆ หรือ
ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการเริ่มจากตามัวเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อเวลาผ่านไปความสามารถในการมองเห็นจะค่อยๆ ลดลง
และเป็นไปอย่างช้าๆ
2. แบบเปียก (Wet AMD)
พบประมาณ 10 - 15 % ของโรคจอประสาทตาเสื่อมทั้งหมด แต่จะสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็วและเป็นสาเหตุ
สำคัญของอาการตาบอดในโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม เกิดจากมีหลอดเลือดผิดปกติงอกอยู่ใต้จอประสาทตา
ทำให้เลือดและของเหลวที่อยู่ภายในไหลซึมออกมา เป็นผลให้จุดศูนย์กลางการรับภาพบวม ผู้ป่วยจะเริ่มมองเห็นภาพ
ตรงกลางบิดเบี้ยว และเมื่อเซลล์ประสาทตาตาย ผู้ป่วยจะสูญเสียการมองเห็นในที่สุด อาการเริ่มต้นของโรคศูนย์กลาง
จอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก คือ เริ่มเห็นเส้นตรงกลายเป็นเส้นโค้งบิดเบี้ยว เห็นภาพสีซีดจางกว่าปกติ และอาจเห็น
จุดมืดดำที่ตรงกลางภาพ
ผู้ป่วยที่ตรวจพบว่ามีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม สามารถสังเกตความผิดปกติ
ด้วยตัวเองได้ โดยการใช้แผ่นทดสอบ "แอมส์เลอร์กริด" (Amsler Grid) โดยไม่ต้องถอดแว่นตา หรือ คอนแทคเลนส์ที่
ใส่อยู่ออก โดยนำแผ่นทดสอบไปติดบนผนังที่มีแสงสว่างเพียงพอในระดับสายตา ยืนห่างจากแผ่นภาพประมาณ 14 นิ้ว
ใช้มือปิดตาข้างหนึ่งไว้แล้วมองที่จุดสีดำตรงกลางแผ่นทดสอบด้วยตาข้างที่เปิดอยู่ ทำซ้ำเช่นเดียวกันกับตาอีกข้าง หาก
มองเห็นลายเส้นตรงบนแผ่นทดสอบ มีลักษณะเป็นคลื่น หงิกงอ ขาดจากกัน พร่ามัว หรือบางพื้นที่หายไปจากที่มองเห็น
ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ภายใน 1 สัปดาห์ จักษุแพทย์จะทำการตรวจโดยใช้กล้อง Slit Lamp Biomicroscope และตรวจ
พิเศษด้วยการฉีดสีเพื่อถ่ายภาพจอประสาทตา หรือเข้าเครื่องตรวจวิเคราะห์ภาพตัดขวางจอประสาทตา เพื่อดูลักษณะและ
ขอบเขตความผิดปกติที่เกิดขึ้น
การป้องกัน
1. ควรสวมแว่นตากันแดดที่เคลือบสารป้องกันรังสียูวีและหมวกปีกกว้างเวลาที่ออกมาเผชิญกับแสงแดด
2. รับประทานผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักใบเขียวที่มีส่วนประกอบของลูทีน (Lutein) เช่น ผักในตระกูลคะน้า หัวผักกาด
ผักขม บล๊อคโคลี่ เป็นต้น
3. งดการสูบบุหรี่
4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
5. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีไขมันและคลอเรสเตอรอลสูง
วิธีการรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้งให้หายขาด ทำได้เพียงชะลอการเกิดโรคเท่านั้น
คือ การตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์เป็นประจำ รวมถึงควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการเสื่อมของจุดศูนย์กลางการรับ
ภาพของจอประสาทตา ส่วนการรักษาโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม ชนิดเปียก ทำได้โดย
1. การฉายแสงเลเซอร์ที่ทำให้เกิดความร้อนลงบนจอประสาทตา (Laser Photocoagulation)
เพื่อยับยั้งหรือชะลอเส้นเลือดผิดปกติที่ทำให้เกิดเลือดออกใต้จอประสาทตาได้ ส่วนของจอประสาทตาที่โดนแสง
เลเซอร์ชนิดนี้จะถูกความร้อนทำลายไปด้วย ทำให้เกิดจุดมืดดำอย่างถาวร การมองเห็นจะลดลงทันทีหลังการรักษา
ซึ่งการรักษาวิธีนี้ ใช้ได้กับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโรคอยู่ห่างจากศูนย์กลางจอประสาทตาพอสมควร
2. การฉายแสดงเลเซอร์ที่ไม่ทำให้เกิดความร้อนภายหลัง ร่วมกับการให้ยาเข้าทางเส้นเลือด
(Photodynamic Therapy : PDT) โดยจะให้ยาเข้าทางเส้นเลือดผ่านไปตามระบบไหลเวียนโลหิต และจับกับเซลล์
ที่มีการแบ่งตัวที่ผนังหลอดเลือดที่ผิดปกติ
ใต้จอประสาทตา จากนั้นจึงฉายแสงไปช่วยกระตุ้นให้ยาทำลายหลอดเลือดที่ผิดปกติ โดยไม่มีผลกระทบกับจอประสาทตา
บริเวณนั้น ซึ่งผู้ป่วยยังคงสามารถมองเห็นได้เหมือนก่อนการฉายแสงเลเซอร์ ในบางรายที่อาการของโรคยังไม่รุนแรง
การมองเห็นที่ลดลงก่อนการรักษาอาจกลับคืนมาใกล้เคียงกับปกติได้
3. การฉีดยากลุ่ม (Anti-Vascular Endothelial Growth Factor : Anti-VEGF)
เข้าไปในน้ำวุ้นตาเพื่อทำให้เส้นเลือดที่งอกผิดปกติฝ่อไป ต้องฉีดอย่างน้อย 3 ครั้ง ทุก 1 เดือน และอาจต้องฉีดทุก 2 - 3 เดือนในระยะต่อมา
4. การผ่าตัด ทำในกรณีที่มีเลือดออกใต้ศูนย์กลางรับภาพ โดยการฉีดยาเข้าไปเพื่อทำให้เลือดที่แข็งตัวละลาย และฉีดแก๊สเข้าไปรีดเลือดให้ขยับออกจากศูนย์กลางจอรับภาพ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.rutnin.com/th/eye_knowledge/detail.32.2.html
โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมจากอายุ Age-related Macular Degeneration (AMD)
สาเหตุของโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม
ปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม ได้แก่
1. อายุ สามารถพบได้ในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป
2. พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ควรได้รับการตรวจเช็คจอประสาทตาทุก 1 ปี
3. เชื้อชาติและเพศ พบโรคนี้ได้มากในคนต่างชาติ ยุโรป, อเมริกา และเพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
4. การสูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ถึง 4 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
5. ภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาลดความดันโลหิตและมีระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง
ระดับแคโรทีนอยด์ในเลือดต่ำ มีความเสี่ยงสูงมากต่อการเป็นโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก (Wet AMD)
6. วัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและไม่ได้รับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจน มักมีความเสี่ยงสูง
ในการเป็นโรคนี้
ชนิดของโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม
1. แบบแห้ง (Dry AMD)
เป็นชนิดที่พบมากที่สุด เกิดจากการเสื่อมและบางตัวลงของจุดศูนย์กลางการรับภาพของจอประสาทตา (Macular)
จากกระบวนการเสื่อมตามอายุ อาการเริ่มต้นของโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง คือ การมองเห็นภาพเบลอ
ทำให้มองเห็นหน้าคนไม่ชัดเจน เป็นผลให้จำหน้าบุคคลไม่ได้ หรือต้องใช้แสงสว่างมากขึ้นในการทำกิจกรรมต่างๆ หรือ
ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการเริ่มจากตามัวเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อเวลาผ่านไปความสามารถในการมองเห็นจะค่อยๆ ลดลง
และเป็นไปอย่างช้าๆ
2. แบบเปียก (Wet AMD)
พบประมาณ 10 - 15 % ของโรคจอประสาทตาเสื่อมทั้งหมด แต่จะสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็วและเป็นสาเหตุ
สำคัญของอาการตาบอดในโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม เกิดจากมีหลอดเลือดผิดปกติงอกอยู่ใต้จอประสาทตา
ทำให้เลือดและของเหลวที่อยู่ภายในไหลซึมออกมา เป็นผลให้จุดศูนย์กลางการรับภาพบวม ผู้ป่วยจะเริ่มมองเห็นภาพ
ตรงกลางบิดเบี้ยว และเมื่อเซลล์ประสาทตาตาย ผู้ป่วยจะสูญเสียการมองเห็นในที่สุด อาการเริ่มต้นของโรคศูนย์กลาง
จอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก คือ เริ่มเห็นเส้นตรงกลายเป็นเส้นโค้งบิดเบี้ยว เห็นภาพสีซีดจางกว่าปกติ และอาจเห็น
จุดมืดดำที่ตรงกลางภาพ
ผู้ป่วยที่ตรวจพบว่ามีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม สามารถสังเกตความผิดปกติ
ด้วยตัวเองได้ โดยการใช้แผ่นทดสอบ "แอมส์เลอร์กริด" (Amsler Grid) โดยไม่ต้องถอดแว่นตา หรือ คอนแทคเลนส์ที่
ใส่อยู่ออก โดยนำแผ่นทดสอบไปติดบนผนังที่มีแสงสว่างเพียงพอในระดับสายตา ยืนห่างจากแผ่นภาพประมาณ 14 นิ้ว
ใช้มือปิดตาข้างหนึ่งไว้แล้วมองที่จุดสีดำตรงกลางแผ่นทดสอบด้วยตาข้างที่เปิดอยู่ ทำซ้ำเช่นเดียวกันกับตาอีกข้าง หาก
มองเห็นลายเส้นตรงบนแผ่นทดสอบ มีลักษณะเป็นคลื่น หงิกงอ ขาดจากกัน พร่ามัว หรือบางพื้นที่หายไปจากที่มองเห็น
ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ภายใน 1 สัปดาห์ จักษุแพทย์จะทำการตรวจโดยใช้กล้อง Slit Lamp Biomicroscope และตรวจ
พิเศษด้วยการฉีดสีเพื่อถ่ายภาพจอประสาทตา หรือเข้าเครื่องตรวจวิเคราะห์ภาพตัดขวางจอประสาทตา เพื่อดูลักษณะและ
ขอบเขตความผิดปกติที่เกิดขึ้น
การป้องกัน
1. ควรสวมแว่นตากันแดดที่เคลือบสารป้องกันรังสียูวีและหมวกปีกกว้างเวลาที่ออกมาเผชิญกับแสงแดด
2. รับประทานผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักใบเขียวที่มีส่วนประกอบของลูทีน (Lutein) เช่น ผักในตระกูลคะน้า หัวผักกาด
ผักขม บล๊อคโคลี่ เป็นต้น
3. งดการสูบบุหรี่
4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
5. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีไขมันและคลอเรสเตอรอลสูง
วิธีการรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้งให้หายขาด ทำได้เพียงชะลอการเกิดโรคเท่านั้น
คือ การตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์เป็นประจำ รวมถึงควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการเสื่อมของจุดศูนย์กลางการรับ
ภาพของจอประสาทตา ส่วนการรักษาโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม ชนิดเปียก ทำได้โดย
1. การฉายแสงเลเซอร์ที่ทำให้เกิดความร้อนลงบนจอประสาทตา (Laser Photocoagulation)
เพื่อยับยั้งหรือชะลอเส้นเลือดผิดปกติที่ทำให้เกิดเลือดออกใต้จอประสาทตาได้ ส่วนของจอประสาทตาที่โดนแสง
เลเซอร์ชนิดนี้จะถูกความร้อนทำลายไปด้วย ทำให้เกิดจุดมืดดำอย่างถาวร การมองเห็นจะลดลงทันทีหลังการรักษา
ซึ่งการรักษาวิธีนี้ ใช้ได้กับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโรคอยู่ห่างจากศูนย์กลางจอประสาทตาพอสมควร
2. การฉายแสดงเลเซอร์ที่ไม่ทำให้เกิดความร้อนภายหลัง ร่วมกับการให้ยาเข้าทางเส้นเลือด
(Photodynamic Therapy : PDT) โดยจะให้ยาเข้าทางเส้นเลือดผ่านไปตามระบบไหลเวียนโลหิต และจับกับเซลล์
ที่มีการแบ่งตัวที่ผนังหลอดเลือดที่ผิดปกติ
ใต้จอประสาทตา จากนั้นจึงฉายแสงไปช่วยกระตุ้นให้ยาทำลายหลอดเลือดที่ผิดปกติ โดยไม่มีผลกระทบกับจอประสาทตา
บริเวณนั้น ซึ่งผู้ป่วยยังคงสามารถมองเห็นได้เหมือนก่อนการฉายแสงเลเซอร์ ในบางรายที่อาการของโรคยังไม่รุนแรง
การมองเห็นที่ลดลงก่อนการรักษาอาจกลับคืนมาใกล้เคียงกับปกติได้
3. การฉีดยากลุ่ม (Anti-Vascular Endothelial Growth Factor : Anti-VEGF)
เข้าไปในน้ำวุ้นตาเพื่อทำให้เส้นเลือดที่งอกผิดปกติฝ่อไป ต้องฉีดอย่างน้อย 3 ครั้ง ทุก 1 เดือน และอาจต้องฉีดทุก 2 - 3 เดือนในระยะต่อมา
4. การผ่าตัด ทำในกรณีที่มีเลือดออกใต้ศูนย์กลางรับภาพ โดยการฉีดยาเข้าไปเพื่อทำให้เลือดที่แข็งตัวละลาย และฉีดแก๊สเข้าไปรีดเลือดให้ขยับออกจากศูนย์กลางจอรับภาพ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้