สิว เกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
หรือแม้แต่บางคนที่แม้ว่าอายุจะเข้าสู่วัยทองแล้ว แต่ก็ยังมีปัญหาสิวได้นะคะ
หลายๆคนต้องเจอกับปัญหาสิวเรื้อรัง นานหลายปี รักษาเท่าไหร่ก็ไม่ดีขึ้น
หรือดีขึ้นช่วงแรกๆพอหยุดการรักษา ก็กลับมาเป็นซ้ำอีก
เรียกได้ว่ารักษาจนท้อ 😭😭
หมอยุ้ยเลยตั้งใจสรุป ถาม-ตอบ คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับสิวฮอร์โมน
มาให้ได้อ่านกันค่ะ
1️⃣
Q: สิวที่กำลังเป็นอยู่ เป็นสิวทั่วๆไป (Acne vulgaris) หรือว่าเป็นสิวฮอร์โมน (Adult onset acne) กันแน่??
A: อาจจะแยกคร่าวๆได้จาก
- ตำแหน่งที่เป็นสิว (สิวฮอร์โมนมักเกิดบริเวณครึ่งล่างของใบหน้า
- ลักษณะของสิวฮอร์โมนมักจะเป็นสิวอักเสบเด่นกว่า เช่น เม็ดใหญ่ๆ เป็นไตๆ
- การสอบถามประวัติและอาการ เช่น สิวที่เป็นหลังอายุ 25 ปีขึ้นไป สิวขึ้นในช่วงที่มีประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ (ประจำเดือนมาน้อยหรือประจำเดือนไม่ค่อยมา เรียกว่า oligomenorrhae or amenorrhea)
- ตรวจร่างกายเพิ่มเติม พบลักษณะ ผิวหน้ามัน ขนเยอะ มีหนวด เสียงใหญ่ ผมบาง อ้วน เป็นต้น
แต่ลักษณะหรืออาการพวกนี้ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกข้อ ในคนไข้บางคนอาจจะไม่อ้วน หรือผมไม่ได้บาง ก็พบว่ามีภาวะถุงน้ำรังไข่ได้ (PCOS) ซึ่งเป็นสาเหตุของสิวฮอร์โมนได้
2️⃣
Q: สาเหตุของสิวฮอร์โมน??
A: สิวฮอร์โมน เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศชาย คือ มีภาวะฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป (Androgen excess) ทำให้ เด็กผู้หญิงบางคนเริ่มเป็นสิวตั้งแต่ช่วงก่อนวัยรุ่น, พบในคนไข้ที่เป็นโรคถุงน้ำรังไข่ (Polycystic ovarian syndrome หรือ PCOS)
ซึ่งฮอร์โมนแอนโดรเจน จะมีผลกระตุ้นให้ต่อมไขมันทำงานหนักขึ้น จึงผลิตและขับน้ำมัน (sebum) ออกมามากขึ้น ทำให้หน้ามัน และรูขุมขนอุดตัน เกิดเป็นสิวอุดตัน (comedone) และน้ำมันยังเป็นอาการของเชื้อสิว (C. acnes หรือชื่อเก่า คือ P. ances) ที่เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในรูขุมขน พอเชื้อสิวเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก็จะทำให้สิวอุดตันกลายเป็นสิวอักเสบในที่สุด
3️⃣
Q: เมื่อไหร่ถึงจะสงสัยว่าเป็นสิวฮอร์โมน??
A: - เป็นสิวหลังจากอายุ 25 ปี เรียกว่า ช่วงในวัยผู้ใหญ่ (Adult onset acne)
- สิวที่ชอบขึ้นบริเวณ คาง รอบปาก กรอบหน้าช่วงแนวกราม
- สิวอักเสบเม็ดใหญ่ บวมแดง เจ็บ ที่มักขึ้นมาในช่วงที่มีประจำเดือน
- สิวอุดตันในคนที่มีผิวหน้ามันมากกก (comedonal acne with seborrhea)
- สิวที่รักษาด้วยวิธีปกติไม่ได้ผล (resistant to conventional therapies)
- สิวในคนที่มีลักษณะที่น่าสงสัยว่าอาจมีฮอร์โมนเพศชายมากกว่าปกติ
ในเคสที่แพทย์ตรวจแล้วสงสัยว่าจะมีสมดุลฮอร์โมนผิดปกติ แพทย์อาจจะพิจารณาส่งเจาะเลือดเพื่อตรวจเช็คระดับฮอร์โมน ต่างๆในร่างกาย และส่งตรวจอัลตร้าซาวน์ดูว่ามีถุงน้ำที่รังไข่หรือไม่
4️⃣
Q: สิวฮอร์โมนรักษายังไง??
A: - เบื้องต้นจะใช้การรักษาแบบสิวทั่วไป เช่น ให้ยาทา, ยากิน
- ในเคสที่ตรวจเลือดพบว่ามีระดับฮอร์โมนไม่สมดุล จะพิจารณารักษาด้วยยาปรับฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือ ยา spinolactone ซึ่งยาทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่ควรหาซื้อมาใช้เอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อความปลอดภัย เพราะยามีผลข้างเคียงและข้อห้ามใช้อยู่หลายข้อ
การรักษาด้วยวิธีอื่น (Optional treatment) ได้แก่ การใช้เลเซอร์และทรีตเมนต์เพื่อรักษาสิว ก็สามารถทำเสริมได้ เช่น ใช้กับเคสที่รักษาด้วยวิธีกินยา ทายามาอย่างเต็มที่แล้วแต่ยังต้องการรักษาด้วยเลเซอร์เพิ่มเติม
5️⃣
Q: จะกินยาคุมเพื่อรักษาสิวดีมั้ย??
A: โดยปกติไม่แนะนำใ้ห้กินยาคุมเพื่อรักษาสิวด้วยตัวเอง ยกเว้น กรณีที่มีจุดประสงค์หลักๆ คือ ต้องการคุมกำเนิดอยู่แล้วและเป็นสิวด้วย (จุดประสงค์รอง) และไม่มีข้อห้าม
พบว่าการกินยาคุมบางชนิด (บางยี่ห้อ) สามารถช่วยให้สิวดีขึ้นได้ในเคสที่เป็นสิวฮอร์โมน
แต่ก็มีข้อควรระวังเยอะเหมือนกัน จึงควรปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มตัดสินใจกินยาคุมเพื่อช่วยรักษาสิว
❌ คนที่ห้ามกินยาคุม เช่น กำลังตั้งครรภ์, มีประวัติเส้นเลือดอุดตัน, เป็นโรคตับ, อายุมากกว่า 35 ปี, สูบบุหรี่จัด
❌ คนที่ไม่ควรกินยาคุม เช่น คุณแม่ที่ให้นม, เป็นโรคความดันสูง, ไมเกรน, มะเร็ง
❌ ยาคุมกำเนิด อาจจะมีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยๆ เช่น ปวดหัว, ประจำเดือนผิดปกติ, น้ำหนักขึ้น, บวมน้ำ
💛 ถ้าหากสงสัยหรือไม่แน่ใจว่ากำลังเป็นสิวฮอร์โมนอยู่รึป่าว
หมอยุ้ยอยากให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังเพื่อช่วยตรวจอย่างละเอียดเพิ่มเติม
และพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมให้กับแต่ละคน
🧡 เพราะผิวของเราแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน การมีหมอผิวหนังเฉพาะทางช่วยดูแลเป็นอีกวิธีที่ช่วย
ให้ปัญหาผิวได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และได้รับการรักษาอย่างตรงจุดและปลอดภัยค่ะ
❤️ หากปล่อยให้เป็นสิวเรื้อรัง มักจะเกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีก เช่น รอยสิว หลุมสิว แผลเป็นนูนหรือคีลอยด์จากสิว
🤍 ดังนั้นการเริ่มรักษาอย่างถูกวิธีตั้งแต่เริ่มต้น จะช่วยให้สิวหายเร็วขึ้นแล้ว ยังป้องกันหรือลดโอกาสเกิดรอยสิว และรอยแผลเป็น/หลุมสิวได้
หมอยุ้ย เพจ Dr.Yui คุยทุกเรื่องผิว
พญ.มานิตา อัตถสุริยานันท์
แพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง
ตอบคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับ’สิวฮอร์โมน’ แบบเจาะลึก By หมอยุ้ยแพทย์เฉพาะทางผิวหนัง
สิว เกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
หรือแม้แต่บางคนที่แม้ว่าอายุจะเข้าสู่วัยทองแล้ว แต่ก็ยังมีปัญหาสิวได้นะคะ
หลายๆคนต้องเจอกับปัญหาสิวเรื้อรัง นานหลายปี รักษาเท่าไหร่ก็ไม่ดีขึ้น
หรือดีขึ้นช่วงแรกๆพอหยุดการรักษา ก็กลับมาเป็นซ้ำอีก
เรียกได้ว่ารักษาจนท้อ 😭😭
หมอยุ้ยเลยตั้งใจสรุป ถาม-ตอบ คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับสิวฮอร์โมน
มาให้ได้อ่านกันค่ะ
1️⃣
Q: สิวที่กำลังเป็นอยู่ เป็นสิวทั่วๆไป (Acne vulgaris) หรือว่าเป็นสิวฮอร์โมน (Adult onset acne) กันแน่??
A: อาจจะแยกคร่าวๆได้จาก
- ตำแหน่งที่เป็นสิว (สิวฮอร์โมนมักเกิดบริเวณครึ่งล่างของใบหน้า
- ลักษณะของสิวฮอร์โมนมักจะเป็นสิวอักเสบเด่นกว่า เช่น เม็ดใหญ่ๆ เป็นไตๆ
- การสอบถามประวัติและอาการ เช่น สิวที่เป็นหลังอายุ 25 ปีขึ้นไป สิวขึ้นในช่วงที่มีประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ (ประจำเดือนมาน้อยหรือประจำเดือนไม่ค่อยมา เรียกว่า oligomenorrhae or amenorrhea)
- ตรวจร่างกายเพิ่มเติม พบลักษณะ ผิวหน้ามัน ขนเยอะ มีหนวด เสียงใหญ่ ผมบาง อ้วน เป็นต้น
แต่ลักษณะหรืออาการพวกนี้ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกข้อ ในคนไข้บางคนอาจจะไม่อ้วน หรือผมไม่ได้บาง ก็พบว่ามีภาวะถุงน้ำรังไข่ได้ (PCOS) ซึ่งเป็นสาเหตุของสิวฮอร์โมนได้
2️⃣
Q: สาเหตุของสิวฮอร์โมน??
A: สิวฮอร์โมน เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศชาย คือ มีภาวะฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป (Androgen excess) ทำให้ เด็กผู้หญิงบางคนเริ่มเป็นสิวตั้งแต่ช่วงก่อนวัยรุ่น, พบในคนไข้ที่เป็นโรคถุงน้ำรังไข่ (Polycystic ovarian syndrome หรือ PCOS)
ซึ่งฮอร์โมนแอนโดรเจน จะมีผลกระตุ้นให้ต่อมไขมันทำงานหนักขึ้น จึงผลิตและขับน้ำมัน (sebum) ออกมามากขึ้น ทำให้หน้ามัน และรูขุมขนอุดตัน เกิดเป็นสิวอุดตัน (comedone) และน้ำมันยังเป็นอาการของเชื้อสิว (C. acnes หรือชื่อเก่า คือ P. ances) ที่เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในรูขุมขน พอเชื้อสิวเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก็จะทำให้สิวอุดตันกลายเป็นสิวอักเสบในที่สุด
3️⃣
Q: เมื่อไหร่ถึงจะสงสัยว่าเป็นสิวฮอร์โมน??
A: - เป็นสิวหลังจากอายุ 25 ปี เรียกว่า ช่วงในวัยผู้ใหญ่ (Adult onset acne)
- สิวที่ชอบขึ้นบริเวณ คาง รอบปาก กรอบหน้าช่วงแนวกราม
- สิวอักเสบเม็ดใหญ่ บวมแดง เจ็บ ที่มักขึ้นมาในช่วงที่มีประจำเดือน
- สิวอุดตันในคนที่มีผิวหน้ามันมากกก (comedonal acne with seborrhea)
- สิวที่รักษาด้วยวิธีปกติไม่ได้ผล (resistant to conventional therapies)
- สิวในคนที่มีลักษณะที่น่าสงสัยว่าอาจมีฮอร์โมนเพศชายมากกว่าปกติ
ในเคสที่แพทย์ตรวจแล้วสงสัยว่าจะมีสมดุลฮอร์โมนผิดปกติ แพทย์อาจจะพิจารณาส่งเจาะเลือดเพื่อตรวจเช็คระดับฮอร์โมน ต่างๆในร่างกาย และส่งตรวจอัลตร้าซาวน์ดูว่ามีถุงน้ำที่รังไข่หรือไม่
4️⃣
Q: สิวฮอร์โมนรักษายังไง??
A: - เบื้องต้นจะใช้การรักษาแบบสิวทั่วไป เช่น ให้ยาทา, ยากิน
- ในเคสที่ตรวจเลือดพบว่ามีระดับฮอร์โมนไม่สมดุล จะพิจารณารักษาด้วยยาปรับฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือ ยา spinolactone ซึ่งยาทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่ควรหาซื้อมาใช้เอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อความปลอดภัย เพราะยามีผลข้างเคียงและข้อห้ามใช้อยู่หลายข้อ
การรักษาด้วยวิธีอื่น (Optional treatment) ได้แก่ การใช้เลเซอร์และทรีตเมนต์เพื่อรักษาสิว ก็สามารถทำเสริมได้ เช่น ใช้กับเคสที่รักษาด้วยวิธีกินยา ทายามาอย่างเต็มที่แล้วแต่ยังต้องการรักษาด้วยเลเซอร์เพิ่มเติม
5️⃣
Q: จะกินยาคุมเพื่อรักษาสิวดีมั้ย??
A: โดยปกติไม่แนะนำใ้ห้กินยาคุมเพื่อรักษาสิวด้วยตัวเอง ยกเว้น กรณีที่มีจุดประสงค์หลักๆ คือ ต้องการคุมกำเนิดอยู่แล้วและเป็นสิวด้วย (จุดประสงค์รอง) และไม่มีข้อห้าม
พบว่าการกินยาคุมบางชนิด (บางยี่ห้อ) สามารถช่วยให้สิวดีขึ้นได้ในเคสที่เป็นสิวฮอร์โมน
แต่ก็มีข้อควรระวังเยอะเหมือนกัน จึงควรปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มตัดสินใจกินยาคุมเพื่อช่วยรักษาสิว
❌ คนที่ห้ามกินยาคุม เช่น กำลังตั้งครรภ์, มีประวัติเส้นเลือดอุดตัน, เป็นโรคตับ, อายุมากกว่า 35 ปี, สูบบุหรี่จัด
❌ คนที่ไม่ควรกินยาคุม เช่น คุณแม่ที่ให้นม, เป็นโรคความดันสูง, ไมเกรน, มะเร็ง
❌ ยาคุมกำเนิด อาจจะมีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยๆ เช่น ปวดหัว, ประจำเดือนผิดปกติ, น้ำหนักขึ้น, บวมน้ำ
💛 ถ้าหากสงสัยหรือไม่แน่ใจว่ากำลังเป็นสิวฮอร์โมนอยู่รึป่าว
หมอยุ้ยอยากให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังเพื่อช่วยตรวจอย่างละเอียดเพิ่มเติม
และพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมให้กับแต่ละคน
🧡 เพราะผิวของเราแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน การมีหมอผิวหนังเฉพาะทางช่วยดูแลเป็นอีกวิธีที่ช่วย
ให้ปัญหาผิวได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และได้รับการรักษาอย่างตรงจุดและปลอดภัยค่ะ
❤️ หากปล่อยให้เป็นสิวเรื้อรัง มักจะเกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีก เช่น รอยสิว หลุมสิว แผลเป็นนูนหรือคีลอยด์จากสิว
🤍 ดังนั้นการเริ่มรักษาอย่างถูกวิธีตั้งแต่เริ่มต้น จะช่วยให้สิวหายเร็วขึ้นแล้ว ยังป้องกันหรือลดโอกาสเกิดรอยสิว และรอยแผลเป็น/หลุมสิวได้
หมอยุ้ย เพจ Dr.Yui คุยทุกเรื่องผิว
พญ.มานิตา อัตถสุริยานันท์
แพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง