มีเงิน 1 ล้านบาท ลงทุนอะไรดี ปี 2021 (อยากรวยให้มากขึ้น ต้องดู)

มีเงิน 1 ล้านบาท ลงทุนอะไรดี ปี 2021 (อยากรวยให้มากขึ้น ต้องดู)


หากคุณมีเงินลงทุน 1 ล้านบาท และอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง คุณจะนำเงินนี้ไปลงทุนอะไรได้บ้าง?!
และแต่ละอย่างมีความเสี่ยงแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน?! แล้วเราจะป้องกันความเสี่ยงนี้ได้อย่างไร ต้องคิดแบบไหนกันดี!!

เพี้ยนปักหมุด

       สำหรับใครที่มีเงิน 1 ล้านบาท ไม่ว่าจะด้วยการเก็บออม การทำธุรกิจ การลงทุนอะไรบางอย่าง รวมถึงท่านที่โชคดีได้เงินก้อนมาอย่างไม่ทันตั้งตัว ถึงแม้เส้นทางสู่เงินล้านของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกัน แต่ทุกคนคงเห็นด้วยกับผมที่ต้องการหาวิธีต่อยอดให้เงินก้อนนี้งอกเงย แทนที่จะเก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์เฉย ๆ หรือปล่อยทิ้งไว้ให้มีมูลค่าลดลงตามเงินเฟ้อถึงจะมีดอกเบี้ยจากธนาคารให้คุณในทุก ๆ เดือนก็ตาม เพราะฉะนั้น การลงทุนอะไรสักอย่างจึงเป็นทางเลือกที่ดี เพียงแต่คุณยังไม่รู้ว่าจะทำธุรกิจอะไรให้คุ้มกับสิ่งที่ลงทุนไปเท่านั้นเอง

       ซึ่งก่อนที่คุณจะตัดสินใจลงทุนในแต่ละธุรกิจ เพื่อลดความเสี่ยงที่เงินก้อนนี้จะหายวับไปภายในพริบตา นั่นก็คือ ให้คุณบริหารจัดการกับงบประมาณการลงทุนในแต่ละธุรกิจก่อน อย่าเพิ่งใจร้อนลงทุนทีเดียว โดยให้คุณแบ่งเงินลงทุนออกมาเป็น 10% ของจำนวนเงิน 1 ล้านบาทต่อการลงทุนในแต่ละครั้ง ก็เท่ากับว่าในการลงทุนแต่ละครั้งคุณจะต้องลงทุนไม่เกินงบ 1 แสนบาท นั่นเอง ทีนี้เมื่อคุณสามารถจำกัดงบในการลงทุนได้แล้ว เรามาลองดูกันนะครับว่า ธุรกิจไหนจะสามารถต่อยอดเงินก้อนนี้ให้กับคุณได้บ้าง และจะมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน

เพี้ยนปูเสื่อ

       ธุรกิจที่ 1 หุ้น อสังหาริมทรัพย์ ทอง : ต้องบอกก่อนเลยว่าการลงทุนในรูปแบบนี้คุณต้องยอมรับถึง “ความไม่แน่นอน” และเป็นการลงทุนที่คุณไม่ได้คาดหวังในระยะสั้น ถ้าไม่นับเรื่องการ “ลงทุนหุ้น” เพราะการลงทุนในหุ้นให้ผลตอบแทนที่สูงก็จริง เมื่อเทียบกันสินทรัพย์การลงทุนอื่น ๆ แต่ก็ต้องบอกทุกคนเลยครับว่า ตลาดหุ้นไม่ง่าย เนื่องจากสถิติคนที่ลงทุนในหุ้น 100 คน คนที่ขาดทุนจะมากกว่า 90 คน คนที่เท่าตัวจะมีเพียง 5 คน คนที่กำไรจะมี 4 คน แต่คนที่สามารถทำผลตอบแทนที่สูงและร่ำรวยจากการลงทุนต้องบอกเลยว่ามีเพียง  1 คนเท่านั้น ซึ่งแสดงถึงความเสี่ยงสูงว่าคุณอาจจะเสียเงินลงทุนก้อนนี้ไปอย่างง่าย ๆ ส่วนการ “ลงทุนอสังหาริมทรัพย์กับทองคำ”  ถือว่าเป็น Safe Haven หรือที่หลบภัยทางการเงินสำหรับนักลงทุน ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงน้อยที่สุด แต่ข้อเสียก็คือผลตอบไม่สามารถเป็นไปตามที่คุณกำหนดไว้ เพราะการลงทุนในรูปแบบนี้ มักจะเป็นเรื่องของ “เงินเย็น” หรือเป็นเงินที่คุณไม่ได้รีบใช้หรือจำเป็นที่จะต้องใช้ ณ ขณะนั้น แต่แน่นอนครับว่าผลตอบแทนในอนาคตถือว่า สร้างกำไรให้คุณเป็นกอบเป็นกำได้และอาจจะขึ้นอยู่กับว่าเศรษฐกิจในช่วงนั้นเป็นแบบไหน เสมือนกับสุภาษิตที่ว่า อดเปรี้ยวไว้กินหวาน นั่นเอง


       ธุรกิจที่ 2 ธุรกิจออนไลน์ : เนื่องจากธุรกิจนี้มีข้อดีมากกว่าข้อเสียในการลงทุนธุรกิจแบบออฟไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลงทุน การรับมือเศรษฐกิจ และความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าของลูกค้าในยุคสมัยใหม่ ซึ่งจะแบ่งลักษณะในการทำธุรกิจออกป็น 2 แบบ ก็คือ การขายสินค้า และ การขายงานด้านบริการ

               2.1 การขายสินค้า ที่จริงการขายสินค้าออนไลน์มีช่องทางหลากหลายที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่ผมอยากแนะนำเป็นช่องทางแรก นั่นก็คือ Lazada, Shopee เป็นแอปพลิเคชั่นและ E- Marketplace ที่ ซื้อ – ขาย สินค้าออนไลน์ยอดนิยม ที่คนไทยใช้เลือกซื้อสินค้าออนไลน์มากที่สุด การเปิดร้านบนแอปพลิเคชั่นนี้ ทำได้ไม่ยาก และสามารถเลือกลงทุนขายสินค้าได้ตามที่คุณกำหนดงบไว้ได้เลย ซึ่งความเสี่ยงในการลงทุนของแอปพลิเคชั่นนี้ก็ถือว่าเกิดขึ้นได้น้อยถึงปานกลาง ขึ้นอยู่กับการทำการตลาดและรวมโปรโมชั่นกับ Lazada, Shopee อีกที ทว่าก็มีการขายออนไลน์อีกช่องทางหนึ่งที่เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน นั่นก็คือ Facebook, Instagram ที่เป็นแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์ให้คนมาพบปะกัน  และคุณยังเลือกวิธีการขายได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการลงรูปภาพและ Facebook Live, Instagram Live  รวมถึงสามารถใช้งานฟีเจอร์สำหรับการยิงโฆษณาเพื่อสร้างยอดขายให้กับร้านของคุณได้อีกด้วย  แต่ข้อเสียก็มีของแพลตฟอร์มเหล่านี้ เมื่อเทียบกับ E- Marketplace อย่าง Lazada, Shopee ในด้านการขายก็มีอยู่มาก เพราะ Facebook, Instagram เป็นแพลตฟอร์มที่ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อการค้า ถึงจะสามารถขายได้แต่การค้นหาหมวดหมู่สินค้าในแพลตฟอร์มนี้ก็ไม่ได้ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร อาทิเช่น คุณอยากซื้อเคสโทรศัพท์ แล้วคุณไปค้นหาในแพลตฟอร์มนี้ สิ่งที่คุณจะได้ก็อาจจะไม่ใช่ชื่อร้านค้าโดยตรง แต่อาจจะป็นเรื่องของ การรีวิว บทความการใช้งาน รูปคนใช้เคส เป็นต้น และความน่าเชื่อถือก็มีน้อยกว่า Lazada, Shopee เพราะเราไม่สามารถรู้ถึงประวัติและการติดต่อที่แท้จริงของผู้ขายได้เลย ฉะนั้น ถ้าคุณอยากเริ่มธุรกิจขายของออนไลน์ที่เป็นสินค้า และลดความเสี่ยงที่จะเจ๊งคุณสามารถเริ่มจากการขายของใน Lazada, Shopee ก่อน แล้วให้เน้นเรื่องการทำการตลาดโดยที่คุณก็ต้องศึกษาหาความรู้อย่างลึกซึ่งควบคู่กันไป 

               2.1 การขายงานด้านบริการ : ส่วนใหญ่มักจะเป็นคนมีความสามารถเฉพาะตัว ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะแทบจะไม่ได้ใช้เงินลงทุน ถ้าไม่นับเรื่องการจ้างแรงงานคน แต่ข้อเสียคือ คุณไม่สามารถขายงานด้านบริการผ่าน Lazada, Shopee ได้เหมือนกับการขายสินค้า แต่ก็สามารถทำได้ใน Facebook, Instagram แต่ก็ต้องใช้ทุนในการยิงโฆษณาอยู่ตลอด ซึ่งทางออกสำหรับท่านใดที่สนใจจะลงทุนธุรกิจการขายงานด้านบริการ นั่นก็คือ การทำคอนเทนต์บน YouTube เพราะข้อดีของการทำ YouTube ก็คือ เมื่อคนค้นหาคำที่เป็นงานบริการ สิ่งที่ Google จะขึ้นมาเป็นต้น ๆ ก็คือ YouTube และบทความในเว็บไซต์ต่าง ๆ ถือว่าเป็นการเพิ่มโอกาสการมองเห็นของคนทั่วไปเพิ่มขึ้น และที่สำคัญคนในยุคสมัยนี้ กว่า 70% มักจะดู YouTube มากกว่าทีวีเสียอีก 


       ดังนั้น คุณสามารถนำเงิน 1 ล้านบาทนั้นไปต่อยอดได้หลายทาง และในความเป็นจริงคุณไม่จำเป็นจะต้องทุ่มเงินก้อนไปในการลงทุนเพียงด้านเดียว เหมือนกับที่ผมได้พูดไปในข้างต้นว่า ให้คุณบริหารจัดการกับงบประมาณการลงทุนในแต่ละธุรกิจก่อน โดยให้คุณแบ่งเงินลงทุนออกมาเป็น 10% ของจำนวนเงิน 1 ล้านบาทต่อการลงทุนในแต่ละครั้ง ก็เท่ากับว่าในการลงทุนแต่ละครั้งคุณจะต้องลงทุนไม่เกินงบ 1 แสนบาท เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการลงทุน เพราะอย่างน้อยคุณก็จะมีเงินสำรองไว้ในการลงทุนครั้งถัดไปและไม่เป็นหนี้ให้คุณทุกข์ใจ นั่นเอง

       เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับใครที่มีเงิน 1 ล้านบาท แต่ไม่รู้ว่าจะลงทุนอะไรดี ผมเชื่อว่าเทคนิคที่ผมได้แนะนำไปคุณสามารถเริ่มทำก่อนได้เลย เมื่อคุณมีงบประมาณในใจไว้แล้วต่อมาก็จะเป็นเรื่อง การตัดสินใจในการลงทุน ซึ่งต้องมาดูกันว่าสิ่งไหนตอบโจทย์คุณมากที่สุด ระหว่าง การได้ผลตอบแทนกำไรที่สูงแต่มีความไม่แน่นอนอย่าง หุ้น อสังหาริมทรัพย์ ทอง กับ การลงทุนที่ได้ผลลัพธ์ไวและความเสี่ยงไม่มากถ้าคุณบริหารด้านการตลาดดีอย่าง ธุรกิจออนไลน์ ถ้าเป็นคุณล่ะจะเลือกลงทุนแบบไหน  สามารถคอมเมนต์มาได้ตามด้านล่างนี้เลยนะครับ 

เพี้ยนสวัสดี

=================================================================
   สำหรับใครที่อยากได้รับอรรถรสเพิ่มมากขึ้น สามารถคลิกวีดีโอได้ตามด้านล่างนี้นะครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่