สตรีผู้เรืองอำนาจแห่งราชวงศ์คองบองของพม่า

1.พระนางแมนุ

พระฉายาลักษณ์พระเจ้าจักกายแมงกับพระนางแมนุ
    พระนางแมนุ(နန်းမတော် မယ်နု)ประสูติเมื่อวันที่18 มิถุนายม 1782 ทรงเป็นสามัญชนธรรมดามิได้เป็นบุตรสาวของขุนนางหรือเชื้อพระวงศ์ ว่ากันต้นกำเนิดพระนางเป็นเพียงแม่ค้าที่พระเจ้าจักกายแมง(ครั้งยังเป็นเจ้าชายแห่งซะไกง์)รับมาเป็นนางสนมในปีค.ศ.1801มีตำนานเล่าว่า มีอีกาตัวหนึ่งคาบซิ่นมาตกลงบนยอดพระตำหนักของพระเจ้าจักกายแมงพระองค์ได้ตามหาเจ้าของซิ่นจนพบว่านางแมนุคือเจ้าของซิ่นจึงรับนางเป็นมเหสี
    ในปีค.ศ.1819 พระเจ้าจักกายแมงครองราชย์ต่อจากพระเจ้าปดุง นางแมนุได้รับการสถาปนาเป็น นันมะดอมิพยาคองจี้ ดำรงแต่งแหน่งพระอัครมเหสี พระนางแมนุค่อนข้างมีอำนาจมากในราชสำนักคองบองขณะนั้นเพราะพระนางเป็นที่โปรดปรานและน้องชายของพระนางนามว่า มองโอ ก็เป็นขุนนางในราชสำนักด้วย ต่อในปีค.ศ.1824 อังกฤษมีปัญหากับพม่าเนื่องจากพม่าได้ครอบครองแคว้นอัสสัมของอินเดีย ทำให้ต้องเผชิญหน้ากับจักรวรรดิอังกฤษที่กำลังอยู่ในระหว่างล่าอาณานิคมอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียแห่งจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งในช่วงเวลานั้นอังกฤษก็กำลังคุกคามอินเดียอยู่ทำให้เกิดสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่1ขึ้น ซึ่งสงครามนี้มองโกับพระนางแมนุได้สนับสนุนให้พระเจ้าจักกายแมงทำสงครามครั้งนี้ แม่ทัพสำคัญของพม่าคือ มหาพันธุละได้ยกทัพทหาร60,000นายจากกรุงอังวะเพื่อปะทะกับกองทัพอังกฤษซึ่งมีประมาณ3,700นาย อังกฤษใช้เวลา15วันก็สมารถเอาชนะทัพพม่าได้กองทัพของมหาพันธุละนั้นเหลือเพียง6,000นายจาก60,000และได้มาตั้งหลักที่เมืองทุนพยูโดยใช้ยุทธศาสตร์การตั้งค่ายทั้ง2ฟากน้ำของแม่น้ำอิระวดีเพื่อโจมตีทัพอังกฤษ ผลของยุทธการครั้งนี้พม่าเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อย่างย่อยยับเพราะอังกฤษมีเรือกลไฟและปืนใหญ่ที่ทันสมัยกว่ามาก ต่อมหาพันธุละได้เสียชีวิตลงเพราะสเก็ดปืนใหญ่ที่อังกฤษยิง
     สงครามนี้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่24กุมภาพันธ์ 1826 พม่าต้องทำสนธิสัญญาตะรานตะโบกับอังกฤษในฐานะผู้แพ้สงคราม ในสนธิสัญญาระบุว่า อังกฤษจะผนวกเอาอะระกันและตะนาวศรีซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญของพม่าไปเป็นสิทธิขาดและไม่สามารถเรียกร้องคืนได้ พร้อมทั้งกองทัพพม่าไม่สามารถเข้าไปยุ่งดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือได้ให้อังกฤษตั้งกงศุลที่กรุงอังวะ นอกจากนี้พม่ายังต้องจ่ายค่าปฎิกรรมสงครามอีก2,000,000ปอนด์สเตอร์ลิง ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้อาณาจักรพม่าที่มีอำนาจในดินแดนอุษาคเนย์เสื่อมอำนานลงส่งผลให้พระเจ้าจักกายแมงทรงเก็บตัวมากขึ้นทำให้ทรงเริ่มมีสติวิปลาศไม่ได้ออกว่าราชการ พระนางแมนุและมองโอจึงถือโอกาสเป็นผู้สำเร็จราชการแทนทั้งหมด ว่ากันว่าการปกครองของพระนางนั้นกดขี่ต่อประชาชนมากจึงเกิดการต่อต้านในที่สุด
    ในปีค.ศ.1837 เจ้าสารวดี พระอนุชาในพระเจ้าจักกายแมงได้ทำการรัฐประหาร และให้พระเจ้าจักกายแมงสละราชบัลลังก์ให้พระองค์นอกจากนี้ยังจับพระเจ้าจักกายแมงขังไว้ในตำหนักจนสวรรคต ส่วนพระนางแมนุกับมองโอได้ถูกประหารในที่สุด ถือเป็นการสิ้นสุดการปกครองของอิสตรีนางหนึ่งที่จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของพม่า พระนางแมนุทรงเป็นพระมารดาใน พระฉิ่งพยูมาฉินหรือพระนางอเลนันดอ พระมเหสีตำหนักกลางในพระเจ้ามินดงและเป็นหนึ่งในสตรีผู้มีอำนาจมากในราชสำนักพม่าตอนปลาย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่