ใครบ้างควรรักษา Covid19 ที่ Hospitel

.
จากสถานการณ์การระบาดของโควิด19 ระลอก 3 ตั้งแต่เดือนเม.ย.64 ที่ผ่านมา เราจะได้ยินคำว่า Hospitel บ่อยมากขึ้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับคำว่า Hospitel กันดีกว่าว่าคืออะไร 
.
Hospitel มาจากคำว่า Hospital (โรงพยาบาล) + Hotel (โรงแรม) หรือที่เรียกกันว่าหอผู้ป่วยเฉพาะกิจโควิด19 หรือโรงแรมสำหรับผู้ป่วยโควิด19 โดย Hospitel จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด19 ที่มีอาการน้อยหรือไม่รุนแรง โดยปรับเปลี่ยนโรงแรมให้เป็นพื้นที่เฝ้าระวังอาการ เพื่อให้ทางโรงพยาบาลสามารถรองรับผู้ป่วยหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการดำเนินการในส่วน Hopitel จะเป็นการจับคู่พันธมิตรทางธุรกิจระหว่างโรงแรมกับโรงพยาบาล ซึ่งผู้ที่เข้ารับการรักษาที่ Hospitel จะมีแพทย์และพยาบาลในการดูแลโดยตรง

สำหรับผู้ที่จะเข้ารับการรักษาตัวใน Hospitel แพทย์ต้องทำการประเมินอย่างละเอียดก่อนส่งตัวเข้ามาพัก โดยผู้ที่เข้าเกณฑ์ได้แก่
1.    ผู้ป่วยยืนยันโควิด 19 ที่ไม่มีอาการ
หลังนอนโรงพยาบาล 4-7 วัน เมื่อไม่มีภาวะแทรกซ้อนให้พักต่อที่ Hospitel จนครบ 10.วัน (และครบ 14 วันกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์)
2.    ผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการ แต่ไม่มีภาวะเสี่ยง หรือภาวะร่วม
หลังนอนโรงพยาบาล 4-7 วัน เมื่ออาการดีขึ้น ให้พักต่อที่ Hospitel จนครบ 10.วัน (และครบ 14 วันกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์)
3.    ผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปีที่ไม่มีอาการ หรือไม่มีภาวะเสี่ยง หรือภาวะอื่นร่วม 
เข้าพัก รักษาสังเกตอาการที่ Hospitel จนครบ 10.วัน (และครบ 14 วันกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์)
โดยผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ Hospitel ควรต้องได้รับการตรวจ X-Ray ทุกราย หากปอดผิดปกติ ควรได้รับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล

สิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษาที่ Hospitel
-              บัตรประจำตัวประชาชน
-              อุปกรณ์และเอกสารด้านสุขภาพต่าง ๆ 
-              เสื้อผ้าสำหรับ 10 หรือ 14 วัน (แล้วแต่บุคคล)
-              ของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น
-              อุปกรณ์เพื่อผ่อนคลาย เช่น หนังสือ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

Hospitel กับ โรงพยาบาลสนามต่างกันอย่างไร?
Hospitel คือสถานที่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อย และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลแม่ข่าย ไม่สามารถจัดตั้งขึ้นมาเองโดยไม่มีการขออนุญาต โดยลักษณะของ Hospitel. 8nv 
1. อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลแม่ข่ายที่เข้ารับการรักษา โดยเป็นผู้ป่วยใหม่ หรือผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นแล้วย้ายมา (Step Down) อาจเป็นหอพัก หรือโรงแรม ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก
2. อาคารของ Hospitel  ต้องได้รับการตรวจสอบลงทะเบียนตามแนวทางของกรมการแพทย์ โดยต้องเป็นอาคารที่มีโครงสร้างที่เหมาะสม และมีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์คอยสนับสนุนอย่างถูกหลักป้องกันโรคระบาด พร้อมทั้งมีเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลแก่เจ้าหน้าที่ด้วย ผู้ป่วยต้องเข้ารับการสังเกตอาการด้วยการเอกซเรย์ปอดก่อน แล้วมีห้องปฏิบัติการตรวจพื้นฐาน (CBC) เพื่อรายงานผลสู่โรงพยาบาลแม่ข่าย
3. ผู้เข้ารับการรักษาได้รับการติดตามผลสัญญาณชีพ และ Oxygen set เป็นระยะ อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง
.
โรงพยาบาลสนาม คือสถานที่ที่จัดขึ้นมาให้รองรับจำนวนผู้เข้ารับการรักษาได้ทีละจำนวนมาก โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมการแพทย์ และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
1. โรงพยาบาลสนามเป็นสถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อม และการระบายอากาศที่เหมาะสม เพื่อดูแลผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการน้อย และความพร้อมด้านที่พักเหมาะสมหรืออาคารที่มีห้องน้ำในตัว เช่น วัด โรงเรียน อาคารอเนกประสงค์ เป็นต้น
2. โรงพยาบาลสนามไม่เหมาะกับผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และ ไม่เหมาะกับหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยเด็ก ผู้สูงอายุ
3. ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนาม ดูแลรักษาได้โดยวิธีการพูดคุยกับคุณหมอผ่านกล้อง (Telemedicine & Care) และหากมีอาการหนักต้องนำส่งโรงพยาบาลเครือข่าย
4. หากมีอาการผิดปกติ แพทย์เป็นผู้พิจารณาย้ายโรงพยาบาลในเครือข่ายเพื่อการรักษาที่เหมาะสม
.
ติดตามบทความดี ๆ จาก 
รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขมได้ในบทความต่อไปครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่