‘BTS Effect’ ความสำเร็จของ BTS ในอุตสาหกรรมดนตรีกำลังทะลักเข้าสู่ธุรกิจโฆษณาอย่างรวดเร็วความสำเร็จของ BTS ในอุตสาหกรรมเพลงกำลังทะลักเข้าสู่ธุรกิจโฆษณาอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก บริษัทต่างๆต้องการการส่งเสริมการขายจาก BTS และพลังโซเชียลมีเดียของแฟนๆ
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
McDonald’s ประกาศร่วมงานกับวง
BTS ของเกาหลีใต้ สำหรับอาหารคนดังใหม่ที่ชื่อ
"The BTS Meal" ไม่กี่วันต่อมา
Louis Vuitton แฟชั่นของฝรั่งเศสได้แต่ตั้ง Icon Pop
"BTS" เป็น House Ambassadors คนใหม่ของแบรนด์
โพสต์บน Twitter ของทั้งคู่ (McDonald’s, Louis Vuitton) มียอด engagement จำนวนมาก ส่วนหนึ่งเป็นฐานแฟนคลับของวงที่เรียกว่า
"BTS ARMY"
บัญชี official ของ McDonald’s ตอนนี้มีอิโมจิหัวใจสีม่วงอยู่ในไบโอและเลข 7 ตัวเล็กๆต่อท้ายบัญชี official บริษัทอื่นๆ เช่น Guinness World Records, Uno และ Barbie ก็ได้รับการเปิดเผยว่าอยู่ภายใต้ทวีตที่ไวรัลของอาหาร fast food นี้
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า บริษัทที่ร่วมงานกับเหล่าสตาร์ไม่ได้กำหนดเป้าหมายเฉพาะแฟนๆที่เป็นผู้บริโภคเท่านั้น แต่เป้าหมายของพวกเขายังรวมถึงกระแสที่แฟนๆสร้างขึ้นบนโซเชียลมีเดียและอื่นๆอีกด้วย
“เมื่อโพสต์โซเชียลมีเดีย ตัวเลขบนโซเชียลมันทำให้ผู้คนสงสัยว่ามันเกี่ยวกับอะไร และทำไมถึงได้รับความนิยม และผู้บริโภคทั่วไปมีแนวโน้มที่จะรู้สึกถึงความน่าเชื่อถือจากการเป็นที่นิยม ทำให้การโฆษณามีประสิทธิภาพมากขึ้น”
Lee Young-ae ศาสตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ผู้บริโภคของ
Incheon National University
บัญชีโซเชียลมีเดียเป็นสินทรัพย์ที่ยอดเยี่ยมสำหรับบริษัทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขากำหนดเป้าหมายไปที่ผู้บริโภคกลุ่ม Millennial และ Gen Z ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้โซเชียลมีเดียจำนวนมาก
“ที่ผ่านมามีการส่งมอบข้อมูลแบบด้านเดียวจากองค์กรไปยังผู้บริโภค ทำให้การประสานงานไม่เท่าเทียมกันและทำให้บางครั้งข้อมูลไม่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามบนโซเชียลมีเดีย ผู้บริโภคสามารถพูดคุยและให้คำแนะนำได้ทันที ทำให้ช่วยลดปัญหาเหล่านั้นได้” Lee Young-ae กล่าวเพิ่ม
ปัจจุบัน
BTS ยังเป็น Global Ambassodors ของแบรนด์อื่นๆ อีก 5 แบรนด์ ได้แก่
Samsung Electronics, FILA, Hyundai Motor, Coway และ
Lotte Duty Free ตามข้อมูลของ
HYBE BTS ยังมีข้อตกลงด้านการโฆษณาในประเทศอีก 4 รายการ ทั้ง บริษัทเทคโนโลยีของอินโดนีเซีย
Tokopedia,
Kloud Beer ของ Lotte Chilsung Beverage, บริษัทโทรคมนาคมของฟิลิปปินส์
Smart Communications และเป็นตัวแทนของ
Coca Cola ในบางประเทศ
บัญชี Twitter ของแบรนด์ชุดกีฬา (
FILA) ซึ่ง บริษัทเปิดบัญชีในเดือนธันวาคม 2019 หลังจากเซ็นสัญญากับ BTS ปัจจุบันนี้มีผู้ติดตามมากกว่า 950,000 คน
Coway ผู้ผลิตเครื่องกรองน้ำ เครื่องฟอกอากาศ และเครื่องใช้ภายในบ้านยังเห็นว่าช่อง YouTube เติบโตขึ้น ช่องที่เปิดในปี 2009 มีผู้เข้าชมหลายล้านครั้งภายในไม่กี่สัปดาห์เนื่องจากโฆษณาตัวใหม่ของ BTS
“การมียอดวิวมากกว่า 10 ล้านครั้งใน 17 วันถือเป็นสถิติที่สำคัญที่สุดของเราสำหรับการโฆษณาซึ่งทำให้การโฆษณามันมีความหมายมากขึ้น”
Shim Byung-he หัวหน้าสำนักงานการตลาดของบริษัทกล่าว
Lotte Chilsung Beverage ยังได้ทำข้อตกลงใหม่กับ BTS ในเดือนเมษายนสำหรับแบรนด์
Kloud Beer ตามสัญญาคือ 1 ปี เหมือนกับน้ำอัดลมยี่ห้อ
Chilsung Cider ที่ BTS ได้โปรโมทไปเมื่อปีที่แล้วซึ่งสัญญาจะสิ้นสุดในเดือนเดียวกันในปีหน้า
บริษัทกล่าวว่าการเลือก
BTS อีกครั้งในฐานะ Brand Ambassodors เป็นส่วนหนึ่งของ “แผนการตลาดเชิงรุก”
ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากความสำเร็จของ BTS ซึ่งได้รับการขนานนามในเกาหลีว่า
“the BTS effect,” ได้รับการคาดการณ์ล่วงหน้าโดยผู้เชี่ยวชาญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในปี 2018 รายงานของสถาบันวิจัย Hyundai กล่าวว่าผลกระทบจากการกระตุ้นการผลิตประจำปีของ
BTS ซึ่งเป็นมูลค่ารวมที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องนั้นอยู่ที่ประมาณ 4.14 ล้านล้านวอน (ประมาณ 1 แสนล้านบาท)
รายงานทางวิชาการอีกฉบับในปี 2019 จากทีมวิจัยที่นำโดย
Pyun Ju-hyun ศาสตราจารย์ด้านธุรกิจจาก
Seoul‘s Korea University กล่าวว่าการแสดงคอนเสิร์ต 3 วันของ
BTS ในกรุงโซลสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจมูลค่า 1 ล้านล้านวอน (ประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท)
‘BTS Effect’ ความสำเร็จของ BTS ในอุตสาหกรรมดนตรีกำลังทะลักเข้าสู่ธุรกิจโฆษณาอย่างรวดเร็ว
โพสต์บน Twitter ของทั้งคู่ (McDonald’s, Louis Vuitton) มียอด engagement จำนวนมาก ส่วนหนึ่งเป็นฐานแฟนคลับของวงที่เรียกว่า "BTS ARMY"
บัญชี official ของ McDonald’s ตอนนี้มีอิโมจิหัวใจสีม่วงอยู่ในไบโอและเลข 7 ตัวเล็กๆต่อท้ายบัญชี official บริษัทอื่นๆ เช่น Guinness World Records, Uno และ Barbie ก็ได้รับการเปิดเผยว่าอยู่ภายใต้ทวีตที่ไวรัลของอาหาร fast food นี้
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า บริษัทที่ร่วมงานกับเหล่าสตาร์ไม่ได้กำหนดเป้าหมายเฉพาะแฟนๆที่เป็นผู้บริโภคเท่านั้น แต่เป้าหมายของพวกเขายังรวมถึงกระแสที่แฟนๆสร้างขึ้นบนโซเชียลมีเดียและอื่นๆอีกด้วย
“เมื่อโพสต์โซเชียลมีเดีย ตัวเลขบนโซเชียลมันทำให้ผู้คนสงสัยว่ามันเกี่ยวกับอะไร และทำไมถึงได้รับความนิยม และผู้บริโภคทั่วไปมีแนวโน้มที่จะรู้สึกถึงความน่าเชื่อถือจากการเป็นที่นิยม ทำให้การโฆษณามีประสิทธิภาพมากขึ้น” Lee Young-ae ศาสตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ผู้บริโภคของ Incheon National University
บัญชีโซเชียลมีเดียเป็นสินทรัพย์ที่ยอดเยี่ยมสำหรับบริษัทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขากำหนดเป้าหมายไปที่ผู้บริโภคกลุ่ม Millennial และ Gen Z ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้โซเชียลมีเดียจำนวนมาก
“ที่ผ่านมามีการส่งมอบข้อมูลแบบด้านเดียวจากองค์กรไปยังผู้บริโภค ทำให้การประสานงานไม่เท่าเทียมกันและทำให้บางครั้งข้อมูลไม่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามบนโซเชียลมีเดีย ผู้บริโภคสามารถพูดคุยและให้คำแนะนำได้ทันที ทำให้ช่วยลดปัญหาเหล่านั้นได้” Lee Young-ae กล่าวเพิ่ม
ปัจจุบัน BTS ยังเป็น Global Ambassodors ของแบรนด์อื่นๆ อีก 5 แบรนด์ ได้แก่ Samsung Electronics, FILA, Hyundai Motor, Coway และ Lotte Duty Free ตามข้อมูลของ HYBE BTS ยังมีข้อตกลงด้านการโฆษณาในประเทศอีก 4 รายการ ทั้ง บริษัทเทคโนโลยีของอินโดนีเซีย Tokopedia, Kloud Beer ของ Lotte Chilsung Beverage, บริษัทโทรคมนาคมของฟิลิปปินส์ Smart Communications และเป็นตัวแทนของ Coca Cola ในบางประเทศ
บัญชี Twitter ของแบรนด์ชุดกีฬา (FILA) ซึ่ง บริษัทเปิดบัญชีในเดือนธันวาคม 2019 หลังจากเซ็นสัญญากับ BTS ปัจจุบันนี้มีผู้ติดตามมากกว่า 950,000 คน
“การมียอดวิวมากกว่า 10 ล้านครั้งใน 17 วันถือเป็นสถิติที่สำคัญที่สุดของเราสำหรับการโฆษณาซึ่งทำให้การโฆษณามันมีความหมายมากขึ้น” Shim Byung-he หัวหน้าสำนักงานการตลาดของบริษัทกล่าว
Lotte Chilsung Beverage ยังได้ทำข้อตกลงใหม่กับ BTS ในเดือนเมษายนสำหรับแบรนด์ Kloud Beer ตามสัญญาคือ 1 ปี เหมือนกับน้ำอัดลมยี่ห้อ Chilsung Cider ที่ BTS ได้โปรโมทไปเมื่อปีที่แล้วซึ่งสัญญาจะสิ้นสุดในเดือนเดียวกันในปีหน้า
บริษัทกล่าวว่าการเลือก BTS อีกครั้งในฐานะ Brand Ambassodors เป็นส่วนหนึ่งของ “แผนการตลาดเชิงรุก”
ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากความสำเร็จของ BTS ซึ่งได้รับการขนานนามในเกาหลีว่า “the BTS effect,” ได้รับการคาดการณ์ล่วงหน้าโดยผู้เชี่ยวชาญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในปี 2018 รายงานของสถาบันวิจัย Hyundai กล่าวว่าผลกระทบจากการกระตุ้นการผลิตประจำปีของ BTS ซึ่งเป็นมูลค่ารวมที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องนั้นอยู่ที่ประมาณ 4.14 ล้านล้านวอน (ประมาณ 1 แสนล้านบาท)
รายงานทางวิชาการอีกฉบับในปี 2019 จากทีมวิจัยที่นำโดย Pyun Ju-hyun ศาสตราจารย์ด้านธุรกิจจาก Seoul‘s Korea University กล่าวว่าการแสดงคอนเสิร์ต 3 วันของ BTS ในกรุงโซลสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจมูลค่า 1 ล้านล้านวอน (ประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท)