ปรโตโฆสะ และ มุขปาฐะ

กระทู้สนทนา
อ้างอิงจาก เพจหัวข้อ ที่ ๓๙. อภิญเญยยธรรม–ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง
http://siripat.com/Annual-Special-Articles-2015/39.%20Knowing-the-Ultimate-Reality-with-Full-Comprehension-2015.asp
----------------------------------
เนื้อหาที่น่าสนใจคือ ทั้งหมด แต่ขอยกมาเฉพาะประเด็นตามหัวข้อกระทู้นะครับ
--
บทความที่ ๓๙ ประจำปี ๒๕๕๘ – อภิญเญยยธรรม–ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง
 
ตามขั้นตอนการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมในสมัยครั้งพุทธกาลนั้น คำว่า “สุตะ” มีนัยสำคัญมากอันเป็นคุณสมบัติของผู้รู้ ผู้คงแก่เรียน คือ มีสามารถในสุตะแห่งการสดับฟังพระธรรมหรือปัญญาจากผู้อื่น “ปรโตโฆสะ” ซึ่งหมายถึงอริยบุคคลผู้เป็นกัลยาณมิตร องค์ความรู้แห่งปัญญาที่เกิดขึ้นจากการสดับฟังดังกล่าวนี้ เรียกว่า “สุตมยปัญญา–สุตมยญาณ” หมายถึง ปัญญาเกิดจากการสดับเล่าเรียน หรือปัญญาสืบแต่ปรโตโฆสะ การตั้งใจมุ่งมั่นในการฟังธรรมจึงเป็นทักษะการเรียนรู้ขั้นสูง.....


-----------------------------------------------------------------------------------
 ฉะนั้น การถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับธรรมในสมัยโบราณนั้น ชื่อว่า “มุขปาฐะ–มุขบาฐ”  หมายถึง “บอกด้วยปาก” คือ การว่าปากเปล่า หมายถึง การสวด สาธยาย บอกกล่าว เล่าเรียน สืบทอดกันมาด้วยปากต่อปากโดยตรง ไม่ใช้ตัวหนังสือ ซึ่งเป็นวิธีครั้งโบราณ ในการรักษาคัมภีร์ให้เที่ยงตรงแม่นยำ [เช่น มีการกำกับ กำชับ ทบทวน และสอบทานกันต่อหน้าได้เต็มที่] เมื่อยังไม่มีแม่แบบที่จะพิมพ์ข้อความออกมาให้ตรงกันแน่นอนทั้งหมด และถือว่าการคัดลอกเป็นวิธีสืบทอดข้อความที่ไม่อาจไว้วางใจ เช่น ในมหาวงส์ว่า “ภิกษุทั้งหลายผู้มีความรู้ความคิดกว้างขวาง ในกาลก่อน นำพระบาลีแห่งพระไตรปิฎกและแม้อรรถกถาแห่งพระไตรปิฎกนั้นมา โดยมุขปาฐะ” ในภาษาไทย “มุขปาฐะ” มีความหมายเลือนลงมาในแง่ที่กลายเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยหนักแน่นหรือไม่ค่อยเป็นหลักฐาน หมายถึง ข้อความที่ท่องจำกันมาด้วยปากเปล่า ไม่ได้เขียนไว้ หรือเรื่องที่เล่าต่อปากกันมา แต่อย่าลืมว่า การพระไตรปิฎกนั้นถูกถ่ายทอดผ่านมาทางพระอริยสงฆ์เจ้า ไม่ใช่สมมติสงฆ์สามัญทั่วไป เพราะอย่าน้อยพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลายนั้น คือ “พระอรหันต์” เท่านั้น ซึ่งเป็นผู้มีปัญญาแตกฉานโดย “ปฏิสัมภิทา ๔” และอยู่ในฐานะที่เรียกว่า “พหูสูต” ฉะนั้น การศึกษาพระธรรมในสมัยก่อนจึงเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านจากครูบาอาจารย์ที่เป็น “พระอรหันต์” จึงทำให้ผู้เป็นศิษย์มีอยู่ในฐานะที่จะบรรลุถึงความเป็นอริยบุคคลได้เร็วและถูกต้องอันเยี่ยม ที่ประกอบด้วย “อนุตตริยะ ๖” หมายถึง ภาวะอันยอดเยี่ยม สิ่งที่ยอดเยี่ยม ในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ที่ดีแห่งอริยสาวก ดังนี้

------------------------------------------
อนึ่ง การค้นคว้าเรียนรู้จากพระไตรปิฎกโดยตรงในบางส่วน จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้เห็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ในพระธรรมที่ผ่านจากวิธีถ่ายทอดด้วย “มุขปาฐะ–มุขบาฐ” ที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่