สหรัฐฯ กดดัน จีน-อิหร่าน ต่างอนุภูมิภาค ต่างวาระ ต่างมาตรการ แต่ทั้งคู่ ก็ยังสานสัมพันธ์กันแนบแน่น
สหรัฐฯ กดดันทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร บีบบังคับจีน และอิหร่าน ให้เดินไปสู่เส้นทางนโยบายที่แตกต่างกัน
แต่ทั้งสองชาติ กลับไปลงนามในข้อตกลง ที่จะรวมผลประโยชน์ของพวกเขา ในทั้งสามด้าน เป็นอย่างน้อย ใช้เวลาหนึ่งในสี่ของศตวรรษหน้า
หวังอี้ รมต.ตปท.จีน เดินทางถึงกรุงเตหะราน เมื่อวันศุกร์ เป็นจุดที่สาม ในการเยี่ยมเยือนตะวันออกกลาง ซาอุฯ และตุรกีแล้ว
นอกจากนี้ เขายังได้รับมอบหมาย ไปเยือนยูเออี บาห์เรน และโอมาน
การเยือนอิหร่านของหวังอี้ ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ จากสื่อต่างๆ ที่จับตามอง การลงนาม ในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ยาว 25 ปี มีมูลค่า 500,000 ล้านเหรียญ โดยเฉพาะข้อตกลงนิวเคลียร์ มีแนวโน้มที่จะเป็นหัวข้อสนทนา ระหว่างจีนกับอิหร่าน เช่นกัน
ความคิดริเริ่มดังกล่าว ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาอิหร่าน เมื่อปีที่แล้ว และการเยือนของเขา ส่งสัญญาณถึงโอกาสที่ปักกิ่ง และเตหะราน จะได้สรุป และลงนามในสัญญานี้
การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ - จีน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นครั้งแรก ตั้งแต่ไบเดนเข้ารับตำแหน่ง ชี้ให้เห็น เส้นทางที่ยากลำบาก สำหรับสองชาติชั้นนำ ที่พวกเขาต้องต่อกรกันเรื่องภูมิรัฐศาสตร์
จนถึงขณะนี้ ผู้นำคนใหม่ของสหรัฐฯ ยังคงดำเนินมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านฝ่ายเดียว อย่างเข้มข้น
ด้วยข้อแม้ว่า อิหร่านต้องยกเลิกการเสริมสมรรถภาพ นิวเคลียร์ ก่อนที่ทำเนียบขาว จะกลับเข้าสู่ข้อตกลงนิวเคลียร์ ปี 2015 ซึ่งถูกทิ้งโดยทรัมป์ ในเวลาต่อมา
แม้ว่า สหรัฐฯ จะถอนตัวจากสนธิสัญญา JCPOA และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรณรงค์กดดันสูงสุดของทรัมป์ เป็นสาเหตุหลัก ที่ผลักดันให้อิหร่าน โผเข้าสู่อ้อมกอดของจีน แต่ดูเหมือนว่า ผู้กำหนดนโยบายของอิหร่าน จะตระหนักดีว่า ดุลอำนาจทั่วโลกกำลังเปลี่ยนไป
อิหร่าน กำลังจะคว้าโอกาสแห่งการแข่งขันด้านมหาอำนาจ เพื่อพัฒนาผลประโยชน์ของชาติ ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้
สิ่งเหล่านี้ อาจนำเสนอ ความท้าทายต่อแนวทางที่ยากลำบาก ในการจัดการของวอชิงตัน
https://www.msn.com/en-us/news/world/us-pressures-china-and-iran-they-move-closer-to-their-own-deal/ar-BB1f0nwN
สหรัฐฯ กดดัน จีนและอิหร่านหนัก จนทั้งคู่ สร้างสัมพันธไมตรีแน่นแฟ้น
สหรัฐฯ กดดันทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร บีบบังคับจีน และอิหร่าน ให้เดินไปสู่เส้นทางนโยบายที่แตกต่างกัน
แต่ทั้งสองชาติ กลับไปลงนามในข้อตกลง ที่จะรวมผลประโยชน์ของพวกเขา ในทั้งสามด้าน เป็นอย่างน้อย ใช้เวลาหนึ่งในสี่ของศตวรรษหน้า
หวังอี้ รมต.ตปท.จีน เดินทางถึงกรุงเตหะราน เมื่อวันศุกร์ เป็นจุดที่สาม ในการเยี่ยมเยือนตะวันออกกลาง ซาอุฯ และตุรกีแล้ว
นอกจากนี้ เขายังได้รับมอบหมาย ไปเยือนยูเออี บาห์เรน และโอมาน
การเยือนอิหร่านของหวังอี้ ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ จากสื่อต่างๆ ที่จับตามอง การลงนาม ในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ยาว 25 ปี มีมูลค่า 500,000 ล้านเหรียญ โดยเฉพาะข้อตกลงนิวเคลียร์ มีแนวโน้มที่จะเป็นหัวข้อสนทนา ระหว่างจีนกับอิหร่าน เช่นกัน
ความคิดริเริ่มดังกล่าว ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาอิหร่าน เมื่อปีที่แล้ว และการเยือนของเขา ส่งสัญญาณถึงโอกาสที่ปักกิ่ง และเตหะราน จะได้สรุป และลงนามในสัญญานี้
การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ - จีน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นครั้งแรก ตั้งแต่ไบเดนเข้ารับตำแหน่ง ชี้ให้เห็น เส้นทางที่ยากลำบาก สำหรับสองชาติชั้นนำ ที่พวกเขาต้องต่อกรกันเรื่องภูมิรัฐศาสตร์
จนถึงขณะนี้ ผู้นำคนใหม่ของสหรัฐฯ ยังคงดำเนินมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านฝ่ายเดียว อย่างเข้มข้น
ด้วยข้อแม้ว่า อิหร่านต้องยกเลิกการเสริมสมรรถภาพ นิวเคลียร์ ก่อนที่ทำเนียบขาว จะกลับเข้าสู่ข้อตกลงนิวเคลียร์ ปี 2015 ซึ่งถูกทิ้งโดยทรัมป์ ในเวลาต่อมา
แม้ว่า สหรัฐฯ จะถอนตัวจากสนธิสัญญา JCPOA และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรณรงค์กดดันสูงสุดของทรัมป์ เป็นสาเหตุหลัก ที่ผลักดันให้อิหร่าน โผเข้าสู่อ้อมกอดของจีน แต่ดูเหมือนว่า ผู้กำหนดนโยบายของอิหร่าน จะตระหนักดีว่า ดุลอำนาจทั่วโลกกำลังเปลี่ยนไป
อิหร่าน กำลังจะคว้าโอกาสแห่งการแข่งขันด้านมหาอำนาจ เพื่อพัฒนาผลประโยชน์ของชาติ ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้
สิ่งเหล่านี้ อาจนำเสนอ ความท้าทายต่อแนวทางที่ยากลำบาก ในการจัดการของวอชิงตัน
https://www.msn.com/en-us/news/world/us-pressures-china-and-iran-they-move-closer-to-their-own-deal/ar-BB1f0nwN