ลิทัวเนีย (1): ปราสาททราไก (Trakai)
-------------------------------------------
ใบหน้าคมเข้ม คิ้วหนา ดวงตากลมดวงใหญ่ จมูกเป็นสัน ไว้หนวดเครา สวมหมวกทรงกรวยตัดยอดตามแบบฉบับของชาวเตอร์กิก (Turkic) คือ ภาพของเหล่าสุภาพบุรุษที่ปรากฏบนผนังกำแพงของปราสาททราไก (Trakai) แห่งลิทัวเนีย
แม้ประเทศในกลุ่มบอลติกแห่งนี้จะอยู่ห่างไกลจากอิรักหลายพันกิโลเมตร แต่ประวัติศาสตร์ของปราสาททราไกและความยิ่งใหญ่ของลิทัวเนียกลับมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับชาวคราไทต์ (Krataite) ชาติพันธุ์ที่มีต้นกำเนิดจากกรุงแบก- ประเทศอิรักในปัจจุบัน
เมื่อคราวที่เจ้าชายวิเทาตัส (Vytautas) ก่อขบถในช่วงปลายศตวรรษที่ 14 เพื่อต่อต้านพระเจ้าโจไกลา (Jogaia) พระเชษฐาผู้รวมดินแดนโปแลนด์เข้าไว้กับลิทัวเนียนั้น เจ้าชายวิเทาตัสได้รับสิทธิให้ปกครองลิทัวเนียและได้ต่อเติมปราสาททราไกต่อจากพระบิดา เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของปราสาทให้สามารถต้านทานข้าศึกได้
ในยุคของเจ้าชายวิเทาตัสนี้ ลิทัวเนียได้เข้าสู่ยุคทอง มีผืนดินที่ขยายไปเกือบถึงทะเลดำในทางใต้จนกลางเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรปในสมัยนั้น จนพระองค์ได้รับการขนานนามว่า "มหาราช" และเป็นมหาราชพระองค์นี้เองที่ทรงนำชาวคราไทต์มาจากคาบสมุทรไครเมียซึ่งอยู่ในดินแดนพิพาทระหว่างรัสเซียและยูเครนในปัจจุบัน
ชาวคราไทต์ทำหน้าที่เป็นองครักษ์และยังคงสืบเชื้อสายมาจนถึงปัจจุบันในลิทัวเนีย แต่ประชากรได้ลดลงอย่างต่อเนื่องจนเหลือราว 280 คนในปัจจุบัน และในจำนวนนี้ มีเพียง 60 คน ที่ยังอยู่อาศัยที่ทราไก พร้อมกับวัฒนธรรมทางอาหารบางอย่างที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน (ตอนนี้ยังไม่เล่า)
นอกเหนือจากประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจแล้ว ยังมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่โอบล้อมปราสาทช่วยเพิ่มเสน่ห์ที่น่าหลงใหลของที่นี่
จากสถานีรถไฟ สามารถเดินเท้าลัดเลาะไปตามชายฝั่งทะเลสาบกัลเว (Galvė) ผืนทะเลสาบสีฟ้าเงินสะท้อนนภากาศเบื้องบน พระพายโชยอ่อนเหนือผืนนทีพัดให้ผิวทะเลสาบเป็นลอนที่พลิ้วไหวราวกับพรมที่มีชีวิต พฤกษาเขียวชอุ่มริมทางบรรเลงเพลงประสานกับสายลมที่สอดแทรกผ่านใบไม้เบื้องบนตลอดเส้นทางที่ลัดเลี้ยวนั้น
กว่าจะรู้ตัว ก็เห็นปราสาททราไกก่ออิฐสีส้มแดงสะท้อนเงาบนผืนน้ำของทะเลสาบกัลเวดังเช่นที่ดำเนินสืบมาหลายร้อยปี
----------------------------------------------------------------------------------------------------
สามารถอ่านงานเขียนอื่น ๆ ได้ที่เพจ
https://www.facebook.com/MemoirsOfMrNomad ครับ
เที่ยวลิทัวเนีย ลัตเวีย และเอสโตเนีย
-------------------------------------------
ใบหน้าคมเข้ม คิ้วหนา ดวงตากลมดวงใหญ่ จมูกเป็นสัน ไว้หนวดเครา สวมหมวกทรงกรวยตัดยอดตามแบบฉบับของชาวเตอร์กิก (Turkic) คือ ภาพของเหล่าสุภาพบุรุษที่ปรากฏบนผนังกำแพงของปราสาททราไก (Trakai) แห่งลิทัวเนีย
แม้ประเทศในกลุ่มบอลติกแห่งนี้จะอยู่ห่างไกลจากอิรักหลายพันกิโลเมตร แต่ประวัติศาสตร์ของปราสาททราไกและความยิ่งใหญ่ของลิทัวเนียกลับมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับชาวคราไทต์ (Krataite) ชาติพันธุ์ที่มีต้นกำเนิดจากกรุงแบก- ประเทศอิรักในปัจจุบัน
เมื่อคราวที่เจ้าชายวิเทาตัส (Vytautas) ก่อขบถในช่วงปลายศตวรรษที่ 14 เพื่อต่อต้านพระเจ้าโจไกลา (Jogaia) พระเชษฐาผู้รวมดินแดนโปแลนด์เข้าไว้กับลิทัวเนียนั้น เจ้าชายวิเทาตัสได้รับสิทธิให้ปกครองลิทัวเนียและได้ต่อเติมปราสาททราไกต่อจากพระบิดา เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของปราสาทให้สามารถต้านทานข้าศึกได้
ในยุคของเจ้าชายวิเทาตัสนี้ ลิทัวเนียได้เข้าสู่ยุคทอง มีผืนดินที่ขยายไปเกือบถึงทะเลดำในทางใต้จนกลางเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรปในสมัยนั้น จนพระองค์ได้รับการขนานนามว่า "มหาราช" และเป็นมหาราชพระองค์นี้เองที่ทรงนำชาวคราไทต์มาจากคาบสมุทรไครเมียซึ่งอยู่ในดินแดนพิพาทระหว่างรัสเซียและยูเครนในปัจจุบัน
ชาวคราไทต์ทำหน้าที่เป็นองครักษ์และยังคงสืบเชื้อสายมาจนถึงปัจจุบันในลิทัวเนีย แต่ประชากรได้ลดลงอย่างต่อเนื่องจนเหลือราว 280 คนในปัจจุบัน และในจำนวนนี้ มีเพียง 60 คน ที่ยังอยู่อาศัยที่ทราไก พร้อมกับวัฒนธรรมทางอาหารบางอย่างที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน (ตอนนี้ยังไม่เล่า)
นอกเหนือจากประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจแล้ว ยังมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่โอบล้อมปราสาทช่วยเพิ่มเสน่ห์ที่น่าหลงใหลของที่นี่
จากสถานีรถไฟ สามารถเดินเท้าลัดเลาะไปตามชายฝั่งทะเลสาบกัลเว (Galvė) ผืนทะเลสาบสีฟ้าเงินสะท้อนนภากาศเบื้องบน พระพายโชยอ่อนเหนือผืนนทีพัดให้ผิวทะเลสาบเป็นลอนที่พลิ้วไหวราวกับพรมที่มีชีวิต พฤกษาเขียวชอุ่มริมทางบรรเลงเพลงประสานกับสายลมที่สอดแทรกผ่านใบไม้เบื้องบนตลอดเส้นทางที่ลัดเลี้ยวนั้น
กว่าจะรู้ตัว ก็เห็นปราสาททราไกก่ออิฐสีส้มแดงสะท้อนเงาบนผืนน้ำของทะเลสาบกัลเวดังเช่นที่ดำเนินสืบมาหลายร้อยปี
----------------------------------------------------------------------------------------------------
สามารถอ่านงานเขียนอื่น ๆ ได้ที่เพจ https://www.facebook.com/MemoirsOfMrNomad ครับ