สารานุกรมปืนตอนที่ 542 Mannlicher M1888

"ขอขอบคุณเพจ ป ปืนอย่างสูงครับ"
 
https://www.facebook.com/Porpeunbybaster/



ปี.ร.ศ.109 หรือ ตรงกับ พ.ศ.2433 ในรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 กองทัพสยามได้มีการซื้อปืนเล็กยาว ซึ่งเป็นปืนเล็กยาวแบบลูกเลื่อน Bolt Action แบบแรกเข้ามาใช้งานในราชการแบบแรกนั้นคือปืน Repeating Rifle Muster 1888 หรือรู้จักกันในชื่อ Mannlicher M1888 และมีชื่อในราชการในเวลาต่อมาคือ ปืนเล็กยาว แบบ ๓๓ และ ปืนเล็กสั้น แบบ ๓๓
เนื่องด้วยตั้งแต่ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 จักรวรรดิฝรั่งเศสเริ่มเข้ามาทำการล่าอาณานิคมในอินโดจีน ซึ่งในรัชสมัยของ ร.4 นั้นกองทัพสยามยังมิได้มีความพร้อมในการทำศึก เพราะเป็นยุคสมัยของการริเริ่มในการจัดหาและเสริมสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ ในเวลานั้นสยามจึงใช้การทูตเป็นหลักในการ”ผ่อนสั้น ผ่อนยาว”และจึงเปิดความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง มีการทำสัญญากับต่างประเทศถึง 10 ประเทศ ซึ่งหลักคือ จักรวรรดิอังกฤษ

ต่อมาการล่าอาณานิคมนั้นใกล้ตัวสยามประเทศมาขึ้นคือในปี 1867( พ.ศ.2410) ได้สูญเสียการปกครองแค้วนเขมรส่วนนอก และปี 1888(พ.ศ.2431) สยามก็ได้สูญเสียการปกครอง หัวเมืองลาวทั้งหมด จึงเป็นเหตุให้สยาม จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาศักยภาพของกองทัพเพื่อใช้ในการปกป้องอธิปไตย และ ผลประโยชน์ของประเทศ เพราะจักไม่มีชาติใดที่สามารถให้ความช่วยเหลือสยามได้หากสยามนั้นมิพึ่งตนเองซึ่ง ณ.เวลานั้นสยามมีปืนเล็กยาวบรรจุเดี่ยวแบบ Martini henry rifles ขนาด .577/450 จากประเทศอังกฤษ ใช้งานในราชการ ซึ่งเป็นระบบขัดกลอนคานเหวี่ยงแท่งปิดท้ายแบบยุบตัว



Repeating Rifle Muster 1888 หรือ Mannlicher M1888 นั้น ออกแบบโดย Ferdinand von Mannlicher ในปี1887 ซึ่ง ต้นกำเนิดของ M1888 มาจากสองโมเดลก่อนของเขาคือ M1885 และ M1886 ซึ่งทั้ง3รุ่นเป็นปืนที่ใช้คลิปกระสุน "Enbloc clip" ทั้งหมด
ย้อยไปกองทัพ Austro-Hungarian ต้องการอ่าวุธแบบใหม่เพื่อมาทดแทน M1867 Werndl-Holub ซึ่งระบบปฏิบัติการนั้นล้าสมัย คือระบบ Drum-breech single-shot โดยจะใช้แท่งขัดกลอนท้ายลำกล้องแบบหมุนพลิก เปิดรังเพลิง




จึงได้ออกแบบปืนทดลอง Trials Rifle คือ Mannlicher Model 1885 ใช้กระสุนขนาด 11x58Rmm (11mm Werndl) บรรรจุ5นัด ระบบปฏิบัติการของปืนเป็นระบบลูกเลื่อนดึงตรงแบบสองจังหวะStraight-pull bolt action ใช้แท่งขัดกลอนท้ายลูกเลื่อนโดยที่ท้ายโครงปืนในรางลูกเลื่อนด้านใต้จะมีร่องขัดกลอน



เมื่อแบบทดลอง M1885 เป็นที่พอใจแล้วในปี1886 Ferdinand von Mannlicher ได้ทำการปรับปรุงแบบปืนอีกเล็กน้อยเพื่อให้สามารถผลิตได้โดยง่าย ปรับปรุงด้านขีนปวิถีให้ดีขึ้น และ M1886 จะสามารถสลัดคลิปกระสุนออกทางด้านล่างได้เมื่อทำการบรรจุนัดสุดท้ายเข้ารังเพลิงไปแล้ว Mannlicher M1886 ผลิตในโรงงาน Œ.W.G. หรือ Österreichische Waffenfabriksgesellschaft (Austrian Arms-Manufacturing Company) (ปัจจุบันก็ Steyr Mannlicher นั้นแหล่ะครับ) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการมาของ Lebel Model 1886 rifle ของฝรั่งเศส ที่ใช้กระสุนควันน้อย(ไร้ควัน) Smokeless cartridge ที่ใช้ระบบลูกเลื่อนขัดกลอนที่โครงปืน จึงทำ Ferdinand von Mannlicher ต้องหันกลับมาพัฒนาปืนของตนเองต่ออย่างรวดเร็ว แม้กระนั้น M1886 ก็ถูกใช้ในสงครามกลางเมืองสเปนและสงครามโลกครั้งที่1 ด้วย (และมีการปรับปรุงดัดแปลงใช้กระสุนขนาด 8x50mm.R เป็น M1886-88 )












Ferdinand von Mannlicher ได้นำกระสุนที่พัฒนาขึ้นใหม่คือ 8×52mmR Mannlicher แทนที่กระสุน11x58Rmm ซึ่งเป็นกระสุนดินดำแบบ Black powder เหมือนกัน มาใช้งานกับปืนแบบที่3ของเขา ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบเดิม เขาทำการพัฒนาปืนใหม่อีกนี้ในปี 1887 โดยเริ่มออกแบบปืนทดสอบ Mannlicher Model 1887 Trial Rifle เพื่อทดสอบกระสุน 8x52mmR ซึ่งใช้ซองกระสุนแบบ Drum / Rotary magazine ของ Schulhof เบลเยี่ยม




ในปี1888 ออกแบบ ปืนระบบลูกเลื่อนดึงตรงแบบสองจังหวะแบบที่3 Straight-pull bolt action คือ Repeating Rifle Muster 1888 หรือ Mannlicher M1888 ซึ่งใช้กระสุนแบบ 8x52mmR(M88) แบบดินดำ Black powder
ในปี1890 ได้ทำการออกแบบกระสุนกึ่งไร้ควัน semi-smokeless powder.ขนาด 8×50mmR จึงมาเป็น M1888-90 และมีการปรับปรุงระบบศูนย์ปืนใหม่ กระสุนชนิดใหม่ใช้งานกับปืน Model 1890 Cavalry Carbine





M1888 มีการนำไปผลิตในจีนในช่วงราชวงศ์ชิง (Qing dynasty)โดยมีการซื้อมาใช้งานก่อน และใช้งานในสงครามจีน-ญี่ปุ่น First Sino-Japanese War และได้ผลิตสำเนาแบบไม่มีลิขสิทธิ์ คือ Kuaili 1888 Kiangnan มีการใช้งานล่วงเลยมาถึงยุค สาธารณรัฐจีน (2455–2492) หรือ Republic of China (1912–1949)




ในสยามนั้นมีการสั่งนำเข้ามาใช้งานในปี 1890(พ.ศ.2433 /ร.ศ.109) โดยเป็นรุ่น M1888-90 (เพราะใช้กระสุน 8x50 mm. R Mannlicher) มีชื่อไทยในเวลาต่อมาว่า ปืนเล็กยาวแบบ ๓๓ ปลย.๓๓ และได้ทำการสั่ง M1890 Cavalry Carbine คือ ปืนเล็กสั้นแบบ๓๓ ปลส.๓๓ เป็นจำนวนรวมกัน 15000 กระบอกโดยประมาณ ในปัจจุบัน ยังมีการจัดเก็บไว้ในคัลงอาวุธของกรมสรรพาวุธ ในพื้นที่กองทัพภาคที่3คือ ปลย.๓๓จำนวน 5000+ และ ปลส.๓๓ 5000+ รวมแล้วนั้นเกือบจะครบตามจำนวนที่ในการบันทึก เพราะเนื่องจากว่ามีการนำมาใช้งานในหวัเมืองทางเหนือในช่วง รัชกาลที่ 6 ทั้งหมด และไม่ถูกเปิดคลังขายไปอย่าง ปลย.45 ปลย.66 ปลย.83 จึงยังมีจำนวนอยู่มาก และถูกเก็บรักาษาไว้



หากมีข้อผิดพลาดประการใดๆ ก็ขออภัยมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ ก็ยังเหมือนเดิมครับพูดคุยเพิ่มเติมแก้ไขได้ ตามปกติครับ

ขอขอบคุน
เพจ ภาพเล่าเรื่องที่อนุเคราะห์ข้อมมูลด้านประวัติศาสตร์ และ คุณ Weerat Sangrawee ที่อนุเคราะห์ข้อมูลในส่วนของ สพ.ทบ.

Cr.
https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0...
https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0...
https://en.wikipedia.org/wiki/Martini%E2%80%93Henry
http://www.hungariae.com/Mann85.htm
https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%9B%E0%B8%B7%E0%B8%99...
http://www.militaryrifles.com/austria/88mann.htm
http://www.hungariae.com/Mann86.htm
#ปลย๓๓ #ปลส๓๓ #MannlicherM1888 #MannlicherM1885 #MannlicherM1886 #ป_ปืน


สวัสดีครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่