.
Herd of deer create cyclone
as they graze fields
1
2
.
.
วิดีโอโดรนที่ถ่ายใน
Arctic Circle มีภาพน่าทึ่ง
โดยจับภาพกวางเรนเดียร์
Reindeer
วิ่งวนเหมือนพายุไซโคลน เมื่อถูกคุกคาม
กวางเรนเดียร์จะเริ่มแตกตื่นวิ่งวนเป็นวงกลม
เหมือนถูกเวทยมนตร์สะกด
ทำให้นักล่าหาเป้าหมายได้ยาก
ในคลิปฝูงสัตว์ส่งเสียงร้อง
และมีลูกพวกมัน/ตัวที่อ่อนแออยู่กลางวงล้อม
โดยตัวที่แข็งแรงจะวิ่งวนไปรอบ ๆ
คล้ายกับพวกมันกำลังเต้นรำ เพื่อป้องกันตัว
ช่างภาพ Lev Fedoseyev
ถ่ายภาพฝูงกวางเรนเดียร์ด้วยโดรน
ฝูงกวางที่แตกตื่นวิ่งวนเป็นเกลียวขนาดใหญ่
พร้อมกับเสียงพึมพำจากการจับภาพทางอากาศ
ที่ชวนให้ต้องอึ้งไปเลย
ในการถ่ายภาพเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2021
นอกหมู่บ้าน
Lovozero
ทางตะวันตกเฉียงเหนือ
ของ
Murmansk Oblast ของรัสเซีย
ฝูงสัตว์ฝูงนี้อยู่ในเมือง Murmansk
ถูกสัตวแพทย์พยายามฉีดวัคซีนป้องกัน
โรคแอนแทรกซ์ Anthrax ให้กับพวกมัน
พฤติกรรมดังกล่าว สังเกตเห็นได้ใน
ปลาโลมา กระทิง ฝูงปลาบางชนิด และช้าง
แต่มุมมองทางอากาศควบคู่ไปกับ
ความเร็วและขนาดของฝูงสัตว์
ทำให้เห็นภาพที่ตัองอึ้งอย่างแรงไปเลย
กวางเรนเดียร์เป็นกวางสายพันธุ์เดียว
ที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย
โดยชนเผ่าพื้นเมือง
Sami ที่มีภาษาพูดเฉพาะ
อาศัยอยู่ใน Murmansk หรือที่รู้จักกันในชื่อ
นักเลี้ยงฝูงกวางเรนเดียร์
มักใช้พวกมันเป็นอาหาร ตัดขน ตัดเขา
และขับ
Pulk รถลากเลื่อนบนหิมะ
.
3
4
.
.
เมื่อซูมกล้องโดรนจะเห็นว่า
พายุไซโคลนลูกที่สองก่อตัวในกรงที่อยู่ใกล้ ๆ
จริง ๆ แล้วการเต้นรำเป็นการซ้อมรบ
เพื่อป้องกันตัว เมื่อฝูงสัตว์สัมผัสได้ถึงอันตราย
กวางตัวผู้ที่โตเต็มวัยจะแตกตื่นวิ่งเป็นวงกลม
ซึ่งอาจทำให้ฝูงหมาป่า หมี
และสัตว์นักล่าอื่น ๆ สับสนได้ง่าย
เพื่อเป็นการป้องกันที่แข็งขัน
และตัวที่อ่อนแอจะรวมตัวกันอยู่ตรงกลาง
คล้ายรูปแบบของกระแสน้ำวน
กวางเรนเดียร์คือพายุไซโคลนที่แท้จริง
ผู้ใช้ทวิตเตอร์
Science Girl
เขียนโพสต์ในคลิปที่แชร์
ฝูงกวางเรนเดียร์ที่ถูกคุกคามที่กำลังหมุนวน
คล้ายกำลังแตกตื่นวิ่งเป็นวงกลม
ทำให้ศัตรูไม่สามารถกำหนดเป้าหมาย
ไปที่ตัวใดตัวหนึ่งได้อย่างชัดเจน
กวางเรนเดียร์สามารถวิ่งทึ่
ความเร็วสูงสุดที่ 50 ไมล์ต่อชั่วโมง
ตามขัอมูลของสวนสัตว์ซานดิเอโก
พอที่จะป้องกันไม่ให้นักล่ากระโจนเข้าใส่
และใช้วิธีนี้ในการต่อสู้กับสัตว์นักล่า
ในกรณีนี้ แม้ว่าจะเป็นสัตวแพทย์ประจำภูมิภาค
ที่เดินทางเข้ามาฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์
แต่ฝูงกวางก็ยังหวาบ(กลัว)/แตกตื่น
กวางเรนเดียร์สามารถเดินทางเป็นฝูง
จำนวนไม่เกิน 10 ตัว ไปจนถึงหลายร้อยตัว
และในฤดูใบไม้ผลิเป็นที่รู้จักกัน
ในรูปแบบ Super-herds มากถึง 500,000 ตัว
.
5
6
.
.
ตามข้อมูลของสำนักงาน
คณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา
ในฤดูใบไม้ผลิ ฝูงกวางเรนเดียร์จะมารวมฝูงกัน
ได้มากถึง 50,000 ถึง 500,000 ตัวเลยทีเดียว
ฝูงสัตว์ป่าที่ใหญ่/มากที่สุดในโลก
คือ ฝูงกวางเรนเดียร์
Taimyr Deer
ที่อพยพใน
ทุ่งหญ้าทุนดรา ที่ไซบีเรีย
มีมากถึงนับล้านตัวเลยทีเดียว
ในปี 2019
สารคดี
Wild Way of the Vikings ของ PBS
ได้นำเสนอ นักล่าไวกิ้งที่เผชิญหน้ากับ
พายุไซโคลนของฝูงกวางเรนเดียร์
เพื่อแสดงให้เห็นว่า
ผู้ตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคล่าสัตว์
เลี้ยงพวกมัน เพื่อเอาเนื้อ เขากวาง หนังสัตว์
และกระดูก เมื่อพันปีก่อนได้อย่างไร
กวางเรนเดียร์ใน Artice Circle
ได้วิวัฒนาการการป้องกันตัว
ที่หลากหลาย เพื่อรับมือกับสัตว์นักล่า
รวมถึงการมองเห็น
แสงอัลตราไวโอเลต
ที่ช่วยให้พวกมันมองเห็นหมาป่า
ที่กลมกลืนในท่ามกลางหิมะสีขาวโพลนได้
พวกมันเป็นกวางประเภทเดียว
ที่ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีเขากวางที่เติบโต
แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า
การมีเขาของพวกมันมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน
กวางเพศผู้จะสลัดเขากวาง
ในเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม
เขากวางที่เคยใช้เพื่อป้องกัน
การโจมตีจากสัตว์นักล่า
และต่อสู้แย่งชิงกันเป็นจ่าฝูง
เพื่อจะได้ผสมพันธุ์ตัวเมียได้หลายตัว
เพราะมีแต่ตัวผู้ที่แข็งแรงมากที่สุด
ตัวเมียจึงอยากจะสืบพันธุ์ด้วย
เพื่อถ่ายทอดพันธุกรรมฝูงกวางต่อไป
กับเพื่อแสดงให้เห็นถึงความฟิต/แข็งแรง
ในการเปรียบเทียบกับกวางฝูงเดียวกัน
แบบไร้เขายังสามารถใช้ขาขุดหาอาหารได้
แต่กวางตัวเมีย
จะเก็บเขากวางไว้ จนถึงฤดูใบไม้ผลิ
เพื่อใช้ดันหิมะออก/ไว้คุ้ยหาอาหาร
ในกองหิมะช่วงฤดูหนาวได้
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3mn4DE8
https://bit.ly/3fXQCvF
https://bit.ly/3unU4U4
.
.
.
©
โรคแอนแทรกซ์ Anthrax
โรคแอนแทรกซ์คืออะไร มีสาเหตุจากอะไร
โรคแอนแทรกซ์เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
Bacillus anthracis
ซึ่งสามารถสร้างสปอร์ที่มีความทนทาน
อาจปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม/แพร่เชื้อต่อไปได้
ทำให้โค แพะ แกะ ตายอย่างเฉียบพลัน
พบการป่วยได้ในโค กระบือ แพะ แกะ
และทำให้เกิดอาการที่รุนแรงในคนด้วย
โรคแอนแทรกซ์เคยถูกนำมาใช้
เป็นอาวุธชีวภาพ เมื่อปีพ.ศ. 2544 (20 ปีก่อน)
เมื่อมีการส่งสปอร์ของเชื้อไปกับจดหมาย
ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งทำให้เกิดการติดโรคในคนถึง 22 ราย
และมีผู้เสียชีวิต 5 ราย
สัตว์ชนิดใดเป็นโรคแอนแทรกซ์ได้บ้าง
สัตว์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดโรคนี้ คือ
โค แพะ แกะ
นอกจากนี้ยังสามารถเกิดโรคได้ ใน
ม้า สุกร สุนัข แมว และสัตว์ป่า
โรคแอนแทรกซ์มีผลต่อสัตว์อย่างไร
โดยทั่วไปสัตว์ติดโรคนี้จากการกินสปอร์
ที่ปนเปื้อนอยู่ในดินขณะเล็มหญ้า
สปอร์ของเชื้อมีความคงทนต่อน้ำยาฆ่าเชื้อมาก
และสามารถมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมได้นาน
ในสัตว์กินเนื้ออาจติดเชื้อจากการกินซากสัตว์
ที่เป็นโรคแอนแทรกซ์
โรคแอนแทรกซ์มีผลต่อสัตว์อย่างไร
สัตว์ที่ติดโรคแอนแทรกซ์มักตายทันที
ก่อนตายสัตว์อาจมีอาการมีไข้
กล้ามเนื้อสั่น หายใจลำบาก
และอาจพบเลือดไหลออกมาจากปาก
จมูก และทวารหนักหลังตาย
คนติดโรคแอนแทรกซ์ได้หรือไม่
คนติดโรคแอนแทรกซ์ได้สามทางคือ
จากการสัมผัสทางผิวหนัง หายใจ และกิน
โดยพบการติดเชื้อทางผิวหนังได้บ่อยที่สุด
ส่วนใหญ่คนติดโรคแอนแทรกซ์
ผ่านรอยแยกบนผิวหนัง
ที่สัมผัสโดยตรงกับสัตว์ป่วย
หรือเลือด ขน หนังของสัตว์ที่เป็นโรค
เชื้ออาจติดต่อได้โดยถูกแมลงกัด
ภายในระยะเวลาไม่นานหลังติดเชื้อ
ผิวหนังบริเวณที่มีการติดเชื้อ
จะมีลักษณะบวมแดง
และกลายเป็นสะเก็ดสีดำในเวลาต่อมา
คนสามารถติดโรคแอนแทรกซ์ได้
โดยการได้รับเชื้อที่ติดไปกับฝุ่นในสิ่งแวดล้อม
หรือขน/หนังสัตว์เข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ
ซึ่งทำให้แสดงอาการรุนแรงที่สุด
และทำให้ตายได้
อาการที่พบเช่น มีไข้ ไอ
เจ็บหน้าอกรุนแรง หายใจลำบาก
จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด
นอกจากนี้โรคแอนแทรกซ์ยังสามารถติดได้
จากการกินเนื้อสัตว์ที่เป็นโรคแอนแทรกซ์
และไม่ได้ทำให้สุก (กินดิบ ๆ ครึ่งสุกครึ่งดิบ)
อาการที่พบเช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
ปวดเมื่อยตามตัว และถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
ควรติดต่อใครเมื่อสงสัยว่าเกิดโรคแอนแทรกซ์
กรณีสัตว์ : แจ้งสัตวแพทย์ทันที
กรณีคน : พบแพทย์ทันที
จะป้องกันสัตว์จากโรคแอนแทรกซ์ได้อย่างไร
ควรป้องกันโดยการฉีดวัคซีนในสัตว์
ถ้าในพื้นที่นั้นเกิดโรคแอนแทรกซ์อยู่เป็นประจำ
ควรทำลายซากสัตว์ที่ตาย
จากโรคแอนแทรกซ์ด้วยการเผา
หรือฝังเพื่อไม่ให้สปอร์ของเชื้อ
ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม
ถ้าฝังต้องมีการฆ่าเชื้อในบริเวณที่ฝังด้วย
เพราะสปอร์สามารถอยู่ในดินได้
เป็นเวลานับสิบปีและแพร่ไปสู่สัตว์อื่นได้อีก
จะป้องกันตัวจากโรคแอนแทรกซ์ได้อย่างไร
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือชำแหละซากสัตว์
ที่สงสัยว่าเป็นโรคแอนแทรกซ์
หรืออาจป้องกันโดยการฉีดวัคซีนป้องกัน
สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพ
ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรค
เช่น สัตวแพทย์ คนเลี้ยงสัตว์
เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ คนฆ่าสัตว์
.
13
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
เขากวางอ่อนคนจีนจะผสมยาจีนนำมาต้มกิน
ส่วนชาวบ้านไทยนิยมดองเหล้ากินเป็นยา
เขากวางอ่อน เดิมจะใช้มีดร้านยาจีน
หั่นเป็นแผ่นบาง ๆ
แต่ตอนนี้มึมีดไฟฟ้าหั่นได้ดีกว่า
และมีการขายเป็นผงแคปซูลด้วย
มีความเชื่อในแพทย์แผนโบราณว่า
กินแล้วแข็ง แรงไม่มี โรคภัยเบียดเบียน
เขากวางอ่อน จะประกอบด้วย
ขนอ่อน กระดูกอ่อน และเลือด
ได้จากการตัด/เลื่อยเขากวางโดยตรง
ช่วงตัดเขากวาง กวางจะมีเลือดออกซิบ ๆ
บริเวณโคนเขากวางที่ถูกตัด/เลื่อยออก
เลือดส่วนนี้จะซับเก็บไว้เพื่อดองเหล้ากิน
ก่อนที่จะห้ามเลือด/ทายาให้กวาง
แล้วรอให้เขางอกใหม่ทุกปี/ตัดทุกปี
จะได้ 8-10 ครั้ง=อายุกวาง
เชื่อกันว่าเขากวางอ่อนที่ตัด/เลื่อยออกมา
เอามากินเป็นยาแล้ว จะมีคุณภาพดีกว่า
เขาที่กวางสลัดหลุดเองตามธรรมชาติ
ในเมืองไทยก็มีคนเลี้ยงกวางเพื่อการนี้แล้ว
ส่วนมากเป็นกวางนอก พันธุ์รูซ่า
มีความเชื่อว่า คนอายุน้อย ๆ
กินเขากวางอ่อนไม่ได้
กินแล้วอาจจะเป็นโรคท้าวแสนปมเต็มร่าง
หรือ โรคไทกอ/โรคเรื้อน เพราะยามันแรง
แต่เขากวางอ่อน น่าจะราคาแพงมากในอดีต
เลยดักทางเด็ก/เยาวรุ่น ไม่ให้ลักหยบ(แอบ)กิน
.
ในคลิป หลังจากตัดเขากวางออกแล้ว
จะฝังแท่งโลหะเข้าไปในเขากวาง
แล้วใช้ลวดความร้อนจี้ลงไปตามอีกครั้ง
เป็นหลักการในการห้ามเลือดที่ออกมาก
และทำลายการงอกของเขากวางอีกในอนาคต
ก่อนจะทำการห้ามเลือดและฉีดยาป้องกัน
หลักการแบบ
การทำลายเขาโค
.
ฝูงกวางเรนเดียร์วิ่งวนเป็นวงกลมเพื่อป้องกันสัตว์นักล่า
Herd of deer create cyclone
as they graze fields
1
2
.
.
วิดีโอโดรนที่ถ่ายใน Arctic Circle มีภาพน่าทึ่ง
โดยจับภาพกวางเรนเดียร์ Reindeer
วิ่งวนเหมือนพายุไซโคลน เมื่อถูกคุกคาม
กวางเรนเดียร์จะเริ่มแตกตื่นวิ่งวนเป็นวงกลม
เหมือนถูกเวทยมนตร์สะกด
ทำให้นักล่าหาเป้าหมายได้ยาก
ในคลิปฝูงสัตว์ส่งเสียงร้อง
และมีลูกพวกมัน/ตัวที่อ่อนแออยู่กลางวงล้อม
โดยตัวที่แข็งแรงจะวิ่งวนไปรอบ ๆ
คล้ายกับพวกมันกำลังเต้นรำ เพื่อป้องกันตัว
ช่างภาพ Lev Fedoseyev
ถ่ายภาพฝูงกวางเรนเดียร์ด้วยโดรน
ฝูงกวางที่แตกตื่นวิ่งวนเป็นเกลียวขนาดใหญ่
พร้อมกับเสียงพึมพำจากการจับภาพทางอากาศ
ที่ชวนให้ต้องอึ้งไปเลย
ในการถ่ายภาพเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2021
นอกหมู่บ้าน Lovozero
ทางตะวันตกเฉียงเหนือ
ของ Murmansk Oblast ของรัสเซีย
ฝูงสัตว์ฝูงนี้อยู่ในเมือง Murmansk
ถูกสัตวแพทย์พยายามฉีดวัคซีนป้องกัน
โรคแอนแทรกซ์ Anthrax ให้กับพวกมัน
พฤติกรรมดังกล่าว สังเกตเห็นได้ใน
ปลาโลมา กระทิง ฝูงปลาบางชนิด และช้าง
แต่มุมมองทางอากาศควบคู่ไปกับ
ความเร็วและขนาดของฝูงสัตว์
ทำให้เห็นภาพที่ตัองอึ้งอย่างแรงไปเลย
กวางเรนเดียร์เป็นกวางสายพันธุ์เดียว
ที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย
โดยชนเผ่าพื้นเมือง Sami ที่มีภาษาพูดเฉพาะ
อาศัยอยู่ใน Murmansk หรือที่รู้จักกันในชื่อ
นักเลี้ยงฝูงกวางเรนเดียร์
มักใช้พวกมันเป็นอาหาร ตัดขน ตัดเขา
และขับ Pulk รถลากเลื่อนบนหิมะ
.
4
.
.
เมื่อซูมกล้องโดรนจะเห็นว่า
พายุไซโคลนลูกที่สองก่อตัวในกรงที่อยู่ใกล้ ๆ
จริง ๆ แล้วการเต้นรำเป็นการซ้อมรบ
เพื่อป้องกันตัว เมื่อฝูงสัตว์สัมผัสได้ถึงอันตราย
กวางตัวผู้ที่โตเต็มวัยจะแตกตื่นวิ่งเป็นวงกลม
ซึ่งอาจทำให้ฝูงหมาป่า หมี
และสัตว์นักล่าอื่น ๆ สับสนได้ง่าย
เพื่อเป็นการป้องกันที่แข็งขัน
และตัวที่อ่อนแอจะรวมตัวกันอยู่ตรงกลาง
คล้ายรูปแบบของกระแสน้ำวน
กวางเรนเดียร์คือพายุไซโคลนที่แท้จริง
ผู้ใช้ทวิตเตอร์ Science Girl
เขียนโพสต์ในคลิปที่แชร์
ฝูงกวางเรนเดียร์ที่ถูกคุกคามที่กำลังหมุนวน
คล้ายกำลังแตกตื่นวิ่งเป็นวงกลม
ทำให้ศัตรูไม่สามารถกำหนดเป้าหมาย
ไปที่ตัวใดตัวหนึ่งได้อย่างชัดเจน
กวางเรนเดียร์สามารถวิ่งทึ่
ความเร็วสูงสุดที่ 50 ไมล์ต่อชั่วโมง
ตามขัอมูลของสวนสัตว์ซานดิเอโก
พอที่จะป้องกันไม่ให้นักล่ากระโจนเข้าใส่
และใช้วิธีนี้ในการต่อสู้กับสัตว์นักล่า
ในกรณีนี้ แม้ว่าจะเป็นสัตวแพทย์ประจำภูมิภาค
ที่เดินทางเข้ามาฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์
แต่ฝูงกวางก็ยังหวาบ(กลัว)/แตกตื่น
กวางเรนเดียร์สามารถเดินทางเป็นฝูง
จำนวนไม่เกิน 10 ตัว ไปจนถึงหลายร้อยตัว
และในฤดูใบไม้ผลิเป็นที่รู้จักกัน
ในรูปแบบ Super-herds มากถึง 500,000 ตัว
.
6
.
.
ตามข้อมูลของสำนักงาน
คณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา
ในฤดูใบไม้ผลิ ฝูงกวางเรนเดียร์จะมารวมฝูงกัน
ได้มากถึง 50,000 ถึง 500,000 ตัวเลยทีเดียว
ฝูงสัตว์ป่าที่ใหญ่/มากที่สุดในโลก
คือ ฝูงกวางเรนเดียร์ Taimyr Deer
ที่อพยพใน ทุ่งหญ้าทุนดรา ที่ไซบีเรีย
มีมากถึงนับล้านตัวเลยทีเดียว
ในปี 2019
สารคดี Wild Way of the Vikings ของ PBS
ได้นำเสนอ นักล่าไวกิ้งที่เผชิญหน้ากับ
พายุไซโคลนของฝูงกวางเรนเดียร์
เพื่อแสดงให้เห็นว่า
ผู้ตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคล่าสัตว์
เลี้ยงพวกมัน เพื่อเอาเนื้อ เขากวาง หนังสัตว์
และกระดูก เมื่อพันปีก่อนได้อย่างไร
กวางเรนเดียร์ใน Artice Circle
ได้วิวัฒนาการการป้องกันตัว
ที่หลากหลาย เพื่อรับมือกับสัตว์นักล่า
รวมถึงการมองเห็น แสงอัลตราไวโอเลต
ที่ช่วยให้พวกมันมองเห็นหมาป่า
ที่กลมกลืนในท่ามกลางหิมะสีขาวโพลนได้
พวกมันเป็นกวางประเภทเดียว
ที่ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีเขากวางที่เติบโต
แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า
การมีเขาของพวกมันมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน
กวางเพศผู้จะสลัดเขากวาง
ในเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม
เขากวางที่เคยใช้เพื่อป้องกัน
การโจมตีจากสัตว์นักล่า
และต่อสู้แย่งชิงกันเป็นจ่าฝูง
เพื่อจะได้ผสมพันธุ์ตัวเมียได้หลายตัว
เพราะมีแต่ตัวผู้ที่แข็งแรงมากที่สุด
ตัวเมียจึงอยากจะสืบพันธุ์ด้วย
เพื่อถ่ายทอดพันธุกรรมฝูงกวางต่อไป
กับเพื่อแสดงให้เห็นถึงความฟิต/แข็งแรง
ในการเปรียบเทียบกับกวางฝูงเดียวกัน
แบบไร้เขายังสามารถใช้ขาขุดหาอาหารได้
แต่กวางตัวเมีย
จะเก็บเขากวางไว้ จนถึงฤดูใบไม้ผลิ
เพื่อใช้ดันหิมะออก/ไว้คุ้ยหาอาหาร
ในกองหิมะช่วงฤดูหนาวได้
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3mn4DE8
https://bit.ly/3fXQCvF
https://bit.ly/3unU4U4
.
.
8
pulks
9
10
© https://bit.ly/3wy51nS
11
© https://bit.ly/3mnMiGV
.
12
.
.
© โรคแอนแทรกซ์ Anthrax
โรคแอนแทรกซ์คืออะไร มีสาเหตุจากอะไร
โรคแอนแทรกซ์เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis
ซึ่งสามารถสร้างสปอร์ที่มีความทนทาน
อาจปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม/แพร่เชื้อต่อไปได้
ทำให้โค แพะ แกะ ตายอย่างเฉียบพลัน
พบการป่วยได้ในโค กระบือ แพะ แกะ
และทำให้เกิดอาการที่รุนแรงในคนด้วย
โรคแอนแทรกซ์เคยถูกนำมาใช้
เป็นอาวุธชีวภาพ เมื่อปีพ.ศ. 2544 (20 ปีก่อน)
เมื่อมีการส่งสปอร์ของเชื้อไปกับจดหมาย
ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งทำให้เกิดการติดโรคในคนถึง 22 ราย
และมีผู้เสียชีวิต 5 ราย
สัตว์ชนิดใดเป็นโรคแอนแทรกซ์ได้บ้าง
สัตว์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดโรคนี้ คือ
โค แพะ แกะ
นอกจากนี้ยังสามารถเกิดโรคได้ ใน
ม้า สุกร สุนัข แมว และสัตว์ป่า
โรคแอนแทรกซ์มีผลต่อสัตว์อย่างไร
โดยทั่วไปสัตว์ติดโรคนี้จากการกินสปอร์
ที่ปนเปื้อนอยู่ในดินขณะเล็มหญ้า
สปอร์ของเชื้อมีความคงทนต่อน้ำยาฆ่าเชื้อมาก
และสามารถมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมได้นาน
ในสัตว์กินเนื้ออาจติดเชื้อจากการกินซากสัตว์
ที่เป็นโรคแอนแทรกซ์
โรคแอนแทรกซ์มีผลต่อสัตว์อย่างไร
สัตว์ที่ติดโรคแอนแทรกซ์มักตายทันที
ก่อนตายสัตว์อาจมีอาการมีไข้
กล้ามเนื้อสั่น หายใจลำบาก
และอาจพบเลือดไหลออกมาจากปาก
จมูก และทวารหนักหลังตาย
คนติดโรคแอนแทรกซ์ได้หรือไม่
คนติดโรคแอนแทรกซ์ได้สามทางคือ
จากการสัมผัสทางผิวหนัง หายใจ และกิน
โดยพบการติดเชื้อทางผิวหนังได้บ่อยที่สุด
ส่วนใหญ่คนติดโรคแอนแทรกซ์
ผ่านรอยแยกบนผิวหนัง
ที่สัมผัสโดยตรงกับสัตว์ป่วย
หรือเลือด ขน หนังของสัตว์ที่เป็นโรค
เชื้ออาจติดต่อได้โดยถูกแมลงกัด
ภายในระยะเวลาไม่นานหลังติดเชื้อ
ผิวหนังบริเวณที่มีการติดเชื้อ
จะมีลักษณะบวมแดง
และกลายเป็นสะเก็ดสีดำในเวลาต่อมา
คนสามารถติดโรคแอนแทรกซ์ได้
โดยการได้รับเชื้อที่ติดไปกับฝุ่นในสิ่งแวดล้อม
หรือขน/หนังสัตว์เข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ
ซึ่งทำให้แสดงอาการรุนแรงที่สุด
และทำให้ตายได้
อาการที่พบเช่น มีไข้ ไอ
เจ็บหน้าอกรุนแรง หายใจลำบาก
จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด
นอกจากนี้โรคแอนแทรกซ์ยังสามารถติดได้
จากการกินเนื้อสัตว์ที่เป็นโรคแอนแทรกซ์
และไม่ได้ทำให้สุก (กินดิบ ๆ ครึ่งสุกครึ่งดิบ)
อาการที่พบเช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
ปวดเมื่อยตามตัว และถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
ควรติดต่อใครเมื่อสงสัยว่าเกิดโรคแอนแทรกซ์
กรณีสัตว์ : แจ้งสัตวแพทย์ทันที
กรณีคน : พบแพทย์ทันที
จะป้องกันสัตว์จากโรคแอนแทรกซ์ได้อย่างไร
ควรป้องกันโดยการฉีดวัคซีนในสัตว์
ถ้าในพื้นที่นั้นเกิดโรคแอนแทรกซ์อยู่เป็นประจำ
ควรทำลายซากสัตว์ที่ตาย
จากโรคแอนแทรกซ์ด้วยการเผา
หรือฝังเพื่อไม่ให้สปอร์ของเชื้อ
ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม
ถ้าฝังต้องมีการฆ่าเชื้อในบริเวณที่ฝังด้วย
เพราะสปอร์สามารถอยู่ในดินได้
เป็นเวลานับสิบปีและแพร่ไปสู่สัตว์อื่นได้อีก
จะป้องกันตัวจากโรคแอนแทรกซ์ได้อย่างไร
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือชำแหละซากสัตว์
ที่สงสัยว่าเป็นโรคแอนแทรกซ์
หรืออาจป้องกันโดยการฉีดวัคซีนป้องกัน
สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพ
ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรค
เช่น สัตวแพทย์ คนเลี้ยงสัตว์
เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ คนฆ่าสัตว์
.
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
เขากวางอ่อนคนจีนจะผสมยาจีนนำมาต้มกิน
ส่วนชาวบ้านไทยนิยมดองเหล้ากินเป็นยา
เขากวางอ่อน เดิมจะใช้มีดร้านยาจีน
หั่นเป็นแผ่นบาง ๆ
แต่ตอนนี้มึมีดไฟฟ้าหั่นได้ดีกว่า
และมีการขายเป็นผงแคปซูลด้วย
มีความเชื่อในแพทย์แผนโบราณว่า
กินแล้วแข็ง แรงไม่มี โรคภัยเบียดเบียน
เขากวางอ่อน จะประกอบด้วย
ขนอ่อน กระดูกอ่อน และเลือด
ได้จากการตัด/เลื่อยเขากวางโดยตรง
ช่วงตัดเขากวาง กวางจะมีเลือดออกซิบ ๆ
บริเวณโคนเขากวางที่ถูกตัด/เลื่อยออก
เลือดส่วนนี้จะซับเก็บไว้เพื่อดองเหล้ากิน
ก่อนที่จะห้ามเลือด/ทายาให้กวาง
แล้วรอให้เขางอกใหม่ทุกปี/ตัดทุกปี
จะได้ 8-10 ครั้ง=อายุกวาง
เชื่อกันว่าเขากวางอ่อนที่ตัด/เลื่อยออกมา
เอามากินเป็นยาแล้ว จะมีคุณภาพดีกว่า
เขาที่กวางสลัดหลุดเองตามธรรมชาติ
ในเมืองไทยก็มีคนเลี้ยงกวางเพื่อการนี้แล้ว
ส่วนมากเป็นกวางนอก พันธุ์รูซ่า
มีความเชื่อว่า คนอายุน้อย ๆ
กินเขากวางอ่อนไม่ได้
กินแล้วอาจจะเป็นโรคท้าวแสนปมเต็มร่าง
หรือ โรคไทกอ/โรคเรื้อน เพราะยามันแรง
แต่เขากวางอ่อน น่าจะราคาแพงมากในอดีต
เลยดักทางเด็ก/เยาวรุ่น ไม่ให้ลักหยบ(แอบ)กิน
.
พร้อมตัดเขาอ่อนกวางขาย เพิ่มช่องทางสร้างรายได้ดี
14
.
AMPUTATING GIANT ANTLERS off
a WHITETAIL BUCK
ในคลิป หลังจากตัดเขากวางออกแล้ว
จะฝังแท่งโลหะเข้าไปในเขากวาง
แล้วใช้ลวดความร้อนจี้ลงไปตามอีกครั้ง
เป็นหลักการในการห้ามเลือดที่ออกมาก
และทำลายการงอกของเขากวางอีกในอนาคต
ก่อนจะทำการห้ามเลือดและฉีดยาป้องกัน
หลักการแบบ การทำลายเขาโค
.
© คุณค่าทางโภชนาการของเขากวางอ่อน
.
15
© https://deercot.com