แนะ 6 แนวทางลดราคาน้ำมันได้จริง 'ประยุทธ์' ต้องรู้ทัน อย่าถูก บ.พลังงาน หลอก
https://www.khaosod.co.th/politics/news_6242231
อดีต รมว.พลังงาน “พิชัย นริพทะพันธุ์” แนะ กมธ.พลังงาน 6 แนวทาง ลดราคาน้ำมันได้จริง แนะ “นายกฯ ประยุทธ์” ต้องรู้ทัน อย่าไปถูกบริษัทพลังงานหลอก
เมื่อวันที่ 31 มี.ค. นาย
พิชัย นริพทะพันธุ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า ตามที่ตนได้เสนอแนวทางการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเพื่อลดราคาน้ำมันก่อนหน้านี้ ล่าสุดกรรมาธิการพลังงาน สภาฯ ได้เชิญตนเข้าให้ข้อมูลเรื่องราคาน้ำมันที่ควรปรับโครงสร้าง เพื่อลดราคาน้ำมันและให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้บริโภค
โดยอยากให้มีหลักการในการกำหนดนโยบายพลังงานให้เข้ากับทิศทางของโลกในอนาคต แม้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะปรับลดลงมาแล้ว ไทยก็ควรจะต้องปรับโครงสร้างราคาน้ำมันให้ยุติธรรม อย่าให้บริษัทพลังงานเอาเปรียบประชาชนได้ โดยได้เสนอแนวทางการลดราคาน้ำมัน 6 แนวทางดังนี้
1. ราคาหน้าโรงกลั่นของไทยให้มีราคาเท่ากับราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์ อีกทั้งราคาหน้าโรงกลั่นที่ขายในประเทศต้องเท่ากับราคาส่งออก
2. การปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่เก็บอยู่ในปัจจุบันที่ลิตรละ 5.99 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มเท่ากับ 6.41 บาท น่าจะปรับลดลงได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง หรือลดลงลิตรละ 3 บาท เมื่อราคานำ้มันขึ้นก็ควรจะลดการเก็บภาษีลง เพราะน้ำมันดีเซลเป็นต้นทุนของการผลิตและการขนส่งของสินค้า
นายพิชัย กล่าวต่อว่า 3. ลดการเก็บเงินเข้าเก็บกองทุนน้ำมัน เพราะราคาน้ำมันในอนาคตไม่น่าจะผันผวนมากแล้ว เพราะพบแหล่งน้ำมันใหม่ในสหรัฐฯ จำนวนมาก แนวโน้มการใช้น้ำมันจะลดลงเรื่อยๆ ทดแทนโดยการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้รัฐควรที่จะนำเงินมาคืนกองทุนน้ำมันที่เก็บมากเกินในอดีตจำนวนเป็นหมื่นล้านบาท เพราะเป็นเงินของประชาชน ไม่ใช่เงินภาษี โดยเงินกองทุนนี้สามารถนำมาใช้สนับสนุนราคาน้ำมันในช่วงราคาที่ผันผวนได้ จนกว่าราคาน้ำมันจะกลับเข้าสู่ราคาปกติ
4. การลดราคาเอทานอลที่ผสมในแก๊สโซฮอล์ ปัจจุบันราคาเอทานอลที่ผสมในแก๊สโซฮอล์มีราคาที่สูงมากถึงลิตรละ 24.83 บาท ขณะที่ราคาเนื้อน้ำมันที่กลั่นแล้วอยู่ที่ 14.58 บาท และราคาเอทานอลในตลาดโลกก็อยู่ในราคาใกล้เคียงกับราคาเนื้อน้ำมันที่กลั่นแล้ว ดังนั้นจึงควรเจรจาเพื่อลดราคาเอทานอลลงเพื่อลดราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ลง รวมถึงการเจรจาลดราคาน้ำมันปาล์มที่ผสมอยู่ในไบโอดีเซลด้วย เพราะราคาสูงถึงลิตรละ 36.96 บาท หรือไม่ก็ควรผสมไบโอดีเซลในสัดส่วนที่ลดลงเพื่อลดราคาน้ำมันดีเซล
นายพิชัย กล่าวอีกว่า 5. ลดราคาค่าการตลาด ก่อนหน้านี้ค่าการตลาดของน้ำมันได้พุ่งขึ้นสูงมากถึงลิตรละ 2.28-4.31 บาท ซึ่งค่าการตลาดที่เหมาะสมควรมีค่าเฉลี่ยไม่เกิน 1.50-1.80 บาท ซึ่งผู้แทนจากสถาบันปิโตรเลียมเห็นตรงกับตน และได้แจ้งว่าต้นทุนค่าการตลาดที่จริงอยู่ที่ 1.44 บาทเท่านั้น สามารถลดลงมาได้
6. การลดการเก็บกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมีการใช้เงินกองทุนอย่างสะเปะสะปะ นำเงินไปแจกให้ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ตำรวจ ศอ.บต และ กอ.รมน.ใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ จัดซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง ใช้การไม่ได้ บางแห่งอุปกรณ์ยังล่องหน น่าจะมีทุจริตคอร์รัปชั่นกันมาก ถ้าหากไม่สามารถปรับปรุงการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพได้ ก็ควรจะต้องยกเลิกการเก็บเงินเข้ากองทุนไปเลย
ทั้งนี้ อยากให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ได้ศึกษาเรื่องพลังงานและแนวทางทั้ง 6 ให้ละเอียด จะได้ไม่ถูกบริษัทพลังงานให้ข้อมูลที่บิดเบือน หรืออาจถูกครอบงำโดยกลุ่มบุคคลที่มาจากบริษัทพลังงานใหญ่ที่มีผลประโยชน์มหาศาล ราคาน้ำมันที่ถูกลงจะช่วยลดภาระประชาชนและยังจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้
ซีเอ็นเอ็นตีข่าวไทยผลักดันกะเหรี่ยงกลับเมียนมา
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/930085
สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงาน ไทยผลักดันประชาชนกว่า 2,000 คน ที่พยายามหนีตายจากการโจมตีทางอากาศกลับเมียนมา
ศูนย์ข้อมูลกะเหรี่ยงเผยกับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นวานนี้ (30 มี.ค.) ว่า ขณะนี้ประชาชน 2,009 คน กำลังพลัดถิ่นในประเทศและหลบซ่อนตัวอยู่ในป่า หลังข้ามพรมแดนเข้าไปในไทยได้ไม่นานก็ถูกผลักดันกลับเมียนมา
ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า ประชาชนหลายพันคนในรัฐกะเหรี่ยงทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมียนมาต้องหนีออกจากบ้านตั้งแต่วันอาทิตย์ (28 มี.ค) เนื่องจากกองทัพเมียนมาส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดถล่มหมู่บ้านในเขตควบคุมของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยกลุ่มสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู) ซึ่งควบคุมพื้นที่กว้างขวางบริเวณชายแดนไทยโจมตีป้อมทหารแห่งหนึ่งบริเวณใกล้ชายแดนมีผู้เสียชีวิต 10 คน
การไหลทะลักของผู้คนข้ามมายังประเทศไทยถือเป็นวิกฤติระลอกใหม่ของเมียนมา หลังทหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของนางอองซาน ซูจี เมื่อวันที่ 1 ก.พ.
การโจมตีทางอากาศและการปราบปรามประชาชนในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาถูกนานาชาติประณามอย่างหนัก เฉพาะในวันเสาร์ (27 มี.ค.) มีผู้เสียชีวิตจากการปราบปราม 114 คน มากที่สุดนับตั้งแต่ประชาชนประท้วงต้านรัฐบาลทหารนำโดยนายพลมินอ่องหล่าย
สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง (เอเอพีพี) ระบุว่า นับตั้งแต่รัฐประหารกองทัพเมียนมาสังหารประชาชนไปแล้วอย่างน้อย 510 คน วันจันทร์ (29 มี.ค.) ประชาชนถูกยิงเสียชีวิต 14 คน ในจำนวนนี้มีเด็กและวัยรุ่นรวมอยู่ด้วย
ด้านเคเอ็นยูเผยว่า ประชาชน 3,000 คน หนีการทิ้งระเบิดทางอากาศของกองทัพ ข้ามแม่น้ำสาละวินเข้ามาในประเทศไทย แล้วถูกผลักดันกลับไป 2,000 คน องค์กรผู้หญิงกะเหรี่ยง (เคดับเบิลยูโอ) ที่ปฏิบัติการอยู่ในรัฐกะเหรี่ยงและค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทย ยืนยันว่าการโจมตีทางอากาศบีบให้ประชาชน 10,000 คนในรัฐต้องละทิ้งบ้านเรือน และข้ามมาประเทศไทย 3,000 คน
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างคำพูดนาย
สิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปฏิเสธข่าวผู้ลี้ภัยถูกผลักดันกลับเมียนมา
เคเอ็นยูมอบภาพถ่ายหลายภาพให้ซีเอ็นเอ็นตั้งใจแสดงให้เห็นว่า ผู้ลี้ภัยเมียนมาถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าไทย สำนักข่าวรอยเตอร์เผยแพร่คลิปวีดิโอถ่ายโดยชาวบ้านกะเหรี่ยง เป็นภาพผู้ลี้ภัยอยู่บนเรือโดยมีทหารไทยจับตาดูอยู่
เคเอ็นยูระบุด้วยว่า การโจมตีทางอากาศที่เริ่มต้นตั้งแต่วันเสาร์ต่อเนื่องมาถึงวันจันทร์มีพลเรือนเสียชีวิต 3 คน นักรบเคเอ็นยู เสียชีวิตอย่างน้อย 2 คนในวันเสาร์
นาย
เดวิด ยูแบงก์ ผู้ก่อตั้งองค์กรบรรเทาทุกข์ “
ฟรีเบอร์มาเรนเจอร์ส” กล่าวว่า นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปีที่มีการโจมตีทางอากาศในพื้นที่นี้
ส่วนทางการไทยแม้รัฐบาลปฏิเสธ แต่ก็ถูกกลุ่มสิทธิมนุษยชนหลายกลุ่มวิจารณ์
“
การบังคับส่งคนกลับไปในพื้นที่ขัดแย้งเท่ากับส่งผู้ลี้ภัยกลับไปยังดินแดนหรือถิ่นที่ชีวิตและเสรีภาพของพวกเขาจะถูกคุกคาม ขัดต่อกฎหมายผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ” แถลงการณ์เมื่อวันจันทร์จากเครือข่ายกะเหรี่ยงยุโรประบุ
วิกฤติ‘คลองสุเอซ’ยังไม่จบ สะเทือนค้าไทยต่อ
https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/474102
เอกชนชี้เรือขวางคลองสุเอซคลี่คลายแล้ว แต่เรื่องยังไม่จบ ผลกระทบตามมาอีกอื้อ ทั้งสะเทือนการค้าไทย-อียู 1.1 ล้านล้านบาท 10 สินค้าถูกชะลอออเดอร์ใหม่ จับตาผู้ซื้อไม่รับของ ต่อรองช่วยจ่ายภาษี ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนเพิ่มทำค้าโลกสะดุด
เหตุ เรือ Ever Given (เอเวอร์ กิฟเว่น) เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ของบริษัทเรือ Ever Green ที่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ความยาว 400 เมตร เกิดอุบัติเหตุเกยตื้นขวาง คลองสุเอซ ซึ่งเป็นเส้นทางหลัก การขนส่งสินค้าเอเชีย-ยุโรป ทำให้คลองสุเอซเป็นอัมพาตมาตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2564 ส่งผลให้เรือบรรทุกสินค้า น้ำมัน และก๊าซ มากกว่า 450 ลำต้องติดอยู่ในเส้นทางดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญ ประเมินความเสียหายในเบื้องต้น ถึง 9,600 ล้านดอลลาร์ หรือมากกว่า 3 แสนล้านบาทต่อวัน
ล่าสุดวันที่ 29 มีนาคม สถานการณ์แม้เริ่มคลี่คลาย คลองสุเอซ เริ่มกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง หลังปฏิบัติการขยับเรือเอเวอร์ กิฟเว่น ประสบความสำเร็จและลากพ้นการกีดขวาง ผู้เชี่ยวชาญคาดภายใน 4 วันหลังจากนี้ทุกอย่างจะเข้าสู่ภาวะปกติ และคงต้องใช้เวลาทั้งวันและคืนเพื่อระบายเรือที่รอคิวสัญจร
นาย
สายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ บิสเนส คอร์ปอร์เรชั่น อินเตอร์แนชชั่นแนล จำกัด (อีบีซีไอ)ผู้ชำนาญการด้านโลจิสติกส์ การค้าระหว่างประเทศและสิทธิประโยชน์ภาษีอากร เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า แม้สถานการณ์คลองสุเอซจะเริ่มคลี่คลาย แต่ยังมีประเด็นที่จะตามมาหลังจากนี้อีกมากที่สำคัญได้แก่ ตู้สินค้าหรือตู้คอนเทนเนอร์ที่โลกขาดแคลนอยู่แล้ว จะขาดแคลนมากขึ้น เพราะปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ในเรือเอเวอร์ กิฟเว่น ซึ่งมีมากกว่า 18,300 ตู้ รวมกับปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ในเรือต่าง ๆ ที่รอเข้า-ออกคลองสุเอซ ซึ่งความล่าช้าในการส่งมอบสินค้าจะทำให้ตู้กลับคืนหมุนเวียนในระบบช้าลง
ต่อมาคือความล่าช้าในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าในยุโรปที่ช้าลงจากเดิม ทำให้คู่ค้าเสียโอกาสในการขาย และจะกระทบกับโรงงานผลิตต้นทางเป็นลูกโซ่ ซึ่งหากผู้ส่งออกไทยรับเงินตามแอล/ซีอาจจบกันไป แต่ถ้าเป็นการรับเงินโดยการโอนเงินอาจมีการต่อรองจากผู้ซื้อให้ผู้ส่งออกไทยช่วยชดเชยความเสียหายจากความล่าช้าในการส่งมอบ รวมถึงอาจขอให้จ่ายภาษีนำเข้าในกรณีหากยังรับมอบสินค้า
“
คู่ค้ามีสิทธิตีกลับไม่รับของหากเลยเวลาที่กำหนด แล้วให้ผู้ส่งออกไปจ่ายค่า Freight (ค่าระวางเรือ) เอง ตรงนี้จะเป็นภาระของผู้ส่งออก หลายเรื่องจะยุ่งยากมากขึ้น คงขึ้นกับการเจรจาต่อรอง”
บทเรียนจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ผู้ส่งออกต้องตระหนักถึงการทำประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล รวมถึงต้องหาซัพพลายเออร์เพิ่มกรณีที่ต้องนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบจากยุโรปเข้ามาผลิตสินค้าแล้วส่งออก อาจต้องหาผู้ขายวัตถุดิบในแหล่งอื่นของโลกเพิ่ม เช่น สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรืออาเซียน เพื่อลดความเสี่ยง
นาย
วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)กล่าวว่า จากเหตุการณ์คลองสุเอซช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา กระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยไปยุโรปมีความล่าช้า ซึ่งในปี 2563 การค้าไทย-สหภาพยุโรป(รวมอังกฤษ)มีมูลค่ากว่า 1.1 ล้านล้านบาท สินค้าหลักของไทยที่ขนส่งผ่านคลองสุเอซ อยู่ในกลุ่มสินค้า 10 อันดับแรกที่ไทยส่งออกไปยุโรป ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, อัญมณีและเครื่องประดับ, ผลิตภัณฑ์ยาง, เครื่อง ปรับอากาศและส่วนประกอบ, รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, รถจักร ยานยนต์ และส่วนประกอบ, แผงวงจรไฟฟ้า, ไก่แปรรูป, เครื่องจักรกล และส่วนประกอบ และเครื่องนุ่งห่ม
“
ผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องการส่งมอบที่ล่าช้า คู่ค้าชะลอออร์เดอร์ใหม่เพื่อรอดูสถานการณ์ และจากนี้ตู้คอนเทนเนอร์มีแนวโน้มขาดแคลนมากขึ้น จากตู้หมุนเวียนช้าลง ในส่วนของค่าระวางเรือ ค่าธรรมเนียมต่างๆ เท่าที่สอบถามสมาชิกยังไม่ปรับขึ้น สรท.ยังคาดการณ์ส่งออกไทยปีนี้จะขยายตัวได้ 4% ตามที่ตั้งไว้เดิม”
JJNY : แนะ6แนวทางลดราคาน้ำมันได้จริง│ซีเอ็นเอ็นตีข่าวไทยผลักดันกะเหรี่ยง│วิกฤติ‘คลองสุเอซ’ยังไม่จบ│"สหายแสง"งานเข้า
https://www.khaosod.co.th/politics/news_6242231
เมื่อวันที่ 31 มี.ค. นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า ตามที่ตนได้เสนอแนวทางการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเพื่อลดราคาน้ำมันก่อนหน้านี้ ล่าสุดกรรมาธิการพลังงาน สภาฯ ได้เชิญตนเข้าให้ข้อมูลเรื่องราคาน้ำมันที่ควรปรับโครงสร้าง เพื่อลดราคาน้ำมันและให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้บริโภค
โดยอยากให้มีหลักการในการกำหนดนโยบายพลังงานให้เข้ากับทิศทางของโลกในอนาคต แม้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะปรับลดลงมาแล้ว ไทยก็ควรจะต้องปรับโครงสร้างราคาน้ำมันให้ยุติธรรม อย่าให้บริษัทพลังงานเอาเปรียบประชาชนได้ โดยได้เสนอแนวทางการลดราคาน้ำมัน 6 แนวทางดังนี้
1. ราคาหน้าโรงกลั่นของไทยให้มีราคาเท่ากับราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์ อีกทั้งราคาหน้าโรงกลั่นที่ขายในประเทศต้องเท่ากับราคาส่งออก
2. การปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่เก็บอยู่ในปัจจุบันที่ลิตรละ 5.99 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มเท่ากับ 6.41 บาท น่าจะปรับลดลงได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง หรือลดลงลิตรละ 3 บาท เมื่อราคานำ้มันขึ้นก็ควรจะลดการเก็บภาษีลง เพราะน้ำมันดีเซลเป็นต้นทุนของการผลิตและการขนส่งของสินค้า
นายพิชัย กล่าวต่อว่า 3. ลดการเก็บเงินเข้าเก็บกองทุนน้ำมัน เพราะราคาน้ำมันในอนาคตไม่น่าจะผันผวนมากแล้ว เพราะพบแหล่งน้ำมันใหม่ในสหรัฐฯ จำนวนมาก แนวโน้มการใช้น้ำมันจะลดลงเรื่อยๆ ทดแทนโดยการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้รัฐควรที่จะนำเงินมาคืนกองทุนน้ำมันที่เก็บมากเกินในอดีตจำนวนเป็นหมื่นล้านบาท เพราะเป็นเงินของประชาชน ไม่ใช่เงินภาษี โดยเงินกองทุนนี้สามารถนำมาใช้สนับสนุนราคาน้ำมันในช่วงราคาที่ผันผวนได้ จนกว่าราคาน้ำมันจะกลับเข้าสู่ราคาปกติ
4. การลดราคาเอทานอลที่ผสมในแก๊สโซฮอล์ ปัจจุบันราคาเอทานอลที่ผสมในแก๊สโซฮอล์มีราคาที่สูงมากถึงลิตรละ 24.83 บาท ขณะที่ราคาเนื้อน้ำมันที่กลั่นแล้วอยู่ที่ 14.58 บาท และราคาเอทานอลในตลาดโลกก็อยู่ในราคาใกล้เคียงกับราคาเนื้อน้ำมันที่กลั่นแล้ว ดังนั้นจึงควรเจรจาเพื่อลดราคาเอทานอลลงเพื่อลดราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ลง รวมถึงการเจรจาลดราคาน้ำมันปาล์มที่ผสมอยู่ในไบโอดีเซลด้วย เพราะราคาสูงถึงลิตรละ 36.96 บาท หรือไม่ก็ควรผสมไบโอดีเซลในสัดส่วนที่ลดลงเพื่อลดราคาน้ำมันดีเซล
นายพิชัย กล่าวอีกว่า 5. ลดราคาค่าการตลาด ก่อนหน้านี้ค่าการตลาดของน้ำมันได้พุ่งขึ้นสูงมากถึงลิตรละ 2.28-4.31 บาท ซึ่งค่าการตลาดที่เหมาะสมควรมีค่าเฉลี่ยไม่เกิน 1.50-1.80 บาท ซึ่งผู้แทนจากสถาบันปิโตรเลียมเห็นตรงกับตน และได้แจ้งว่าต้นทุนค่าการตลาดที่จริงอยู่ที่ 1.44 บาทเท่านั้น สามารถลดลงมาได้
6. การลดการเก็บกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมีการใช้เงินกองทุนอย่างสะเปะสะปะ นำเงินไปแจกให้ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ตำรวจ ศอ.บต และ กอ.รมน.ใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ จัดซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง ใช้การไม่ได้ บางแห่งอุปกรณ์ยังล่องหน น่าจะมีทุจริตคอร์รัปชั่นกันมาก ถ้าหากไม่สามารถปรับปรุงการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพได้ ก็ควรจะต้องยกเลิกการเก็บเงินเข้ากองทุนไปเลย
ทั้งนี้ อยากให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ได้ศึกษาเรื่องพลังงานและแนวทางทั้ง 6 ให้ละเอียด จะได้ไม่ถูกบริษัทพลังงานให้ข้อมูลที่บิดเบือน หรืออาจถูกครอบงำโดยกลุ่มบุคคลที่มาจากบริษัทพลังงานใหญ่ที่มีผลประโยชน์มหาศาล ราคาน้ำมันที่ถูกลงจะช่วยลดภาระประชาชนและยังจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้
ซีเอ็นเอ็นตีข่าวไทยผลักดันกะเหรี่ยงกลับเมียนมา
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/930085
สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงาน ไทยผลักดันประชาชนกว่า 2,000 คน ที่พยายามหนีตายจากการโจมตีทางอากาศกลับเมียนมา
ศูนย์ข้อมูลกะเหรี่ยงเผยกับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นวานนี้ (30 มี.ค.) ว่า ขณะนี้ประชาชน 2,009 คน กำลังพลัดถิ่นในประเทศและหลบซ่อนตัวอยู่ในป่า หลังข้ามพรมแดนเข้าไปในไทยได้ไม่นานก็ถูกผลักดันกลับเมียนมา
ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า ประชาชนหลายพันคนในรัฐกะเหรี่ยงทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมียนมาต้องหนีออกจากบ้านตั้งแต่วันอาทิตย์ (28 มี.ค) เนื่องจากกองทัพเมียนมาส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดถล่มหมู่บ้านในเขตควบคุมของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยกลุ่มสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู) ซึ่งควบคุมพื้นที่กว้างขวางบริเวณชายแดนไทยโจมตีป้อมทหารแห่งหนึ่งบริเวณใกล้ชายแดนมีผู้เสียชีวิต 10 คน
การไหลทะลักของผู้คนข้ามมายังประเทศไทยถือเป็นวิกฤติระลอกใหม่ของเมียนมา หลังทหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของนางอองซาน ซูจี เมื่อวันที่ 1 ก.พ.
การโจมตีทางอากาศและการปราบปรามประชาชนในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาถูกนานาชาติประณามอย่างหนัก เฉพาะในวันเสาร์ (27 มี.ค.) มีผู้เสียชีวิตจากการปราบปราม 114 คน มากที่สุดนับตั้งแต่ประชาชนประท้วงต้านรัฐบาลทหารนำโดยนายพลมินอ่องหล่าย
สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง (เอเอพีพี) ระบุว่า นับตั้งแต่รัฐประหารกองทัพเมียนมาสังหารประชาชนไปแล้วอย่างน้อย 510 คน วันจันทร์ (29 มี.ค.) ประชาชนถูกยิงเสียชีวิต 14 คน ในจำนวนนี้มีเด็กและวัยรุ่นรวมอยู่ด้วย
ด้านเคเอ็นยูเผยว่า ประชาชน 3,000 คน หนีการทิ้งระเบิดทางอากาศของกองทัพ ข้ามแม่น้ำสาละวินเข้ามาในประเทศไทย แล้วถูกผลักดันกลับไป 2,000 คน องค์กรผู้หญิงกะเหรี่ยง (เคดับเบิลยูโอ) ที่ปฏิบัติการอยู่ในรัฐกะเหรี่ยงและค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทย ยืนยันว่าการโจมตีทางอากาศบีบให้ประชาชน 10,000 คนในรัฐต้องละทิ้งบ้านเรือน และข้ามมาประเทศไทย 3,000 คน
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างคำพูดนายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปฏิเสธข่าวผู้ลี้ภัยถูกผลักดันกลับเมียนมา
เคเอ็นยูมอบภาพถ่ายหลายภาพให้ซีเอ็นเอ็นตั้งใจแสดงให้เห็นว่า ผู้ลี้ภัยเมียนมาถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าไทย สำนักข่าวรอยเตอร์เผยแพร่คลิปวีดิโอถ่ายโดยชาวบ้านกะเหรี่ยง เป็นภาพผู้ลี้ภัยอยู่บนเรือโดยมีทหารไทยจับตาดูอยู่
เคเอ็นยูระบุด้วยว่า การโจมตีทางอากาศที่เริ่มต้นตั้งแต่วันเสาร์ต่อเนื่องมาถึงวันจันทร์มีพลเรือนเสียชีวิต 3 คน นักรบเคเอ็นยู เสียชีวิตอย่างน้อย 2 คนในวันเสาร์
นายเดวิด ยูแบงก์ ผู้ก่อตั้งองค์กรบรรเทาทุกข์ “ฟรีเบอร์มาเรนเจอร์ส” กล่าวว่า นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปีที่มีการโจมตีทางอากาศในพื้นที่นี้
ส่วนทางการไทยแม้รัฐบาลปฏิเสธ แต่ก็ถูกกลุ่มสิทธิมนุษยชนหลายกลุ่มวิจารณ์
“การบังคับส่งคนกลับไปในพื้นที่ขัดแย้งเท่ากับส่งผู้ลี้ภัยกลับไปยังดินแดนหรือถิ่นที่ชีวิตและเสรีภาพของพวกเขาจะถูกคุกคาม ขัดต่อกฎหมายผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ” แถลงการณ์เมื่อวันจันทร์จากเครือข่ายกะเหรี่ยงยุโรประบุ
วิกฤติ‘คลองสุเอซ’ยังไม่จบ สะเทือนค้าไทยต่อ
https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/474102
เอกชนชี้เรือขวางคลองสุเอซคลี่คลายแล้ว แต่เรื่องยังไม่จบ ผลกระทบตามมาอีกอื้อ ทั้งสะเทือนการค้าไทย-อียู 1.1 ล้านล้านบาท 10 สินค้าถูกชะลอออเดอร์ใหม่ จับตาผู้ซื้อไม่รับของ ต่อรองช่วยจ่ายภาษี ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนเพิ่มทำค้าโลกสะดุด
เหตุ เรือ Ever Given (เอเวอร์ กิฟเว่น) เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ของบริษัทเรือ Ever Green ที่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ความยาว 400 เมตร เกิดอุบัติเหตุเกยตื้นขวาง คลองสุเอซ ซึ่งเป็นเส้นทางหลัก การขนส่งสินค้าเอเชีย-ยุโรป ทำให้คลองสุเอซเป็นอัมพาตมาตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2564 ส่งผลให้เรือบรรทุกสินค้า น้ำมัน และก๊าซ มากกว่า 450 ลำต้องติดอยู่ในเส้นทางดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญ ประเมินความเสียหายในเบื้องต้น ถึง 9,600 ล้านดอลลาร์ หรือมากกว่า 3 แสนล้านบาทต่อวัน
ล่าสุดวันที่ 29 มีนาคม สถานการณ์แม้เริ่มคลี่คลาย คลองสุเอซ เริ่มกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง หลังปฏิบัติการขยับเรือเอเวอร์ กิฟเว่น ประสบความสำเร็จและลากพ้นการกีดขวาง ผู้เชี่ยวชาญคาดภายใน 4 วันหลังจากนี้ทุกอย่างจะเข้าสู่ภาวะปกติ และคงต้องใช้เวลาทั้งวันและคืนเพื่อระบายเรือที่รอคิวสัญจร
นายสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ บิสเนส คอร์ปอร์เรชั่น อินเตอร์แนชชั่นแนล จำกัด (อีบีซีไอ)ผู้ชำนาญการด้านโลจิสติกส์ การค้าระหว่างประเทศและสิทธิประโยชน์ภาษีอากร เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า แม้สถานการณ์คลองสุเอซจะเริ่มคลี่คลาย แต่ยังมีประเด็นที่จะตามมาหลังจากนี้อีกมากที่สำคัญได้แก่ ตู้สินค้าหรือตู้คอนเทนเนอร์ที่โลกขาดแคลนอยู่แล้ว จะขาดแคลนมากขึ้น เพราะปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ในเรือเอเวอร์ กิฟเว่น ซึ่งมีมากกว่า 18,300 ตู้ รวมกับปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ในเรือต่าง ๆ ที่รอเข้า-ออกคลองสุเอซ ซึ่งความล่าช้าในการส่งมอบสินค้าจะทำให้ตู้กลับคืนหมุนเวียนในระบบช้าลง
ต่อมาคือความล่าช้าในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าในยุโรปที่ช้าลงจากเดิม ทำให้คู่ค้าเสียโอกาสในการขาย และจะกระทบกับโรงงานผลิตต้นทางเป็นลูกโซ่ ซึ่งหากผู้ส่งออกไทยรับเงินตามแอล/ซีอาจจบกันไป แต่ถ้าเป็นการรับเงินโดยการโอนเงินอาจมีการต่อรองจากผู้ซื้อให้ผู้ส่งออกไทยช่วยชดเชยความเสียหายจากความล่าช้าในการส่งมอบ รวมถึงอาจขอให้จ่ายภาษีนำเข้าในกรณีหากยังรับมอบสินค้า
“คู่ค้ามีสิทธิตีกลับไม่รับของหากเลยเวลาที่กำหนด แล้วให้ผู้ส่งออกไปจ่ายค่า Freight (ค่าระวางเรือ) เอง ตรงนี้จะเป็นภาระของผู้ส่งออก หลายเรื่องจะยุ่งยากมากขึ้น คงขึ้นกับการเจรจาต่อรอง”
บทเรียนจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ผู้ส่งออกต้องตระหนักถึงการทำประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล รวมถึงต้องหาซัพพลายเออร์เพิ่มกรณีที่ต้องนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบจากยุโรปเข้ามาผลิตสินค้าแล้วส่งออก อาจต้องหาผู้ขายวัตถุดิบในแหล่งอื่นของโลกเพิ่ม เช่น สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรืออาเซียน เพื่อลดความเสี่ยง
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)กล่าวว่า จากเหตุการณ์คลองสุเอซช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา กระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยไปยุโรปมีความล่าช้า ซึ่งในปี 2563 การค้าไทย-สหภาพยุโรป(รวมอังกฤษ)มีมูลค่ากว่า 1.1 ล้านล้านบาท สินค้าหลักของไทยที่ขนส่งผ่านคลองสุเอซ อยู่ในกลุ่มสินค้า 10 อันดับแรกที่ไทยส่งออกไปยุโรป ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, อัญมณีและเครื่องประดับ, ผลิตภัณฑ์ยาง, เครื่อง ปรับอากาศและส่วนประกอบ, รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, รถจักร ยานยนต์ และส่วนประกอบ, แผงวงจรไฟฟ้า, ไก่แปรรูป, เครื่องจักรกล และส่วนประกอบ และเครื่องนุ่งห่ม
“ผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องการส่งมอบที่ล่าช้า คู่ค้าชะลอออร์เดอร์ใหม่เพื่อรอดูสถานการณ์ และจากนี้ตู้คอนเทนเนอร์มีแนวโน้มขาดแคลนมากขึ้น จากตู้หมุนเวียนช้าลง ในส่วนของค่าระวางเรือ ค่าธรรมเนียมต่างๆ เท่าที่สอบถามสมาชิกยังไม่ปรับขึ้น สรท.ยังคาดการณ์ส่งออกไทยปีนี้จะขยายตัวได้ 4% ตามที่ตั้งไว้เดิม”