คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 22
คหสต.เอาใจเราล้วนๆตัดสิน คือข้อ 3
คือต้องคิดดีแล้วถึงอนุญาตให้เรือเข้ามาได้
เราว่าน่าเห็นใจทุกฝ่ายนะ
ทั้งน้ำ ทั้งลม ทั้งตัวเรือเอง ทั้งความแคบของคลอง
.........แต่ตามความจริงเอกสาร คือ Master ของเรือ ดังนั้นความผิดจะตกไปเป็น ข้อ 1. เจ้าของเรือ (เราเข้าใจถูกไหมว่าลูกเรือติดมากับเจ้าของเรือ ไม่ใช่ของ บ.ที่เช่า)
เราไปตามอ่านในบอร์ดของฝรั่งมา ไม่รู้ว่าข้อมูลถูกไหม ลิ้งค์อยู่ในสปอยล์ แย้งได้นะคะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อันนี้จากคลอง Suez เลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ที่นี้ต้องไปตามดูต่อไหมว่าจริงๆผลการสอบสวนแล้วมันเกิดอะไรขึ้น
คือต้องคิดดีแล้วถึงอนุญาตให้เรือเข้ามาได้
เราว่าน่าเห็นใจทุกฝ่ายนะ
ทั้งน้ำ ทั้งลม ทั้งตัวเรือเอง ทั้งความแคบของคลอง
.........แต่ตามความจริงเอกสาร คือ Master ของเรือ ดังนั้นความผิดจะตกไปเป็น ข้อ 1. เจ้าของเรือ (เราเข้าใจถูกไหมว่าลูกเรือติดมากับเจ้าของเรือ ไม่ใช่ของ บ.ที่เช่า)
เราไปตามอ่านในบอร์ดของฝรั่งมา ไม่รู้ว่าข้อมูลถูกไหม ลิ้งค์อยู่ในสปอยล์ แย้งได้นะคะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อันนี้จากคลอง Suez เลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ที่นี้ต้องไปตามดูต่อไหมว่าจริงๆผลการสอบสวนแล้วมันเกิดอะไรขึ้น
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 17
1. อย่างที่หลายๆ คห อธิบายไปแล้วครับ
เรือมันยาวกว่าความกว้างคลองครับ
ไม่ใช่ว่าเรือกว้างกว่าคลอง
ถ้าวิ่งตรงๆ ไปกลางคลองก็ไม่มีปัญหาอะไร
แต่พอขวางลำก็เกยตลิ่ง
และคลองก็ไม่ได้ลึกเท่ากันตลอดความกว้างครับ
ลึกสุดเฉพาะกลางคลอง ด้านข้างๆ จะลาดตื้นขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงตลิ่ง
2. ไม่มีเรือลากจูง เรือนำร่องครับ
คลองซุเอซใช้ระบบ pilot (คน) ที่เป็น จนท ของ SCA (Suez Canal Authority) ขึ้นไปรับช่วงเดินเรือระหว่างที่แล่นผ่านคลอง
ตอนเกิดเหตุ มี pilot ของ SCA 2 คนอยู่บนเรือ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความรับผิดชอบสูงสุดยังไงก็น่าจะต้องอยู่ที่ master ของเรือครับ เพราะ pilot อาจจะชำนาญคลองมากกว่าแต่ก็คงไม่รู้จักเรือดีเท่าลูกเรือ
3. แรงลมที่พัดเรือแรงกว่าที่พัดมือคนแน่ๆ ครับ
ที่เรารู้สึกว่าลมนอกรถตีมือไม่แรงก็เพราะพื้นที่มือเราเล็กนิดเดียวเองครับ (ลองจับชายผ้าปูนอนยื่นไปนอกรถดูสิครับ)
ปัจจัยที่สำคัญเรื่องแรงลมคือพื้นที่รับลมครับ (นึกถึงใบเรือ)
เรือยาว 400 ม. สูง 33 ม. กินน้ำลึกประมาณ 15 ม.
กะๆ เอาจากรูปว่าตู้สินค้าสูงพ้นกราบเรือซักเท่าตัว ตีว่าจากผิวน้ำถึงขอบบนตู้สินค้า 40 ม.
คิดว่าพื้นที่รับลมข้างเรือใหญ่ขนาดไหนครับ?
400 * 40 = 16,000 ตรม. = 10 ไร่ครับ
พื้นที่ 10 ไร่ แรงปะทะของลม 40 น็อตก็ ~380 ตันครับ
(จริงอยู่ครับว่าด้านข้างเรือไม่ได้แบนๆ รับลมเต็มๆ มีส่วนโค้งลู่ลม และถ้าลมทำมุมกับหัวเรือ ไม่ได้มาด้านข้างตรงๆ แรงปะทะก็จะลดลง แต่ตัวเลขข้างบนคงพอเป็นไอเดียว่ามันไม่ใช่แรงน้อยๆ)
อีกอย่างหนึ่งคือถ้าเป็นลมกระโชกจะอันตรายกว่าลมต่อเนื่องครับ เพราะลูกเรือไม่ทันตั้งตัว
4. เรือลำนี้ไม่ใช่ลำแรกครับที่เกยตื้นในคลองสุเอซ
ก่อนหน้านี้ก็มีหลายลำ แต่ขนาดเรือ ตำแหน่งที่เกย ทำให้ไม่เสียเวลามาก
เรือมันยาวกว่าความกว้างคลองครับ
ไม่ใช่ว่าเรือกว้างกว่าคลอง
ถ้าวิ่งตรงๆ ไปกลางคลองก็ไม่มีปัญหาอะไร
แต่พอขวางลำก็เกยตลิ่ง
และคลองก็ไม่ได้ลึกเท่ากันตลอดความกว้างครับ
ลึกสุดเฉพาะกลางคลอง ด้านข้างๆ จะลาดตื้นขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงตลิ่ง
2. ไม่มีเรือลากจูง เรือนำร่องครับ
คลองซุเอซใช้ระบบ pilot (คน) ที่เป็น จนท ของ SCA (Suez Canal Authority) ขึ้นไปรับช่วงเดินเรือระหว่างที่แล่นผ่านคลอง
ตอนเกิดเหตุ มี pilot ของ SCA 2 คนอยู่บนเรือ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความรับผิดชอบสูงสุดยังไงก็น่าจะต้องอยู่ที่ master ของเรือครับ เพราะ pilot อาจจะชำนาญคลองมากกว่าแต่ก็คงไม่รู้จักเรือดีเท่าลูกเรือ
3. แรงลมที่พัดเรือแรงกว่าที่พัดมือคนแน่ๆ ครับ
ที่เรารู้สึกว่าลมนอกรถตีมือไม่แรงก็เพราะพื้นที่มือเราเล็กนิดเดียวเองครับ (ลองจับชายผ้าปูนอนยื่นไปนอกรถดูสิครับ)
ปัจจัยที่สำคัญเรื่องแรงลมคือพื้นที่รับลมครับ (นึกถึงใบเรือ)
เรือยาว 400 ม. สูง 33 ม. กินน้ำลึกประมาณ 15 ม.
กะๆ เอาจากรูปว่าตู้สินค้าสูงพ้นกราบเรือซักเท่าตัว ตีว่าจากผิวน้ำถึงขอบบนตู้สินค้า 40 ม.
คิดว่าพื้นที่รับลมข้างเรือใหญ่ขนาดไหนครับ?
400 * 40 = 16,000 ตรม. = 10 ไร่ครับ
พื้นที่ 10 ไร่ แรงปะทะของลม 40 น็อตก็ ~380 ตันครับ
(จริงอยู่ครับว่าด้านข้างเรือไม่ได้แบนๆ รับลมเต็มๆ มีส่วนโค้งลู่ลม และถ้าลมทำมุมกับหัวเรือ ไม่ได้มาด้านข้างตรงๆ แรงปะทะก็จะลดลง แต่ตัวเลขข้างบนคงพอเป็นไอเดียว่ามันไม่ใช่แรงน้อยๆ)
อีกอย่างหนึ่งคือถ้าเป็นลมกระโชกจะอันตรายกว่าลมต่อเนื่องครับ เพราะลูกเรือไม่ทันตั้งตัว
4. เรือลำนี้ไม่ใช่ลำแรกครับที่เกยตื้นในคลองสุเอซ
ก่อนหน้านี้ก็มีหลายลำ แต่ขนาดเรือ ตำแหน่งที่เกย ทำให้ไม่เสียเวลามาก
แสดงความคิดเห็น
เรือยักษ์ Ever Given ที่ขวางคลองสุเอซ (Suez) ความผิดนี้ตกเป็นของใคร?
ทำให้เรือหลายๆลำต้องตัดสินใจไปอ้อมแหลมกู๊ดโฮป
เพื่อนๆคิดว่าความผิดนี้จะตกเป็นของใคร ระหว่าง
1. บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น Shoei Kisen Kaisha ที่เป็นเจ้าของเรือ Ever Given ตัวจริง
หรือ
2.บริษัทขนส่งไต้หวัน Evergreen Marine Corp. ที่เช่าเรือยักษ์ดังกล่าวมาดำเนินกิจการขนส่งสินค้าทางทะเล
หรือ
3.บริษัทผู้รับจัดการดูแลการจราจรทางเรือคลองสุเอซ ที่ไม่ได้พิจารณาออกกฏรัดกุมอย่างรอบคอบ
ดันอนุญาตให้เรือที่มีความกว้างของตัวเรือดันมากกว่าความกว้างของคลอง จึงเกิดภาพเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น
(ผมว่ามัน common sense มาก อย่างท้องถนนเวลาลงอุโมงค์มันก้อมีกฏที่บอกไว้อยู่แล้วว่ารถที่มีความสูงเกินห้ามวิ่งผ่าน)
ส่วนตัวผมคิดว่าความผิดนี้น่าจะตกอยู่ที่ข้อ 3 เพื่อนๆคิดกันอย่างไรครับ ถ้าใครเป็นผู้เชี่ยวชาญร่วมแชร์ทีครับ
ขอบคุณครับ