โพล ชี้คนอีสาน 81.3% พร้อมลงประชามติ หนุนตั้งส.ส.ร. แก้ไขรธน.ทั้งฉบับ
https://www.matichon.co.th/politics/news_2639743
โพล ชี้คนอีสาน 81.3% พร้อมลงประชามติ หนุนตั้งส.ส.ร. แก้ไขรธน.ทั้งฉบับ
วันนี้ (24 มี.ค.) อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจ เรื่อง “
คนอีสานกับเหตุการณ์ต้นปี 2564” พบว่า โครงการคนละครึ่ง โครงการเราชนะและโครงการ ม.33 เรารักกัน เป็นเหตุการณ์ที่คนอีสานพอใจมากที่สุด ขณะที่เหตุการณ์ การรัฐประหารที่ประเทศเมียนมา แกนนำกลุ่มราษฎรถูกจับกุมและไม่ได้รับการประกันตัว รัฐสภาโหวตคว่ำการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในวาระ 3 การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล การรับมือการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดรอบใหม่ของรัฐบาล และศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยทำประชามติ 2 ครั้ง เป็นเหตุการณ์ที่โดยเฉลี่ยแล้วคนอีสานรู้สึกไม่พอใจมากกว่ารู้สึกพอใจ และ ร้อยละ 81.3 จะสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
กนง.หั่นจีดีพีโตแค่ 3%! เซ่นโควิดรอบสอง-นทท.เหลือ 3 ล้าน คงดบ.นโยบาย 0.5%
https://www.isranews.org/article/isranews-news/97074-bot-GDP-2564-covid-Foreign-tourists-news-new.html
กนง.มีมติเอกฉันท์คงดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% ต่อปี หนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอนสูง หั่นเป้าจีดีพีปี 64 เหลือ 3% จากเดิม 3.2%
เซ่นโควิดระลอก 2-นักท่องเที่ยวต่างชาติเหลือ 3 ล้านคน แต่ได้แรงสนับสนุนจาก ‘ส่งออก’ ที่จะเติบโต 5.2%
..................
เมื่อวันที่ 24 มี.ค. นาย
ทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ว่า คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
คณะกรรมการฯ ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยโดยรวมยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่เผชิญกับความเสี่ยงด้านต่ำและความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้า จึงยังต้องการแรงสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในการประชุมครั้งนี้ และรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีจำกัดเพื่อใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 3.0 และ 4.7 ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ โดยขยายตัวต่ำกว่าประมาณการเดิมบ้างจากการปรับลดจำนวนนักท่องเที่ยว และผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 แต่ได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าที่ฟื้นตัวเร็วตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาเพิ่มเติม
อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของแต่ละภาคเศรษฐกิจยังมีความแตกต่างกัน โดยมีความเสี่ยงสำคัญจากประสิทธิผลและการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงความต่อเนื่องของแรงสนับสนุนจากภาครัฐ ด้านระบบการเงินมีเสถียรภาพ แต่ยังมีความเปราะบางในบางจุดจากผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและธุรกิจ SMEs
@เงินเฟ้อทั่วไปกลับสู่กรอบเป้าหมายกลางปี 64
สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปี 2564 และจะอยู่ใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายตลอดช่วงประมาณการ โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย
สภาพคล่องโดยรวมอยู่ในระดับสูงและต้นทุนทางการเงินอยู่ในระดับต่ำ แต่การกระจายตัวยังไม่ทั่วถึงจากความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้นตามฐานะการเงินที่เปราะบาง โดยเฉพาะธุรกิจที่ฟื้นตัวช้าและครัวเรือนที่ถูกกระทบเพิ่มเติมจากการระบาดระลอกใหม่ ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของไทยปรับสูงขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
สำหรับอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. เคลื่อนไหวอ่อนค่าสอดคล้องกับเงินสกุลภูมิภาค คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของตลาดการเงินและนัยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าอย่างใกล้ชิด รวมถึงผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) อย่างต่อเนื่อง
คณะกรรมการฯ เห็นว่า ความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายระหว่างหน่วยงานมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะถัดไป โดยนโยบายการเงินต้องผ่อนคลายต่อเนื่อง และสนับสนุนให้เร่งดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ที่ออกมาเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้สามารถกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ได้รับผลกระทบให้ตรงจุด ลดภาระหนี้ และสนับสนุนเศรษฐกิจช่วงฟื้นฟูในอนาคต ควบคู่กับการผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ขณะที่มาตรการทางการคลังต้องพยุงเศรษฐกิจโดยไม่ขาดช่วง โดยเฉพาะการเร่งเบิกจ่ายภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสามารถควบคุมการระบาดระลอกใหม่ได้ ควบคู่กับดำเนินการนโยบายด้านอุปทานเพื่อปรับรูปแบบธุรกิจและยกระดับทักษะแรงงาน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืน
@พร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินเพิ่ม ‘หากจำเป็น’
ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ ยังคงให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ รวมถึงจะติดตามความเพียงพอของมาตรการภาครัฐและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะสถานการณ์การระบาดทั้งในและต่างประเทศ ในการดำเนินนโยบายการเงิน
ในระยะข้างหน้า โดยพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจำเป็น
@กนง.ลดเป้าจีดีพีปี 64 เหลือโต 3%-ปีหน้า 4.7%
นาย
ทิตนันทิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประชุมกนง.รอบนี้ ที่ประชุมได้ปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2564 เหลือ 3% จากเดิม 3.2% เนื่องจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกสอง และการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติช้ากว่าที่คาดไว้ โดยปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียง 3 ล้านคน จากเดิม 5.5 ล้านคน ส่วนปี 2565 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโต 4.7% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 4.8%
“
เศรษฐกิจในประเทศยังขยายตัว แม้ว่าจะถูกกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกสอง เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือที่รวดเร็วตรงจุด และมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดไม่เข้มงวดเหมือนปีที่แล้ว ทำให้เศรษฐกิจค่อยๆทยอยฟื้นตัวได้ ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้นกว่าที่ประมาณการไว้เดิม ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติ เราได้ปรับลดประมาณการลงเหลือ 3 ล้านคน จากเดิมเราคาดว่าจะมี 5 ล้านคน” นาย
ทิตนันทิ์กล่าว
@สหรัฐกระตุ้นศก.หนุนส่งออกไทยโต 5.2%-ปีหน้าโต 13.9%
อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2564 ยังคงได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากการส่งออกปีนี้ที่คาดว่าจะเติบโตได้ถึง 5.2% เทียบกับประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะเติบโต 3.6% เนื่องจากพลวัตรการส่งออกไทยปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว ประกอบกับการที่สหรัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจสหรัฐ เศรษฐกิจโลก รวมถึงเศรษฐกิจคู่ค้า และจะทำให้การส่งออกสินค้าไทยขยายตัวเพิ่มขึ้น
สำหรับการส่งออกไทยในปี 2565 นั้น คาดว่าจะเติบโตได้ที่ระดับ 13.9% จากประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะเติบโตที่ 12.3%
ทั้งนี้ ที่ประชุมกนง.และธปท. ประเมินว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยในปี 2564 จะลดลงมาอยู่มาที่ 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 11,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสาเหตุจาก 4 ปัจจัย ได้แก่ ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น การส่งออกทองคำที่จะลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว การนำเข้าเพิ่มขึ้นตามการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น และดุลบริการที่ลดลงเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะอยู่ที่ 3 ล้านคน จากปีที่แล้ว 6.7 ล้านคน
ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัว 1.2% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 1% จากราคาน้ำมันดิบดูไบที่คาดว่าจะอยู่ที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 47.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
นาย
ทิตนันทิ์ ระบุว่า ระดับจีดีพีของจะค่อยๆสูงขึ้น และกลับสู่ระดับก่อนโควิด กลางปี 2565 หรือต้องใช้เวลาฟื้นตัว 2 ปีครึ่ง จากปลายปี 2562 และแม้ว่าเราจะเห็นเศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่หากเทียบเศรษฐกิจไทยกับต่างประเทศ จะพบว่าไทยฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่นๆ เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาช้า ขณะที่ความเสี่ยงสำคัญในระยะต่อไป คือ ประสิทธิผลการกระจายวัคซีน การกลายพันธุ์ชของไวรัส และการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
“
แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัว แต่เป็นการฟื้นตัวที่แตกต่างกัน ดังนั้น เศรษฐกิจยังจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เพราะเศรษฐกิจไทยยังไม่เข้มแข็ง” นาย
ทิตนันทิ์ กล่าวและว่า “
กนง.ได้พูดถึงมาตรการที่รัฐบาลประกาศเมื่อวานนี้ (23 มี.ค.) โดยขอให้เร่งรัดมาตรการฯ เพื่อช่วยกระจายสภาพคล่องให้ตรงจุด เพราะแม้ว่าสภาพคล่องในระบบจะอยู่ในระดับสูง แต่ยังไปไม่ถึงบางจุด โดยเฉพาะเอสเอ็มอี รวมทั้งเร่งรัดมาตรการลดภาระหนี้บางกลุ่ม”
นอกจากนี้ ที่ประชุมกนง. ยังหารือถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยเห็นว่าการทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและเข้มแข็งนั้น จะต้องมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ขณะที่นโยบายภาครัฐต้องมีมาตรการที่จำเป็นและเพียงพอ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยให้มีความยั่งยืน
สะพรึง! อินเดียเจอโควิดชนิดใหม่ กลายพันธุ์ 2 ครั้ง
https://www.matichon.co.th/foreign/news_2640390
สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่าพบโควิด-19 ชนิดใหม่ซึ่งกลายพันธุ์ 2 ครั้ง โดยมีการตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ชนิดดังกล่าวแล้วอย่างน้อย 771 คนในตัวอย่างที่เก็บมาจาก 18 รัฐทั่วอินเดีย
ขณะที่ในจำนวนตัวอย่างที่เก็บมาตรวจอีก 10,787 ตัวอย่าง 736 คนเป็นโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษ 34 คนเป็นสายพันธุ์แอฟริกา และพบสายพันธุ์บราซิล 1 คน
ทั้งนี้การกลายพันธุ์ของไวรัสเป็นเรื่องที่พบโดยทั่วไป ส่วนใหญ่จะไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญนำ เว้นแต่ในบางกรณีที่การกลายพันธุ์จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแพร่เชื้อหรือทำให้เกิดการแพร่ระบาดรุนแรงขึ้น เช่นกรณีโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษและแอฟริกาใต้
นักไวรัสวิทยาระบุว่า การกลายพันธุ์ 2 ครั้งหมายถึงไวรัสตัวเดียวกันเกิดการกลายพันธุ์ 2 ครั้งพร้อมๆ กัน ซึ่งหากเกิดขึ้นในพื้นที่สำคัญก็จะทำให้โปรตีนในไวรัสเพิ่มขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงที่จำให้ไวรัสหลบหนีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งจะทำให้สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น
รัฐบาลอินเดียระบุด้วยว่า ผลวิเคราะห์ตัวอย่างของไวรัสกลายพันธุ์ที่เก็บตัวอย่างมาจากรัฐมหาราษฎระพบการเพิ่มขึ้นของการกลายพันธุ์ของ E484Q และ L452R ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขอินเดียออกแถลงการณ์ระบุว่า ไวรัสกลายพันธุ์ 2 ครั้งอาจทำให้สามารถหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกัน และเพิ่มความสามารถในการแพร่เชื้อ อย่างไรก็ดีรัฐบาลอินเดียยังปฏิเสธว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศมีส่วนเชื่อมโยงกับไวรัสกลายพันธุ์ชนิดล่าสุดดังกล่าว
การตรวจพบโควิด-19 กลายพันธุ์ 2 ครั้งดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ในช่วงที่ผ่านมา อินเดียมีจำนวนผู้ติดโควิด-19 รายใหม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในวันพุธ อินเดียมีรายงานผู้ติดโควิด-19 รายใหม่ 47,262 คน และมีผู้เสียชีวิต 275 ราย นับเป็นการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงที่สุดในปีนี้
JJNY : 4in1 โพลชี้อีสาน81.3%หนุนตั้งส.ส.ร.│กนง.หั่นจีดีพีโตแค่3%│อินเดียเจอโควิดกลายพันธุ์2ครั้ง│วิโรจน์ชำแหละครม.ตู่2/4
https://www.matichon.co.th/politics/news_2639743
โพล ชี้คนอีสาน 81.3% พร้อมลงประชามติ หนุนตั้งส.ส.ร. แก้ไขรธน.ทั้งฉบับ
วันนี้ (24 มี.ค.) อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจ เรื่อง “คนอีสานกับเหตุการณ์ต้นปี 2564” พบว่า โครงการคนละครึ่ง โครงการเราชนะและโครงการ ม.33 เรารักกัน เป็นเหตุการณ์ที่คนอีสานพอใจมากที่สุด ขณะที่เหตุการณ์ การรัฐประหารที่ประเทศเมียนมา แกนนำกลุ่มราษฎรถูกจับกุมและไม่ได้รับการประกันตัว รัฐสภาโหวตคว่ำการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในวาระ 3 การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล การรับมือการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดรอบใหม่ของรัฐบาล และศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยทำประชามติ 2 ครั้ง เป็นเหตุการณ์ที่โดยเฉลี่ยแล้วคนอีสานรู้สึกไม่พอใจมากกว่ารู้สึกพอใจ และ ร้อยละ 81.3 จะสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
กนง.หั่นจีดีพีโตแค่ 3%! เซ่นโควิดรอบสอง-นทท.เหลือ 3 ล้าน คงดบ.นโยบาย 0.5%
https://www.isranews.org/article/isranews-news/97074-bot-GDP-2564-covid-Foreign-tourists-news-new.html
เซ่นโควิดระลอก 2-นักท่องเที่ยวต่างชาติเหลือ 3 ล้านคน แต่ได้แรงสนับสนุนจาก ‘ส่งออก’ ที่จะเติบโต 5.2%
คณะกรรมการฯ ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยโดยรวมยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่เผชิญกับความเสี่ยงด้านต่ำและความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้า จึงยังต้องการแรงสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในการประชุมครั้งนี้ และรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีจำกัดเพื่อใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 3.0 และ 4.7 ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ โดยขยายตัวต่ำกว่าประมาณการเดิมบ้างจากการปรับลดจำนวนนักท่องเที่ยว และผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 แต่ได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าที่ฟื้นตัวเร็วตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาเพิ่มเติม
อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของแต่ละภาคเศรษฐกิจยังมีความแตกต่างกัน โดยมีความเสี่ยงสำคัญจากประสิทธิผลและการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงความต่อเนื่องของแรงสนับสนุนจากภาครัฐ ด้านระบบการเงินมีเสถียรภาพ แต่ยังมีความเปราะบางในบางจุดจากผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและธุรกิจ SMEs
@เงินเฟ้อทั่วไปกลับสู่กรอบเป้าหมายกลางปี 64
สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปี 2564 และจะอยู่ใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายตลอดช่วงประมาณการ โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย
สภาพคล่องโดยรวมอยู่ในระดับสูงและต้นทุนทางการเงินอยู่ในระดับต่ำ แต่การกระจายตัวยังไม่ทั่วถึงจากความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้นตามฐานะการเงินที่เปราะบาง โดยเฉพาะธุรกิจที่ฟื้นตัวช้าและครัวเรือนที่ถูกกระทบเพิ่มเติมจากการระบาดระลอกใหม่ ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของไทยปรับสูงขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
สำหรับอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. เคลื่อนไหวอ่อนค่าสอดคล้องกับเงินสกุลภูมิภาค คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของตลาดการเงินและนัยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าอย่างใกล้ชิด รวมถึงผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) อย่างต่อเนื่อง
คณะกรรมการฯ เห็นว่า ความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายระหว่างหน่วยงานมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะถัดไป โดยนโยบายการเงินต้องผ่อนคลายต่อเนื่อง และสนับสนุนให้เร่งดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ที่ออกมาเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้สามารถกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ได้รับผลกระทบให้ตรงจุด ลดภาระหนี้ และสนับสนุนเศรษฐกิจช่วงฟื้นฟูในอนาคต ควบคู่กับการผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ขณะที่มาตรการทางการคลังต้องพยุงเศรษฐกิจโดยไม่ขาดช่วง โดยเฉพาะการเร่งเบิกจ่ายภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสามารถควบคุมการระบาดระลอกใหม่ได้ ควบคู่กับดำเนินการนโยบายด้านอุปทานเพื่อปรับรูปแบบธุรกิจและยกระดับทักษะแรงงาน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืน
@พร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินเพิ่ม ‘หากจำเป็น’
ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ ยังคงให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ รวมถึงจะติดตามความเพียงพอของมาตรการภาครัฐและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะสถานการณ์การระบาดทั้งในและต่างประเทศ ในการดำเนินนโยบายการเงิน
ในระยะข้างหน้า โดยพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจำเป็น
@กนง.ลดเป้าจีดีพีปี 64 เหลือโต 3%-ปีหน้า 4.7%
นายทิตนันทิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประชุมกนง.รอบนี้ ที่ประชุมได้ปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2564 เหลือ 3% จากเดิม 3.2% เนื่องจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกสอง และการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติช้ากว่าที่คาดไว้ โดยปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียง 3 ล้านคน จากเดิม 5.5 ล้านคน ส่วนปี 2565 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโต 4.7% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 4.8%
“เศรษฐกิจในประเทศยังขยายตัว แม้ว่าจะถูกกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกสอง เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือที่รวดเร็วตรงจุด และมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดไม่เข้มงวดเหมือนปีที่แล้ว ทำให้เศรษฐกิจค่อยๆทยอยฟื้นตัวได้ ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้นกว่าที่ประมาณการไว้เดิม ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติ เราได้ปรับลดประมาณการลงเหลือ 3 ล้านคน จากเดิมเราคาดว่าจะมี 5 ล้านคน” นายทิตนันทิ์กล่าว
@สหรัฐกระตุ้นศก.หนุนส่งออกไทยโต 5.2%-ปีหน้าโต 13.9%
อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2564 ยังคงได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากการส่งออกปีนี้ที่คาดว่าจะเติบโตได้ถึง 5.2% เทียบกับประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะเติบโต 3.6% เนื่องจากพลวัตรการส่งออกไทยปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว ประกอบกับการที่สหรัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจสหรัฐ เศรษฐกิจโลก รวมถึงเศรษฐกิจคู่ค้า และจะทำให้การส่งออกสินค้าไทยขยายตัวเพิ่มขึ้น
สำหรับการส่งออกไทยในปี 2565 นั้น คาดว่าจะเติบโตได้ที่ระดับ 13.9% จากประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะเติบโตที่ 12.3%
ทั้งนี้ ที่ประชุมกนง.และธปท. ประเมินว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยในปี 2564 จะลดลงมาอยู่มาที่ 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 11,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสาเหตุจาก 4 ปัจจัย ได้แก่ ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น การส่งออกทองคำที่จะลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว การนำเข้าเพิ่มขึ้นตามการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น และดุลบริการที่ลดลงเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะอยู่ที่ 3 ล้านคน จากปีที่แล้ว 6.7 ล้านคน
ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัว 1.2% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 1% จากราคาน้ำมันดิบดูไบที่คาดว่าจะอยู่ที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 47.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
นายทิตนันทิ์ ระบุว่า ระดับจีดีพีของจะค่อยๆสูงขึ้น และกลับสู่ระดับก่อนโควิด กลางปี 2565 หรือต้องใช้เวลาฟื้นตัว 2 ปีครึ่ง จากปลายปี 2562 และแม้ว่าเราจะเห็นเศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่หากเทียบเศรษฐกิจไทยกับต่างประเทศ จะพบว่าไทยฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่นๆ เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาช้า ขณะที่ความเสี่ยงสำคัญในระยะต่อไป คือ ประสิทธิผลการกระจายวัคซีน การกลายพันธุ์ชของไวรัส และการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
“แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัว แต่เป็นการฟื้นตัวที่แตกต่างกัน ดังนั้น เศรษฐกิจยังจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เพราะเศรษฐกิจไทยยังไม่เข้มแข็ง” นายทิตนันทิ์ กล่าวและว่า “กนง.ได้พูดถึงมาตรการที่รัฐบาลประกาศเมื่อวานนี้ (23 มี.ค.) โดยขอให้เร่งรัดมาตรการฯ เพื่อช่วยกระจายสภาพคล่องให้ตรงจุด เพราะแม้ว่าสภาพคล่องในระบบจะอยู่ในระดับสูง แต่ยังไปไม่ถึงบางจุด โดยเฉพาะเอสเอ็มอี รวมทั้งเร่งรัดมาตรการลดภาระหนี้บางกลุ่ม”
นอกจากนี้ ที่ประชุมกนง. ยังหารือถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยเห็นว่าการทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและเข้มแข็งนั้น จะต้องมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ขณะที่นโยบายภาครัฐต้องมีมาตรการที่จำเป็นและเพียงพอ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยให้มีความยั่งยืน
สะพรึง! อินเดียเจอโควิดชนิดใหม่ กลายพันธุ์ 2 ครั้ง
https://www.matichon.co.th/foreign/news_2640390
สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่าพบโควิด-19 ชนิดใหม่ซึ่งกลายพันธุ์ 2 ครั้ง โดยมีการตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ชนิดดังกล่าวแล้วอย่างน้อย 771 คนในตัวอย่างที่เก็บมาจาก 18 รัฐทั่วอินเดีย
ขณะที่ในจำนวนตัวอย่างที่เก็บมาตรวจอีก 10,787 ตัวอย่าง 736 คนเป็นโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษ 34 คนเป็นสายพันธุ์แอฟริกา และพบสายพันธุ์บราซิล 1 คน
ทั้งนี้การกลายพันธุ์ของไวรัสเป็นเรื่องที่พบโดยทั่วไป ส่วนใหญ่จะไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญนำ เว้นแต่ในบางกรณีที่การกลายพันธุ์จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแพร่เชื้อหรือทำให้เกิดการแพร่ระบาดรุนแรงขึ้น เช่นกรณีโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษและแอฟริกาใต้
นักไวรัสวิทยาระบุว่า การกลายพันธุ์ 2 ครั้งหมายถึงไวรัสตัวเดียวกันเกิดการกลายพันธุ์ 2 ครั้งพร้อมๆ กัน ซึ่งหากเกิดขึ้นในพื้นที่สำคัญก็จะทำให้โปรตีนในไวรัสเพิ่มขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงที่จำให้ไวรัสหลบหนีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งจะทำให้สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น
รัฐบาลอินเดียระบุด้วยว่า ผลวิเคราะห์ตัวอย่างของไวรัสกลายพันธุ์ที่เก็บตัวอย่างมาจากรัฐมหาราษฎระพบการเพิ่มขึ้นของการกลายพันธุ์ของ E484Q และ L452R ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขอินเดียออกแถลงการณ์ระบุว่า ไวรัสกลายพันธุ์ 2 ครั้งอาจทำให้สามารถหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกัน และเพิ่มความสามารถในการแพร่เชื้อ อย่างไรก็ดีรัฐบาลอินเดียยังปฏิเสธว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศมีส่วนเชื่อมโยงกับไวรัสกลายพันธุ์ชนิดล่าสุดดังกล่าว
การตรวจพบโควิด-19 กลายพันธุ์ 2 ครั้งดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ในช่วงที่ผ่านมา อินเดียมีจำนวนผู้ติดโควิด-19 รายใหม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในวันพุธ อินเดียมีรายงานผู้ติดโควิด-19 รายใหม่ 47,262 คน และมีผู้เสียชีวิต 275 ราย นับเป็นการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงที่สุดในปีนี้