ค่าน้ำตาลสะสม HbA1c นี่ลงช้ามากไหมครับ

พ่อเป็นเบาหวาน ปกติแกคุมน้ำตาลสะสมได้ 7 กว่า ๆ ไม่ถึง 8
แต่ช่วงนี้แกทานเยอะและทานของหวานด้วย
ไปเจาะน้ำตาลสะสม HbA1c ได้ 9.6

จึงให้ควบคุมอาหารอย่างหนัก งดข้าว งดของหวาน งดน้ำตาลเด็ดขาด 
ผ่านไป 2 สัปดาห์ นน.ลงไป 3 กก. แต่ไปเจาะน้ำตาลสะสม HbA1c ยังสูงคือ 9.3

ทำไมค่าตัวนี้ลงช้ามากเลยครับ ควรจะเจาะซ้ำเมื่อไรถึงจะลงต่ำกว่า 8 ครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
HbA1c หรือ Hemoglobin A1c (ฮีโมโกลบินเอวันซี) คือ การตรวจวัดค่าเฉลี่ยของน้ำตาล (กลูโคส) ในเลือดที่จับกับฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา (แพทย์บางท่านใช้คำว่า “น้ำตาลสะสม” เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น แต่โดยความหมายแล้วจะสะท้อนค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือดช่วงเวลาที่ผ่านมา) เพราะเม็ดเลือดแดงทั่วไปจะมีอายุขัยอยู่ประมาณ 100-120 วัน ดังนั้น ค่าน้ำตาลที่ตรวจได้จึงเป็นค่าน้ำตาลที่สะสมอยู่ในฮีโมโกลบินนานประมาณ 3-4 เดือน ซึ่งเป็นค่าที่ช่วยพิจารณาและประเมินผลการรักษาโดยรวมในช่วงที่ผ่านมาว่าผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีหรือไม่

ต้องตรวจ HbA1c บ่อยแค่ไหน
       -การตรวจ HbA1c ในผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน แนะนำให้ตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งหรือตามคำแนะนำของแพทย์
       -การตรวจ HbA1c ในผู้ป่วยเบาหวาน แนะนำให้ตรวจอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง (ถ้าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ดีได้อย่างต่อเนื่อง คือ ค่า HbA1c < 7%) หรือมากกว่านั้นเป็นทุก ๆ 3-4 เดือนตามอายุของเม็ดเลือดแดงในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ หรือมีการปรับเปลี่ยนการรักษาใหม่ หรือในกรณีที่ช่วงแรกที่แพทย์ต้องการดูว่าในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมาที่ผู้ป่วยไม่ได้มาพบแพทย์นั้นผู้ป่วยสามารถควบคุมเบาหวานได้ดีแค่ไหน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ให้การรักษา

ดูค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือด
       คนปกติ (ค่าปกติ) ค่าช่วง HbA1C = น้อยกว่า 6.0 mg%    
       คนเสี่ยงเป็นเบาหวาน ค่าช่วง HbA1C = 6.0 mg% ถึง 6.4 mg%    
       คนเป็นเบาหวาน  (ค่าสูง) ค่าช่วง HbA1C = มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5 mg%
หากคุณมีค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือดเท่ากับ 6.0 mg% ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง

การดูแลตนเองเมื่อเป็นเบาหวานและพบค่าน้ำตาลสูง
      • ปรึกษาแพทย์ต่อเนื่องเพื่อปรับเปลี่ยนการรักษาที่เหมาะสม
      • ตรวจร่างกายเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน เช่น ตา ไต หัวใจ ระบบประสาท
      • ติดตามค่า HbA1c อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี หรือตามดุลพินิจของแพทย์
      • ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ลดอาหารประเภทให้พลังงาน เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน
      • ลดน้ำหนักด้วยวิธีที่เหมาะสม
      • ทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่น การออกกำลังกาย การเดินเร็ว ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
  
  *หากมีค่าน้ำตาลสูง แต่ไม่พบแพทย์ ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 6.5% อาจนำไปสู่โรคเบาหวาน โรคแทรกซ้อนมาเยือน หากไม่มาพบแพทย์ เช่น โรคผนังหลอดเลือดแดง โรคตา โรคไต โรคระบบประสาท โรคติดเชื้อ เป็นต้น และอาจตกอยู่ในสภาวะน้ำตาลในหลอดเลือดสูง มีความเข้มข้นของเลือดสูงสามารถทำให้ช็อค หมดสติได้ค้ะ*

ความรู้เพิ่มเติมโรคเบาหวานค่ะ
https://www.thonburihospital.com/DM.html

กะพริบตา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่