ในปี 2010 ที่ผ่านมานับเป็นปีทองของการเพาะพันธ์สุนัข เมื่อประชาชนโลกหันมานิยมสุนัขพันธ์ใหญ่ยักษ์ ขนฟูหนามาดเข้มอย่างทิเบตัน มาสทิฟฟ์ (Tibetan Mastiff) ครับ ในเวลานั้นลูกสุนัขพันธ์นี้ราคาอาจถึงหลักล้านได้ไม่ยาก จนทำให้ตลาดค้าสุนัขเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ อย่างไรก็ตามเรื่องเมื่อ 10 ปีก่อนคงเป็นเพียงแค่ความฝัน เมื่อปัจจุบันความนิยมในน้อนหมาทิเบตันมาสทิฟฟ์ ได้ลดลงไปแล้ว แต่น้อนหมาที่ถูกเพาะมาจะต้องดำรงชีวิตต่อไปในฐานะสุนัขจรจัดครับ
ประวัติของน้อนสุนัขพันธ์หมี ชื่อมาสทิฟฟ์ที่ไม่ใช่มาสทิฟฟ์
น้อนหมาทิเบตัน มาสทิฟฟ์มีประวัติยาวนานเป็นที่รู้จักตั้งแต่ราชวงศ์ชิงครับ โดยน้องทิเบตัน มาสทิฟฟ์จริงๆ คือสุนัขภูเขาจากแดนทิเบต (Tibetan Mountain Dog) แต่ในสมัยก่อนคนยุโรปมักจะเรียกชื่อสุนัขที่มีขนาดใหญ่ว่ามาสทิฟฟ์ ก็เลยเรียกตามกันมาตั้งแต่นั้นครับ
ทิเบตัน มาสทิฟฟ์มีสีหลากหลายออกไปทางโทนดำน้ำตาลไปจนถึงสีแดงอ่อน ขนาดที่ใหญ่ยักษ์ของมันมาจากการที่มันมีถิ่นกำเนิดบนภูเขาสูง ต้องการกล้ามเนื้อในการปืนป่ายเดินทางเยอะ และขนต้องยาวฟูเพียงพอเพื่อให้เขาสามารถดำรงชีวิตรอดในอากาศที่หนาวเย็นครับ
ถึงแม้น้อนทิเบตัน มาสทิฟฟ์ จะมีประวัติยาวนานมาก แต่ก็เป็นสุนัขที่หาได้ยากในอดีตครับ ในช่วงปี 1980 เริ่มมีการนำน้อนทิเบตัน มาสทิฟฟ์ มาแสดงในงานประกวดสุนัขต่างๆ และได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับครับ ท้ายที่สุดทางสมาคมอเมริกันเคเนล (American Kennel Club: AKC) ก็ได้รับรองพันธ์ทิเบตัน มาสทิฟฟ์ อย่างเป็นทางการ ทำให้เกิดความนิยมในการตั้งฟาร์มเพื่อเพาะเลี้ยงและจำหน่ายน้องครับ
จุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของทิเบตัน มาสทิฟฟ์
เมื่อมีการรับรองสายพันธ์อย่างเป็นทางการ ประกอบกับเศรษฐีและผู้มีชื่อเสียงก็เลี้ยงน้อนทิเบตัน มาสทิฟฟ์ เป็นจำนวนมาก ผลที่ตามมาคือความต้องการในตัวน้อนเพื่อประดับบารมีจึงเพิ่มขึ้นจนหยุดไม่อยู่ ว่ากันว่าในช่วงที่มีความต้องการสูงสุดนั้น มีฟาร์มพันธ์ทิเบตัน มาสทิฟฟ์ มากกว่า 3,000 แห่งในประเทศจีนโดยเฉพาะในชิงไห่และทิเบตครับ โดยนักเพาะพันธ์สุนัขคาดหวังจะร่ำรวยจากการขายน้อนในข้ามคืนครับ
เมื่อมีการเพาะพันธ์จำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น ฟาร์มทิเบตัน มาสทิฟฟ์ บางแห่งก็เริ่มมีปัญหาเรื่องคุณภาพของน้องหมาที่เพาะออกมาครับ แต่ตอนนั้นยังไม่เป็นปัญหามากเพราะว่าความนิยมในการเลี้ยงน้อนกำลังมาครับ สถิติสูงสุดในการขายน้อนทิเบตัน มาสทิฟฟ์ อยู่ที่ราวๆ 50 ล้านบาทครับ นับเป็นราคาค่าตัวสุนัขที่สูงอันดับต้นๆ ของโลกครับ
แต่งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา เมื่อคนมีชื่อเสียงเริ่มเบื่อหน่ายการเลี้ยงทิเบตัน มาสทิฟฟ์ ในขณะที่คนธรรมดาไม่อาจแบกรับภาระค่าอาหารและค่าดูแลสำหรับการเลี้ยงน้อนได้ขนาดนั้น ความต้องการตัวน้อนหมาก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อความต้องการไม่สัมพันธ์กับอุปทาน สิ่งที่ตามมาคือความพังพินาศของตลาดครับ ทิเบตัน มาสทิฟฟ์พันธ์ที่ดีราคาก็ลดลงจากระดับล้านเหลือหลักแสนและหลักหมื่น ในขณะที่พันธ์ไม่ดีก็ถูกปล่อยให้กลายเป็นสุนัขจรจัดต่อไปครับ
จุดต่ำสุดที่เกิดขึ้นเนื่องจากฟาร์มเพาะพันธ์ไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายไหว ทำให้ฟาร์มกว่า 2,000 แห่งจาก 3,000 แห่งต้องปิดตัวลง ส่งผลให้น้อนจำนวนมากกลายเป็นสุนัขจรจัดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ น้อนหมาจรจัดทั้งหลายก็หนีเข้าป่าขึ้นเขากันตามสัญชาตญาณและแพร่พันธ์ออกมาอีกเป็นจำนวนมากทำให้ปัญหานี้หนักขึ้นไปอีกครับ
ชุมชนก็แย่ ระบบนิเวศที่ถูกทำลาย
สุนัขจรจัดขนาดหมีจำนวนมากก็เริ่มหาอาหารและที่อยู่อาศัยใหม่โดยบุกเข้าแก้จู่โจมชาวบ้านและพำนักในเขตชุมชน แต่บางส่วนที่เลือกเข้าป่าขึ้นเขาก็เริ่มจู่โจมสัตว์ป่าครับ เมื่อสุนัขจำนวนมากรวมตัวกันก็เริ่มล่าสัตว์กันเป็นฝูง โดยสัตว์ชนิดแรกที่โดนคือแกะน้ำเงิน (Blue Sheep) เนื่องจากเคลื่อนไหวช้ากว่า เลยตกเป็นเป้าได้ง่ายครับ แต่จำนวนของแกะก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการอาหารของมันอยู่ดี สุนัขจำนวนมากเริ่มรวมตัวกันไปล่าเสือดาวหิมะ หมี และหมาป่าเพื่อเอาตัวรอดครับ
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทางภาครัฐและภาคเอกชน (โดยเฉพาะวัด) จึงร่วมมือกันตั้งศูนย์พักพิงและศูนย์อนุรักษ์ขึ้นมาดูแลสุนัขทิเบตัน มาสทิฟฟ์ครับ แต่ก็ดูแลได้เพียง 600 ตัวเท่านั้น เนื่องมาจากต้องแบกรับค่าอาหารต่อวันถึงกว่า 400 กิโลกรัมหรือคิดเป็นเงินประมาณ 200,000 บาทค่อเดือนครับ
จากข้อมูลของศูนย์วิจัยและอนุรักษ์ Gangri Neichog พบมีน้องทิเบตัน มาสทิฟฟ์จรจัด กว่า 14,000 ตัวและหากไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที สุนัขดังกล่าวอาจขยายพันธ์จนควบคุมไม่อยู่ก็ได้ครับ ในปี 2017 ทางศูนย์วิจัยและอนุรักษ์ Gangri Neichog ด้ร่วมมือกับภาครัฐและวัดเพื่อทำโครงการทำหมันสุนัขให้มากที่สุด และวัดเองก็รณรงค์ให้ชาวบ้านรับเลี้ยงดูสุนัขบางส่วนด้วยครับ
นี่เป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความโลภของมนุษย์ที่พยายามจะเพาะพันธ์สิ่งมีชิวิตเพื่อสนองความต้องการของตนเอง โดนไม่นึกถึงผลที่ตามมาครับ สิ่งที่เราจะทำได้คงมีเพียงแกไขและรับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้น และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาแบบนี้กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นในอนาคตครับ
แนะนำ ติดชมได่เลยนะครับ และขอฝากติดตาม กด like กด share ข้อมูลดีๆ ได้ทาง
https://www.facebook.com/Unboxthinking
หรือ
https://www.blockdit.com/pages/5f4b6519e807060cb777cdbf ด้วยนะครับ
Reference:
https://news.cgtn.com/.../3d3d774d77596a4e3245.../index.html
Reference:
https://news.cgtn.com/.../3d3d774d77596a4e3245.../index.html
Reference:
https://qz.com/.../thousands-of-huge-aggressive-dogs-are.../
ตกสวรรค์!!! จากสุนัขหลักล้านสู่ปัญหาสังคม
ในปี 2010 ที่ผ่านมานับเป็นปีทองของการเพาะพันธ์สุนัข เมื่อประชาชนโลกหันมานิยมสุนัขพันธ์ใหญ่ยักษ์ ขนฟูหนามาดเข้มอย่างทิเบตัน มาสทิฟฟ์ (Tibetan Mastiff) ครับ ในเวลานั้นลูกสุนัขพันธ์นี้ราคาอาจถึงหลักล้านได้ไม่ยาก จนทำให้ตลาดค้าสุนัขเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ อย่างไรก็ตามเรื่องเมื่อ 10 ปีก่อนคงเป็นเพียงแค่ความฝัน เมื่อปัจจุบันความนิยมในน้อนหมาทิเบตันมาสทิฟฟ์ ได้ลดลงไปแล้ว แต่น้อนหมาที่ถูกเพาะมาจะต้องดำรงชีวิตต่อไปในฐานะสุนัขจรจัดครับ
ประวัติของน้อนสุนัขพันธ์หมี ชื่อมาสทิฟฟ์ที่ไม่ใช่มาสทิฟฟ์
น้อนหมาทิเบตัน มาสทิฟฟ์มีประวัติยาวนานเป็นที่รู้จักตั้งแต่ราชวงศ์ชิงครับ โดยน้องทิเบตัน มาสทิฟฟ์จริงๆ คือสุนัขภูเขาจากแดนทิเบต (Tibetan Mountain Dog) แต่ในสมัยก่อนคนยุโรปมักจะเรียกชื่อสุนัขที่มีขนาดใหญ่ว่ามาสทิฟฟ์ ก็เลยเรียกตามกันมาตั้งแต่นั้นครับ
ทิเบตัน มาสทิฟฟ์มีสีหลากหลายออกไปทางโทนดำน้ำตาลไปจนถึงสีแดงอ่อน ขนาดที่ใหญ่ยักษ์ของมันมาจากการที่มันมีถิ่นกำเนิดบนภูเขาสูง ต้องการกล้ามเนื้อในการปืนป่ายเดินทางเยอะ และขนต้องยาวฟูเพียงพอเพื่อให้เขาสามารถดำรงชีวิตรอดในอากาศที่หนาวเย็นครับ
ถึงแม้น้อนทิเบตัน มาสทิฟฟ์ จะมีประวัติยาวนานมาก แต่ก็เป็นสุนัขที่หาได้ยากในอดีตครับ ในช่วงปี 1980 เริ่มมีการนำน้อนทิเบตัน มาสทิฟฟ์ มาแสดงในงานประกวดสุนัขต่างๆ และได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับครับ ท้ายที่สุดทางสมาคมอเมริกันเคเนล (American Kennel Club: AKC) ก็ได้รับรองพันธ์ทิเบตัน มาสทิฟฟ์ อย่างเป็นทางการ ทำให้เกิดความนิยมในการตั้งฟาร์มเพื่อเพาะเลี้ยงและจำหน่ายน้องครับ
จุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของทิเบตัน มาสทิฟฟ์
เมื่อมีการรับรองสายพันธ์อย่างเป็นทางการ ประกอบกับเศรษฐีและผู้มีชื่อเสียงก็เลี้ยงน้อนทิเบตัน มาสทิฟฟ์ เป็นจำนวนมาก ผลที่ตามมาคือความต้องการในตัวน้อนเพื่อประดับบารมีจึงเพิ่มขึ้นจนหยุดไม่อยู่ ว่ากันว่าในช่วงที่มีความต้องการสูงสุดนั้น มีฟาร์มพันธ์ทิเบตัน มาสทิฟฟ์ มากกว่า 3,000 แห่งในประเทศจีนโดยเฉพาะในชิงไห่และทิเบตครับ โดยนักเพาะพันธ์สุนัขคาดหวังจะร่ำรวยจากการขายน้อนในข้ามคืนครับ
เมื่อมีการเพาะพันธ์จำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น ฟาร์มทิเบตัน มาสทิฟฟ์ บางแห่งก็เริ่มมีปัญหาเรื่องคุณภาพของน้องหมาที่เพาะออกมาครับ แต่ตอนนั้นยังไม่เป็นปัญหามากเพราะว่าความนิยมในการเลี้ยงน้อนกำลังมาครับ สถิติสูงสุดในการขายน้อนทิเบตัน มาสทิฟฟ์ อยู่ที่ราวๆ 50 ล้านบาทครับ นับเป็นราคาค่าตัวสุนัขที่สูงอันดับต้นๆ ของโลกครับ
แต่งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา เมื่อคนมีชื่อเสียงเริ่มเบื่อหน่ายการเลี้ยงทิเบตัน มาสทิฟฟ์ ในขณะที่คนธรรมดาไม่อาจแบกรับภาระค่าอาหารและค่าดูแลสำหรับการเลี้ยงน้อนได้ขนาดนั้น ความต้องการตัวน้อนหมาก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อความต้องการไม่สัมพันธ์กับอุปทาน สิ่งที่ตามมาคือความพังพินาศของตลาดครับ ทิเบตัน มาสทิฟฟ์พันธ์ที่ดีราคาก็ลดลงจากระดับล้านเหลือหลักแสนและหลักหมื่น ในขณะที่พันธ์ไม่ดีก็ถูกปล่อยให้กลายเป็นสุนัขจรจัดต่อไปครับ
จุดต่ำสุดที่เกิดขึ้นเนื่องจากฟาร์มเพาะพันธ์ไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายไหว ทำให้ฟาร์มกว่า 2,000 แห่งจาก 3,000 แห่งต้องปิดตัวลง ส่งผลให้น้อนจำนวนมากกลายเป็นสุนัขจรจัดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ น้อนหมาจรจัดทั้งหลายก็หนีเข้าป่าขึ้นเขากันตามสัญชาตญาณและแพร่พันธ์ออกมาอีกเป็นจำนวนมากทำให้ปัญหานี้หนักขึ้นไปอีกครับ
ชุมชนก็แย่ ระบบนิเวศที่ถูกทำลาย
สุนัขจรจัดขนาดหมีจำนวนมากก็เริ่มหาอาหารและที่อยู่อาศัยใหม่โดยบุกเข้าแก้จู่โจมชาวบ้านและพำนักในเขตชุมชน แต่บางส่วนที่เลือกเข้าป่าขึ้นเขาก็เริ่มจู่โจมสัตว์ป่าครับ เมื่อสุนัขจำนวนมากรวมตัวกันก็เริ่มล่าสัตว์กันเป็นฝูง โดยสัตว์ชนิดแรกที่โดนคือแกะน้ำเงิน (Blue Sheep) เนื่องจากเคลื่อนไหวช้ากว่า เลยตกเป็นเป้าได้ง่ายครับ แต่จำนวนของแกะก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการอาหารของมันอยู่ดี สุนัขจำนวนมากเริ่มรวมตัวกันไปล่าเสือดาวหิมะ หมี และหมาป่าเพื่อเอาตัวรอดครับ
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทางภาครัฐและภาคเอกชน (โดยเฉพาะวัด) จึงร่วมมือกันตั้งศูนย์พักพิงและศูนย์อนุรักษ์ขึ้นมาดูแลสุนัขทิเบตัน มาสทิฟฟ์ครับ แต่ก็ดูแลได้เพียง 600 ตัวเท่านั้น เนื่องมาจากต้องแบกรับค่าอาหารต่อวันถึงกว่า 400 กิโลกรัมหรือคิดเป็นเงินประมาณ 200,000 บาทค่อเดือนครับ
จากข้อมูลของศูนย์วิจัยและอนุรักษ์ Gangri Neichog พบมีน้องทิเบตัน มาสทิฟฟ์จรจัด กว่า 14,000 ตัวและหากไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที สุนัขดังกล่าวอาจขยายพันธ์จนควบคุมไม่อยู่ก็ได้ครับ ในปี 2017 ทางศูนย์วิจัยและอนุรักษ์ Gangri Neichog ด้ร่วมมือกับภาครัฐและวัดเพื่อทำโครงการทำหมันสุนัขให้มากที่สุด และวัดเองก็รณรงค์ให้ชาวบ้านรับเลี้ยงดูสุนัขบางส่วนด้วยครับ
นี่เป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความโลภของมนุษย์ที่พยายามจะเพาะพันธ์สิ่งมีชิวิตเพื่อสนองความต้องการของตนเอง โดนไม่นึกถึงผลที่ตามมาครับ สิ่งที่เราจะทำได้คงมีเพียงแกไขและรับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้น และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาแบบนี้กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นในอนาคตครับ
แนะนำ ติดชมได่เลยนะครับ และขอฝากติดตาม กด like กด share ข้อมูลดีๆ ได้ทาง https://www.facebook.com/Unboxthinking
หรือ https://www.blockdit.com/pages/5f4b6519e807060cb777cdbf ด้วยนะครับ
Reference: https://news.cgtn.com/.../3d3d774d77596a4e3245.../index.html
Reference: https://news.cgtn.com/.../3d3d774d77596a4e3245.../index.html
Reference: https://qz.com/.../thousands-of-huge-aggressive-dogs-are.../