สวัสดีค่ะทุกคนนนน ~ Bho Bhooooo (ทักทายสไตล์มาลาวี)
เริ่มแรกเลยเราก็อยากจะแนะนำตัวกันก่อนนะคะ เราชื่อตั๊ก เป็นอาสาสมัครโครงการ Good News Corps (GNC)
หนึ่งในโครงการของมูลนิธิเยาวชนสัมพันธ์นานาชาติ (International Youth Fellowship: IYF) รุ่นที่ 13 ประเทศมาลาวี เย้เย้
หลายคนอาจจะไม่รู้จักประเทศมาลาวีแล้วแบบเห้ย ประเทศนี้อยู่ที่ไหนกันนะ มาลาวีก็เป็นอีกหนึ่งประเทศในแอฟริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ยากจนเป็นอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ แต่...มาลาวีเป็นประเทศที่มีชื่อว่า Warm Heart Of Africa จะอบอุ่นมากขนาดไหนและอบอุ่นยังไง เดี๋ยวเราจะเล่าให้ฟัง เยยยย้ ~
ก่อนอื่นเลยเรารู้จักกับ IYF ได้อย่างไร? ทำไมถึงตัดสินใจไปเป็นอาสาสมัคร?
เรารู้จักกับ IYF เมื่อปี 2016 จากการเข้า IYF World Camp in Thailand ค่ะ ตอนนั้นเราเรียนอยู่ปี 1 และช่วงปิดเทอมก็มีโอกาสได้ไปเรียนภาษาฟรีที่มูลนิธิ ตอนนั้นก็มีความสนใจกับการเป็นอาสาสมัครแต่เนื่องด้วยการเรียนก็ต้องหยุดไป จนกระทั่งปี 2019 ช่วงที่เรากำลังจะจบปี 4 ก็มีความคิดเข้ามาค่ะว่าเรียนจบแล้วอยากที่จะทำอะไร จริงๆมันก็มีความรู้สึกเคว้งคว้างหรือยังไม่พร้อมกับการทำงานที่จะต้องไปเจอกับผู้คนมากมาย เพราะตัวเองก็คือเป็นคนที่ค่อนข้างพูดน้อย ค่อนข้างกลัวในการเข้าสังคม คิดว่าตัวเองอ่อนแอ ไม่เก่ง ก็เลยตัดสินใจที่จะลองออกไปใช้ชีวิตอาสาสมัครดูแบบนี้ค่ะ
ในแคมป์ได้เจอเพื่อนใหม่และมีกิจกรรมเยอะมาก ๆ เลยค่ะ
หลังจากนั้นเราก็เข้ามาเก็บตัว ก็จะมีตารางการเก็บตัวเพื่อเตรียมความพร้อมเหมือนกับการไปใช้ชีวิตอาสาสมัครจริง ๆ ทั้งเรียนภาษา เต้น กิจกรรม เรียนรู้เรื่องโลกของจิตใจ ทุกอย่างเลยค่ะ ประมาณ 2 เดือนก็จะได้บิน แต่เราต้องรอรับปริญญาก็จะนานหน่อย ทุกคนก็แทบจะบินกันไปหมดแล้ว ฮ่า ๆ
การเก็บตัวก็จะมีหลากหลายความรู้สึกค่ะ แต่สนุกมาก ๆ ได้เพื่อนเยอะด้วย แล้วก็จะมีคลาสเรียนภาษาหลากหลายตามประเทศที่เราเลือกจะไป คุณครูผู้สอนก็จะเป็นพี่อาสาสมัครที่มาจากประเทศอื่น ๆ ด้วย
และทุกคนอาจจะสงสัยใช่ไหมคะว่าการไปเป็นอาสาสมัครที่ต่างประเทศกับโครงการนี้ต้องเก่งภาษาไหม จริง ๆ คือไม่เลยค่ะ เราก็เป็นอีกคนนึงที่อ่อนภาษาอังกฤษมาก ๆ แต่เพราะสิ่งแวดล้อม ผู้คนและทุก ๆ อย่าง ทำให้ภาษาอังกฤษเรานั้นสามารถพัฒนาขึ้นได้
งั้นเราเริ่มบินไปมาลาวีกันเล้ยยยยยยยยย~
ครั้งแรกกับการเดินทางออกนอกประเทศ...
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2019 เป็นวันที่เราออกเดินทาง ซึ่งเป็นอะไรที่ตื่นเต้นและกังวลมาก เพราะเดินทางครั้งแรกและเดินทางคนเดียว ระยะเวลาก็ค่อนข้างยาวนานเพราะเราต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่เอธิโอเปียด้วย
เดินหลงทางอยู่แล้วเจอเพื่อนในสนามบิน ฮ่า ๆ
และเมื่อเวลาผ่านไป เราก็ถึงมาลาวีแล้ววววว!!!!! เป็นครั้งแรกเลยค่ะที่เรายิ้มกว้างออกมาเพราะเจออาจารย์กับน้องคนไทยที่มาก่อนหน้านี้มารับ
มันเป็นความรู้สึกที่ว่าฉันถึงแล้วอย่างปลอดภัย แฮร่
และก็เป็นครั้งแรกที่เราเจอกับบ้านหลังที่สองและครอบครัวอีกครอบครัวของเราที่นี่ ทุกคนให้การต้อนรับดีมากกกกกกก มีร้องเพลง มีป้ายมาต้อนรับ
อบอุ่นตั้งแต่วันแรกที่มาถึงเลยค่ะ
และแล้วชีวิตอาสาสมัครที่มาลาวีของเราก็เริ่มต้นขึ้น…
ก่อนอื่นเลยเราก็อยากจะแนะนำเพื่อน ๆ อาสาสมัครของเราก่อนนะคะ เราจะเจอเพื่อนจากประเทศเกาหลีใต้ จีน ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่นค่ะ ซึ่งเกาหลีเราจะเจอ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเราจะอยู่ด้วยประมาณเดือนกว่า กลุ่มที่ 2 ประมาณ 8 เดือน ส่วนจีนเรากับเขาจะไม่ได้อยู่ด้วยกันค่ะเพราะเราจะอยู่ที่ศูนย์ของเมืองหลวงแต่พวกเขาจะอยู่ต่างจังหวัด แต่เราก็ได้เจอกันอยู่เรื่อย ๆ ค่ะ ซึ่งทั้งเพื่อนอาสาสมัครและคนถิ่น พวกเราต่างชาติ ต่างวัฒนธรรม ต่างภาษา ที่ต้องมาอาศัยอยู่ด้วยกัน มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และภาษาที่เราจะต้องใช้สื่อสารกันก็คือภาษาอังกฤษ แต่ไม่ต้องตกใจกันไปนะคะ เพราะทุกคนเหมือนมาเริ่มเรียนภาษาอังกฤษด้วยกันจริง ๆ 5555555555555
มาช่วงแรก ๆ ก็คือฟังไม่รู้เรื่องเลยค่ะ เหมือนหูดับไปชั่วขณะ ต้องจูนใหม่ ต่างคนก็จะมีสำเนียงที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะกับคนถิ่นก็จะค่อนข้างยากนิดนึง แต่อาจารย์คนเกาหลีที่นี่เขาเคยอยู่ที่อเมริกามาก่อน สำเนียงจะฟังง่ายกว่าและเข้าใจง่ายกว่าค่ะ เราใช้เวลาประมาณ 1 เดือนกว่าจะปรับหูได้ กับบางคนก็สองเดือนเลยค่ะกว่าจะฟังเขารู้เรื่อง แต่มันไม่ใช่ปัญหาที่เราจะฟังไม่ออก พูดไม่ได้หรือว่าพูดผิดยังไง เพราะผู้คนที่นี่น่ารักมาก ๆ ไม่มีหัวเราะเยาะแถมยังช่วยสอนให้อีกด้วย แล้วก็จะมีคลาสเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเหล่าอาสาสมัครให้ด้วยค่ะ
สิ่งต่อไปที่เราอยากจะเล่าให้ทุกคนฟังก็คือ...
ประเทศไทยเราอาหารหลักคือข้าวใช่ไหมค่ะ แต่ที่นี่มาลาวีอาหารหลักจะมีชื่อว่า ซีม่า ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวโพด พื้นที่ส่วนมากที่นี่ก็จะทำการเกษตรปลูกข้าวโพดกันค่ะ และนี่ก็คือหนึ่งสิ่งที่เราได้ทำ นั่นก็คือ การทำสวน เริ่มตั้งแต่ปลูกจนเก็บเกี่ยวและเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นซีม่ากันเลยทีเดียวเชียว
ถนนที่นี่ยังเป็นดินอยู่เลยค่ะ ยกเว้นบางที่ อย่างเช่นในเมืองจะเป็นคอนกรีต
เราจะตื่นกันตั้งแต่เช้าเพื่อไปที่สวน ซึ่งเดินเท้าไปประมาณเกือบ 1 กิโลเมตร
เมื่อระยะเวลาผ่านไปก็ถึงฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งทุกคนก็จะร่วมแรงร่วมใจกันมากๆในการทำงานค่ะ จริง ๆ มันก็เหนื่อย แต่ก็ไม่ได้เหนื่อยมากขนาดนั้น เพราะคนถิ่นที่นี่สนุกสนานและเป็นเองมากๆ ทำงานไปด้วยพูดไปด้วย ร้องเพลงไปด้วยทำให้เราลืมความเหนื่อยไปได้ในบางที ฮ่า ๆ
หลังจากที่เรานำข้าวโพดมาเราจะต้องตากและนำมาแกะเมล็ดออก เพื่อนำไปทำเป็นแป้งซีม่าในขั้นตอนต่อไปค่ะ
เราและเพื่อน ๆ อาสาสมัครจะชอบฤดูกาลนี้มากเลยค่ะ เพราะเราจะได้กินข้าวโพดด้วยกันแบบนี้
และแน่นอนว่าต่อไปก็คือวิธีการทำซีม่าาาาาาาาาาาา ~
กว่าจะได้ซีม่าแต่ละหม้อมาเพื่อทุกคนไม่ง่ายเลย ต้องอยู่กับไฟร้อน ๆ แบบร้อนมาก ๆ ใช้เวลานานกว่าชั่วโมงและใช้แรงเยอะมาก ถ้าไม่ได้เข้ามาอยู่ตรงนี้มาลองทำ มาดูว่าทำอย่างไรคือไม่รู้เลยว่ามันเป็นมาอย่างไรและเหนื่อยขนาดไหน หลังจากที่ลองทำครั้งแรกก็รู้สึกขอบคุณกับอาหารทุก ๆ มื้อ ซีม่าทุก ๆ ก้อน และไม่เคยกินเหลือเลย น้อยมากที่จะเหลือ ถ้าไม่ได้จริง ๆ ก็จะแบ่งให้คนอื่นค่ะ
ช่วงที่ไปแรก ๆ คือกินได้น้อยมาก หลังจากผ่านไป 10 วันก็เริ่มกินได้ปกติ พออยู่ไปนานหน่อย อาการหิวเริ่มเพิ่มพูนก็กินเยอะมาก 1 ก้อนแบบใหญ่ๆ ฮ่าๆ
และถ้าถึงเวลามื้ออาหารจะมีเสียงตะโกนว่า "ซีม่าาาาาาาาาาา" นั่นคือถึงเวลากินข้าวแล้วค่ะ ยู้ฮู้ววว
และทุก ๆ วันทุกมื้ออาหารเราก็จะนั่งกินด้วยกันแบบนี้เสมอเลย
นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์และเรื่องราวความทรงจำอีกมากมายที่เราอยากจะแบ่งปันให้กับทุกคน เพราะมีกิจกรรมและสิ่งที่เราพบเจอเยอะมากกกกก
เราจะเข้ามาอัพเดตเรื่อยๆเลย ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านนะคะ
*แชร์ประสบการณ์ชีวิตอาสาสมัครที่ประเทศมาลาวี แอฟริกา*
การเก็บตัวก็จะมีหลากหลายความรู้สึกค่ะ แต่สนุกมาก ๆ ได้เพื่อนเยอะด้วย แล้วก็จะมีคลาสเรียนภาษาหลากหลายตามประเทศที่เราเลือกจะไป คุณครูผู้สอนก็จะเป็นพี่อาสาสมัครที่มาจากประเทศอื่น ๆ ด้วย
กว่าจะได้ซีม่าแต่ละหม้อมาเพื่อทุกคนไม่ง่ายเลย ต้องอยู่กับไฟร้อน ๆ แบบร้อนมาก ๆ ใช้เวลานานกว่าชั่วโมงและใช้แรงเยอะมาก ถ้าไม่ได้เข้ามาอยู่ตรงนี้มาลองทำ มาดูว่าทำอย่างไรคือไม่รู้เลยว่ามันเป็นมาอย่างไรและเหนื่อยขนาดไหน หลังจากที่ลองทำครั้งแรกก็รู้สึกขอบคุณกับอาหารทุก ๆ มื้อ ซีม่าทุก ๆ ก้อน และไม่เคยกินเหลือเลย น้อยมากที่จะเหลือ ถ้าไม่ได้จริง ๆ ก็จะแบ่งให้คนอื่นค่ะ