ประเทศไทยแทบไม่มีเทคโนโลยีอยู่ในมือเลย(ตอนที่ 13)

หลังจากที่ได้ตั้งกระทู้ไปสิบกว่าตอน ก็มีคนเข้ามาอ่านบ้างนิดหน่อย ไม่ค่อยมาก ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะประเทศไทยยังไม่ค่อยตื่นตัวต่อปัญหานี้
บางคนมองว่าผมเขียนไร้สาระที่กล่าวหาว่าประเทศไทยมีปัญหาด้านการพัฒนาเทคโนโลยี่ 
แต่ตอนนี้ เกียรตินาคินภัทร ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการเงินและเป็นนักวิเคราะห์มืออาชีพ เขามองเห็นปัญหานี้แล้ว และ
ได้วิเคราะห์เอาไว้ว่าประเทศไทยกำลังมีปัญหาความล่าช้าทางด้านเทคโนโลยี่และนวัตกรรม แสดงว่าปัญหานี้มันมีอยู่จริงๆ ไม่ใช่เรื่องเหลวไหล 
หรือปั้นน้ำเป็นตัว 
การวิเคราะห์ ของเกียรตินาคินภัทรเป็นไปในทิศทางเดียวกับผมเลย นั่นคือเราอ่อนแอและล่าช้าด้านการพัฒนาเทคโนโลยี่
จึงทำให้มีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก
อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่  https://www.marketingoops.com/news/biz-news/kkp-research-thai-economy-tech/



ความล้าหลังทางเทคโนโลยี่มันส่งผลกระทบต่อประเทศดังนี้
1.เงินรั่วไหลออกนอกประเทศ 
ที่ผ่านมาเราต้องซื้อเทคโนโลยี่ต่างๆจากต่างประเทศมายาวนานไม่ต่ำกว่า 75 ปีแล้ว ( นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลก )
ได้แก่ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตในโรงงาน เครื่องมือวัด เครื่องมือทดสอบที่ใช้ในห้องแล็บ
 นวัตกรรมสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน เช่น รถ สมาร์ทโฟน ฯลฯ ทำให้ไทยยากจน เพราะหาเงินได้เท่าไหร่ก็ต้องเสียเงินไปกับการซื้อ
เทคโนโลยี่และนวัตกรรมจากต่างชาติหมด
 ลองคิดดู ถ้าจะซื้อรถฟอร์จูนเนอร์สักคัน ต้องขายข้าวให้ได้กี่เกวียนถึงจะซื้อได้ ดังนั้นเราหาเงินได้เท่าไหร่ เงินก็รั่วไหลออกนอกประเทศหมด
ประเทศไทยถึงได้ยากจนตลอดชาติ และถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางมาโดยตลอด 

2.ความภาคภูมิใจของคนในชาติแทบจะไม่มีเลย
ประเทศเกาหลีใต้ เป็นผู้ผลิตชิป และสมาร์ทโฟน
ญี่ปุ่น เป็นผู้ผลิตรถยนต์ รถกระบะ มอเตอร์ไซค์ รถบรรทุก เครื่องใช้ไฟฟ้า  ผลิตชิป 
จีน มีสถานีอวกาศเทียนกง ผลิตรถไฟฟ้าความเร็วสูง ผลิตชิป 
 เกาหลีเหนือ แม้จะผลิตสมาร์ทโฟนไม่ได้ แต่มีเทคโนโลยี่การผลิตอาวุธที่ทันสมัยมาก จนอเมริกายังกังวล
 ซึ่งเกาหลีเหนือมีนักวิทยาศาสตร์หัวกะทิที่ทำงานด้านการพัฒนาอาวุธหลายคน  
แล้วประเทศไทยมีผลงานด้านเทคโนโลยี่และนวัตกรรม ที่พัฒนาขึ้นเองและผลิตขายในเชิงพานิชย์บ้าง ตอนเราไปเดินในห้างสรรพสินค้า 
เคยสังเกตุลิฟต์กับบันไดเลื่อนไหม ว่ายี่ห้ออะไร บันไดเลื่อนยี่ห้อ Dong Yang จากเกาหลี  ลิฟต์มักจะเป็นของ mitsubishi , hitachi ,Otis  
บันไดเลื่อนเครื่องแรกของไทยติดตั้งที่ห้างไทยไดมารู เมื่อปี ๒๕๐๗  ผ่านมา57ปี ปัจจุบันเรายังผลิตลิฟต์กับบันไดเลื่อนเพื่อใช้ในประเทศไม่ได้เลย 
ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ  เราทำได้แค่ติดตั้งและซ่อมบำรุงเท่านั้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ถ้าลองสังเกตุรอบๆตัวเรา จะพบว่าเราไม่มี know how ที่จะผลิตสินค้าเทคโนโลยี่และนวัตกรรมเลยและต้องพึ่งพาต่างชาติมาโดยตลอด

3.ศักดิ์ศรีด้านเทคโนโลยี่และนวัตกรรมแทบจะไม่เหลือแล้ว เราเห็นรถญี่ปุ่นเต็มถนนทุกซอกทุกซอย ทั้งรถกระบะ มอเตอร์ไซค์ รถบรรทุก
 เรารู้สึกอะไรบ้างไหม คนญี่ปุ่นเข้ามามีอิทธิพลเหนือคนไทยด้านการคมนาคมเกือบ 80 ปี แต่เราก็ยังชิลๆ
เราไม่รู้สึกอะไรเลย ไม่รู้สึกอาย ไม่รู้สึกเสียหน้า  ไม่รู้สึกกังวลเลย

เราจะอธิบายสาเหตุของความล้าหลังทางด้านเทคโนโลยี่และนวัตกรรมของไทยได้อย่างไร
ถ้าเรามองว่าคนไทยมีความฉลาดน้อยกว่าชาติอื่น ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะคนไทยหลายคนสามารถไปเรียนต่อต่างประเทศได้
และจบสาขาเกี่ยวกับเทคโนโลยี่จากต่างประเทศ ทั้งระดับปริญญาตรี โท เอก ดังนั้นคนไทยจึงมีระดับมันสมองเท่าๆกับชาติอื่น
ดังนั้นเราจึงต้องเอาทฤษฎี comfort zone มาอธิบายแทน 

คำว่า comfort zone ความจริงเอาไว้ใช้อธิบายพฤติกรรมของคนวัยทำงาน เช่นมนุษย์เงินเดือนที่อยู่ในตำแหน่งเดิม
ในบริษัทมานานมาก จนรู้สึกว่าสะดวกสบายดี มีทุกอย่างพร้อม และหน้าที่การงานก็ไม่ยากเพราะฝ่าฟันปัญหาต่างๆมาหมดแล้วทุกรูปแบบ 
พอจะได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นพร้อมกับเงินเดือนที่มากขึ้นก็รู้สึกกลัว เพราะต้องออกจาก comfort zone
หรือถ้าจะย้ายไปบริษัทใหม่และได้เงินเดือนมากกว่าเดิมก็รู้สึกกลัว เพราะต้องออกจาก comfort zone และเผชิญกับความยากลำบาก 
กลัวความรับผิดชอบในงานที่มากขึ้น และต้องปรับตัวใหม่อีกมาก
ดังนั้นหลายคนจึงเลือกที่จะอยู่ใน comfort zone เหมือนเดิมดีกว่า โดยยอมสละเงินที่เพิ่มมากขึ้นและตำแหน่งงานที่สูงขึ้น ส่งผลให้ขีดความสามารถมีเท่าเดิม
ประเทศไทยก็อยู่ใน comfort zone ทางด้านเทคโนโลยี่และนวัตกรรมเหมือนกัน เพราะเรามองว่าการการประดิษฐ์คิดค้น วิจัยและพัฒนา(R&D)
เป็นเรื่องยุ่งยากน่าเบื่อ เสียเวลาและเสี่ยงต่อความล้มเหลว เราจึงปล่อยให้ต่างประเทศเขาทำเรื่องนี้ไปดีกว่า เราอยู่เฉยๆ สบายๆ ถ้าต่างประเทศวิจัยล้มเหลวเราก็ไม่เจ็บตัว แต่ถ้าต่างประเทศเขาทำสำเร็จ เราก็เข้าไปขอให้เขาช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยี่ให้(แบบฟรีๆ ) หรือซื้อเทคโนโลยี่และนวัตกรรมจากเขาเลยก็ได้ เราโฟกัสไปที่งานติดตั้งและซ่อมบำรุงก็พอแล้ว

แนวความคิดแบบนี้ส่งผลให้ประเทศไทยเข้าสู่วงจรซ้ำซาก นั่นคือเราจะอ่อนแอลง พออ่อนแอลงก็ต้องพึ่งต่างประเทศมากขึ้น ส่งผลให้อ่อนแอลงไปอีก
จึงต้องพึ่งต่างประเทศมากขึ้นไปอีก ไม่สามารถยืนอยู่ด้วยลำแข้งของเราเองได้ เป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อยๆไม่สิ้นสุด 
นี่คือปัญหาใหญ่ของชาติ แต่ไม่มีใครสนใจ ทุกวันนี้คนไทยเกิน 50 ล้านคนพูดถึงแต่ปัญหาการเมือง มีเพียง 2คนที่พูดถึง
ปัญหานี้ นั่นคือผมกับเกียรตินาคินภัทร นอกนั้นเงียบกันหมด รวมถึงนักวิชาการด้วย  เพราะไม่อยากออกจาก comfort zone นั่นเอง

แล้วอะไรทำให้ประเทศไทยอยู่ใน comfort zone
เราลองสังเกตุประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านเทคโนโลยี่ ได้แก่ เยอรมัน อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี่ รัสเซีย ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ไต้หวัน เขามีปัจจัยทางธรรมชาติที่เหมือนๆกัน นั่นคืออากาศที่หนาวจัดและมีหิมะตก ดังนั้นเขาต้องดิ้นรนหนักมากเพื่อเอาชีวิตรอดจากความหนาว เขาจึงอยู่ใน comfort zone ไม่ได้
สมัยก่อนต้องลุยหิมะหนา 1 ฟุตเพื่อไปล่าสัตว์ในป่าลึก เขาจึงต้องพยายามคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์เพื่อให้ชีวิตง่ายขึ้น
 แต่คนไทยแค่เดินไปที่รั้วหน้าบ้านก็มีผักให้เก็บกินแล้ว ทำให้เราคุ้นชินกับความสะดวกสบาย และไม่ต้องดิ้นรนมากมาย
ดังนั้นสภาพอากาศน่าจะมีอิทธิพลต่อความเจริญทางด้านเทคโนโลยี่

หน่วยงานหลักที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยี่ ได้แก่ รัฐบาล บริษัทเอกชน และมหาวิทยาลัยต้องหันมาให้ความสำคัญกับปัญหานี้ 
ถ้าไม่สนใจปัญหานี้  รับรองประเทศไทยไปไม่รอดแน่นอน และเราก็จะต้องยืมจมูกต่างชาติหายใจไปอีกนานเลย
และเราต้องเลิกสะกดจิตตัวเองได้แล้ว ว่าเราเป็นประเทศเกษตรกรรม จึงไม่ถนัดเรื่องเทคโนโลยี่ ถ้าย้อนหลังไปสัก300ปี 
ตอนนั้นทุกประเทศในโลกก็เป็นประเทศเกษตรกรรมเหมือนๆกันทั้งนั้น สมัยนั้นอเมริกาก็ปลูกข้าวโพด ถั่วเหลือง เลี้ยงวัวกันทั้งประเทศ
 แต่หลายประเทศก็ไม่ได้เอาความเป็นเกษตรกรรมมาเป็นข้ออ้าง
มีแต่ประเทศไทยนี่แหละที่ชอบเอาเหตุผลนี้มาเป็นข้ออ้างเพื่อที่จะได้ไม่ต้องออกจาก comfort zone นั่นเอง ประเทศไทยต้องเก่งทั้งด้านเกษตรกรรม
และเทคโนโลยี่ด้วยถึงจะไล่ต่างชาติทัน

**********************************************************************************************************
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่