หลายคนคิดว่า “ร้านโชห่วย” กำลังถูกบีบให้หายไปอย่างช้า ๆ จากการเข้ามาของ “ร้านสะดวกซื้อ” และ “ไฮเปอร์มาร์เก็ต” แต่ว่าเรื่องนี้เป็นความจริงแค่ไหน หากเราได้รู้ถึงสถิติในการเจริญเติบโตของร้านค้าโชห่วยไทย คุณอาจจะไม่คิดเช่นนั้น
ในปี 2561 ประเทศไทยมีร้านค้าโชห่วย 438,820 ร้าน
และปี 2562 “เพิ่มขึ้น” เป็น 443,123 ร้าน
ซึ่งเมื่อเทียบ “ส่วนแบ่งการตลาด” ระหว่างร้านโชห่วย ร้านสะดวกซื้อ และไฮเปอร์มาร์เก็ต จะพบว่า ร้านโชห่วยมีสัดส่วนสูงสุดที่ 44.1% ตามด้วยร้านสะดวกซื้อ 31.8% และไฮเปอร์มาร์เก็ต น้อยสุดที่ 24.1%
ในปี 2561 มี ร้าน 7-Eleven ประมาณ 10,988 สาขา
และในปี 2562 ร้าน 7-Eleven ขยายเพิ่มเป็น 11,712 สาขา
แบ่งเป็นร้านสาขาของบริษัท 5,215 สาขา, ร้าน Store Business Partner 5,687 สาขา, และร้านที่ได้รับสิทธิช่วงในอาณาเขตอีก 810 สาขา
จะเห็นได้ว่า จำนวนการขยายตัวของร้านสะดวกซื้อ และร้านโชห่วยของปี 61 - 62 นั้น มีจำนวนที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน
ได้ยกตัวอย่างบริษัท Nordstrom, Best buy และ Bonobos ห้างค้าปลีกชื่อดังของประเทศสหรัฐ อเมริกา ว่า
ค้าปลีกในยุคปัจจุบัน จะประสบความสำเร็จได้ ต้องวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า Customer Insight และพัฒนาประสบการณ์ลูกค้า โดยมี 3 หลักการ คือ
1. Leading with a small footprint and high experience นำด้วยก้าวเล็กๆ แต่มอบประสบการณ์สูง
2. Digital Supply Chain ใช้เทคโนโลยีตลอดห่วงโซ่
3. Investing in digitally savvy talent ลงทุนในบุคลากรรุ่นใหม่
เมื่อมองย้อนกลับมาดูตลาดค้าปลีกของประเทศไทย “ร้านโชห่วย” ยุคปัจจุบัน (ปี 2021) ก็ยังทำธุรกิจเหมือนเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม แต่ร้านโชห่วยไทยกับหยุดนิ่งอยู่กับที่
ในขณะที่ร้านค้าปลีกบางร้านก็มีการปรับตัวอย่างเห็นได้ชัด จนสามารถเข้าสู่ตลาดหุ้น อย่างเช่น ร้าน
"ธนพิริยะ" ผู้ประกอบการค้าปลีกยักษ์ใหญ่จากจังหวัดเชียงราย จากร้านค้าแผงลอย สู่ซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ของภาคเหนือตอนบน และสามารถนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI ด้วยชื่อว่า
“บริษัท ธนพิริยะ จำกัด (มหาชน)” หรือ TNP
ดังนั้น คงพูดได้ว่า การที่ผู้เล่นเดิมๆ แบบร้านโชห่วย ที่ไม่มีการปรับตัวเลย เพื่อให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ได้แล้ว ก็คงต้องทยอยปิดตัวลงอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน เพราะตลาดในยุคปัจจุบันนี้ ผู้บริโภค ถือได้ว่า เป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจอยู่ในมือสูงที่สุด มีตัวเลือกสินค้าหลากหลาย สามารถเลือกที่จะซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ ที่มีบริการจัดส่งสินค้าถึงบ้าน หรือเลือกสั่งสินค้าจากแหล่งอื่นที่มีคุณภาพสินค้าใกล้เคียงกันได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาไปเดินเลือกซื้อสินค้าตามร้านเหมือนเช่นอดีตอีกต่อไปแล้ว
ก็ได้แต่หวังว่า “ร้านโชห่วย” ซึ่งถือได้ว่าเป็น SMEs ขนาดเล็ก จะเห็นถีงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และปรับตัวสู่ตลาดออนไลน์ หรือช่องทางการจัดจำหน่ายในรูปแบบที่ ผู้บริโภค พึ่งพอใจสูงสุดด้วยเช่นกัน
ร้าน "โชห่วยไทย" กำลังตายจริงหรือ ???