(วิเคราะห์) ความคุ้มค่าทางธุรกิจ กับโมเดลธุรกิจหลังแกรด ของไอดอล 48th

กระทู้สนทนา
เมมเบอร์ หลายคนที่แกรด และรอประกาศแกรด แต่ช่วงหลังๆ มักจะมีคนที่ทิ้งท้ายว่า ยังอยู่ในสังกัด IAM แล้ว สังกัด IAM ที่ว่า มันมีจริงมั้ย ผมจึงมาวิเคราะห์ถึงโมเดลธุรกิจของ IAM กัน

1.เอเจนซี่ดารา นักแสดง จะเรียกว่าเป็นโมเดลธุรกิจแบบเสือนอนกิน ก็ได้ คือต้นสังกัด แทบไม่มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนา ยกเว้นการทำระบบ back office เช่น ar คนดูคิว ฝ่ายกฏหมาย ฝ่ายบัญชี ซึ่งถ้าเทียบกับเอเจนซี่ดาราทั่วไป สัญญาต่างตอบแทน มักจะระบุว่า เอเจนซี่ต้องเป็นฝ่าย "หางาน" ให้ด้วย ซึ่งจะระบุความถี่ของงาน เพื่อป้องกันการ "ดอง" นั่นคือ กั๊กเด็กไว้ ไม่ปล่อยงานให้ ซึ่งไม่รู้ว่า IAM จะมีแบบนี้มั้ย ซึ่งหากมองว่า อดีตเมม มาสายนักแสดง ถ้าปังขึ้นมา ถือว่าลงทุนน้อย กำไรมาก เลยทีเดียว

2.ธุรกิจ เพลง ต้องยอมรับว่ามันคือการต่อยอดแบบสายตรงของวงไอดอล แต่สถานการณ์ตลาดเพลงไทย มีนอยู่ได้ด้วยงานจ้าง ไม่ใช่ยอดขาย หรือก็คือ บริษัท แฟนคลับ ยอมได้หรือไม่ที่จะให้อดีตไอดอล ไปเล่นร้านเหล้า ยังไม่นับว่า ปังไม่ปัง อีก และแน่นอน โมเดลธุรกิจนี้ มันลงทุนสูง ทั้งค่าพัฒนา ค่า production ค่าลิขสิทธิ์ ถ้านับว่าไอดิลสายร้องที่แกรด ทั้งเข่ง และฟีฟ่า ความสามารถ มันต่อยอดได้ แต่ในแง่ธุรกิจ จะลงทุนกับเมมเบอร์ที่มีฐานน้อย มันเสี่ยง

3.แบรนด์แฟชั่น เมมเบอร์วงพี่ในต่างประเทศหลายคนก็เบนไปสายแฟชั่น แต่ก็ตามสภาพ แต่ถ้ามองลู่ทางมันก็พอไปได้ว่าจะเอาระดับไหน อย่าง อร กับ cruch on you แต่ปัญหามันมีอยู่ว่า ตลาดแฟชั่นแบรนด์ไทย มันไปได้ดีแค่ไหน ดังนั้น ธุรกิจแฟชั่น ค่อนข้างเสี่ยง ยังไม่นับ ปัญหา QC สินค้า อฟช ที่ทำให้ธุรกิจนี้ภาพลักษณ์ติดลบ ตั้งแต่ยังไม่เริ่ม

4.ดารา part time แน่นอน เมมหลายคน อาจจะเฟท ตัวไปจากวงการบันเทิงหลังแกรด แต่ถ้าเป็นเช่นนั้น มันคงแย่ โดยเฉพาะเมม ที่ความนิยมสูง ดังนั้น การทำระบบ ดาราพาร์ทไทม์ คงเป็นอะไรที่เหมาะ  สมมติ น้ำหนึ่งอาจจะเป็นนักข่าวสิ่งแวดล้อม เนย เป็นแม่บ้าน วันดีคืนดี อาจจะมีถ่ายแบบ ถ่ายโฆษณา IAM ก็เข้ามาจัดการผลประโยชน์ให้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่