สิ่งที่ควรรู้ก่อน! แม้ขายดีก็ "เจ๊ง" ได้ | วิธีหาเงินและทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
พ่อค้าแม่ค้าเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า เวลาที่ขายของแล้วเงินที่ได้มานั้นมันหายไปไหนกันนะ?! ถึงแม้ว่าคุณจะขายดีแค่ไหนก็ตาม แต่ทำไมเงินที่คุณได้มาบางครั้ง กำไรน้อยลง หรือ ขาดทุนไปเลยก็มี ซึ่งอาจทำให้ธุรกิจของคุณ "เจ๊ง" ขึ้นมาได้โดยไม่รู้ตัว แล้วเช่นนี้จะทำอย่างไร
หรือมีสิ่งไหนที่คุณยังไม่รู้ในการทำธุรกิจ…
หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เชื่อว่า การขายของดี เป็นเทน้ำเทท่า สามารถขาดทุนหรือเจ๊งได้ ซึ่งตามหลักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปแล้ว อาจเป็นไปได้น้อยมาก ที่อยู่ดี ๆ ธุรกิจที่กำลังขายดิบขายดี จนของทุกอย่างที่นำมาขายหมดไปในพริบตานั้น จะสามารถมาเจ๊งได้ได้อย่างไร แต่ในความจริงเรื่องของการขาดทุน หรือธุรกิจเจ๊ง ไม่ได้จำกัดว่าคุณจะต้องขายของดีหรือไม่ แต่อยู่ที่องค์ประกอบอื่น ๆ ที่พ่อค้าแม่ค้ายังไม่รู้ ซึ่งวันนี้ผมมี 4 สิ่ง ที่พ่อค้าแม่ค้าควรรู้ก่อน! แม้ขายดีก็ "เจ๊ง" ได้ ดังนี้
สิ่งที่ 1 ไม่รู้ต้นทุนสินค้าและบริการที่แท้จริง : แท้จริงแล้วต้นทุนในการผลิตสินค้ามีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ คุณไม่อาจนำต้นทุนใดต้นทุนหนึ่งมาคิดเพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าวัตถุดิบ ค่าบริหาร ค่าการตลาด ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนทั้งหมด อย่างเช่น กรณีพ่อค้าแม่ค้าที่ผลิดสินค้าเอง ในบางทีการไปซื้อวัตถุดิบในทุก ๆ วันแล้วต้องใช้ยานพาหนะในการเดินทางนั้น จำเป็นที่จะต้องใช้น้ำมันรถ แต่คุณกลับคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยจึงไม่ได้นำค่าใช้จ่ายเหล่านี้มารวมในต้นทุนในการขายของ เช่น คุณใช้ยานพาหนะในการไปซื้อวัตถุดิบค่าน้ำมันต่อวันก็อาจจะตกวันละ 50 บาท เมื่อต้องเดินทางไปซื้อวัตถุดิบในทุก ๆ วันเป็นเวลา 30 วัน แสดงว่าค่าน้ำมันรถในเดือนนั้นรวมแล้วเป็น 1500 บาท ซึ่งในบางทีก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายจิปาถะอีกมากมาย ถึงแม้ว่าในขณะที่คุณขายปลีก คุณยังพอที่จะเห็นกำไรแต่ถ้าเมื่อไหร่ธุรกิจเริ่มเป็นที่รู้จักและมีการสั่งสินค้าเป็นจำนวนมากจนทำให้คุณจำเป็นที่จะต้องขายในราคาส่ง ทีนี้แหละครับปัญหาที่จะตามมาเวลาที่คุณขายในราคาส่งแล้วคุณไม่ได้คิดถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่รวมแล้วก็เป็นเงินจำนวนมากลงไปด้วย จนทำให้คุณมีโอกาสที่จะขาดทุนหรือเจ๊งก็มีความเป็นไปได้สูง
สิ่งที่ 2 ไม่ทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย : การบันทึกค่าใช้จ่ายลงบนรายรับ-รายจ่ายอย่างละเอียด ช่วยให้ผู้ประกอบการเห็นรายจ่ายแยกออกเป็นรายการได้อย่างชัดเจน การควบคุมรายจ่ายให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมถือเป็นอะไรที่ท้าทาย และเป็นหัวใจในการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก ทว่าก็อาจจะมีผู้ประกอบการพ่อค้าแม่ค้าบางรายมักไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องนี้กันสักเท่าไหร่ เพราะคิดว่าเงินที่เข้ากระเป๋าหักลบกับรายจ่ายแล้ว ถ้ายอดเป็นบวกก็หมายถึงการมีรายได้หรือรายรับที่มากกว่ารายจ่ายรู้แค่นี้ก็คือจบ แต่!! ในความเป็นจริงแล้วมันไม่จบนะครับ ถ้าเมื่อไหร่ที่คุณนำเอาเงินออกไปใช้มันจะรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจเลย จนกลายเป็นว่าเงินที่อยู่ในกระเป๋าค่อย ๆ หายไปมารู้ตัวอีกทีก็อาจจไม่มีเงินในการลงทุนเสียแล้ว ฉะนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการหรือพ่อค้าแม่ค้าควรจะเริ่มทำ นั่นก็คือ การจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ หรือตามความถนัดของผู้ประกอบการเองได้เลย ซึ่งสิ่งนี้ไม่เพียงช่วยเฉพาะการสร้างวินัยทางการเงินส่วนบุคคลเพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถปรับใช้ในการทำธุรกิจให้ดีขึ้นอีกด้วย เพราะคุณจะได้รู้ว่าธุรกิจที่ทำอยู่ กำไร หรือ ขาดทุน ถ้าหากขาดทุนจะต้องแก้ไขลดต้นทุนแบบไหนเพื่อให้ธุรกิจมีกำไรและโอกาสที่จะเจ๊งก็อาจจะลดน้อยลงนั่นเอง
สิ่งที่ 3 ตั้งใจเอาเงินไปใช้ส่วนตัวมากเกินไป : ซึ่งกรณีนี้อาจจะเห็นได้ชัดแต่ผู้ประกอบการหรือพ่อค้าแม่ค้าอาจจะไม่รู้ตัว สมมุติ คุณทำธุรกิจหรือค้าขายได้สักระยะหนึ่งแล้วมีเงินเก็บอยู่ 50,000 บาท แล้วคุณนำเงินส่วนนี้ไปซื้อมอเตอร์ไซต์และผ่านไปอีกสักระยะคุณก็เก็บเงินได้อีก 1 แสนบาทแล้วนำเงินจำนวนนี้ไปดาวน์รถและก็รอที่จะผ่อน ซึ่งสิ่งนี้จะบอกว่าผิดก็ไม่ได้เพราะเป็นสิทธิ์ของคุณ แต่!! ตามหัวข้อของบทความนี้ได้บอกมาแล้วว่า 4 สิ่งที่ควรรู้ก่อนแม้ขายดีก็ "เจ๊ง" ได้ ฉะนั้น ถ้าหากคุณอยากมีทั้งธุรกิจและมีสิ่งของที่คุณอยากได้คุณต้องดูจังหวะการเงินของธุรกิจคุณก่อน นั่นก็คือ คุณต้องมีเงินสำรองให้กับการค้าขายของคุณ ซึ่งในช่วงแรกคุณอาจจะต้องเก็บเงินไปก่อนและถ้าจะให้ปลอดภัยในการนำเงินไปซื้อสิ่งของที่อยากได้อย่างน้อยคุณต้องมีเงินเก็บไว้ฉุกเฉินให้ได้สัก 6 เดือน เพราะเราไม่รู้ว่าจะเกิดวิกฤตอะไรขึ้นมาบ้างระหว่างการทำธุรกิจ ยิ่งถ้าคุณมีค้าใช้จ่ายที่เดือนชนเดือนโอกาสที่ธุรกิจคุณจะเจ๊งก็เป็นได้เช่นกัน
สิ่งที่ 4 ไม่เข้าใจการเสียภาษี (โดยเฉพาะผู้ที่ทำธุรกิจออนไลน์) : สำหรับร้านค้าออนไลน์ ภาษีหลัก ๆ จะมีอยู่ 2 แบบ คือ เสียภาษีแบบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ เสียภาษีแบบนิติบุคคล (กรณีนี้สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท) ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะต้องศึกษาเพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องโดนเก็บค่าปรับและค่าภาษีย้อนหลัง ส่วนผู้ประกอบการหรือพ่อค้าแม่ค้าที่ยังเปิดร้านค้าแบบออฟไลน์ แนะนำให้เก็บใบเสร็จการซื้อของประกอบการทำธุรกิจไว้ โดยอาจจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ใบเสร็จต้นทุนสินค้าจริง ๆ กับ ใบเสร็จค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หากเก็บรวมกันโอกาสที่ข้อมูลปนกันก็เป็นไปได้ และที่สำคัญภายในใบเสร็จจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อร้านค้าที่คุณไปซื้อ เช่น ชื่อร้านค้า ชื่อผู้ขาย ที่อยู่ เบอร์โทร หรือถ้าหากไม่มีคุณจำเป็นที่จะต้องขอสำเนาบัตรเพื่อยืนยันว่าคุณทำการซื้อขายสินค้ากันจริง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของพื้นฐานแต่ความจริงแล้วยังต้องใช้รายละเอียดอีกมาก ฉะนั้น เรื่องนี้คุณควรรู้ไว้ดีกว่าไม่รู้เลยเพราะมีธุรกิจตัวอย่างอีกตั้งมากมายที่เสียภาษีย้อนหลังจนเจ๊งก็มีให้เห็นถมไป
ดังนั้น 4 สิ่งที่ควรรู้ก่อน! แม้ขายดีก็ "เจ๊ง" ได้ จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวและสำคัญกับผู้ประกอบการพ่อค้าแม่ค้าทั้งหลาย ถึงแม้ว่าในตอนนี้อาจจะยังไม่มีผลลัพธ์ใด ๆ แต่ในอนาคตเชื่อเถอะครับหากคุณไม่สนใจในเรื่องพวกนี้เลยปัญหาก็จะตามมาได้ แต่ถ้าหากคุณคิดว่าคุณสามารถทำทั้ง 4 ข้อนี้ครบแล้ว แน่นอนครับ โอกาสที่คุณจะเจ๊งก็อาจจะเกิดขึ้นได้ยากเพราะมีการวางแผนที่ดี แล้วสำหรับผู้ประกอบการหรือพ่อค้าแม่ค้าคนอื่น ๆ ล่ะครับคิดว่าใส่ใจสิ่งเหล่านี้มากพอหรือยัง ถ้ายัง คุณคิดว่าควรจะเริ่มจากข้อไหนดีหรือทำพร้อมกันทั้งหมด สามารถแสดงความคิดเห็นมาได้ตามคอมเมนต์ด้านล่างนี้เลยนะครับ
================================================================
สำหรับใครที่อยากได้รับอรรถรสเพิ่มมากขึ้น สามารถคลิกวีดีโอได้ตามด้านล่างนี้นะครับ
สิ่งที่ควรรู้ก่อน! แม้ขายดีก็ "เจ๊ง" ได้ | วิธีหาเงินและทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เชื่อว่า การขายของดี เป็นเทน้ำเทท่า สามารถขาดทุนหรือเจ๊งได้ ซึ่งตามหลักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปแล้ว อาจเป็นไปได้น้อยมาก ที่อยู่ดี ๆ ธุรกิจที่กำลังขายดิบขายดี จนของทุกอย่างที่นำมาขายหมดไปในพริบตานั้น จะสามารถมาเจ๊งได้ได้อย่างไร แต่ในความจริงเรื่องของการขาดทุน หรือธุรกิจเจ๊ง ไม่ได้จำกัดว่าคุณจะต้องขายของดีหรือไม่ แต่อยู่ที่องค์ประกอบอื่น ๆ ที่พ่อค้าแม่ค้ายังไม่รู้ ซึ่งวันนี้ผมมี 4 สิ่ง ที่พ่อค้าแม่ค้าควรรู้ก่อน! แม้ขายดีก็ "เจ๊ง" ได้ ดังนี้
สิ่งที่ 1 ไม่รู้ต้นทุนสินค้าและบริการที่แท้จริง : แท้จริงแล้วต้นทุนในการผลิตสินค้ามีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ คุณไม่อาจนำต้นทุนใดต้นทุนหนึ่งมาคิดเพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าวัตถุดิบ ค่าบริหาร ค่าการตลาด ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนทั้งหมด อย่างเช่น กรณีพ่อค้าแม่ค้าที่ผลิดสินค้าเอง ในบางทีการไปซื้อวัตถุดิบในทุก ๆ วันแล้วต้องใช้ยานพาหนะในการเดินทางนั้น จำเป็นที่จะต้องใช้น้ำมันรถ แต่คุณกลับคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยจึงไม่ได้นำค่าใช้จ่ายเหล่านี้มารวมในต้นทุนในการขายของ เช่น คุณใช้ยานพาหนะในการไปซื้อวัตถุดิบค่าน้ำมันต่อวันก็อาจจะตกวันละ 50 บาท เมื่อต้องเดินทางไปซื้อวัตถุดิบในทุก ๆ วันเป็นเวลา 30 วัน แสดงว่าค่าน้ำมันรถในเดือนนั้นรวมแล้วเป็น 1500 บาท ซึ่งในบางทีก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายจิปาถะอีกมากมาย ถึงแม้ว่าในขณะที่คุณขายปลีก คุณยังพอที่จะเห็นกำไรแต่ถ้าเมื่อไหร่ธุรกิจเริ่มเป็นที่รู้จักและมีการสั่งสินค้าเป็นจำนวนมากจนทำให้คุณจำเป็นที่จะต้องขายในราคาส่ง ทีนี้แหละครับปัญหาที่จะตามมาเวลาที่คุณขายในราคาส่งแล้วคุณไม่ได้คิดถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่รวมแล้วก็เป็นเงินจำนวนมากลงไปด้วย จนทำให้คุณมีโอกาสที่จะขาดทุนหรือเจ๊งก็มีความเป็นไปได้สูง
สิ่งที่ 2 ไม่ทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย : การบันทึกค่าใช้จ่ายลงบนรายรับ-รายจ่ายอย่างละเอียด ช่วยให้ผู้ประกอบการเห็นรายจ่ายแยกออกเป็นรายการได้อย่างชัดเจน การควบคุมรายจ่ายให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมถือเป็นอะไรที่ท้าทาย และเป็นหัวใจในการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก ทว่าก็อาจจะมีผู้ประกอบการพ่อค้าแม่ค้าบางรายมักไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องนี้กันสักเท่าไหร่ เพราะคิดว่าเงินที่เข้ากระเป๋าหักลบกับรายจ่ายแล้ว ถ้ายอดเป็นบวกก็หมายถึงการมีรายได้หรือรายรับที่มากกว่ารายจ่ายรู้แค่นี้ก็คือจบ แต่!! ในความเป็นจริงแล้วมันไม่จบนะครับ ถ้าเมื่อไหร่ที่คุณนำเอาเงินออกไปใช้มันจะรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจเลย จนกลายเป็นว่าเงินที่อยู่ในกระเป๋าค่อย ๆ หายไปมารู้ตัวอีกทีก็อาจจไม่มีเงินในการลงทุนเสียแล้ว ฉะนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการหรือพ่อค้าแม่ค้าควรจะเริ่มทำ นั่นก็คือ การจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ หรือตามความถนัดของผู้ประกอบการเองได้เลย ซึ่งสิ่งนี้ไม่เพียงช่วยเฉพาะการสร้างวินัยทางการเงินส่วนบุคคลเพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถปรับใช้ในการทำธุรกิจให้ดีขึ้นอีกด้วย เพราะคุณจะได้รู้ว่าธุรกิจที่ทำอยู่ กำไร หรือ ขาดทุน ถ้าหากขาดทุนจะต้องแก้ไขลดต้นทุนแบบไหนเพื่อให้ธุรกิจมีกำไรและโอกาสที่จะเจ๊งก็อาจจะลดน้อยลงนั่นเอง
สิ่งที่ 3 ตั้งใจเอาเงินไปใช้ส่วนตัวมากเกินไป : ซึ่งกรณีนี้อาจจะเห็นได้ชัดแต่ผู้ประกอบการหรือพ่อค้าแม่ค้าอาจจะไม่รู้ตัว สมมุติ คุณทำธุรกิจหรือค้าขายได้สักระยะหนึ่งแล้วมีเงินเก็บอยู่ 50,000 บาท แล้วคุณนำเงินส่วนนี้ไปซื้อมอเตอร์ไซต์และผ่านไปอีกสักระยะคุณก็เก็บเงินได้อีก 1 แสนบาทแล้วนำเงินจำนวนนี้ไปดาวน์รถและก็รอที่จะผ่อน ซึ่งสิ่งนี้จะบอกว่าผิดก็ไม่ได้เพราะเป็นสิทธิ์ของคุณ แต่!! ตามหัวข้อของบทความนี้ได้บอกมาแล้วว่า 4 สิ่งที่ควรรู้ก่อนแม้ขายดีก็ "เจ๊ง" ได้ ฉะนั้น ถ้าหากคุณอยากมีทั้งธุรกิจและมีสิ่งของที่คุณอยากได้คุณต้องดูจังหวะการเงินของธุรกิจคุณก่อน นั่นก็คือ คุณต้องมีเงินสำรองให้กับการค้าขายของคุณ ซึ่งในช่วงแรกคุณอาจจะต้องเก็บเงินไปก่อนและถ้าจะให้ปลอดภัยในการนำเงินไปซื้อสิ่งของที่อยากได้อย่างน้อยคุณต้องมีเงินเก็บไว้ฉุกเฉินให้ได้สัก 6 เดือน เพราะเราไม่รู้ว่าจะเกิดวิกฤตอะไรขึ้นมาบ้างระหว่างการทำธุรกิจ ยิ่งถ้าคุณมีค้าใช้จ่ายที่เดือนชนเดือนโอกาสที่ธุรกิจคุณจะเจ๊งก็เป็นได้เช่นกัน
สิ่งที่ 4 ไม่เข้าใจการเสียภาษี (โดยเฉพาะผู้ที่ทำธุรกิจออนไลน์) : สำหรับร้านค้าออนไลน์ ภาษีหลัก ๆ จะมีอยู่ 2 แบบ คือ เสียภาษีแบบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ เสียภาษีแบบนิติบุคคล (กรณีนี้สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท) ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะต้องศึกษาเพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องโดนเก็บค่าปรับและค่าภาษีย้อนหลัง ส่วนผู้ประกอบการหรือพ่อค้าแม่ค้าที่ยังเปิดร้านค้าแบบออฟไลน์ แนะนำให้เก็บใบเสร็จการซื้อของประกอบการทำธุรกิจไว้ โดยอาจจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ใบเสร็จต้นทุนสินค้าจริง ๆ กับ ใบเสร็จค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หากเก็บรวมกันโอกาสที่ข้อมูลปนกันก็เป็นไปได้ และที่สำคัญภายในใบเสร็จจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อร้านค้าที่คุณไปซื้อ เช่น ชื่อร้านค้า ชื่อผู้ขาย ที่อยู่ เบอร์โทร หรือถ้าหากไม่มีคุณจำเป็นที่จะต้องขอสำเนาบัตรเพื่อยืนยันว่าคุณทำการซื้อขายสินค้ากันจริง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของพื้นฐานแต่ความจริงแล้วยังต้องใช้รายละเอียดอีกมาก ฉะนั้น เรื่องนี้คุณควรรู้ไว้ดีกว่าไม่รู้เลยเพราะมีธุรกิจตัวอย่างอีกตั้งมากมายที่เสียภาษีย้อนหลังจนเจ๊งก็มีให้เห็นถมไป
ดังนั้น 4 สิ่งที่ควรรู้ก่อน! แม้ขายดีก็ "เจ๊ง" ได้ จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวและสำคัญกับผู้ประกอบการพ่อค้าแม่ค้าทั้งหลาย ถึงแม้ว่าในตอนนี้อาจจะยังไม่มีผลลัพธ์ใด ๆ แต่ในอนาคตเชื่อเถอะครับหากคุณไม่สนใจในเรื่องพวกนี้เลยปัญหาก็จะตามมาได้ แต่ถ้าหากคุณคิดว่าคุณสามารถทำทั้ง 4 ข้อนี้ครบแล้ว แน่นอนครับ โอกาสที่คุณจะเจ๊งก็อาจจะเกิดขึ้นได้ยากเพราะมีการวางแผนที่ดี แล้วสำหรับผู้ประกอบการหรือพ่อค้าแม่ค้าคนอื่น ๆ ล่ะครับคิดว่าใส่ใจสิ่งเหล่านี้มากพอหรือยัง ถ้ายัง คุณคิดว่าควรจะเริ่มจากข้อไหนดีหรือทำพร้อมกันทั้งหมด สามารถแสดงความคิดเห็นมาได้ตามคอมเมนต์ด้านล่างนี้เลยนะครับ