❄
The Pumps That Must Run Forever,
Or Part Of Germany Floods
❄
มุมมองพื้นที่ Ruhr Area
จาก Mottbruchhalde ใน Gladbeck
© Berndbrueggemann / Dreamstime.com
❄
หุบเขา
Ruhr ใน
North Rhine-Westphalia
ที่นี่เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของเยอรมนี
ที่ผลิตถ่านหินและเหล็กกล้า
ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญอย่างมาก
ในการทำอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ
ถ่านหินถูกขุดที่นี่เป็นเวลาอย่างน้อย 400 ปี
โดยปกติมักจะเป็นเรือขุดแร่ที่ลอยน้ำตื้น
แล่นหาแร่ตามแม่น้ำ Ruhr
ในศตวรรษที่ 19
การเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
มึความต้องการถ่านหิน/เหล็กกล้าเพิ่มขึ้น
และมีการขุดลึกถึงตะเข็บถ่านหินที่ลึกกว่า
เป็นครั้งแรกที่ขุดถึง หูแร่ แหล่งสายแร่มาชนกัน
ขุดง่ายมากหิ้วแร่ขึ้นมาไดัมาก จังหู(มากจริง ๆ)
(เร็วจังหู เร็วจริง ๆ หรอยจังหู อร่อยจริง ๆ)
ภายในเวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษ
ผลผลิตถ่านหินของ Ruhr
พุ่งสูงขึ้นจาก 2 ล้านตันต่อปี
ในปี 1850 ผลิตได้มากกว่า 100 ล้านตัน
ในตอนท้ายศตวรรษที่ 19 ก็เช่นกัน
การผลิตเหล็กเพิ่มขึ้นจากเพียง 11,500 ตันต่อปี
เป็น 8 ล้านในเวลาต่อมาไล่เลี่ยกัน
การเติบโตอย่างเร็วด้านอุตสาหกรรมของ Ruhr
ผลักดันให้เกิดการขยายตัวของเมือง
ทั่วทั้ง North Rhine-Westphalia หลายเมือง
ผู้คนต่างอพยพมาจากทั่วเยอรมนี
และภูมิภาคที่อยู่ติดกันมาเป็นกรรมกร
เพื่อทำงานในเหมืองแร่ถ่านหิน/ในโรงงานเหล็ก
ยุคนั้นเยอรมันกับหลายชาติยังเป็นระบบไพร่ที่ดิน
มีแต่พวกศักดินา คือ เจ้าที่ดิน ที่ให้ไพร่ทำกิน
ทำให้อาชีพที่หาง่ายสุดคือ กรรมกร
ก่อนที่ระบบประชาธิปไตยจะมาล้มล้าง
การมีที่ดินจำนวนมากด้วยกฎหมาย/ภาษี
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19
เมืองเล็ก ๆ ที่เดิมมี 2,000-5,000 คน
มีคนมาอยู่หลายแสนคนจนกลายเป็นเมืองใหญ่
อุตสาหกรรมถ่านหินของ Ruhr
เริ่มลดลงตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20
ในช่วงทศวรรษ 1970
เยอรมนียังใช้ถ่านหินที่ขุดง่ายในหุบเขา Ruhr
แต่แล้วไม่สามารถแข่งขันในด้านราคาได้อีก
อุตสาหกรรมเหล็กก็ลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน
เพราะถูกตัดราคาจากคู่แข่งเมืองนอก
ที่มีต้นทุนต่ำกว่าจากอุตสาหกรรมเกิดใหม่
เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐ รัสเซีย จีน อินโดนีเซีย
ปัจจุบัน Ruhr
ยังคงเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญ
แต่เศรษฐกิจของเมืองได้เปลี่ยนเป็น
อุตสาหกรรมด้านบริการสุขภาพ เทคโนโลยี
สารสนเทศ การขนส่งและโลจิสติกส์
❄
❄
❄
อัฒจันทร์ในกองตะกรันเดิม
Halde Haniel ใน Bottrop
หนึ่งใน Slag Heaps ที่สูงที่สุด
ในพื้นที่ Ruhr มีความสูง 159 เมตร
© Rab Lawrence / Flickr
❄
❄
แม้ว่า Ruhr จะไม่ผลิตถ่านหินอีกต่อไป
แต่หลายศตวรรษของการขุดถ่านหิน
ได้ทิ้งร่องรอยรอยบาดแผลไว้บนพื้นดิน
ที่ลบไม่ออกในภูมิศาสตร์ของภูมิภาคนี้
กองขยะขนาดมหึมากองอยู่เกลื่อนกลาด
ประกอบด้วยอิฐ หิน ดิน ทราย ขี้ตะกรัน
และสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ถ่านหิน สิ่งเหล่านี้เรียกว่า
Halde (อุนจิ/อึ) ในภาษาเยอรมัน
แม้ว่าหลายแห่งจะถูกยึดคืนด้วยพืชพันธุ์
ภูมิทัศน์ ถูกเปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะ จุดชมวิว
หรือเป็นที่ตั้งของงานศิลปะสาธารณะกลางแจ้ง
❄
❄
ลักษณะของพื้นที่ Ruhr หากปั๊มน้ำหยุดนิ่ง
© Helge Hoffmann
❄
การทำเหมืองถ่านหิน
ได้ทิ้งมรดกอัปลักษณ์ไว้ในภูมิภาคนี้
คือ ปล่องบ่อใต้ดินที่ลึกมากกว่า 20 เมตรหลายจุด
ทำให้ในสถานที่ต่าง ๆ เจิ่งนองไปด้วยน้ำ
น้ำทึ่ไหลลงไปจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
น้ำจึงมีแนวโน้มที่จะรวมตัวกันเป็นหย่อม ๆ
และหากไม่มีการติดตั้ง
เครื่องสูบน้ำ 180 เครื่อง
ที่ติดตั้งอยู่รอบ ๆ Ruhr ที่มีประชากรหนาแน่น
จะทำให้ที่อยู่อาศัยของคนมากกว่า 5 ล้านคน
ในพื้นที่แถบนี้จะกลายเป็นทะเลสาบ
❄
❄
Hahnenbach (Boye)
❄
The Emscher in southern Dortmund
❄
Rhine
❄
เครื่องสูบน้ำบริหารงานโดย
Emschergenossenschaft
ต้องทำการสูบน้ำใต้ดินระบายออก
มากกว่า 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตรทุกปี
ทั้งยังสูบแม่น้ำ
Boye ทั้งสาย
ที่สูง 18 เมตรจากระดับพื้นดิน
ให้ลงสู่แม่น้ำ
Alte Emscher ให้ไหลสู่แม่น้ำ
Rhine
เพื่อให้น้ำระบายออกจากพื้นที่คนพักอาศัยอยู่
ถ้าไม่ทำ 1 ใน 5 ของภูมิภาคนี้จะจมอยู่ใต้น้ำ
หากไม่มีการบริหารจัดการสูบน้ำออกจากพื้นที่
โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ไข่แดงที่ผู้คนส่วนใหญ่
อาศัย/มีพาณิชยกรรม/ทำอุตสาหกรรม
❄
❄
Alte Emscher ผ่านสวนสาธารณะ Duisburg
❄
สถานีสูบน้ำแห่งแรกเริ่มดำเนินการในปี 1914
บนแม่น้ำ
Alte Emscher ในเมือง
Duisburg
ทุกวันนี้ทุก ๆ เมืองที่ได้รับผลกระทบใน Ruhr
จะมีเครื่องสูบน้ำขนาดเล็ก
ไปจนถึงเครื่องสูบน้ำขนาดยักษ์
ที่สูบน้ำได้ถึง 40,000 ลิตร/วินาที
การทำให้ปั๊มน้ำเหล่านี้ทำงานอย่างต่อเนื่อง
กลายเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
จึงบริหารจัดการโดยบริษัท เหมืองถ่านหิน
(มีการเก็บค่าใช้จ่ายจากชาวบ้านส่วนหนึ่ง)
❄
❄
❄
❄
งานศิลป์ บน Halde Haniel
ใน Bottrop © Rab Lawrence/Flickr
❄
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าปั๊มน้ำหยุดทำงาน
Stefan Hager ผู้รับผิดชอบด้านสถานที่ตั้ง
และบริการภูมิสารสนเทศที่ RAG
(บริษัทเหมืองถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมัน)
ได้ให้คำอธิบายว่า
" ความหายนะยังไม่เกิดขึ้นทันที
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่ทำเลที่ตั้ง (ที่ลุ่มที่ดอน)
บางแห่งอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่า
ที่น้ำใต้ดินจะเริ่มไหลเอ่อล้นออกมา
ทำให้ช่างมีเวลาเพียงพอในการซ่อมแซมปั๊ม
ตามหลักวิทยาศาสตร์
น้ำท่วมไม่ได้เกิดจากน้ำใต้ดิน
แต่เกิดจากฝนตกหนักแล้วระบายไม่ทัน
น้ำจากแม่น้ำ Rhine ต้องใช้เวลาหลายวัน
กว่าจะสูงขึ้นจนล้นตลิ่ง
แม่น้ำ Alte Emscher ก็ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง
เพราะเป็นพื้นที่ปิดล้อมรอบ และตัองทำให้
น้ำระบายออกไปให้ได้เร็วที่สุด ”
แต่บางคนคิดว่าควรปิดปั๊มน้ำบางตัว
จะทำให้ภูมิภาคนี้
มีทะเลสาบ/พื้นที่ชุ่มน้ำ
แม้ว่าจะมีเพียงไม่กี่แห่ง
ก็จะทำให้ Ruhr มีเสน่ห์มากกว่า
พื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้
❄
เรียบเรียง/ที่มา
http://bit.ly/3eD5AXb
http://bit.ly/3tzvm2T
❄
❄
❄
เรื่องเล่าไร้สาระ
น้ำท่วม คือ ที่วัดระดับที่ดินโดยธรรมชาติ
เหมือนตัววัดระดับน้ำของช่างมืออาชีพ/ช่างมืออาภัพ
ที่สายตาคนเรามักจะหลอกตาว่าเป็นที่ราบ/เสมอกัน
พอน้ำท่วมจะเห็นที่ดอนที่น้ำไม่ท่วม
น้ำท่วมแต่ละครั้ง
มีทั้งวิกฤต มีทั้งโอกาส (ซวย/รวย)
นักลงทุนบางคนยอมนั่งเรือ
ขึ้นเฮลิคอปเตอร์บินไปดูรอบเมือง
เพื่อดูที่ดอน จะไดัซื้อมาลงทุนขายต่อ
แต่ถัาที่ดอนขายแพงมาก
ก็หาซื้อที่น้ำท่วม ที่ไม่ลึก/ไม่สูงมาก
มาถมดินที่ระดับ 1-2 เมตร ให้สูงกว่าที่เดิม
แล้วนำมาขายต่อแพงกว่าเดิม
หรือทำแบบอัฐยายซื้อขนมยาย
ขุดดินที่ซื้อ เอามาถมที่ดินที่ซื้อ
แล้วพัฒนาขายต่อ โฆษณาว่า
มีทะเลสาบในหมู่บ้าน
❄
❄
ขุมเหมืองดีบุกภาคใต้ที่เลิกทำแล้ว
มักจะเป็นแอ่งน้ำขังลึกมาก 100 -200 เมตร
ชาวบ้านมักจะบอกว่าลึกราว 10 ต้นมะพร้าวแก่
แต่ก่อนให้ฟรียังไม่มีคนเอาเพราะไม่รู้ทำอะไรดี
เลี้ยงปลาก็จับยากเพราะน้ำลึกมาก
ทำเกษตรน้ำก็แทบไม่จำเป็นมาก
เพราะภาคใต้ฝนตกเกือบตลอดทั้งปี
จากสภาวะมีไอน้ำจากทะเลขนาบด้ามขวาน 2 ด้าน
พร้อมกับทิวเขาหลายแห่ง ทำให้มีฝนมาก
ฝนแปด แดดสี่ ตามทึ่พูดกัน
ฝนไม่ตกสักอาทิตย์สองอาทิตย์ก็บ่นว่า แล้งแล้ว
ศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในหาดใหญ่
ลงทุนขุดสระพักน้ำใต้ดิน
แลัวเทพื้นให้ด้านบนเป็นที่จอดรถยนต์
ไว้เก็บกักน้ำฝนจากรางน้ำฝนของอาคาร
ที่นี่ประหยัดค่าน้ำปีละครึ่งล้านบาทอย่างต่ำ
เพราะแค่นำน้ำมากรองก็ใช้ได้แล้ว
ที่สวนโมกข์ไชยา(ฝั่งไทย/ฝั่งนานาชาติ)
ก็ใช้พื้นชั้นล่างที่พัก หล่อปูนเป็นที่เก็บน้ำฝน
กับมึโอ่งรองรับน้ำฝน/น้ำค้างไว้ใช้
ทุกวันนี้มีกิจการหลายแห่ง
เริ่มใช้น้ำขุมเหมืองที่ผ่านการบำบัด
เพื่อลดต้นทุนไม่ต้องจ่ายค่าน้ำบาดาล
ให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล(คิวละ 3.50 บาท)
ขุมเหมืองที่ภูเก็ตพังงา
ซื้อขายกันไร่ละหนึ่งล้านบาทอย่างต่ำ
เพราะเอกชนขายน้ำให้โรงแรมร้านอาหาร
สาเหตุจากน้ำประปาไม่พอใช้/แพงกว่า
เพื่อนคนหนึ่ง ผู้มาก่อนกาลเวลา
ถูก Bank ทิดพาไนให้ Sorry Retired
ข้อหาว่าช่วยลูกหนี้เรื่องราคาประเมิน
ที่ดินขุมเหมืองเรื่อง หนี้/ราคาประเมิน
เดิม Bank ไม่ให้ราคาประเมินสักบาท
เพิ่งจะมายอมรับในภายหลัง
หลังจากเพื่อนถูกให้ออกไป 2 ปีแล้ว
ส่วนแถวร่อนพิบูลย์ นครศรีธรรมราช
ใช้น้ำจากขุมเหมือง ต้องระมัดระวัง
เพราะมีสารหนูปนเปื้อนมาก
ตัองผ่านการตรวจสอบ/กรองก่อน
เพราะเคยเป็นข่าวดังในอดีต
❄
❄
ปั้มน้ำที่ทำให้พื้นทึ่ในเยอรมันไม่กลายเป็นทะเลสาบ
❄
The Pumps That Must Run Forever,
Or Part Of Germany Floods
❄
มุมมองพื้นที่ Ruhr Area
จาก Mottbruchhalde ใน Gladbeck
© Berndbrueggemann / Dreamstime.com
❄
หุบเขา Ruhr ใน North Rhine-Westphalia
ที่นี่เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของเยอรมนี
ที่ผลิตถ่านหินและเหล็กกล้า
ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญอย่างมาก
ในการทำอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ
ถ่านหินถูกขุดที่นี่เป็นเวลาอย่างน้อย 400 ปี
โดยปกติมักจะเป็นเรือขุดแร่ที่ลอยน้ำตื้น
แล่นหาแร่ตามแม่น้ำ Ruhr
ในศตวรรษที่ 19
การเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
มึความต้องการถ่านหิน/เหล็กกล้าเพิ่มขึ้น
และมีการขุดลึกถึงตะเข็บถ่านหินที่ลึกกว่า
เป็นครั้งแรกที่ขุดถึง หูแร่ แหล่งสายแร่มาชนกัน
ขุดง่ายมากหิ้วแร่ขึ้นมาไดัมาก จังหู(มากจริง ๆ)
(เร็วจังหู เร็วจริง ๆ หรอยจังหู อร่อยจริง ๆ)
ภายในเวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษ
ผลผลิตถ่านหินของ Ruhr
พุ่งสูงขึ้นจาก 2 ล้านตันต่อปี
ในปี 1850 ผลิตได้มากกว่า 100 ล้านตัน
ในตอนท้ายศตวรรษที่ 19 ก็เช่นกัน
การผลิตเหล็กเพิ่มขึ้นจากเพียง 11,500 ตันต่อปี
เป็น 8 ล้านในเวลาต่อมาไล่เลี่ยกัน
การเติบโตอย่างเร็วด้านอุตสาหกรรมของ Ruhr
ผลักดันให้เกิดการขยายตัวของเมือง
ทั่วทั้ง North Rhine-Westphalia หลายเมือง
ผู้คนต่างอพยพมาจากทั่วเยอรมนี
และภูมิภาคที่อยู่ติดกันมาเป็นกรรมกร
เพื่อทำงานในเหมืองแร่ถ่านหิน/ในโรงงานเหล็ก
ยุคนั้นเยอรมันกับหลายชาติยังเป็นระบบไพร่ที่ดิน
มีแต่พวกศักดินา คือ เจ้าที่ดิน ที่ให้ไพร่ทำกิน
ทำให้อาชีพที่หาง่ายสุดคือ กรรมกร
ก่อนที่ระบบประชาธิปไตยจะมาล้มล้าง
การมีที่ดินจำนวนมากด้วยกฎหมาย/ภาษี
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19
เมืองเล็ก ๆ ที่เดิมมี 2,000-5,000 คน
มีคนมาอยู่หลายแสนคนจนกลายเป็นเมืองใหญ่
อุตสาหกรรมถ่านหินของ Ruhr
เริ่มลดลงตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20
ในช่วงทศวรรษ 1970
เยอรมนียังใช้ถ่านหินที่ขุดง่ายในหุบเขา Ruhr
แต่แล้วไม่สามารถแข่งขันในด้านราคาได้อีก
อุตสาหกรรมเหล็กก็ลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน
เพราะถูกตัดราคาจากคู่แข่งเมืองนอก
ที่มีต้นทุนต่ำกว่าจากอุตสาหกรรมเกิดใหม่
เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐ รัสเซีย จีน อินโดนีเซีย
ปัจจุบัน Ruhr
ยังคงเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญ
แต่เศรษฐกิจของเมืองได้เปลี่ยนเป็น
อุตสาหกรรมด้านบริการสุขภาพ เทคโนโลยี
สารสนเทศ การขนส่งและโลจิสติกส์
❄
❄
อัฒจันทร์ในกองตะกรันเดิม
Halde Haniel ใน Bottrop
หนึ่งใน Slag Heaps ที่สูงที่สุด
ในพื้นที่ Ruhr มีความสูง 159 เมตร
© Rab Lawrence / Flickr
❄
❄
แม้ว่า Ruhr จะไม่ผลิตถ่านหินอีกต่อไป
แต่หลายศตวรรษของการขุดถ่านหิน
ได้ทิ้งร่องรอยรอยบาดแผลไว้บนพื้นดิน
ที่ลบไม่ออกในภูมิศาสตร์ของภูมิภาคนี้
กองขยะขนาดมหึมากองอยู่เกลื่อนกลาด
ประกอบด้วยอิฐ หิน ดิน ทราย ขี้ตะกรัน
และสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ถ่านหิน สิ่งเหล่านี้เรียกว่า
Halde (อุนจิ/อึ) ในภาษาเยอรมัน
แม้ว่าหลายแห่งจะถูกยึดคืนด้วยพืชพันธุ์
ภูมิทัศน์ ถูกเปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะ จุดชมวิว
หรือเป็นที่ตั้งของงานศิลปะสาธารณะกลางแจ้ง
❄
ลักษณะของพื้นที่ Ruhr หากปั๊มน้ำหยุดนิ่ง
© Helge Hoffmann
❄
การทำเหมืองถ่านหิน
ได้ทิ้งมรดกอัปลักษณ์ไว้ในภูมิภาคนี้
คือ ปล่องบ่อใต้ดินที่ลึกมากกว่า 20 เมตรหลายจุด
ทำให้ในสถานที่ต่าง ๆ เจิ่งนองไปด้วยน้ำ
น้ำทึ่ไหลลงไปจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
น้ำจึงมีแนวโน้มที่จะรวมตัวกันเป็นหย่อม ๆ
และหากไม่มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 180 เครื่อง
ที่ติดตั้งอยู่รอบ ๆ Ruhr ที่มีประชากรหนาแน่น
จะทำให้ที่อยู่อาศัยของคนมากกว่า 5 ล้านคน
ในพื้นที่แถบนี้จะกลายเป็นทะเลสาบ
❄
❄
Hahnenbach (Boye)
❄
The Emscher in southern Dortmund
❄
Rhine
❄
เครื่องสูบน้ำบริหารงานโดย
Emschergenossenschaft
ต้องทำการสูบน้ำใต้ดินระบายออก
มากกว่า 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตรทุกปี
ทั้งยังสูบแม่น้ำ Boye ทั้งสาย
ที่สูง 18 เมตรจากระดับพื้นดิน
ให้ลงสู่แม่น้ำ Alte Emscher ให้ไหลสู่แม่น้ำ Rhine
เพื่อให้น้ำระบายออกจากพื้นที่คนพักอาศัยอยู่
ถ้าไม่ทำ 1 ใน 5 ของภูมิภาคนี้จะจมอยู่ใต้น้ำ
หากไม่มีการบริหารจัดการสูบน้ำออกจากพื้นที่
โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ไข่แดงที่ผู้คนส่วนใหญ่
อาศัย/มีพาณิชยกรรม/ทำอุตสาหกรรม
❄
❄
Alte Emscher ผ่านสวนสาธารณะ Duisburg
❄
สถานีสูบน้ำแห่งแรกเริ่มดำเนินการในปี 1914
บนแม่น้ำ Alte Emscher ในเมือง Duisburg
ทุกวันนี้ทุก ๆ เมืองที่ได้รับผลกระทบใน Ruhr
จะมีเครื่องสูบน้ำขนาดเล็ก
ไปจนถึงเครื่องสูบน้ำขนาดยักษ์
ที่สูบน้ำได้ถึง 40,000 ลิตร/วินาที
การทำให้ปั๊มน้ำเหล่านี้ทำงานอย่างต่อเนื่อง
กลายเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
จึงบริหารจัดการโดยบริษัท เหมืองถ่านหิน
(มีการเก็บค่าใช้จ่ายจากชาวบ้านส่วนหนึ่ง)
❄
❄
❄
งานศิลป์ บน Halde Haniel
ใน Bottrop © Rab Lawrence/Flickr
❄
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าปั๊มน้ำหยุดทำงาน
Stefan Hager ผู้รับผิดชอบด้านสถานที่ตั้ง
และบริการภูมิสารสนเทศที่ RAG
(บริษัทเหมืองถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมัน)
ได้ให้คำอธิบายว่า
" ความหายนะยังไม่เกิดขึ้นทันที
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่ทำเลที่ตั้ง (ที่ลุ่มที่ดอน)
บางแห่งอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่า
ที่น้ำใต้ดินจะเริ่มไหลเอ่อล้นออกมา
ทำให้ช่างมีเวลาเพียงพอในการซ่อมแซมปั๊ม
ตามหลักวิทยาศาสตร์
น้ำท่วมไม่ได้เกิดจากน้ำใต้ดิน
แต่เกิดจากฝนตกหนักแล้วระบายไม่ทัน
น้ำจากแม่น้ำ Rhine ต้องใช้เวลาหลายวัน
กว่าจะสูงขึ้นจนล้นตลิ่ง
แม่น้ำ Alte Emscher ก็ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง
เพราะเป็นพื้นที่ปิดล้อมรอบ และตัองทำให้
น้ำระบายออกไปให้ได้เร็วที่สุด ”
แต่บางคนคิดว่าควรปิดปั๊มน้ำบางตัว
จะทำให้ภูมิภาคนี้
มีทะเลสาบ/พื้นที่ชุ่มน้ำ
แม้ว่าจะมีเพียงไม่กี่แห่ง
ก็จะทำให้ Ruhr มีเสน่ห์มากกว่า
พื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้
❄
เรียบเรียง/ที่มา
http://bit.ly/3eD5AXb
http://bit.ly/3tzvm2T
❄
❄
❄
❄
❄
❄
❄
❄
❄
❄
❄
❄
❄
❄
❄
❄
เรื่องเดิม Loos-en-Gohelle ภูเขาจากเศษหินเศษทรายของเหมืองถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ฝรั่งเศส
❄
Terrils dangereux
❄
❄
โครงการระบายน้ำจากทะเลสาบ Fucine อิตาลี
❄
❄
❄
โครงการป้องกันน้ำท่วมที่ใหญ่ที่สุดในโลกของญี่ปุ่น
❄
G-CANs underground flood control
❄
❄
ลิวง LIWONG อ.จะนะ จ.สงขลา
สวิตเซอร์แลนด์เมืองไทย (ขุมเหมืองเก่า)
❄
❄
เรื่องเล่าไร้สาระ
น้ำท่วม คือ ที่วัดระดับที่ดินโดยธรรมชาติ
เหมือนตัววัดระดับน้ำของช่างมืออาชีพ/ช่างมืออาภัพ
ที่สายตาคนเรามักจะหลอกตาว่าเป็นที่ราบ/เสมอกัน
พอน้ำท่วมจะเห็นที่ดอนที่น้ำไม่ท่วม
น้ำท่วมแต่ละครั้ง
มีทั้งวิกฤต มีทั้งโอกาส (ซวย/รวย)
นักลงทุนบางคนยอมนั่งเรือ
ขึ้นเฮลิคอปเตอร์บินไปดูรอบเมือง
เพื่อดูที่ดอน จะไดัซื้อมาลงทุนขายต่อ
แต่ถัาที่ดอนขายแพงมาก
ก็หาซื้อที่น้ำท่วม ที่ไม่ลึก/ไม่สูงมาก
มาถมดินที่ระดับ 1-2 เมตร ให้สูงกว่าที่เดิม
แล้วนำมาขายต่อแพงกว่าเดิม
หรือทำแบบอัฐยายซื้อขนมยาย
ขุดดินที่ซื้อ เอามาถมที่ดินที่ซื้อ
แล้วพัฒนาขายต่อ โฆษณาว่า
มีทะเลสาบในหมู่บ้าน
❄
❄
ขุมเหมืองดีบุกภาคใต้ที่เลิกทำแล้ว
มักจะเป็นแอ่งน้ำขังลึกมาก 100 -200 เมตร
ชาวบ้านมักจะบอกว่าลึกราว 10 ต้นมะพร้าวแก่
แต่ก่อนให้ฟรียังไม่มีคนเอาเพราะไม่รู้ทำอะไรดี
เลี้ยงปลาก็จับยากเพราะน้ำลึกมาก
ทำเกษตรน้ำก็แทบไม่จำเป็นมาก
เพราะภาคใต้ฝนตกเกือบตลอดทั้งปี
จากสภาวะมีไอน้ำจากทะเลขนาบด้ามขวาน 2 ด้าน
พร้อมกับทิวเขาหลายแห่ง ทำให้มีฝนมาก
ฝนแปด แดดสี่ ตามทึ่พูดกัน
ฝนไม่ตกสักอาทิตย์สองอาทิตย์ก็บ่นว่า แล้งแล้ว
ศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในหาดใหญ่
ลงทุนขุดสระพักน้ำใต้ดิน
แลัวเทพื้นให้ด้านบนเป็นที่จอดรถยนต์
ไว้เก็บกักน้ำฝนจากรางน้ำฝนของอาคาร
ที่นี่ประหยัดค่าน้ำปีละครึ่งล้านบาทอย่างต่ำ
เพราะแค่นำน้ำมากรองก็ใช้ได้แล้ว
ที่สวนโมกข์ไชยา(ฝั่งไทย/ฝั่งนานาชาติ)
ก็ใช้พื้นชั้นล่างที่พัก หล่อปูนเป็นที่เก็บน้ำฝน
กับมึโอ่งรองรับน้ำฝน/น้ำค้างไว้ใช้
ทุกวันนี้มีกิจการหลายแห่ง
เริ่มใช้น้ำขุมเหมืองที่ผ่านการบำบัด
เพื่อลดต้นทุนไม่ต้องจ่ายค่าน้ำบาดาล
ให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล(คิวละ 3.50 บาท)
ขุมเหมืองที่ภูเก็ตพังงา
ซื้อขายกันไร่ละหนึ่งล้านบาทอย่างต่ำ
เพราะเอกชนขายน้ำให้โรงแรมร้านอาหาร
สาเหตุจากน้ำประปาไม่พอใช้/แพงกว่า
เพื่อนคนหนึ่ง ผู้มาก่อนกาลเวลา
ถูก Bank ทิดพาไนให้ Sorry Retired
ข้อหาว่าช่วยลูกหนี้เรื่องราคาประเมิน
ที่ดินขุมเหมืองเรื่อง หนี้/ราคาประเมิน
เดิม Bank ไม่ให้ราคาประเมินสักบาท
เพิ่งจะมายอมรับในภายหลัง
หลังจากเพื่อนถูกให้ออกไป 2 ปีแล้ว
ส่วนแถวร่อนพิบูลย์ นครศรีธรรมราช
ใช้น้ำจากขุมเหมือง ต้องระมัดระวัง
เพราะมีสารหนูปนเปื้อนมาก
ตัองผ่านการตรวจสอบ/กรองก่อน
เพราะเคยเป็นข่าวดังในอดีต
❄