Bleem เป็น PlayStation(ps) Emulator ที่พัฒนาโดยบริษัท Bleem Company เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม 1999 หลังจากที่ Virtual Game Station (VGS) ของ Connectix เปิดตัวไป 2 เดือน
จุดที่แตกต่างจาก Connectix ในอันดับแรกเลยคือ Connectix นั้นก่อตั้งมานานแล้วตั้งแต่ปี 1988 และมีผลิตภัณฑ์ขายดีติดตลาดอยู่จำนวนไม่น้อยขณะที่ Bleem Company นั้นพึ่งจะก่อตั้งไม่นานแถมยังก่อตั้งด้วยคนเพียง 2 คนเท่านั้น ประกอบด้วย
Randy Linden เป็นโปรแกรมเมอร์หลัก มีความชำนาญในด้านการ Port เกมจากระบบหนึ่งไปอีกระบบหนึ่ง ผลงานเช่น Port เกม Doom ลง Super Nintendo
และ
David Herpolsheimer ที่เป็นผู้เชียวชาญการตลาดด้าน Software และ Hardware เคยดีลงานกับบริษัทใหญ่ ๆ อย่าง IBM หรือ Kodak มาก่อน
แนวการทางพัฒนา ps Emulator ของ Bleem Company นั้นมีจุดที่แตกต่างจาก VGS ดังนี้
1. ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม VGS นั้นใช้ภาษา C ส่วน Bleem นั้นเพื่อให้ประสิทธิ์ภาพของโปรแกรมสูง, ทำงานได้เร็วและสามารถใช้งานได้แม้แต่เครื่องที่ความเร็วการประมวลผลต่ำ ทางผู้พัฒนาจึงใช้ภาษาแอสเซมบลีซึ่งเขียนยากและจำนวนบรรทัดที่ต้องเขียนนั้นมากกว่าแต่ก็ทำงานได้เร็วกว่าและโปรแกรมมีขนาดที่เล็กกว่า
ในรูปประกอบคือตัวอย่างโค้ดของโปรแกรม Hello Word ซึ่งเป็นพื้นฐานของพื้นฐานที่โปรแกรมเมอร์ทุกคนต้องเคยเขียน โดยเปรียบเทียบกันระหว่างการใช้ภาษาแอสเซมบลีกับภาษา C++ ในการเขียน
2. การปรับปรุงคุณภาพกราฟิก แทนที่จะจำลองการทำงานของ ps เพียงอย่างเดียว ผู้พัฒนาเลือกที่จะเขียนโปรแกรมให้ใช้การประมวลผลกราฟฟิกจากกราฟฟิกการ์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สมัยนั้นก้าวหน้ากว่าชิปกราฟฟิกที่ติดตั้งใน ps ไปมากแล้วแทนการจำลองการทำงานของชิปกราฟฟิกเดิม นี่ทำให้ภาพที่ออกมานั้นสวยงามกว่าที่เครื่อง ps จะทำได้และนี่กลายเป็นจุดขายที่ Bleem Company เลือกใช้ในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ของตน
และ 3. คือ Bleem นั้นทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows ของ Microsoft ซึ่งในตอนนั้น Windows98 เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้ใช้แพร่หลายมากที่สุด ส่วน VGS ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Mac OS
ในภาพรวมแล้ว VGS คือ virtual machine หรือเครื่อง ps เสมือนที่อยู่ในรูปแบบของ Software มันทำได้อย่างที่ ps ทำแต่ก็ไม่เกินขอบเขตที่ ps ทำได้ แต่ Bleem นั้นไม่ใช่
การทำงานของ Bleem นั้นใช้วิธีที่เรียกว่า dynamic recompilation ซึ่งเป็นการ Recompile โปรแกรมเกม ps ให้เหมาะสมและเข้ากับรูปแบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานเพื่อให้โปรแกรมมันทำงานได้แม้เครื่องจะเป็นคนละระบบกัน
มันฟังดูเทคนิคไปหน่อยใช่ไหม งั้นผู้เขียนขอยกตัวอย่างแบบนี้แล้วกัน
สมมุติว่าผู้อ่านได้หนังสือ How to ผัดกระเพรามาเล่มหนึ่งแล้วจะอ่านมันเพื่อทำผัดกระเพรา แต่ปรากฏว่าหนังสือถูกเขียนด้วยภาษาถิ่นใต้ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นภาษาไทยเหมือนกัน คุณอ่านออกแต่ก็ไม่เข้าใจความหมายและทำตามไม่ได้ แถมเครื่องมือที่หนังสือบอกให้ใช้ก็เป็นเครื่องมือเฉพาะทางที่คุณเองก็ไม่มี
dynamic recompilation คือการที่คุณมีใครสักคนมาอ่านหนังสือแทนแล้วแปลความหมายจากไทยถิ่นใต้เป็นไทยกลางให้คุณฟังแบบ Real Time ทีนี้คุณก็จะเข้าใจความหมายในหนังสือแล้วทำตาม How to ที่ในหนังสือบอกได้ แถมยังช่วยบอกด้วยว่าเครื่องมือไหนที่คุณมีสามารถใช้แทนเครื่องมือเฉพาะทางที่เขียนไว้ในหนังสือได้อีกด้วย
หรือจะพูดอีกอย่างคือ Bleem นั้นทำการ Port เกม ps แบบ Real Time ให้เล่นบนเครื่อง PC ได้
แต่จุดนี้เองก็ที่ทำให้ Bleem มีปัญหาความเข้ากันได้กับเกมของ ps ทำให้เกมหลายเกมเล่นบน Bleem ไม่ได้จนทางบริษัทและรวมถึงผู้ใช้งานเองต้องสร้างตารางเกม ps ที่เล่นบน Bleem ได้ออกมาให้ได้ตรวจสอบกันก่อนซื้อ Bleem หรือหาเกมมาเล่น
Bleem เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม 1999 และเปิดรับ Pre-order โดยตั้งราคาขายไว้กลม ๆ ที่ 30 USD ซึ่งถูกกว่าราคาขายของ VGS ที่ขายในราคา 50 USD ขณะที่เครื่อง ps one หรือ ps แบบลดต้นทุนนั้นขายที่ 99 USD ส่วนเครื่องใหญ่นั้นขายที่ 199 USD
นอกจากราคาที่ถูกกว่า VGS แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ Bleem เป็นที่รู้จักมากกว่า VGS ก็คือการที่ผู้พัฒนาได้ใช้งบในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ Bleem อย่างหนักจนทุกคนที่อยู่ในวงการคอมพิวเตอร์อย่างน้อยต้องได้เคยเจอบทความหรือโฆษณาของ Bleem ในนิตยสารคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสักครั้งหนึ่ง ซึ่งในไทยเองก็เช่นกัน ผู้เขียนจำได้ว่าเคยเห็นบทความเกี่ยวกับ Bleem ในนิตยสารคอมพิวเตอร์ของไทยอย่างน้อยสองสามครั้ง
ในรูปคือหน้าสารบัญจากนิตยสาร Gamecom ฉบับที่ 1 ปี 1999 ที่มีการลงขายใน internet จะเห็นว่ามีการลงบทความเกี่ยวกับ Bleem ในเล่ม
แน่นอนว่านี่ทำให้ Bleem กลายเป็นเป้าหมายการโจมตีของ Sony ไป เชกเช่นเดียวกับที่ Sony ทำกับ VGS
เพียงสามวันหลังจากการเปิด Pre-order ทาง Sony ก็ได้ยื่นฟ้อง Bleem Company ในหลายข้อหารวมถึงข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์และการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ข้อกล่าวหาที่โดดเด่นคือข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งอ้างถึงการที่ Bleem นำภาพ screenshot ของเกมจากเครื่อง ps ไปใช้ในการเปรียบเทียบกับกราฟฟิกที่ได้จาก Bleem ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของทาง Sony
การยื่นฟ้องของ Sony นั้นเข้าใจได้
Sony มีความกังวลต่อ Emulator ก่อนหน้านี้นานแล้วจากการที่ Connectix ติดต่อขอสาธิต VGS ให้ชมเพื่อขออนุญาติใช้งาน bios ของ ps ในช่วงปี 1998 แล้วพึงยื่นฟ้อง Connectix ไปเมื่อช่วงปลายเดือนมกราคม 1999 หลังเปิดตัว VGS ไปได้เพียงสามสัปดาห์นี่เอง เมื่อเกิด ps Emulator ในเชิงพานิชย์ตัวใหม่ในตลาดจึงไม่แปลกที่จะฟ้องเพื่อให้ยุติการจำหน่าย
ในทางกฎหมายนั้น ทั้ง Bleem Company และ Connectix ล้วนประสบชะตากรรมเดียวกันคือถูก Sony ฟ้องแล้วพลิกกลับมาจนชนะในการต่อสู้ทางกฏหมายในที่สุด แต่สิ่งที่สร้างความแตกต่างคือ Bleem Company เป็นบริษัทที่พึ่งตั้งใหม่เอี่ยมถอดด้าม ขณะที่ Connectix นั้นอยู่มาเกิน 10 ปีแล้วและมีผลิตภัณฑ์ติดตลาดวางจำหน่ายจำนวนไม่น้อย
นี่ทำให้ Connectix มีสายป่านและทุนรอนที่มากพอที่จะจัดจ้างบุคลากรทางกฎหมายเพิ่มเติมพร้อมลุยกับ Sony ได้ในทุกศาลและสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ด้วยรายได้จากผลิตภัณฑ์อื่นของบริษัทแม้ว่า VGS จะถูกชะลอการวางจำหน่ายไปก็ตาม
แต่ Bleem Company นั้นพึ่งก่อตั้ง มีบุคลากรไม่กี่คนและสินค้าของบริษัทก็มีเพียงอย่างเดียวก็คือ Bleem
นี่ทำให้ Sony ที่เห็นโอกาสที่จะคว่ำ Bleem Company โดยหลังจากแพ้คดีเรื่องลิขสิทธิ์ภาพ Screenshot ไปแล้ว ไม่นานก็ทำการยื่นเรื่องฟ้อง Bleem Company อีกครั้ง
to be continued in Part 2
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
GoC32 Side Story “Emulator Other Front, Bleem” Part 1
จุดที่แตกต่างจาก Connectix ในอันดับแรกเลยคือ Connectix นั้นก่อตั้งมานานแล้วตั้งแต่ปี 1988 และมีผลิตภัณฑ์ขายดีติดตลาดอยู่จำนวนไม่น้อยขณะที่ Bleem Company นั้นพึ่งจะก่อตั้งไม่นานแถมยังก่อตั้งด้วยคนเพียง 2 คนเท่านั้น ประกอบด้วย
Randy Linden เป็นโปรแกรมเมอร์หลัก มีความชำนาญในด้านการ Port เกมจากระบบหนึ่งไปอีกระบบหนึ่ง ผลงานเช่น Port เกม Doom ลง Super Nintendo
และ
David Herpolsheimer ที่เป็นผู้เชียวชาญการตลาดด้าน Software และ Hardware เคยดีลงานกับบริษัทใหญ่ ๆ อย่าง IBM หรือ Kodak มาก่อน
แนวการทางพัฒนา ps Emulator ของ Bleem Company นั้นมีจุดที่แตกต่างจาก VGS ดังนี้
1. ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม VGS นั้นใช้ภาษา C ส่วน Bleem นั้นเพื่อให้ประสิทธิ์ภาพของโปรแกรมสูง, ทำงานได้เร็วและสามารถใช้งานได้แม้แต่เครื่องที่ความเร็วการประมวลผลต่ำ ทางผู้พัฒนาจึงใช้ภาษาแอสเซมบลีซึ่งเขียนยากและจำนวนบรรทัดที่ต้องเขียนนั้นมากกว่าแต่ก็ทำงานได้เร็วกว่าและโปรแกรมมีขนาดที่เล็กกว่า
ในรูปประกอบคือตัวอย่างโค้ดของโปรแกรม Hello Word ซึ่งเป็นพื้นฐานของพื้นฐานที่โปรแกรมเมอร์ทุกคนต้องเคยเขียน โดยเปรียบเทียบกันระหว่างการใช้ภาษาแอสเซมบลีกับภาษา C++ ในการเขียน
2. การปรับปรุงคุณภาพกราฟิก แทนที่จะจำลองการทำงานของ ps เพียงอย่างเดียว ผู้พัฒนาเลือกที่จะเขียนโปรแกรมให้ใช้การประมวลผลกราฟฟิกจากกราฟฟิกการ์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สมัยนั้นก้าวหน้ากว่าชิปกราฟฟิกที่ติดตั้งใน ps ไปมากแล้วแทนการจำลองการทำงานของชิปกราฟฟิกเดิม นี่ทำให้ภาพที่ออกมานั้นสวยงามกว่าที่เครื่อง ps จะทำได้และนี่กลายเป็นจุดขายที่ Bleem Company เลือกใช้ในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ของตน
และ 3. คือ Bleem นั้นทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows ของ Microsoft ซึ่งในตอนนั้น Windows98 เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้ใช้แพร่หลายมากที่สุด ส่วน VGS ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Mac OS
ในภาพรวมแล้ว VGS คือ virtual machine หรือเครื่อง ps เสมือนที่อยู่ในรูปแบบของ Software มันทำได้อย่างที่ ps ทำแต่ก็ไม่เกินขอบเขตที่ ps ทำได้ แต่ Bleem นั้นไม่ใช่
การทำงานของ Bleem นั้นใช้วิธีที่เรียกว่า dynamic recompilation ซึ่งเป็นการ Recompile โปรแกรมเกม ps ให้เหมาะสมและเข้ากับรูปแบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานเพื่อให้โปรแกรมมันทำงานได้แม้เครื่องจะเป็นคนละระบบกัน
มันฟังดูเทคนิคไปหน่อยใช่ไหม งั้นผู้เขียนขอยกตัวอย่างแบบนี้แล้วกัน
สมมุติว่าผู้อ่านได้หนังสือ How to ผัดกระเพรามาเล่มหนึ่งแล้วจะอ่านมันเพื่อทำผัดกระเพรา แต่ปรากฏว่าหนังสือถูกเขียนด้วยภาษาถิ่นใต้ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นภาษาไทยเหมือนกัน คุณอ่านออกแต่ก็ไม่เข้าใจความหมายและทำตามไม่ได้ แถมเครื่องมือที่หนังสือบอกให้ใช้ก็เป็นเครื่องมือเฉพาะทางที่คุณเองก็ไม่มี
dynamic recompilation คือการที่คุณมีใครสักคนมาอ่านหนังสือแทนแล้วแปลความหมายจากไทยถิ่นใต้เป็นไทยกลางให้คุณฟังแบบ Real Time ทีนี้คุณก็จะเข้าใจความหมายในหนังสือแล้วทำตาม How to ที่ในหนังสือบอกได้ แถมยังช่วยบอกด้วยว่าเครื่องมือไหนที่คุณมีสามารถใช้แทนเครื่องมือเฉพาะทางที่เขียนไว้ในหนังสือได้อีกด้วย
หรือจะพูดอีกอย่างคือ Bleem นั้นทำการ Port เกม ps แบบ Real Time ให้เล่นบนเครื่อง PC ได้
แต่จุดนี้เองก็ที่ทำให้ Bleem มีปัญหาความเข้ากันได้กับเกมของ ps ทำให้เกมหลายเกมเล่นบน Bleem ไม่ได้จนทางบริษัทและรวมถึงผู้ใช้งานเองต้องสร้างตารางเกม ps ที่เล่นบน Bleem ได้ออกมาให้ได้ตรวจสอบกันก่อนซื้อ Bleem หรือหาเกมมาเล่น
Bleem เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม 1999 และเปิดรับ Pre-order โดยตั้งราคาขายไว้กลม ๆ ที่ 30 USD ซึ่งถูกกว่าราคาขายของ VGS ที่ขายในราคา 50 USD ขณะที่เครื่อง ps one หรือ ps แบบลดต้นทุนนั้นขายที่ 99 USD ส่วนเครื่องใหญ่นั้นขายที่ 199 USD
นอกจากราคาที่ถูกกว่า VGS แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ Bleem เป็นที่รู้จักมากกว่า VGS ก็คือการที่ผู้พัฒนาได้ใช้งบในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ Bleem อย่างหนักจนทุกคนที่อยู่ในวงการคอมพิวเตอร์อย่างน้อยต้องได้เคยเจอบทความหรือโฆษณาของ Bleem ในนิตยสารคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสักครั้งหนึ่ง ซึ่งในไทยเองก็เช่นกัน ผู้เขียนจำได้ว่าเคยเห็นบทความเกี่ยวกับ Bleem ในนิตยสารคอมพิวเตอร์ของไทยอย่างน้อยสองสามครั้ง
ในรูปคือหน้าสารบัญจากนิตยสาร Gamecom ฉบับที่ 1 ปี 1999 ที่มีการลงขายใน internet จะเห็นว่ามีการลงบทความเกี่ยวกับ Bleem ในเล่ม
แน่นอนว่านี่ทำให้ Bleem กลายเป็นเป้าหมายการโจมตีของ Sony ไป เชกเช่นเดียวกับที่ Sony ทำกับ VGS
เพียงสามวันหลังจากการเปิด Pre-order ทาง Sony ก็ได้ยื่นฟ้อง Bleem Company ในหลายข้อหารวมถึงข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์และการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ข้อกล่าวหาที่โดดเด่นคือข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งอ้างถึงการที่ Bleem นำภาพ screenshot ของเกมจากเครื่อง ps ไปใช้ในการเปรียบเทียบกับกราฟฟิกที่ได้จาก Bleem ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของทาง Sony
การยื่นฟ้องของ Sony นั้นเข้าใจได้
Sony มีความกังวลต่อ Emulator ก่อนหน้านี้นานแล้วจากการที่ Connectix ติดต่อขอสาธิต VGS ให้ชมเพื่อขออนุญาติใช้งาน bios ของ ps ในช่วงปี 1998 แล้วพึงยื่นฟ้อง Connectix ไปเมื่อช่วงปลายเดือนมกราคม 1999 หลังเปิดตัว VGS ไปได้เพียงสามสัปดาห์นี่เอง เมื่อเกิด ps Emulator ในเชิงพานิชย์ตัวใหม่ในตลาดจึงไม่แปลกที่จะฟ้องเพื่อให้ยุติการจำหน่าย
ในทางกฎหมายนั้น ทั้ง Bleem Company และ Connectix ล้วนประสบชะตากรรมเดียวกันคือถูก Sony ฟ้องแล้วพลิกกลับมาจนชนะในการต่อสู้ทางกฏหมายในที่สุด แต่สิ่งที่สร้างความแตกต่างคือ Bleem Company เป็นบริษัทที่พึ่งตั้งใหม่เอี่ยมถอดด้าม ขณะที่ Connectix นั้นอยู่มาเกิน 10 ปีแล้วและมีผลิตภัณฑ์ติดตลาดวางจำหน่ายจำนวนไม่น้อย
นี่ทำให้ Connectix มีสายป่านและทุนรอนที่มากพอที่จะจัดจ้างบุคลากรทางกฎหมายเพิ่มเติมพร้อมลุยกับ Sony ได้ในทุกศาลและสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ด้วยรายได้จากผลิตภัณฑ์อื่นของบริษัทแม้ว่า VGS จะถูกชะลอการวางจำหน่ายไปก็ตาม
แต่ Bleem Company นั้นพึ่งก่อตั้ง มีบุคลากรไม่กี่คนและสินค้าของบริษัทก็มีเพียงอย่างเดียวก็คือ Bleem
นี่ทำให้ Sony ที่เห็นโอกาสที่จะคว่ำ Bleem Company โดยหลังจากแพ้คดีเรื่องลิขสิทธิ์ภาพ Screenshot ไปแล้ว ไม่นานก็ทำการยื่นเรื่องฟ้อง Bleem Company อีกครั้ง
to be continued in Part 2
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/