VGS และ Bleem นั้นถือเป็น Game Console Emulator ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในยุค 1990s รวมถึงเป็น Emulator ที่ทำให้ Emulator อื่น ๆ เป็นที่รู้จักรวมถึงเป็นแรงบรรดาลใจให้กับการสร้าง Emulator ในแบบอื่น ๆ ที่จะตามมาในภายหลัง
แม้แต่กับผู้เขียนเองก็ได้รู้ถึงการมีตัวตนของ Game Console Emulator ครั้งแรกก็เพราะ Bleem และทำให้มีโอกาสทดลองใช้งาน PlayStation Console Emulator ทั้งของ VGS และ Bleem
บทความนี้จึงจะขอเล่าถึงประสบการณ์ตรงในการทดลองใช้งาน Ps Emulator ทั้ง 2 ตัวนี้ว่าในการใช้งานจริงนั้นได้ผลแค่ไหน อย่างไร
Game Console Emulator ตัวแรกในชีวิตของผู้เขียน ทั้งที่รู้จักและได้ใช้งานคือ Bleem!
แน่นอนว่าสาเหตุนั้นมาจากการที่ Bleem! ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างหนัก ทำให้เรื่องราวของ Bleem! ถูกนำเสนอในนิตยสารเกมและคอมพิวเตอร์ที่ประเทศไทยด้วย อีกทั้งในสมัยนั้นนิตยสารเกมและคอมพิวเตอร์มักมีการแถม CD ที่บรรจุโปรแกรมต่าง ๆ รวมถึงเดโมเกมมาให้ ซึ่ง Bleem! เวอร์ชั่นเดโมเองก็เคยถูกแถมมากับซีดีเหล่านั้นด้วยเช่นกัน
สเปกคอมพิวเตอร์ขั้นต่ำที่ Bleem! ต้องการคือ Pentium MMX 166MHz, Ram 16MB และการ์ดจอที่ประมวลผล 3D Graphic ได้
ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เขียนเองในตอนนั้นมีสเปกในระดับต่ำกว่าความต้องการขั้นต่ำ โดย CPU ที่ใช้ในขณะนั้นเป็น Pentium MMX 200MHz แต่ Ram มีขนาดแค่ 8 MB ส่วนการ์ดจอในขณะนั้นความทรงจำค่อนข้างเลือนราง ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็น S3 Savage 3D หรือไม่ก็ Nvidia Riva 128 รุ่น Low End (ประสิทธิภาพต่ำ ราคาถูก)
Note: S3 คือบริษัทผู้ผลิตกราฟฟิกชิปรายหนึ่งในยุคที่ชิปกราฟฟิกของ PC ยังไม่ถูกครองตลาดโดย 2 เจ้าใหญ่ Nvidia และ ATI ที่ต่อมารีแบรนด์เป็น Radeon ก่อนที่จะถูกซื้อโดย VIA Technologies และต่อมาถูกขายให้ HTC
จากการทดสอบใช้งานครั้งแรก ผลคือเล่นไม่ได้เพราะพลังการประมวลผลของเครื่องที่ใช้ไม่พอ
เกมแรกที่ผู้เขียนใช้ทดสอบนั้น ถ้าจำไม่ผิดคือ Front Mission 3 ที่ผู้เขียนซื้อแผ่นไว้เพื่อไปเล่นที่ร้าน
ผลคือหน้าจอดำสนิท ไม่มีอะไรขึ้นมาเลย
ในตอนแรกนั้นผู้เขียนนึกว่าโหลดเกมขึ้นไม่ได้เลย แต่ไม่ใช่
จำได้ว่าผู้เขียนทดสอบปล่อยเครื่องทิ้งไว้เพื่อดูว่าเกมโหลดไม่ได้หรือเป็นที่เกมแสดงผลช้า จำได้ว่าต้องรอนานมากถึงจะเริ่มเห็นไตเติลเริ่มขึ้นมา ที่ละเฟรม ๆ ความเร็วน่าจะอยู่ที่ 4-5 วินาทีต่อเฟรมได้ ซึ่งความเร็วขนาดนี้เล่นไม่ได้แน่นอน
จากนั้นผู้เขียนก็ทดลองเปลี่ยนเกมที่ใช้ทดสอบดูโดยตั้งสมมุติฐานไว้ว่าเกม 2D อาจจะใช้พลังการประมวลผลน้อยกว่า บางทีอาจจะเล่นได้
เกมที่ใช้ทดสอบคือ Valkyrie Profile ซึ่งกราฟิกในเกมเป็น 2D อยู่มากและเป็นเกม 2D เกมเดียวที่มีอยู่ในมือขณะนั้น
ผลคือ ก็ยังเล่นไม่ได้
แต่สมมุติฐานที่ตั้งไว้ว่าเกม 2D กินสเปกเครื่องน้อยกว่านั้นก็ถูกพิสูจน์ว่าเป็นจริง ตัวเกมใช้เวลากว่าที่จะมีไตเติลขึ้นมาน้อยกว่าเกมแรก ความเร็วการแสดงผลก็เร็วกว่า อยู่ที่ 2-3 วินาทีต่อเฟรม
เนื่องจากเครื่องของผู้เขียนมีขนาด Ram ที่ไม่ถึงความต้องการขั้นต่ำ ผู้เขียนจึงไปขอยืม Ram จากเพื่อนมาใส่เพิ่มเพื่อทดลองว่าจะเล่นได้หรือไม่
ผลออกมาว่าประสิทธิ์ภาพดีขึ้นเพียงเล็กน้อย น้อยมาก ๆ จนพลางคิดไปว่าแค่รู้สึกไปเองหรือเปล่า
ผู้เขียนสรุปผลออกมาในตอนนั้นได้ว่าเล่นไม่ได้เพราะประสิทธิ์ภาพของเครื่องไม่เพียงพอและยิ่งมั่นใจในข้อสรุปนี้ยิ่งขึ้นเมื่อผู้เขียนทดลองค้นหา Emulator ของเครื่องซุปเปอร์แฟมิคอมใน internet จากความสงสัยว่า ถ้ามี Ps Emulator มันก็ควรจะมี Super Famicom Emulator ด้วย และมันก็มีจริง ๆ
ผู้เขียนไม่รอช้า โหลดลงมาติดตั้งและทดสอบใช้งานทันทีด้วยเกม Super Famicom เกมแรกในชีวิตของผู้เขียน
Axelay เกมแนว scroll shooting ของบริษัท Konami.
ผลที่ออกมาแม้ว่าเล่นไม่ได้เนื่องจากประสิทธิภาพการประมวลผลไม่พอแต่กระนั้นก็เกือบที่จะสามารถใช้งานจริงได้แล้ว โปรแกรมสามารถทำความเร็วการแสดงผลได้ที่ประมาณ 1 เฟรมต่อวินาที
ต่อมาประมาณปี 1999 ผู้เขียนก็ได้อัพเกรดเครื่อง PC โดยเปลี่ยนไปใช้ CPU ของ AMD รุ่น K6-2 ความเร็ว 400MHz และเพิ่ม Ram เป็น 16Mb ทำให้ผู้เขียนกลับมาทดลองใช้งาน Bleem อีกครั้งแล้วพบว่าแม้การประมวลผลจะดีขึ้น จำนวนเฟรมต่อวินาทีเพิ่มขึ้นมากแต่ประสิทธิภาพก็ยังไม่พอที่จะจำลองการทำงานของ ps เพื่อให้ใช้งานจริงได้อยู่ดีแม้ว่าจะทดลองใช้ Version ใหม่ที่สุดเท่าที่หาได้แล้วก็ตาม แต่สำหรับ Super Famicom Emulator นั้นพลังการประมวลผลที่มีมากพอที่จะใช้งานจริงได้แล้ว
ช่วงนี้เองที่ผู้เขียนเลิกไปร้านเกมแล้วหันมาเล่นเกมของ Super Famicom บน Emulator ที่บ้านแทน
แต่กระนั้นผู้เขียนก็ยังติดใจสงสัยใน Bleem อยู่ว่าถ้าจะให้ Bleem ทำงานได้จริง จะต้องมีสเปกเครื่องขนาดไหน
ขณะนั้น จำไม่ได้ว่าอ่านเจอจากไหนแต่จำได้ว่ามีคนที่ทดสอบใช้ Bleem เล่นเกม ps ได้จริงแล้วด้วยสเปก CPU และ Ram ที่ใกล้เคียงกับเครื่องของผู้เขียน จุดแตกต่าง 2 อย่างคือผู้ทดสอบนั้นใช้ CPU ของ intel และกราฟฟิกการ์ด Voodoo 2 ของ 3dfx ซึ่งเป็นกราฟฟิกการ์ดที่ในขณะนั้นมีประสิทธิ์ภาพดีที่สุดในตลาดพร้อมราคาขายที่สูงเกินคนทั่วไปจะเอื้อมถึง
ในรูปคือกราฟฟิกการ์ดที่ติดตั้งใช้ Chip Voodoo 2 ของ 3dfx รูปบนคือกล่องของ Voodoo 2 ที่ผลิตโดย Creative (เจ้าเดียวกับที่ทำ Sound Blaster) รูปล่างเป็นตัวการ์ดที่ผลิตโดย Diamond
และเป็นโชคดีของผู้เขียนที่ว่าวิทยาลัยที่กำลังเรียนอยู่ในขณะนั้นได้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่สเปกสูงมากมาให้นักศึกษาใช้ในงาน Lab พอดี
สเปกโดยรวมของเครื่องนั้นจำไม่ค่อยได้ แต่สิ่งที่จำได้แม่นคือเครื่องดังกล่าวใช้ CPU รุ่นล่าสุด intel Pentium 3 ความเร็ว 500MHz รวมถึงมี Ram ที่ใหญ่กว่าและเร็วกว่า (ถ้าจำไม่ผิด เป็น RD Ram) รวมถึงกราฟฟิกการ์ดที่ประสิทธิ์ภาพดีกว่าของผู้เขียนอย่างมาก ถ้าจำไม่ผิดเครื่องที่ใช้ใน Lab นั้นติดตั้งกราฟฟิกการ์ดของ Matrox
นี่ทำให้ผู้เขียนวางแผนที่จะแอบอาจารย์ติดตั้ง Bleem บนเครื่อง Lab เพื่อทดสอบว่าด้วยสเปกขนาดนี้จะสามารถทำให้ Bleem ใช้งานจริงได้หรือไม่
ผลการทดสอบทั้งเกมแบบ 2D และ 3D คือ ด้วยเครื่องสเปกระดับนั้นแต่ Bleem ก็ทำได้แค่ “เกือบ” ที่จะสามารถใช้งานจริงได้
ซึ่งนั้นสร้างความผิดหวังให้ผู้เขียนไม่น้อยเพราะสเปกเครื่องขนาดนี้แทบไม่มีทางที่ผู้เขียนจะหาซื้อได้และหากซื้อได้ ด้วยงบเท่า ๆ กันสู้เอาไปซื้อ ps เครื่องจริงเลยจะประหยัดกว่าเยอะ
ถึงตรงนี้ผู้อ่านหลาย ๆ คนอาจจะติดใจสงสัยว่า “อยากเล่นเกม ps นักแล้วทำไมไม่ซื้อเครื่อง ps เลยละ”
สาเหตุคือ
1. ทีวีไม่ว่าง ในยุคนั้นเป็นยุคที่การดูทีวีคือความบันเทิงหลัก พวกผู้ใหญ่จึงไม่ค่อยให้เด็ก ๆ เล่นเกมเพราะตัวเองจะดูทีวี
2. ขนาดของทีวีในสมัยนั้นยังใหญ่มากเพราะยังใช้เทคโนโลยีการฉายภาพด้วย CRT อยู่และในห้องไม่มีพื้นที่เหลือพอตั้งทีวีอีกเครื่องแล้ว
นี่ทำให้จอที่ว่างอยู่และไม่มีใครใช้ก็เหลือเพียงจอมอนิเตอร์ของ PC
แน่นอนว่าผู้เขียนคิดถึงการต่อ ps กับจอมอนิเตอร์ด้วยแต่ในยุคนั้นเป็นอะไรที่ยุ่งยากและไม่สามารถหาวิธีทำได้ง่าย ๆ เหมือนสมัยนี้ที่หากสงสัยในวิธีการทำอะไรต่าง ๆ ก็หาได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว
ดังนั้นหากสามารถใช้ Emulator ได้ จะสะดวกต่อผู้เขียนกว่ามาก
หลังจากการทดสอบกับเครื่องใน Lab ของวิทยาลัยแล้ว ผู้เขียนสรุปได้ว่าการจะเล่นเกม ps บนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเวลานั้นยุ่งยากเกินไปและไม่มีงบพอที่จะทำได้จริง ในที่สุดผู้เขียนก็เลิกที่จะสนใจใน Bleem และหันไปให้ความสนใจกับ Super Famicom Emulator ที่ใช้งานจริงได้แล้วและมีเกมมากมายให้เลือกเล่น ทั้งเกมที่อยากเล่นแต่ไม่มีโอกาสได้เล่นหรือเกมภาษาญี่ปุ่น Only ที่มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยแฟน ๆ เอง แถมเกมยังหาได้ง่ายจาก internet อีกด้วย
จนกระทั้งหลังปี 2000s ไม่แน่ใจว่าปีที่เท่าไหร่ น่าจะประมาณ 2002 ผู้เขียนก็ได้ข่าวเกี่ยวกับ ps Emulator อีกตัวที่ชื่อ VGS
to be continued in Part 2
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
GoC32 Side Story “ประสบการณ์จริง VGS และ Bleem” Part1
แม้แต่กับผู้เขียนเองก็ได้รู้ถึงการมีตัวตนของ Game Console Emulator ครั้งแรกก็เพราะ Bleem และทำให้มีโอกาสทดลองใช้งาน PlayStation Console Emulator ทั้งของ VGS และ Bleem
บทความนี้จึงจะขอเล่าถึงประสบการณ์ตรงในการทดลองใช้งาน Ps Emulator ทั้ง 2 ตัวนี้ว่าในการใช้งานจริงนั้นได้ผลแค่ไหน อย่างไร
Game Console Emulator ตัวแรกในชีวิตของผู้เขียน ทั้งที่รู้จักและได้ใช้งานคือ Bleem!
แน่นอนว่าสาเหตุนั้นมาจากการที่ Bleem! ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างหนัก ทำให้เรื่องราวของ Bleem! ถูกนำเสนอในนิตยสารเกมและคอมพิวเตอร์ที่ประเทศไทยด้วย อีกทั้งในสมัยนั้นนิตยสารเกมและคอมพิวเตอร์มักมีการแถม CD ที่บรรจุโปรแกรมต่าง ๆ รวมถึงเดโมเกมมาให้ ซึ่ง Bleem! เวอร์ชั่นเดโมเองก็เคยถูกแถมมากับซีดีเหล่านั้นด้วยเช่นกัน
สเปกคอมพิวเตอร์ขั้นต่ำที่ Bleem! ต้องการคือ Pentium MMX 166MHz, Ram 16MB และการ์ดจอที่ประมวลผล 3D Graphic ได้
ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เขียนเองในตอนนั้นมีสเปกในระดับต่ำกว่าความต้องการขั้นต่ำ โดย CPU ที่ใช้ในขณะนั้นเป็น Pentium MMX 200MHz แต่ Ram มีขนาดแค่ 8 MB ส่วนการ์ดจอในขณะนั้นความทรงจำค่อนข้างเลือนราง ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็น S3 Savage 3D หรือไม่ก็ Nvidia Riva 128 รุ่น Low End (ประสิทธิภาพต่ำ ราคาถูก)
Note: S3 คือบริษัทผู้ผลิตกราฟฟิกชิปรายหนึ่งในยุคที่ชิปกราฟฟิกของ PC ยังไม่ถูกครองตลาดโดย 2 เจ้าใหญ่ Nvidia และ ATI ที่ต่อมารีแบรนด์เป็น Radeon ก่อนที่จะถูกซื้อโดย VIA Technologies และต่อมาถูกขายให้ HTC
จากการทดสอบใช้งานครั้งแรก ผลคือเล่นไม่ได้เพราะพลังการประมวลผลของเครื่องที่ใช้ไม่พอ
เกมแรกที่ผู้เขียนใช้ทดสอบนั้น ถ้าจำไม่ผิดคือ Front Mission 3 ที่ผู้เขียนซื้อแผ่นไว้เพื่อไปเล่นที่ร้าน
ผลคือหน้าจอดำสนิท ไม่มีอะไรขึ้นมาเลย
ในตอนแรกนั้นผู้เขียนนึกว่าโหลดเกมขึ้นไม่ได้เลย แต่ไม่ใช่
จำได้ว่าผู้เขียนทดสอบปล่อยเครื่องทิ้งไว้เพื่อดูว่าเกมโหลดไม่ได้หรือเป็นที่เกมแสดงผลช้า จำได้ว่าต้องรอนานมากถึงจะเริ่มเห็นไตเติลเริ่มขึ้นมา ที่ละเฟรม ๆ ความเร็วน่าจะอยู่ที่ 4-5 วินาทีต่อเฟรมได้ ซึ่งความเร็วขนาดนี้เล่นไม่ได้แน่นอน
จากนั้นผู้เขียนก็ทดลองเปลี่ยนเกมที่ใช้ทดสอบดูโดยตั้งสมมุติฐานไว้ว่าเกม 2D อาจจะใช้พลังการประมวลผลน้อยกว่า บางทีอาจจะเล่นได้
เกมที่ใช้ทดสอบคือ Valkyrie Profile ซึ่งกราฟิกในเกมเป็น 2D อยู่มากและเป็นเกม 2D เกมเดียวที่มีอยู่ในมือขณะนั้น
ผลคือ ก็ยังเล่นไม่ได้
แต่สมมุติฐานที่ตั้งไว้ว่าเกม 2D กินสเปกเครื่องน้อยกว่านั้นก็ถูกพิสูจน์ว่าเป็นจริง ตัวเกมใช้เวลากว่าที่จะมีไตเติลขึ้นมาน้อยกว่าเกมแรก ความเร็วการแสดงผลก็เร็วกว่า อยู่ที่ 2-3 วินาทีต่อเฟรม
เนื่องจากเครื่องของผู้เขียนมีขนาด Ram ที่ไม่ถึงความต้องการขั้นต่ำ ผู้เขียนจึงไปขอยืม Ram จากเพื่อนมาใส่เพิ่มเพื่อทดลองว่าจะเล่นได้หรือไม่
ผลออกมาว่าประสิทธิ์ภาพดีขึ้นเพียงเล็กน้อย น้อยมาก ๆ จนพลางคิดไปว่าแค่รู้สึกไปเองหรือเปล่า
ผู้เขียนสรุปผลออกมาในตอนนั้นได้ว่าเล่นไม่ได้เพราะประสิทธิ์ภาพของเครื่องไม่เพียงพอและยิ่งมั่นใจในข้อสรุปนี้ยิ่งขึ้นเมื่อผู้เขียนทดลองค้นหา Emulator ของเครื่องซุปเปอร์แฟมิคอมใน internet จากความสงสัยว่า ถ้ามี Ps Emulator มันก็ควรจะมี Super Famicom Emulator ด้วย และมันก็มีจริง ๆ
ผู้เขียนไม่รอช้า โหลดลงมาติดตั้งและทดสอบใช้งานทันทีด้วยเกม Super Famicom เกมแรกในชีวิตของผู้เขียน
Axelay เกมแนว scroll shooting ของบริษัท Konami.
ผลที่ออกมาแม้ว่าเล่นไม่ได้เนื่องจากประสิทธิภาพการประมวลผลไม่พอแต่กระนั้นก็เกือบที่จะสามารถใช้งานจริงได้แล้ว โปรแกรมสามารถทำความเร็วการแสดงผลได้ที่ประมาณ 1 เฟรมต่อวินาที
ต่อมาประมาณปี 1999 ผู้เขียนก็ได้อัพเกรดเครื่อง PC โดยเปลี่ยนไปใช้ CPU ของ AMD รุ่น K6-2 ความเร็ว 400MHz และเพิ่ม Ram เป็น 16Mb ทำให้ผู้เขียนกลับมาทดลองใช้งาน Bleem อีกครั้งแล้วพบว่าแม้การประมวลผลจะดีขึ้น จำนวนเฟรมต่อวินาทีเพิ่มขึ้นมากแต่ประสิทธิภาพก็ยังไม่พอที่จะจำลองการทำงานของ ps เพื่อให้ใช้งานจริงได้อยู่ดีแม้ว่าจะทดลองใช้ Version ใหม่ที่สุดเท่าที่หาได้แล้วก็ตาม แต่สำหรับ Super Famicom Emulator นั้นพลังการประมวลผลที่มีมากพอที่จะใช้งานจริงได้แล้ว
ช่วงนี้เองที่ผู้เขียนเลิกไปร้านเกมแล้วหันมาเล่นเกมของ Super Famicom บน Emulator ที่บ้านแทน
แต่กระนั้นผู้เขียนก็ยังติดใจสงสัยใน Bleem อยู่ว่าถ้าจะให้ Bleem ทำงานได้จริง จะต้องมีสเปกเครื่องขนาดไหน
ขณะนั้น จำไม่ได้ว่าอ่านเจอจากไหนแต่จำได้ว่ามีคนที่ทดสอบใช้ Bleem เล่นเกม ps ได้จริงแล้วด้วยสเปก CPU และ Ram ที่ใกล้เคียงกับเครื่องของผู้เขียน จุดแตกต่าง 2 อย่างคือผู้ทดสอบนั้นใช้ CPU ของ intel และกราฟฟิกการ์ด Voodoo 2 ของ 3dfx ซึ่งเป็นกราฟฟิกการ์ดที่ในขณะนั้นมีประสิทธิ์ภาพดีที่สุดในตลาดพร้อมราคาขายที่สูงเกินคนทั่วไปจะเอื้อมถึง
ในรูปคือกราฟฟิกการ์ดที่ติดตั้งใช้ Chip Voodoo 2 ของ 3dfx รูปบนคือกล่องของ Voodoo 2 ที่ผลิตโดย Creative (เจ้าเดียวกับที่ทำ Sound Blaster) รูปล่างเป็นตัวการ์ดที่ผลิตโดย Diamond
และเป็นโชคดีของผู้เขียนที่ว่าวิทยาลัยที่กำลังเรียนอยู่ในขณะนั้นได้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่สเปกสูงมากมาให้นักศึกษาใช้ในงาน Lab พอดี
สเปกโดยรวมของเครื่องนั้นจำไม่ค่อยได้ แต่สิ่งที่จำได้แม่นคือเครื่องดังกล่าวใช้ CPU รุ่นล่าสุด intel Pentium 3 ความเร็ว 500MHz รวมถึงมี Ram ที่ใหญ่กว่าและเร็วกว่า (ถ้าจำไม่ผิด เป็น RD Ram) รวมถึงกราฟฟิกการ์ดที่ประสิทธิ์ภาพดีกว่าของผู้เขียนอย่างมาก ถ้าจำไม่ผิดเครื่องที่ใช้ใน Lab นั้นติดตั้งกราฟฟิกการ์ดของ Matrox
นี่ทำให้ผู้เขียนวางแผนที่จะแอบอาจารย์ติดตั้ง Bleem บนเครื่อง Lab เพื่อทดสอบว่าด้วยสเปกขนาดนี้จะสามารถทำให้ Bleem ใช้งานจริงได้หรือไม่
ผลการทดสอบทั้งเกมแบบ 2D และ 3D คือ ด้วยเครื่องสเปกระดับนั้นแต่ Bleem ก็ทำได้แค่ “เกือบ” ที่จะสามารถใช้งานจริงได้
ซึ่งนั้นสร้างความผิดหวังให้ผู้เขียนไม่น้อยเพราะสเปกเครื่องขนาดนี้แทบไม่มีทางที่ผู้เขียนจะหาซื้อได้และหากซื้อได้ ด้วยงบเท่า ๆ กันสู้เอาไปซื้อ ps เครื่องจริงเลยจะประหยัดกว่าเยอะ
ถึงตรงนี้ผู้อ่านหลาย ๆ คนอาจจะติดใจสงสัยว่า “อยากเล่นเกม ps นักแล้วทำไมไม่ซื้อเครื่อง ps เลยละ”
สาเหตุคือ
1. ทีวีไม่ว่าง ในยุคนั้นเป็นยุคที่การดูทีวีคือความบันเทิงหลัก พวกผู้ใหญ่จึงไม่ค่อยให้เด็ก ๆ เล่นเกมเพราะตัวเองจะดูทีวี
2. ขนาดของทีวีในสมัยนั้นยังใหญ่มากเพราะยังใช้เทคโนโลยีการฉายภาพด้วย CRT อยู่และในห้องไม่มีพื้นที่เหลือพอตั้งทีวีอีกเครื่องแล้ว
นี่ทำให้จอที่ว่างอยู่และไม่มีใครใช้ก็เหลือเพียงจอมอนิเตอร์ของ PC
แน่นอนว่าผู้เขียนคิดถึงการต่อ ps กับจอมอนิเตอร์ด้วยแต่ในยุคนั้นเป็นอะไรที่ยุ่งยากและไม่สามารถหาวิธีทำได้ง่าย ๆ เหมือนสมัยนี้ที่หากสงสัยในวิธีการทำอะไรต่าง ๆ ก็หาได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว
ดังนั้นหากสามารถใช้ Emulator ได้ จะสะดวกต่อผู้เขียนกว่ามาก
หลังจากการทดสอบกับเครื่องใน Lab ของวิทยาลัยแล้ว ผู้เขียนสรุปได้ว่าการจะเล่นเกม ps บนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเวลานั้นยุ่งยากเกินไปและไม่มีงบพอที่จะทำได้จริง ในที่สุดผู้เขียนก็เลิกที่จะสนใจใน Bleem และหันไปให้ความสนใจกับ Super Famicom Emulator ที่ใช้งานจริงได้แล้วและมีเกมมากมายให้เลือกเล่น ทั้งเกมที่อยากเล่นแต่ไม่มีโอกาสได้เล่นหรือเกมภาษาญี่ปุ่น Only ที่มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยแฟน ๆ เอง แถมเกมยังหาได้ง่ายจาก internet อีกด้วย
จนกระทั้งหลังปี 2000s ไม่แน่ใจว่าปีที่เท่าไหร่ น่าจะประมาณ 2002 ผู้เขียนก็ได้ข่าวเกี่ยวกับ ps Emulator อีกตัวที่ชื่อ VGS
to be continued in Part 2
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/