'ลิ่มเลือด' แค่เครื่องสะท้อนการบริหารวัคซีนไทย
https://voicetv.co.th/read/6LSJp7Rg9
ขณะเศรษฐกิจเสียหายจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ อย่างต่ำเดือนละ 150,000 ล้านบาท ขบวนการได้มาซึ่งวัคซีนเต็มไปด้วยข้อกังหาแบบไร้ความจำเป็น
เวลาล่วงเลยมาเกิน 1 ปีเต็ม โควิด-19 ไม่ใช่เรื่องใหม่ของสังคมอีกต่อไป เช่นเดียวกับภาวะอดหลายมื้อกินมื้อเดียว เพราะต่อให้รัฐบาลปล่อยมาตรการเยียวยามามากแค่ไหน ก็ยังเป็นทางออกที่ตื้นเขินเกินไปสำหรับประชาชน
ไทยต้องเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกครั้งคือคำตอบที่ทุกฝ่ายทราบดี โดยเฉพาะฝั่งรัฐบาล แม้ยังไม่อาจกลับไปแตะสถิติตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติเฉียด 40 ล้านคน/ปี ในเร็ววัน
การได้เม็ดเงินบางส่วนเข้ามา เป็นยิ่งกว่าน้ำที่มาช่วยให้อุตสาหกรรมที่กำลังจะขาดใจตายได้แหวกว่ายเอาตัวรอดอีกครั้ง แม้รายงานจาก
ดีลอยต์ฉบับ ก.พ. 2564 ชี้ว่า ไทยอาจต้องใช้เวลา 2-3 ปี เพื่อดึงตัวเลขนักท่องเที่ยวกลับไปเท่าช่วงก่อนโควิด-19 ในปี 2564 ประมาณการตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ราว 4 ล้านคน
ไทยมี
รายได้เฉลี่ยจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เดือนละไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา ในปี 2562 ก่อนมีโควิดนั้น ตัวเลขเฉลี่ยขึ้นมาสูงถึง 159,000 ล้านบาท/เดือน
26 มี.ค. 2563 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักรไทย
นับแต่นั้น ตามสถิติจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย ตัวเลขนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติคงตัวเป็นศูนย์เรื่อยมา หรือหมายถึงเม็ดเงินราว 1.5 ล้านล้านบาท (คำนวณจากค่าเฉลี่ยรายได้ที่ 150,000 ล้านบาท/เดือน โดยนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2563 - ม.ค. 2564)
ตัวเลขมหาศาลที่ดูล่องลอยในอากาศเหล่านี้หมายถึงสถิติประชาชนที่ต้องขอรับความช่วยเหลือจากสิทธิประกันสังคม ตามมาตรา 33 เมื่อถูกออกจากงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไปแตะทะลุ 4% ของจำนวนแรงงานทั้งหมดในระบบประกันสังคม ขณะที่ตัวเลขก่อนวิกฤตเฉลี่ยเพียง 1.4% เท่านั้น
ทั้งนี้ แรงงานที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ติดเป็นเพียง 31% ของแรงงานในประเทศทั้งหมด ในปี
2563 ไทยมีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งหมด 56.8 ล้านคน คิดเป็นกำลังแรงงานรวม 38.5 ล้านคน และคิดเป็นผู้ว่างงาน 650,000 คน
เพื่อช่วยแรงงานเหล่านี้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศมีผล แต่ไม่เพียงพอ ย้อนกลับไปดูตัวเลข
ค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยวชาวไทย/คน/วัน ในปี 2562 พบว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2,900 บาท ขณะนักท่องเที่ยวต่างชาติเฉลี่ยอยู่ที่ 6,000 บาท ต่างกัน 52%
ขณะที่ฝั่งการช่วยเหลือผู้ประกอบการ แม้จะมีข้อเรียกร้องมาตั้งแต่เริ่มต้นว่า
โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำมีข้อจำกัดสูงเกินจนผู้ประกอบการเข้าไม่ถึงสินเชื่อช่วยเหลือตรงนั้น และปัจจุบันจากวงเงินทั้งหมด 500,000 ล้านบาท สามารถปล่อยออกไปได้จริงเพียง 130,384 ล้านบาท ตามข้อมูล ณ 1 มี.ค. 2564
วัคซีนจำเป็นทั่วโลก
เงื่อนไขสำคัญที่จะเปิดเศรษฐกิจได้คือการทำให้มั่นใจว่าจะควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส วัคซีนจึงเป็นคำตอบสำคัญและคำตอบเดียว ไม่เพียงแค่กับประเทศไทย แต่กับทั่วโลก
ตัวเลขจาก
RAND สถาบันวิจัยเชิงนโยบายพบว่า หากไม่สามารถกระจายวัคซีนโควิด-19 ได้ทั่วถึง โลกจะสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละ 3.4 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 104 ล้านล้านบาท เพราะมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมมีต้นทุนเศรษฐกิจที่ต้องจ่ายสูง
หากไปตกในกรณีว่า ประเทศรายได้สูงสามารถจัดหาวัคซีนให้กับพลเมืองตัวเองได้ แต่ประเทศยากจนเข้าไม่ถึงวัคซีน เศรษฐกิจโดยรวมของโลกจะยังได้รับผลกระทบสูงถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ/ปี หรือประมาณ 36 ล้านล้านบาท
แม้แต่การปล่อยให้ประเทศยากจนแร้นแค้นมากๆ ไม่ได้รับวัคซีน ขณะที่ประเทศสถานะอื่นๆ ได้รับวัคซีนแล้วนั้น ยังสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจได้ถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ/เดือน หรือ 300,000 ล้านบาท/เดือน อยู่ดี
ขณะ
วิจัยอีกฉบับซึ่งสอดคล้องกันพบว่า หากประเทศพัฒนาแล้วไม่กระจายวัคซีนอย่างเป็นธรรมและปล่อยให้มีการฉีดวัคซีนในประชากรของประเทศพัฒนาแล้วเพียงครึ่งหนึ่งภายในกลางปี 2564 เศรษฐกิจโลกจะถูกทำให้เสียหายถึง 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 122 ล้านล้านบาท
"
ไม่มีเศรษฐกิจใดในโลกอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยว" เศรษฐกิจโลกจะกลับมาได้ แปลว่าเศรษฐกิจทุกประเทศต้องกลับมาด้วย
ข้อกังขาวัคซีนไทย
สำหรับประเทศไทยที่เศรษฐกิจเสมือนขึ้นอยู่กับภาวะเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายของกระบวนการได้มาซึ่งวัคซีน 63 ล้านโดส สำหรับประชากร 31.5 ล้านคน
ข้อกังขามีตั้งแต่ ทำไมวัคซีนของไทยจึงล่าช้าและสับสนอย่างไร้ความจำเป็น รัฐบาลไม่เคยยอมรับว่าคาดการณ์สถานการณ์การแพร่ระบาดไม่ดีพอ จึงสั่งวัคซีน
รอบแรกเพียง 26 ล้านโดส ใต้วงเงิน 6,049 ล้านบาท ซึ่งจะครอบคลุมประชากรเพียง 13 ล้านคน (1 คนต้องฉีด 2 โดส) เท่านั้น
เมื่อเกิดคลัสเตอร์จากแรงงานข้ามชาติที่มีผลมาจากความหละหลวมของเจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชนไม่ได้รับรู้อย่างตรงไปตรงมาว่าค่าใช้จ่ายเพื่อสั่งซื้อวัคซีน 2 ล้านโดส จากริษัทซิโนแวค ไบโอเทค จำกัดของประเทศจีน มาด้วยต้นทุนสูงลิ่ว โดสละ 17 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 511 บาท/โดส) ขณะวัคซีนแอสตราเซเนการอบที่สั่ง 26 ล้านโดส มีราคาประมาณ 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ/โดส หรือประมาณ 150 บาท
เมื่อไทยตกขบวน
COVAX ซึ่งเป็นโครงการวัคซีนเสมอภาคขององค์กรพันธมิตรทั่วโลกด้านวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกันโรคและองค์การอนามัยโลก (WHO)
นพ.
นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ออกมาอธิบายว่า เนื่องจากไทยไม่ได้เป็นประเทศฐานะยากจน จึงไม่อาจรับวัคซีนได้ฟรีเหมือน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เมียนมา ฟิลิปปินส์ หรือเวียดนาม หากต้องการเข้าร่วม ต้องเสียทั้งค่าธรรมเนียมและค่าประกันความเสี่ยง ซึ่งจะเป็นต้นทุนสำคัญทางราคาที่ประเทศต้องจ่าย รวมถึงยังต้องจ่ายเงินมัดจำก่อน แม้วัคซีนบางชนิดอาจพัฒนาไม่สำเร็จ
มองในมิติข้างต้น กลุ่มผู้กำหนดนโยบายดูมีความใส่ใจกับเม็ดเงินภาษีของประชาชนที่ต้องเสียไปอย่างยิ่งยวด ทว่า หากเห็นแก่ประชาชนเช่นนั้นแล้ว เหตุใดการนำเข้าวัคซีนถึงผูกติดอยู่กับวัคซีนแบรนด์เดียวอย่างแอสตราเซเนกาตั้งแต่ต้น
ย้อนกลับไปก่อนเกิดคลัสเตอร์ น.พ.
บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริษัทธนบุรี เฮลแคร์ กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) เผยกับ '
วอยซ์' ว่าพยายามนำเข้าวัคซีนจากซิโนแวคเพื่อเข้ามาทดลอง แต่ถูกปฏิเสธ คล้ายคลึงกับโรงพยาบาลเอกชนอื่นๆ ที่หาทางนำวัคซีนแบรนด์อื่นเข้ามาแต่ติดขัดไปหมด
เมื่อมาถึงวันที่วัคซีนเดินทางถึงไทย และถูกสั่งระงับอีกครั้งจากผลข้างเคียงลิ่มเลือด กระทรวงสาธารณสุขชี้แจงว่าที่สั่งหยุดฉีดวัคซีนชั่วคราวเป็นเพียงการตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยของคนไทยราว 1-2 สัปดาห์เท่านั้น
คำถามจึงกลับไปอีกว่า หากเพื่อผลประโยชน์ของคนไทยจริง เหตุใดจึงคิดเผื่อผลข้างเคียงเหล่านี้ไว้ไม่ได้ตั้งแต่ต้น การฉีดวัคซีนที่ยิ่งล่าช้าออกไป ยิ่งหมายถึงชีวิตประชาชนที่ยากจนลง เหตุใดรัฐบาลที่บอกว่าตนเองเป็นห่วงประชาชนทุกฝีก้าว ถึงพาประเทศมาติดหล่มเช่นนี้
สภาเงาเมียนมา หนุน “ราษฎรปฏิวัติ” ต้านทัพยึดอำนาจ สู่ “ประชาธิปไตยสหพันธรัฐ”
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6129803
สภาเงาเมียนมา – วันที่ 14 มี.ค.
เอเอฟพี รายงานว่า
ปยีตองซูลุดดอว์ ซึ่งเป็นสภาเงาแห่งสหภาพเมียนมา (ซีอาร์พีเอช) ก่อตั้งโดยบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่หลบหนีการจับกุมของกองทัพพม่า ย้ำจุดยืนสนับสนุนให้ประชาชาชาวพม่าลุกขึ้นปฏิวัติประเทศและต่อต้านการยึดอำนาจของกองทัพ
ปยีตองซูลุดดอว์ระบุว่า พม่ากำลังอยู่ในช่วงเวลาที่มืดมนที่สุด หลังการลุกฮือของชาวพม่าทั่วประเทศนานกว่า 7 สัปดาห์ ถูกตอบโต้ด้วยการปราบปรามอย่างรุนแรงของเผด็จการทหาร มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 12 รายในวันเดียว ส่งผลให้ยอดผู้เสียชีวิตมีแล้วอย่างน้อย 70 ราย
นาย
มาห์น วิน เกียง ตาน รักษาการรองประธานาธิบดีแห่งปยีตองซูลุดดอว์ กล่าวผ่านคลิปที่บันทึกผ่านเฟซบุ๊กเพจของซีอาร์พีเอชกับชาวพม่าที่พากันออกมาชุมนุมขัดขืนคำสั่งเคอร์ฟิวหลัง 20.00 น. ของเผด็จการทหารพม่า ขอให้ประชาชนยืนหยัดต่อสู้กับเผด็จการที่ไม่ชอบธรรมต่อไป
“
ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่มืดมนที่สุดของชาติเรา แต่แสงสว่างแห่งรุ่งอรุณกำลังใกล้จะมาถึงแล้ว” และว่า “
ช่วงเวลานี้ยังถือเป็นบททดสอบความอดทนของชาวพม่าเพื่อจะให้เห็นว่าเราสามารถอดทนต่อสู้กับช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดได้นานเพียงใด” นาย
ตานกล่าว
รายงานระบุว่า นาย
ตานเคยดำรงตำแหน่งเป็นอดีตประธานรัฐสภาจากพรรคสันบาตเพื่อประชาธิปไตย หรือเอ็นแอลดีก่อนการยึดอำนาจของกองทัพ และมีข่าวถูกจับกุมนำตัวไปขังไว้ในบ้านพักตั้งแต่ 1 ก.พ. เช่นเดียวกับ นางออง ซาน ซู จี การปรากฎตัวผ่านคลิปซีอาร์พีเอชถือเป็นครั้งแรกหลังข่าวการถูกจับกุมตัว ในฐานะรักษาการณ์รองประธานาธิบดี
อดีตประธานรัฐสภาผู้นี้ยังกล่าวเรียกร้องให้ชาวพม่าช่วยกันเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองไปสู่ประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ ซึ่งจะทำให้บรรดากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ สามารถเข้ามามีบทบาทในการปกครองประเทศได้
“
ช่วงเวลานี้ยังถือโอกาสที่ประชาชนทุกคนจะได้ร่วมมือร่วมใจกันสร้างชาติขึ้นใหม่เป็นประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่พวกเราพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งต่างเคยต้องเผชิญกับการกดขี่ข่มเหงของกองทัพ…ปรารถนา” และว่า “สหภาพประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐกำลังรอพวกเราอยู่ หากทุกคนร่วมแรงร่วมใจเป็นหนึ่งเดียว พวกเราจะต้องมีชัยชนะ” นาย
ตานระบุ
ทั้งนี้ ซีอาร์พีเอชเคยออกแถลงการณ์หลายครั้งหลังการก่อตั้งสนับสนุนการเคลื่อนไหวต่อต้านการยึดอำนาจของประชาชน ขณะที่ฝ่ายเผด็จการทหารพม่าตั้งสภาปกครองแห่งชาติ (เอสเอซี) โดยระบุถึงการกระทำของซีอาร์พีเอชว่าเข้าข่ายการก่อกบฎร้ายแรง มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 22 ปี
วันเดียวกัน นาย
โทมัส แอนดรูวส์ ผู้เชี่ยวชาญสิทธิมนุษยชาติในพม่าจากสหประชาชาติ หรือยูเอ็น มองว่า เผด็จการพม่ากำลังก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติเพื่อรักษาอำนาจของตัวเอง เช่น ฆาตกรรม การอุ้มหาย และการทรมาน ทั้งหมดภายใต้การรับรู้ของเผด็จการทหารพม่า
นาย
แอนดรูวส์มีหลักฐานว่า การกระทำเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และมีกระบวนการชัดเจน แม้แต่ทางการจีน พันธมิตรของพม่า เรียกร้องให้ทุกฝ่ายในพม่าร่วมกันถอดชนวนสถานการณ์มิคสัญญีที่กำลังเกิดขึ้น
JJNY : 'ลิ่มเลือด'สะท้อนการบริหารวัคซีน│สภาเงาเมียนมาหนุน“ราษฎรปฏิวัติ”│พท.ระดมความเห็นปมแก้รธน.│ภท.รอฟังบทลงโทษดาวฤกษ์
https://voicetv.co.th/read/6LSJp7Rg9
เวลาล่วงเลยมาเกิน 1 ปีเต็ม โควิด-19 ไม่ใช่เรื่องใหม่ของสังคมอีกต่อไป เช่นเดียวกับภาวะอดหลายมื้อกินมื้อเดียว เพราะต่อให้รัฐบาลปล่อยมาตรการเยียวยามามากแค่ไหน ก็ยังเป็นทางออกที่ตื้นเขินเกินไปสำหรับประชาชน
ไทยต้องเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกครั้งคือคำตอบที่ทุกฝ่ายทราบดี โดยเฉพาะฝั่งรัฐบาล แม้ยังไม่อาจกลับไปแตะสถิติตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติเฉียด 40 ล้านคน/ปี ในเร็ววัน
การได้เม็ดเงินบางส่วนเข้ามา เป็นยิ่งกว่าน้ำที่มาช่วยให้อุตสาหกรรมที่กำลังจะขาดใจตายได้แหวกว่ายเอาตัวรอดอีกครั้ง แม้รายงานจากดีลอยต์ฉบับ ก.พ. 2564 ชี้ว่า ไทยอาจต้องใช้เวลา 2-3 ปี เพื่อดึงตัวเลขนักท่องเที่ยวกลับไปเท่าช่วงก่อนโควิด-19 ในปี 2564 ประมาณการตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ราว 4 ล้านคน
ไทยมีรายได้เฉลี่ยจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เดือนละไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา ในปี 2562 ก่อนมีโควิดนั้น ตัวเลขเฉลี่ยขึ้นมาสูงถึง 159,000 ล้านบาท/เดือน
26 มี.ค. 2563 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักรไทย
นับแต่นั้น ตามสถิติจากธนาคารแห่งประเทศไทย ตัวเลขนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติคงตัวเป็นศูนย์เรื่อยมา หรือหมายถึงเม็ดเงินราว 1.5 ล้านล้านบาท (คำนวณจากค่าเฉลี่ยรายได้ที่ 150,000 ล้านบาท/เดือน โดยนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2563 - ม.ค. 2564)
ตัวเลขมหาศาลที่ดูล่องลอยในอากาศเหล่านี้หมายถึงสถิติประชาชนที่ต้องขอรับความช่วยเหลือจากสิทธิประกันสังคม ตามมาตรา 33 เมื่อถูกออกจากงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไปแตะทะลุ 4% ของจำนวนแรงงานทั้งหมดในระบบประกันสังคม ขณะที่ตัวเลขก่อนวิกฤตเฉลี่ยเพียง 1.4% เท่านั้น
ทั้งนี้ แรงงานที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ติดเป็นเพียง 31% ของแรงงานในประเทศทั้งหมด ในปี 2563 ไทยมีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งหมด 56.8 ล้านคน คิดเป็นกำลังแรงงานรวม 38.5 ล้านคน และคิดเป็นผู้ว่างงาน 650,000 คน
เพื่อช่วยแรงงานเหล่านี้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศมีผล แต่ไม่เพียงพอ ย้อนกลับไปดูตัวเลขค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยวชาวไทย/คน/วัน ในปี 2562 พบว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2,900 บาท ขณะนักท่องเที่ยวต่างชาติเฉลี่ยอยู่ที่ 6,000 บาท ต่างกัน 52%
ขณะที่ฝั่งการช่วยเหลือผู้ประกอบการ แม้จะมีข้อเรียกร้องมาตั้งแต่เริ่มต้นว่า โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำมีข้อจำกัดสูงเกินจนผู้ประกอบการเข้าไม่ถึงสินเชื่อช่วยเหลือตรงนั้น และปัจจุบันจากวงเงินทั้งหมด 500,000 ล้านบาท สามารถปล่อยออกไปได้จริงเพียง 130,384 ล้านบาท ตามข้อมูล ณ 1 มี.ค. 2564
วัคซีนจำเป็นทั่วโลก
เงื่อนไขสำคัญที่จะเปิดเศรษฐกิจได้คือการทำให้มั่นใจว่าจะควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส วัคซีนจึงเป็นคำตอบสำคัญและคำตอบเดียว ไม่เพียงแค่กับประเทศไทย แต่กับทั่วโลก
ตัวเลขจาก RAND สถาบันวิจัยเชิงนโยบายพบว่า หากไม่สามารถกระจายวัคซีนโควิด-19 ได้ทั่วถึง โลกจะสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละ 3.4 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 104 ล้านล้านบาท เพราะมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมมีต้นทุนเศรษฐกิจที่ต้องจ่ายสูง
หากไปตกในกรณีว่า ประเทศรายได้สูงสามารถจัดหาวัคซีนให้กับพลเมืองตัวเองได้ แต่ประเทศยากจนเข้าไม่ถึงวัคซีน เศรษฐกิจโดยรวมของโลกจะยังได้รับผลกระทบสูงถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ/ปี หรือประมาณ 36 ล้านล้านบาท
แม้แต่การปล่อยให้ประเทศยากจนแร้นแค้นมากๆ ไม่ได้รับวัคซีน ขณะที่ประเทศสถานะอื่นๆ ได้รับวัคซีนแล้วนั้น ยังสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจได้ถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ/เดือน หรือ 300,000 ล้านบาท/เดือน อยู่ดี
ขณะวิจัยอีกฉบับซึ่งสอดคล้องกันพบว่า หากประเทศพัฒนาแล้วไม่กระจายวัคซีนอย่างเป็นธรรมและปล่อยให้มีการฉีดวัคซีนในประชากรของประเทศพัฒนาแล้วเพียงครึ่งหนึ่งภายในกลางปี 2564 เศรษฐกิจโลกจะถูกทำให้เสียหายถึง 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 122 ล้านล้านบาท
"ไม่มีเศรษฐกิจใดในโลกอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยว" เศรษฐกิจโลกจะกลับมาได้ แปลว่าเศรษฐกิจทุกประเทศต้องกลับมาด้วย
ข้อกังขาวัคซีนไทย
สำหรับประเทศไทยที่เศรษฐกิจเสมือนขึ้นอยู่กับภาวะเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายของกระบวนการได้มาซึ่งวัคซีน 63 ล้านโดส สำหรับประชากร 31.5 ล้านคน
ข้อกังขามีตั้งแต่ ทำไมวัคซีนของไทยจึงล่าช้าและสับสนอย่างไร้ความจำเป็น รัฐบาลไม่เคยยอมรับว่าคาดการณ์สถานการณ์การแพร่ระบาดไม่ดีพอ จึงสั่งวัคซีนรอบแรกเพียง 26 ล้านโดส ใต้วงเงิน 6,049 ล้านบาท ซึ่งจะครอบคลุมประชากรเพียง 13 ล้านคน (1 คนต้องฉีด 2 โดส) เท่านั้น
เมื่อเกิดคลัสเตอร์จากแรงงานข้ามชาติที่มีผลมาจากความหละหลวมของเจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชนไม่ได้รับรู้อย่างตรงไปตรงมาว่าค่าใช้จ่ายเพื่อสั่งซื้อวัคซีน 2 ล้านโดส จากริษัทซิโนแวค ไบโอเทค จำกัดของประเทศจีน มาด้วยต้นทุนสูงลิ่ว โดสละ 17 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 511 บาท/โดส) ขณะวัคซีนแอสตราเซเนการอบที่สั่ง 26 ล้านโดส มีราคาประมาณ 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ/โดส หรือประมาณ 150 บาท
เมื่อไทยตกขบวน COVAX ซึ่งเป็นโครงการวัคซีนเสมอภาคขององค์กรพันธมิตรทั่วโลกด้านวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกันโรคและองค์การอนามัยโลก (WHO)
นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ออกมาอธิบายว่า เนื่องจากไทยไม่ได้เป็นประเทศฐานะยากจน จึงไม่อาจรับวัคซีนได้ฟรีเหมือน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เมียนมา ฟิลิปปินส์ หรือเวียดนาม หากต้องการเข้าร่วม ต้องเสียทั้งค่าธรรมเนียมและค่าประกันความเสี่ยง ซึ่งจะเป็นต้นทุนสำคัญทางราคาที่ประเทศต้องจ่าย รวมถึงยังต้องจ่ายเงินมัดจำก่อน แม้วัคซีนบางชนิดอาจพัฒนาไม่สำเร็จ
มองในมิติข้างต้น กลุ่มผู้กำหนดนโยบายดูมีความใส่ใจกับเม็ดเงินภาษีของประชาชนที่ต้องเสียไปอย่างยิ่งยวด ทว่า หากเห็นแก่ประชาชนเช่นนั้นแล้ว เหตุใดการนำเข้าวัคซีนถึงผูกติดอยู่กับวัคซีนแบรนด์เดียวอย่างแอสตราเซเนกาตั้งแต่ต้น
ย้อนกลับไปก่อนเกิดคลัสเตอร์ น.พ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริษัทธนบุรี เฮลแคร์ กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) เผยกับ 'วอยซ์' ว่าพยายามนำเข้าวัคซีนจากซิโนแวคเพื่อเข้ามาทดลอง แต่ถูกปฏิเสธ คล้ายคลึงกับโรงพยาบาลเอกชนอื่นๆ ที่หาทางนำวัคซีนแบรนด์อื่นเข้ามาแต่ติดขัดไปหมด
เมื่อมาถึงวันที่วัคซีนเดินทางถึงไทย และถูกสั่งระงับอีกครั้งจากผลข้างเคียงลิ่มเลือด กระทรวงสาธารณสุขชี้แจงว่าที่สั่งหยุดฉีดวัคซีนชั่วคราวเป็นเพียงการตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยของคนไทยราว 1-2 สัปดาห์เท่านั้น
คำถามจึงกลับไปอีกว่า หากเพื่อผลประโยชน์ของคนไทยจริง เหตุใดจึงคิดเผื่อผลข้างเคียงเหล่านี้ไว้ไม่ได้ตั้งแต่ต้น การฉีดวัคซีนที่ยิ่งล่าช้าออกไป ยิ่งหมายถึงชีวิตประชาชนที่ยากจนลง เหตุใดรัฐบาลที่บอกว่าตนเองเป็นห่วงประชาชนทุกฝีก้าว ถึงพาประเทศมาติดหล่มเช่นนี้
สภาเงาเมียนมา หนุน “ราษฎรปฏิวัติ” ต้านทัพยึดอำนาจ สู่ “ประชาธิปไตยสหพันธรัฐ”
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6129803
สภาเงาเมียนมา – วันที่ 14 มี.ค. เอเอฟพี รายงานว่า ปยีตองซูลุดดอว์ ซึ่งเป็นสภาเงาแห่งสหภาพเมียนมา (ซีอาร์พีเอช) ก่อตั้งโดยบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่หลบหนีการจับกุมของกองทัพพม่า ย้ำจุดยืนสนับสนุนให้ประชาชาชาวพม่าลุกขึ้นปฏิวัติประเทศและต่อต้านการยึดอำนาจของกองทัพ
ปยีตองซูลุดดอว์ระบุว่า พม่ากำลังอยู่ในช่วงเวลาที่มืดมนที่สุด หลังการลุกฮือของชาวพม่าทั่วประเทศนานกว่า 7 สัปดาห์ ถูกตอบโต้ด้วยการปราบปรามอย่างรุนแรงของเผด็จการทหาร มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 12 รายในวันเดียว ส่งผลให้ยอดผู้เสียชีวิตมีแล้วอย่างน้อย 70 ราย
นายมาห์น วิน เกียง ตาน รักษาการรองประธานาธิบดีแห่งปยีตองซูลุดดอว์ กล่าวผ่านคลิปที่บันทึกผ่านเฟซบุ๊กเพจของซีอาร์พีเอชกับชาวพม่าที่พากันออกมาชุมนุมขัดขืนคำสั่งเคอร์ฟิวหลัง 20.00 น. ของเผด็จการทหารพม่า ขอให้ประชาชนยืนหยัดต่อสู้กับเผด็จการที่ไม่ชอบธรรมต่อไป
“ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่มืดมนที่สุดของชาติเรา แต่แสงสว่างแห่งรุ่งอรุณกำลังใกล้จะมาถึงแล้ว” และว่า “ช่วงเวลานี้ยังถือเป็นบททดสอบความอดทนของชาวพม่าเพื่อจะให้เห็นว่าเราสามารถอดทนต่อสู้กับช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดได้นานเพียงใด” นายตานกล่าว
รายงานระบุว่า นายตานเคยดำรงตำแหน่งเป็นอดีตประธานรัฐสภาจากพรรคสันบาตเพื่อประชาธิปไตย หรือเอ็นแอลดีก่อนการยึดอำนาจของกองทัพ และมีข่าวถูกจับกุมนำตัวไปขังไว้ในบ้านพักตั้งแต่ 1 ก.พ. เช่นเดียวกับ นางออง ซาน ซู จี การปรากฎตัวผ่านคลิปซีอาร์พีเอชถือเป็นครั้งแรกหลังข่าวการถูกจับกุมตัว ในฐานะรักษาการณ์รองประธานาธิบดี
อดีตประธานรัฐสภาผู้นี้ยังกล่าวเรียกร้องให้ชาวพม่าช่วยกันเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองไปสู่ประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ ซึ่งจะทำให้บรรดากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ สามารถเข้ามามีบทบาทในการปกครองประเทศได้
“ช่วงเวลานี้ยังถือโอกาสที่ประชาชนทุกคนจะได้ร่วมมือร่วมใจกันสร้างชาติขึ้นใหม่เป็นประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่พวกเราพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งต่างเคยต้องเผชิญกับการกดขี่ข่มเหงของกองทัพ…ปรารถนา” และว่า “สหภาพประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐกำลังรอพวกเราอยู่ หากทุกคนร่วมแรงร่วมใจเป็นหนึ่งเดียว พวกเราจะต้องมีชัยชนะ” นายตานระบุ
ทั้งนี้ ซีอาร์พีเอชเคยออกแถลงการณ์หลายครั้งหลังการก่อตั้งสนับสนุนการเคลื่อนไหวต่อต้านการยึดอำนาจของประชาชน ขณะที่ฝ่ายเผด็จการทหารพม่าตั้งสภาปกครองแห่งชาติ (เอสเอซี) โดยระบุถึงการกระทำของซีอาร์พีเอชว่าเข้าข่ายการก่อกบฎร้ายแรง มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 22 ปี
วันเดียวกัน นายโทมัส แอนดรูวส์ ผู้เชี่ยวชาญสิทธิมนุษยชาติในพม่าจากสหประชาชาติ หรือยูเอ็น มองว่า เผด็จการพม่ากำลังก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติเพื่อรักษาอำนาจของตัวเอง เช่น ฆาตกรรม การอุ้มหาย และการทรมาน ทั้งหมดภายใต้การรับรู้ของเผด็จการทหารพม่า
นายแอนดรูวส์มีหลักฐานว่า การกระทำเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และมีกระบวนการชัดเจน แม้แต่ทางการจีน พันธมิตรของพม่า เรียกร้องให้ทุกฝ่ายในพม่าร่วมกันถอดชนวนสถานการณ์มิคสัญญีที่กำลังเกิดขึ้น