4 เดือนภาษีวืดเป้า 6 หมื่นล้าน รัฐวิสาหกิจเกรด A รายได้หด
https://www.prachachat.net/prachachat-top-story/news-629292
โควิดทุบรายได้รัฐวูบ ส่อแววต้อง “กู้เต็มเพดาน-ตัดรายจ่ายเพิ่ม” ปิดหีบงบประมาณ หลังเก็บรายได้ 4 เดือนแรกต่ำกว่าเป้า 6 หมื่นล้าน ต้องกู้ชดเชยขาดดุล 3 แสนล้าน “สรรพากร” รีดภาษีต่ำกว่าเป้าเฉียด 4 หมื่นล้าน รัฐวิสาหกิจกำไรหด ฉุดรายได้เข้าคลังต่ำกว่าคาดการณ์ 3 หมื่นล้าน
นางสาว
กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2564 (ต.ค. 2563-ม.ค. 2564) จัดเก็บได้ที่ 709,007 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณไป 60,030 ล้านบาท หรือต่ำกว่าเป้าหมายไป 7.8% รวมทั้งต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 106,292 ล้านบาท หรือ 13%
ทั้งนี้ กรมสรรพากรจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการไป 38,291 ล้านบาท หรือต่ำเป้า 7.3% ขณะที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการ 10,993 ล้านบาท หรือต่ำเป้า 5.4% และรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ต่ำกว่าประมาณการไป 20,909 ล้านบาท หรือต่ำเป้า 37.5%
“
การจัดเก็บรายได้ที่ต่ำกว่าประมาณการ เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ” นางสาว
กุลยากล่าว
นางสาว
กุลยากล่าวว่า ณ สิ้นเดือน ม.ค. 2564 รัฐบาลมีระดับเงินคงคลังอยู่ที่ 450,039 ล้านบาท จากที่ในช่วง 4 เดือนแรก รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 795,971 ล้านบาท ขณะที่มีการเบิกจ่ายงบประมาณไปทั้งสิ้น 1,225,377 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลไปแล้วทั้งสิ้น 366,810 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่กำไรทรุด
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้รายงานการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่า 50% สะสมในช่วง 5 เดือนแรกปีงบประมาณ 2564 (ต.ค. 2563-ก.พ. 2564) พบว่า นำส่งรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายไป 28,252.8 ล้านบาท
โดยสาเหตุสำคัญของการที่รัฐวิสาหกิจส่งรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายในช่วง 5 เดือนแรก เป็นผลมาจากรัฐวิสาหกิจได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งนี้ ในเดือน ต.ค. 2563 นำส่งรายได้ต่ำกว่าประมาณการไป 15,605.7 ล้านบาท เนื่องจากรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่หลายแห่งที่ต้องนำส่งรายได้ระหว่างกาลปี 2563 มีกำไรสุทธิครึ่งปีลดลง ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), ธนาคารออมสิน, ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ขณะที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ช่วงครึ่งปี 2563 มีผลขาดทุน
ขณะที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT แจ้งผลกำไรสุทธิของปี 2563 ลดลง ทำให้นำส่งรายได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ได้เพียง 1,900 ล้านบาท (จากการจ่ายเงินปันผลจากผลประกอบการปี 2563 ในอัตรา 0.19 บาทต่อหุ้น) ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ 9,905 ล้านบาท ถึง 8,005 ล้านบาท
“อาคม” สั่งอุ้มผู้เสียภาษี
แหล่งข่าวจากกรมสรรพากรกล่าวกับ “
ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง ได้มอบนโยบายการจัดเก็บภาษีแก่ผู้บริหารกรมสรรพากร ในงานสัมมนาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีการให้ความสำคัญกับ 3-4 เรื่องหลัก ๆ ได้แก่
1.ให้พยายามจัดเก็บภาษีให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.ให้พิจารณาปรับโครงสร้างภาษีให้เหมาะสมมากขึ้น
3.ให้พิจารณาหาแนวทางจัดเก็บภาษีใหม่ ๆ อาทิ ภาษีเกี่ยวกับการดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
และ 4.ให้เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่ผู้ประกอบการเพื่อให้มีสภาพคล่องไปทำธุรกิจ
“
รมว.คลังเน้นย้ำให้คำนึงถึงข้อเท็จจริงในการจัดเก็บภาษี ที่ช่วงนี้ประชาชนและภาคธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ก็คือดำเนินการไปตามมาตรการปกติที่ทำอยู่” แหล่งข่าวกล่าว
ขณะที่นาง
สมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า แม้ในช่วง 4 เดือนแรก กรมสรรพากรจะจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการ แต่กรมยังไม่มีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติม เนื่องจากประชาชนต่างก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ดังนั้น กรมจึงเน้นไปที่นโยบายช่วยบรรเทาภาระประชาชน ด้วยการเติมสภาพคล่อง ผ่านมาตรการขยายระยะเวลายื่นแบบชำระภาษีให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ
“
ในช่วงเดือน ก.ย. 2564 นี้ กรมสรรพากรจะมีรายได้เพิ่มจากการเก็บภาษีอีเซอร์วิส (e-Service) ประมาณ 5,000 ล้านบาท โดยเป็นการเก็บภาษีจากผู้ให้บริการต่างประเทศ แล้วเข้ามาให้บริการในประเทศไทย เช่น เฟซบุ๊ก, กูเกิล, ยูทูบ และเน็ตฟลิกซ์ เป็นต้น รวมถึงผู้ให้บริการดาวน์โหลดเกมออนไลน์ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น และสติ๊กเกอร์ เป็นต้น ซึ่งกรมยังคงเป้าจัดเก็บรายได้ตามเอกสารงบประมาณเดิมที่ 2,085,330 ล้านล้านบาท” นาง
สมหมายกล่าว
ดึงบล็อกเชนเพิ่มประสิทธิภาพ
นาย
ลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า ในช่วงสิ้นเดือน มี.ค.นี้ กรมสรรพสามิตจะเปิดตัวระบบการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในส่วนต่าง ๆ เช่น ใช้ในการตรวจสอบการขอคืนภาษีน้ำมันจากการส่งออก เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีบล็อกเชนจะช่วยเก็บเอกสารให้สามารถตรวจสอบและควบคุมได้ว่าน้ำมันได้ถูกส่งออกจริงหรือไม่ โดยจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2564
นอกจากนี้ จะมีการสรุปเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ เพื่อเสนอให้ นายอาคม พิจารณาในช่วงสิ้นเดือน มี.ค.นี้ด้วย เพื่อให้โครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่สามารถใช้ได้ในวันที่ 1 ต.ค. 2564
“
ปีนี้จากเป้าหมายจัดเก็บรายได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับลดลงมาล่าสุด ให้กรมสรรพสามิตจัดเก็บ 5.5 แสนล้านบาท จากเป้าเดิมตามเอกสารงบประมาณต้องจัดเก็บ 6.3 แสนล้านบาท ซึ่งกรมเชื่อว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้เกินจากเป้าหมายที่ปรับลดลงมาแล้วได้ เป็นหลักหมื่นล้านบาท” นาย
ลวรณกล่าว
ส่อปิดหีบไม่ลงต้องตัดงบฯเพิ่ม
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวกับ “
ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึง 552.7% หรือกู้มากกว่าปีก่อนถึง 310,608 ล้านบาท ขณะที่มีการประเมินว่า ถึงสิ้นปีงบประมาณ 2564 นี้ รัฐบาลอาจจะขาดดุลงบประมาณถึง 8-9 แสนล้านบาท ซึ่งเกินจากกรอบกฎหมายที่สามารถกู้ชดเชยการขาดดุลที่ปีนี้กู้ได้กว่า 7 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลได้ใส่ไว้ในแผนบริหารหนี้แล้วกว่า 6 แสนล้านบาท
“
รัฐบาลมีช่องให้กู้ชดเชยขาดดุล หรือกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้อีกแค่กว่า 1 แสนล้านบาท แต่จากที่มีการคาดการณ์กันว่า ปีนี้จะขาดดุลสูงถึงเกือบ 9 แสนล้านบาท เงินกู้ดังกล่าวน่าจะไม่เพียงพอ ทั้งนี้ ปีงบประมาณนี้ รัฐบาลก็คงต้องกู้เต็มเพดานเหมือนกับปีก่อน และช่วงปลายปีคงต้องตัดลดงบประมาณเพิ่มเติมอีก” แหล่งข่าวกล่าว
ฟันธงยากสลับเก้าอี้รัฐมนตรีบริหารปท.ดีขึ้น
https://www.innnews.co.th/news/news_61207/
นักวิชาการ ชี้ฟันธงยากพรรคการเมืองสลับเก้าอี้ รมต.ข้ามกระทรวง ช่วยบริหารช่วยประเทศดีขึ้น ขณะม็อบเคลื่อนไหวไม่กระทบลงทุน
นาย
วชิร คูณทวีเทพ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า สำหรับการปรับคณะรัฐมนตรีรอบใหม่ โดยมีบางพรรคการเมืองอาจขอสลับกระทรวง เพื่อให้สะดวกต่อการบริหารงานนั้น ในผลของด้านนโยบายจะเปลี่ยนแปลงไปในทางบวกหรือลบ ขึ้นอยู่กับว่า บุคคลนั้นมีความรู้ความเชี่ยวชาญมากน้อยแค่ไหน
ซึ่งตนเองมองว่า นโยบายคงไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิม แต่ถ้าได้คนที่มีความรู้เข้าทำงานจะง่ายสำหรับการบริหารงาน และแก้ไขปัญหาของประเทศ
ขณะที่ ความเคลื่อนไหวทางการเมือง ของกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยต่อแนวทางการทำงานของรัฐบาล ณ ตอนนี้ยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ลงทุนมากนักในปัจจุบัน เพราะไทยยังไม่ได้เปิดประเทศ แต่อาจมีผลต่อการตัดสินใจหลังโควิดคลี่คลาย
JJNY : 4 ด.ภาษีวืดเป้า6หมื่น.ล.│ฟันธงยากสลับเก้าอี้บริหารปท.ดีขึ้น│จี้แจงหนุ่มเหยียดชาติพันธุ์│สมชัยแนะจี้ทำประชามติ
https://www.prachachat.net/prachachat-top-story/news-629292
โควิดทุบรายได้รัฐวูบ ส่อแววต้อง “กู้เต็มเพดาน-ตัดรายจ่ายเพิ่ม” ปิดหีบงบประมาณ หลังเก็บรายได้ 4 เดือนแรกต่ำกว่าเป้า 6 หมื่นล้าน ต้องกู้ชดเชยขาดดุล 3 แสนล้าน “สรรพากร” รีดภาษีต่ำกว่าเป้าเฉียด 4 หมื่นล้าน รัฐวิสาหกิจกำไรหด ฉุดรายได้เข้าคลังต่ำกว่าคาดการณ์ 3 หมื่นล้าน
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2564 (ต.ค. 2563-ม.ค. 2564) จัดเก็บได้ที่ 709,007 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณไป 60,030 ล้านบาท หรือต่ำกว่าเป้าหมายไป 7.8% รวมทั้งต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 106,292 ล้านบาท หรือ 13%
ทั้งนี้ กรมสรรพากรจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการไป 38,291 ล้านบาท หรือต่ำเป้า 7.3% ขณะที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการ 10,993 ล้านบาท หรือต่ำเป้า 5.4% และรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ต่ำกว่าประมาณการไป 20,909 ล้านบาท หรือต่ำเป้า 37.5%
“การจัดเก็บรายได้ที่ต่ำกว่าประมาณการ เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ” นางสาวกุลยากล่าว
นางสาวกุลยากล่าวว่า ณ สิ้นเดือน ม.ค. 2564 รัฐบาลมีระดับเงินคงคลังอยู่ที่ 450,039 ล้านบาท จากที่ในช่วง 4 เดือนแรก รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 795,971 ล้านบาท ขณะที่มีการเบิกจ่ายงบประมาณไปทั้งสิ้น 1,225,377 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลไปแล้วทั้งสิ้น 366,810 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่กำไรทรุด
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้รายงานการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่า 50% สะสมในช่วง 5 เดือนแรกปีงบประมาณ 2564 (ต.ค. 2563-ก.พ. 2564) พบว่า นำส่งรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายไป 28,252.8 ล้านบาท
โดยสาเหตุสำคัญของการที่รัฐวิสาหกิจส่งรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายในช่วง 5 เดือนแรก เป็นผลมาจากรัฐวิสาหกิจได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งนี้ ในเดือน ต.ค. 2563 นำส่งรายได้ต่ำกว่าประมาณการไป 15,605.7 ล้านบาท เนื่องจากรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่หลายแห่งที่ต้องนำส่งรายได้ระหว่างกาลปี 2563 มีกำไรสุทธิครึ่งปีลดลง ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), ธนาคารออมสิน, ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ขณะที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ช่วงครึ่งปี 2563 มีผลขาดทุน
ขณะที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT แจ้งผลกำไรสุทธิของปี 2563 ลดลง ทำให้นำส่งรายได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ได้เพียง 1,900 ล้านบาท (จากการจ่ายเงินปันผลจากผลประกอบการปี 2563 ในอัตรา 0.19 บาทต่อหุ้น) ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ 9,905 ล้านบาท ถึง 8,005 ล้านบาท
“อาคม” สั่งอุ้มผู้เสียภาษี
แหล่งข่าวจากกรมสรรพากรกล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง ได้มอบนโยบายการจัดเก็บภาษีแก่ผู้บริหารกรมสรรพากร ในงานสัมมนาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีการให้ความสำคัญกับ 3-4 เรื่องหลัก ๆ ได้แก่
1.ให้พยายามจัดเก็บภาษีให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.ให้พิจารณาปรับโครงสร้างภาษีให้เหมาะสมมากขึ้น
3.ให้พิจารณาหาแนวทางจัดเก็บภาษีใหม่ ๆ อาทิ ภาษีเกี่ยวกับการดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
และ 4.ให้เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่ผู้ประกอบการเพื่อให้มีสภาพคล่องไปทำธุรกิจ
“รมว.คลังเน้นย้ำให้คำนึงถึงข้อเท็จจริงในการจัดเก็บภาษี ที่ช่วงนี้ประชาชนและภาคธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ก็คือดำเนินการไปตามมาตรการปกติที่ทำอยู่” แหล่งข่าวกล่าว
ขณะที่นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า แม้ในช่วง 4 เดือนแรก กรมสรรพากรจะจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการ แต่กรมยังไม่มีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติม เนื่องจากประชาชนต่างก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ดังนั้น กรมจึงเน้นไปที่นโยบายช่วยบรรเทาภาระประชาชน ด้วยการเติมสภาพคล่อง ผ่านมาตรการขยายระยะเวลายื่นแบบชำระภาษีให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ
“ในช่วงเดือน ก.ย. 2564 นี้ กรมสรรพากรจะมีรายได้เพิ่มจากการเก็บภาษีอีเซอร์วิส (e-Service) ประมาณ 5,000 ล้านบาท โดยเป็นการเก็บภาษีจากผู้ให้บริการต่างประเทศ แล้วเข้ามาให้บริการในประเทศไทย เช่น เฟซบุ๊ก, กูเกิล, ยูทูบ และเน็ตฟลิกซ์ เป็นต้น รวมถึงผู้ให้บริการดาวน์โหลดเกมออนไลน์ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น และสติ๊กเกอร์ เป็นต้น ซึ่งกรมยังคงเป้าจัดเก็บรายได้ตามเอกสารงบประมาณเดิมที่ 2,085,330 ล้านล้านบาท” นางสมหมายกล่าว
ดึงบล็อกเชนเพิ่มประสิทธิภาพ
นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า ในช่วงสิ้นเดือน มี.ค.นี้ กรมสรรพสามิตจะเปิดตัวระบบการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในส่วนต่าง ๆ เช่น ใช้ในการตรวจสอบการขอคืนภาษีน้ำมันจากการส่งออก เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีบล็อกเชนจะช่วยเก็บเอกสารให้สามารถตรวจสอบและควบคุมได้ว่าน้ำมันได้ถูกส่งออกจริงหรือไม่ โดยจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2564
นอกจากนี้ จะมีการสรุปเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ เพื่อเสนอให้ นายอาคม พิจารณาในช่วงสิ้นเดือน มี.ค.นี้ด้วย เพื่อให้โครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่สามารถใช้ได้ในวันที่ 1 ต.ค. 2564
“ปีนี้จากเป้าหมายจัดเก็บรายได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับลดลงมาล่าสุด ให้กรมสรรพสามิตจัดเก็บ 5.5 แสนล้านบาท จากเป้าเดิมตามเอกสารงบประมาณต้องจัดเก็บ 6.3 แสนล้านบาท ซึ่งกรมเชื่อว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้เกินจากเป้าหมายที่ปรับลดลงมาแล้วได้ เป็นหลักหมื่นล้านบาท” นายลวรณกล่าว
ส่อปิดหีบไม่ลงต้องตัดงบฯเพิ่ม
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึง 552.7% หรือกู้มากกว่าปีก่อนถึง 310,608 ล้านบาท ขณะที่มีการประเมินว่า ถึงสิ้นปีงบประมาณ 2564 นี้ รัฐบาลอาจจะขาดดุลงบประมาณถึง 8-9 แสนล้านบาท ซึ่งเกินจากกรอบกฎหมายที่สามารถกู้ชดเชยการขาดดุลที่ปีนี้กู้ได้กว่า 7 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลได้ใส่ไว้ในแผนบริหารหนี้แล้วกว่า 6 แสนล้านบาท
“รัฐบาลมีช่องให้กู้ชดเชยขาดดุล หรือกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้อีกแค่กว่า 1 แสนล้านบาท แต่จากที่มีการคาดการณ์กันว่า ปีนี้จะขาดดุลสูงถึงเกือบ 9 แสนล้านบาท เงินกู้ดังกล่าวน่าจะไม่เพียงพอ ทั้งนี้ ปีงบประมาณนี้ รัฐบาลก็คงต้องกู้เต็มเพดานเหมือนกับปีก่อน และช่วงปลายปีคงต้องตัดลดงบประมาณเพิ่มเติมอีก” แหล่งข่าวกล่าว
ฟันธงยากสลับเก้าอี้รัฐมนตรีบริหารปท.ดีขึ้น
https://www.innnews.co.th/news/news_61207/
นักวิชาการ ชี้ฟันธงยากพรรคการเมืองสลับเก้าอี้ รมต.ข้ามกระทรวง ช่วยบริหารช่วยประเทศดีขึ้น ขณะม็อบเคลื่อนไหวไม่กระทบลงทุน
นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า สำหรับการปรับคณะรัฐมนตรีรอบใหม่ โดยมีบางพรรคการเมืองอาจขอสลับกระทรวง เพื่อให้สะดวกต่อการบริหารงานนั้น ในผลของด้านนโยบายจะเปลี่ยนแปลงไปในทางบวกหรือลบ ขึ้นอยู่กับว่า บุคคลนั้นมีความรู้ความเชี่ยวชาญมากน้อยแค่ไหน
ซึ่งตนเองมองว่า นโยบายคงไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิม แต่ถ้าได้คนที่มีความรู้เข้าทำงานจะง่ายสำหรับการบริหารงาน และแก้ไขปัญหาของประเทศ
ขณะที่ ความเคลื่อนไหวทางการเมือง ของกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยต่อแนวทางการทำงานของรัฐบาล ณ ตอนนี้ยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ลงทุนมากนักในปัจจุบัน เพราะไทยยังไม่ได้เปิดประเทศ แต่อาจมีผลต่อการตัดสินใจหลังโควิดคลี่คลาย