คนอายุ 30 - 40 เอาตัวรอดจาก Midlife Crisis กันยังไงบ้าง ?

จขกท อายุ 30 กลางๆ อยู่ในสังคม Social app ปัจจุบัน ทั้ง Facebook , IG , Clubhouse , etc 

ได้เห็นเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันก้าวหน้าในหน้าที่การงาน  ได้เป็นพนักงานระดับ C-level , Director , CEO 

รวมถึงเป็นเจ้าของกิจการเอง เป็น Entrepreneur , Founder ต่างๆ , ทำ startup ต่างๆ , Fulltime trader , Trade คริปโต ,เป็น Youtuber , ทำแอพเทคต่างๆ ประสบความสำเร็จในชีวิตตั่งแต่อายุยังน้อย 

โดยเฉพาะตั่งแต่เล่น ClubHouse จะเห็นว่าคนรุ่นใหม่อายุ 20-25 ปี ประสบความสำเร็จเร็วมาก (อ่านได้จาก Profile user ใน Clubhouse)

ส่วนตัวเรายังไม่ได้เป็นอะไรจากทีกล่าวมาด้านบนเลยสักข้อเดียว ..... ทำให้เกิด “การเปรียบเทียบ” ความสำเร็จระหว่างเรากับคนอื่น เมื่ออายุยิ่งมากขึ้น ก็ยิ่งรู้สึกว่าคุณค่าของตัวเองกลับด้อยลง ๆ

เลยอยากสอบถามและขอคำแนะนำว่า หากชีวิตเจอ Midlife Crisis แต่ละท่านมีวิธีการจัดการชีวิตยังไงกันบ้างครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
กระทู้แนวๆนึ้มีบ่อยครับ แทบทุกเดือน
ไม่เห็นต้องไปเปรียบเทียบคนอื่นเลยครับ  ไปเปรียบคุณยิ่งนอยด์ไปเปล่าๆ
ถ้าทุกคนประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต หน้าที่การงาน ทุกคนรวยหมดทั้งประเทศ
ป่านนึ้ไทยเป็นประเทศมหาอำนาจนานแล้วครับ   อยู่ในโลกความเป็นจริงๆ มี 2 ทางให้เลือก
1. ทุกวันนึ้คุณมีความสุขในการดำเนินชีวิตไหมครับ  ถ้ามี ให้ ปลง และ พอใจสิ่งที่เรามีอยู่  
2. ถ้าคุณกิเลสหนา อยากมีอยากได้เหมือนคนอื่นก็ต้องดิ้นรนขวนขวาย ให้เหนือคนอื่นๆ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
จขกท.เงินเดือน 5 แสนใช่มั้ย ?
https://ppantip.com/topic/40572958/comment20

ถ้าเงินเดือน 5 แสนมาตั้งกระทู้แบบนี้ ก็คืออาการน่าเป็นห่วงแล้วล่ะครับ โดยชี้ได้ว่าเรายังขาดสิ่งมีคุณค่ายิ่งในชีวิต ซึ่งสิ่งนั้นไม่ใช่รายได้หลักแสนหลักล้านต่อเดือนหรือการมีสังคมชั้นสูงฯลฯ  แต่เป็นการไม่เกิดทุกข์ทางร่างกายหรือจิตใจ(อโรคยาฯ) โดยใครก็ตามที่มีลาภอันสูงค่านี้ก็ชี้ได้ว่าคือคนที่พ้นจากปัญหาชีวิตได้อย่างแท้จริงนั่นเอง

ปัญหาของจขกท.นั้นเป็นปัญหาสุขภาพจิตเนื่องจากเราหลงกระแสชีวิตกระแสังคม ไปตามเวทนาความรู้สึกและตัณหาอุปาทานต่างๆจนปล่อยวางไม่ได้ ซึ่งแม้จะก่อให้เกิดภาวะสุขปรีเปรมในใจได้ แต่ก็เกิดภาวะทุกข์เครียดต่างๆไปตามตัณหาอุปาทานได้ด้วยเช่นกัน   วิธีที่แก้ปัญหาที่ถูกต้องที่สุดนั้นคือการแก้ไขที่เหตุซึ่งเป็นเรื่องของทิฏฐิจิตใจ โดยเราต้องเปลี่ยนทิฏฐิตัวตนเป็นคนใหม่ที่วางอุเบกขา(ปล่อยวาง,ละวางจิตใจ)ต่อความเป็นไปใดๆได้  แล้วจะสามารถละวางความรู้สึกเดิมๆในใจได้ ละวางตัณหาอุปาทานเดิมๆในใจได้ ในที่สุดก็ย่อมพ้นจากภาวะเครียดกังวลเดิมๆได้เสมอ  กลายเป็นคนที่ไม่เกิดปัญหาสุขภาพจิตใดๆไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพเช่นไร เมื่อต้องเผชิญโลกธรรมเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตอย่างไรบ้าง

นอกจากนี้อาจใช้ตัวช่วยโดยปรึกษาจิตแพทย์ นักจิตวิทยา กัลยาณมิตรในสังคม คนในครอบครัว ญาติมิตร ฯลฯ  เพื่อเป็นปัจจัยเอื้ออำนวยส่งเสริมในทางดี
ความคิดเห็นที่ 18
เราก็เกิน 30 แล้วนะคะ ยังไม่มีเงินเดือน 500,000 เลยค่ะ ไกลมากกกกกกก 555555

ถ้าชอบเปรียบเทียบ ลองมาเปรียบกับเราดูไหมคะ แต่คุณอาจจะไม่อยากเปรียบเทียบเพราะเราอาจจะไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย แต่เราก็ชนะหลายอย่างนะ ถ้าลองเดา ๆ

มาเปรียบเทียบเพื่อนสนิทกันไหมคะ แบบที่คุณตกต่ำในชีวิต ป่วย ทุกอย่าง แต่เขาไม่ทิ้งคุณ เก็บความลับ และรักษาใจของคุณเป็นอย่างดี เชื่อมั่นในตัวคุณมากกว่าตัวคุณเอง คอยประคองเวลาชีวิตคุณปัดเป๋ - เราคิดว่าเราน่าจะมีมากกว่าคุณ

เปรียบเทียบในอนุโมทนาบัตร - เราก็น่าจะมีมากกว่านะ

เปรียบเทียบจำนวนหมาไปบ้าน

เปรียบเทียบการหัวเราะต่อวัน

เปรียบเทียบช่องของการปักครอสติช

เปรียบเทียบการเล่นกับหมา น้ำลายหมาหยดใส่

ทำเมนูแปลก ๆ

มีเพื่อนใหม่

ปริมาณของสมองที่ใช้จำลักษณะของนกประเภทต่าง

จำนวนช็อกโกแล็ตเย็นที่กิน

ทั้งหมดนี้เราน่าจะชนะ 5555555555555555



มาเปรียบเทียบความสุขกันไหมคะ ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่