ผลการวิจัยของอังกฤษที่ได้รับการเผยแพร่ผ่าน นิตยสาร British Medical Journal เมื่อวันพุธที่ผ่านมา พบว่า ไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 ซึ่งพบเป็นครั้งแรกในอังกฤษตั้งแต่ปีที่แล้วนั้น ล่าสุดพบว่า ไวรัสตัวนี้มีผลทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่าไวรัสไวรัสกลายพันธุ์ก่อนหน้านี้ระหว่าง 30-100%
งานวัจัยดังกล่าว ได้ทำการเปรียบเทียบการเสียชีวิตในชาวอังกฤษ ที่ติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์ B.1.1.7 นี้ กับกลุ่มคนที่ติดไวรัสกลายพันธุ์โควิด-19 ตัวอื่นๆ ซึ่งนักวิจัยพบว่า ไวรัสกลายพันธุ์ B.1.1.7 มีผลทำให้เกิดการเสียชีวิตมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
โดยผลการวิจัยในตัวอย่างผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ 54,906 คน พบว่ามีคนเสียชีวิต 227 คน ขณะที่ในจำนวนเดียวกันนี้เองทิ่ติดเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมนั้น มีผู้เสียชีวิต 141 คน
ดังนั้น ลองเปรียบเทียบสัดส่วน ต่อผู้ติดเชื้อ 1,000 คน ให้เข้าใจง่ายขึ้น นั่นคือในคน 1,000 คนเสียชีวิตจากสายพันธุ์ดั้งเดิม 2.5 คน แต่เสียชีวิตจากสายพันธุ์อังกฤษเพิ่มเป็น 4.1 คน นั่นหมายความว่ามีอัตราการเสียชีวิตมากขึ้นถึง 61%
สำหรับไวรัสกลายพันธุ์ B.1.1.7 นั้น พบครั้งแรกในอังกฤษเมื่อเดือนกันยายนปี 2020 และนับตั้งแต่นั้นได้ระบาดไปในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ซึ่งในตัวมันเองพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมไปแล้วมากกว่า 23 ครั้ง ซึ่งในบางตัวนี้เองพบว่ายังสามารถแพร่เชื้อได้ง่ายมากขึ้นอีก
นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ไวรัสกลายพันธุ์ B.1.1.7 นี้ สามารถแพร่เชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมที่ระบาดอยู่ก่อนแล้ว 40-70%
เมื่อมีงานวิจัยเรื่องการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นเช่นนี้ ดร.โรเบิร์ต ชาลเลน นักวิจัย แห่งมหาวิทยาลัยเอ็กซีเตอร์ (Exeter University) ซึ่งร่วมในการวิจัยครั้งนี้ บอกว่า ภัยคุกคามของไวรัสกลายพันธุ์ควรได้รับการจัดการโดยเร็วและจริงจังมากขึ้น
ขณะที่นักวิจัยอิสระที่เคยวิจัยก่อนหนนี้ พบหลักฐานเบื้องต้นว่า การติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.1.7 นี้ทำให้มีความเสี่ยวงเสียชีวิตมากขึ้น ซึ่งผลวิจัยครั้งนี้ได้ถูกนำเสนอให้กับรัฐบาลอังกฤษรับทราบแล้วเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา พร้อมๆกับทีมวิจัยอื่น ที่มีผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มที่ปรึกษาภัยคุกคามจากไวรัสชนิดใหม่ที่มีผลต่อทางเดินหายใจ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญยังเตือนว่า ไวรัสกลายพันธุ์นี้จะยิ่งเนการเติมเชื้อไวให้ยอดติดเชื้อ และเสียชีวิตทั่วยุโรปอาจพุ่งสูงขึ้นอีกได้ จนถึงเวลานี้ยังไม่มีวัคซีนเจ้าไหนที่กล้าเคลมว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ โดยส่วนใหญ่จะระบุว่ามีประสิทธิภาพลดลงเมื่อเจอเจ้าไวรัสกลายพันธุ์ ทั้งของอังกฤษ และแอฟริกาใต้
แต่ขณะเดียวกัน เพิ่งมีงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารการแพทย์ New England ที่พบว่า วัคซีนของ Pfizer “อาจ” มีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ ทั้งของอังกฤษ, แอฟริกาใต้และบราซิล
โดยการวิจัยพบว่า วัคซีนของ Pfizer สร้างแอนติบอดี้ในร่างกายที่มีผลต่อต้านไวรัสกลายพันธุ์ เมื่อทำการทดลองในห้องแล็บ ด้วยการใช้ “ตัวอย่างเลือดจาก 15 คน” ที่ได้รับวัคซีนตัวนี้แล้ว .. ซึ่งพบว่า ระดับของ neutralizing antibody (แอนติบอดี้ที่ไปจับกับหนามของไวรัส แล้วสามารถยับยั้งไวรัสได้) นั้น มีขึ้นและต่อต้านไวรัสกลายพันธุ์ ได้ทั้งหมด
แต่ก็เป็นเพียงการทดลองในห้องแล็บจากผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะหากดูจากข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละตัวที่เคยรายงานออกมานั้น ยังไม่พบว่ามีตัวใดที่มีได้ผลดีต่อ B.1.1.7 นี้แต่อย่างใด
เช่น AstraZeneca – มีผลต่อไวรัสปกติ 53-90% ผลต่อ B.1.1.7 ลดลง 10%-
Moderna – มีผลต่อไวรัสปกติ 94% ผลต่อ B.1.1.7 พบแอนติบอดี้ลดลง 1.8-2 เท่า
Pfizer - มีผลต่อไวรัสปกติ 95% ผลต่อ B.1.1.7 พบแอนติบอดี้ลดลง 1.25-3.85 เท่า
แต่ในเวลานี้ มหาวิทยาลัย Oxford ในอังกฤษกำลังจะเริ่มต้นการทดลองทางคลินิกในระยะที่ 3 เพื่อดูประสิทธิภาพของวัคซีนต่อไวรัสกลายพันธุ์ โดยจะเริ่มในช่วงฤดูร้อนนี้ เพื่อหวังว่าจะสามารถฉีดวัคซีนที่พัฒนาแล้วได้ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้
++ผลวิจัยใหม่พบ ไวรัสกลายพันธุ์อังกฤษ ทำคนตายมากขึ้น 30-100%++
งานวัจัยดังกล่าว ได้ทำการเปรียบเทียบการเสียชีวิตในชาวอังกฤษ ที่ติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์ B.1.1.7 นี้ กับกลุ่มคนที่ติดไวรัสกลายพันธุ์โควิด-19 ตัวอื่นๆ ซึ่งนักวิจัยพบว่า ไวรัสกลายพันธุ์ B.1.1.7 มีผลทำให้เกิดการเสียชีวิตมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
โดยผลการวิจัยในตัวอย่างผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ 54,906 คน พบว่ามีคนเสียชีวิต 227 คน ขณะที่ในจำนวนเดียวกันนี้เองทิ่ติดเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมนั้น มีผู้เสียชีวิต 141 คน
ดังนั้น ลองเปรียบเทียบสัดส่วน ต่อผู้ติดเชื้อ 1,000 คน ให้เข้าใจง่ายขึ้น นั่นคือในคน 1,000 คนเสียชีวิตจากสายพันธุ์ดั้งเดิม 2.5 คน แต่เสียชีวิตจากสายพันธุ์อังกฤษเพิ่มเป็น 4.1 คน นั่นหมายความว่ามีอัตราการเสียชีวิตมากขึ้นถึง 61%
สำหรับไวรัสกลายพันธุ์ B.1.1.7 นั้น พบครั้งแรกในอังกฤษเมื่อเดือนกันยายนปี 2020 และนับตั้งแต่นั้นได้ระบาดไปในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ซึ่งในตัวมันเองพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมไปแล้วมากกว่า 23 ครั้ง ซึ่งในบางตัวนี้เองพบว่ายังสามารถแพร่เชื้อได้ง่ายมากขึ้นอีก
นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ไวรัสกลายพันธุ์ B.1.1.7 นี้ สามารถแพร่เชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมที่ระบาดอยู่ก่อนแล้ว 40-70%
เมื่อมีงานวิจัยเรื่องการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นเช่นนี้ ดร.โรเบิร์ต ชาลเลน นักวิจัย แห่งมหาวิทยาลัยเอ็กซีเตอร์ (Exeter University) ซึ่งร่วมในการวิจัยครั้งนี้ บอกว่า ภัยคุกคามของไวรัสกลายพันธุ์ควรได้รับการจัดการโดยเร็วและจริงจังมากขึ้น
ขณะที่นักวิจัยอิสระที่เคยวิจัยก่อนหนนี้ พบหลักฐานเบื้องต้นว่า การติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.1.7 นี้ทำให้มีความเสี่ยวงเสียชีวิตมากขึ้น ซึ่งผลวิจัยครั้งนี้ได้ถูกนำเสนอให้กับรัฐบาลอังกฤษรับทราบแล้วเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา พร้อมๆกับทีมวิจัยอื่น ที่มีผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มที่ปรึกษาภัยคุกคามจากไวรัสชนิดใหม่ที่มีผลต่อทางเดินหายใจ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญยังเตือนว่า ไวรัสกลายพันธุ์นี้จะยิ่งเนการเติมเชื้อไวให้ยอดติดเชื้อ และเสียชีวิตทั่วยุโรปอาจพุ่งสูงขึ้นอีกได้ จนถึงเวลานี้ยังไม่มีวัคซีนเจ้าไหนที่กล้าเคลมว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ โดยส่วนใหญ่จะระบุว่ามีประสิทธิภาพลดลงเมื่อเจอเจ้าไวรัสกลายพันธุ์ ทั้งของอังกฤษ และแอฟริกาใต้
แต่ขณะเดียวกัน เพิ่งมีงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารการแพทย์ New England ที่พบว่า วัคซีนของ Pfizer “อาจ” มีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ ทั้งของอังกฤษ, แอฟริกาใต้และบราซิล
โดยการวิจัยพบว่า วัคซีนของ Pfizer สร้างแอนติบอดี้ในร่างกายที่มีผลต่อต้านไวรัสกลายพันธุ์ เมื่อทำการทดลองในห้องแล็บ ด้วยการใช้ “ตัวอย่างเลือดจาก 15 คน” ที่ได้รับวัคซีนตัวนี้แล้ว .. ซึ่งพบว่า ระดับของ neutralizing antibody (แอนติบอดี้ที่ไปจับกับหนามของไวรัส แล้วสามารถยับยั้งไวรัสได้) นั้น มีขึ้นและต่อต้านไวรัสกลายพันธุ์ ได้ทั้งหมด
แต่ก็เป็นเพียงการทดลองในห้องแล็บจากผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะหากดูจากข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละตัวที่เคยรายงานออกมานั้น ยังไม่พบว่ามีตัวใดที่มีได้ผลดีต่อ B.1.1.7 นี้แต่อย่างใด
เช่น AstraZeneca – มีผลต่อไวรัสปกติ 53-90% ผลต่อ B.1.1.7 ลดลง 10%-
Moderna – มีผลต่อไวรัสปกติ 94% ผลต่อ B.1.1.7 พบแอนติบอดี้ลดลง 1.8-2 เท่า
Pfizer - มีผลต่อไวรัสปกติ 95% ผลต่อ B.1.1.7 พบแอนติบอดี้ลดลง 1.25-3.85 เท่า
แต่ในเวลานี้ มหาวิทยาลัย Oxford ในอังกฤษกำลังจะเริ่มต้นการทดลองทางคลินิกในระยะที่ 3 เพื่อดูประสิทธิภาพของวัคซีนต่อไวรัสกลายพันธุ์ โดยจะเริ่มในช่วงฤดูร้อนนี้ เพื่อหวังว่าจะสามารถฉีดวัคซีนที่พัฒนาแล้วได้ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้