บทความที่คนอยากเรียนหมอศิริราช ต้องอ่าน!!!!!
ตอนที่ 1 ความสมบุกสมบัน และโลกแห่งความเป็นจริงของคน (อยาก) เป็นหมอ
คนไทยมักมองอาชีพ “หมอ” ด้วยความชื่นชม
“หมอ” ได้ช่วยชีวิตคนอื่นทุกวัน ช่วยให้คนเจ็บป่วยพ้นจากความทรมาน สามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุข
“หมอ” เป็นอาชีพที่ผู้คนให้ความเคารพ ยกมือไหว้ ยกย่องให้เป็นฮีโร่ผู้เสียสละ เป็นสัญลักษณ์ของความดี
“หมอ” เป็นอาชีพที่มั่นคง แทบจะการันตีได้เลยว่าเรียนจบแล้วมีงาน มีรายได้เลี้ยงครอบครัวแน่นอน
ไม่แปลกเลยว่าทำไมเมื่อมีการสำรวจอาชีพยอดฮิตของเด็กไทย อายุ 7-14 ปี โดยกลุ่มบริษัทอเด็คโก้ (Adecco Children Survey) ที่เก็บข้อมูลนับสิบปี ตั้งแต่ปี 2553-2564 จึงพบว่า “หมอ” มักครองแชมป์อยู่เสมอ น้องๆ นักเรียนมัธยมจำนวนไม่น้อยที่เรียนเก่งและสอบได้คะแนนดี ต่างมีความฝันอยากเข้าเรียนแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นยุคไหนก็ตาม
ถ้าน้องเป็นหนึ่งในนั้น เคยถามตัวเองจริงๆ บ้างมั้ยว่า เราเลือกเพราะอะไร เพราะความใฝ่ฝันของพ่อแม่ ค่านิยมในสังคม หรือดูน่าจะเป็นอาชีพที่ดี แต่ตัวเราชอบจริงหรือเปล่า เราเหมาะสมกับอาชีพนี้หรือไม่ เหตุผลอะไรกันแน่ที่ทำให้เราอยากมาเป็นหมอ
ถ้าโลกในความจริงของการเป็นแพทย์ จะต้องพบกับการเรียนหนัก เรียนนาน อาจจะทุกข์ทรมานจนอยากลาออก ต้องทำงานกับความเครียด กดดัน ต้องเสียสละเพื่อคนอื่นที่ไม่เคยรู้จัก น้องจะยังรักที่จะเป็นหมออยู่หรือไม่
"ถ้าคิดจะเรียนหมอ เลือกศิริราชดีมั๊ย?" ทั้ง 7 ตอนนี้ จึงอยากบอกเล่าทุกเรื่องลึก เจาะทุกเรื่องลับเฉพาะสำหรับน้องๆ ที่ฝันอยากเรียนหมอ โดยพี่หมอศิริราชจะชวนน้องมาค้นหาสิ่งที่ใช่ เข้าใจในสิ่งที่เลือก และเตรียมพร้อมไปด้วยกัน
คนแบบไหนเหมาะที่จะเป็นหมอ?
เป็นคำถามที่มักจะเกิดขึ้นกับวัยของน้องๆ อยู่เสมอว่า อนาคตเราอยากเป็นอะไร เราเหมาะกับอาชีพอะไร แต่ก่อนที่น้องจะสรุปคำตอบนั้น พี่อยากชวนให้น้องสำรวจตนเองก่อนว่าตัวเราเป็นคนอย่างไร ชอบอะไรไม่ชอบอะไร ชอบชีวิตแบบไหน น้องบางคนอาจมีคำตอบในใจอยู่บ้างแล้ว สำหรับน้องที่อยากเป็นหมอ ทำไมถึงอยากเป็นหมอ แล้วเราเหมาะที่จะเป็นหมอหรือเปล่า อยากให้ลองอ่านไปเรื่อยๆ พร้อมกับทบทวนตัวเอง ทุกคนอาจฝันที่จะเป็นหมอได้ แต่อาจมีเพียงบางคนที่ก้าวสู่การเป็นแพทย์ได้ตามฝัน และมีความสุขกับอาชีพนี้
"ถ้าคิดจะเรียนหมอ เลือกศิริราชดีมั๊ย?" ในตอนแรกนี้ พี่อยากแนะนำคุณสมบัติ 3 ข้อ ที่น้องอาจจะต้องมี หากอยากเลือกเรียนแพทย์
1. มีความสามารถในการเรียน
คุณสมบัติสำคัญข้อแรกคือ “ต้องสอบให้ติด” ในการสอบคัดเลือกระบบ TCAS เมื่อปี 2563 คนที่สอบติดคณะแพทย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ จะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 62 คะแนน ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ก็ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 58 คะแนน เรียกได้ว่ามีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเหนือกว่ากลุ่มคณะอื่นอีกหลายๆ คณะ
ถ้าน้องมุ่งหวังจะเรียนแพทย์ โดยทั่วไปก็ต้องขยันไว้ก่อน หลายคนเริ่มต้นแบ่งเวลาอ่านหนังสือ หรือไปเรียนกวดวิชาหาความรู้เพิ่มเติม มุ่งมั่นเตรียมตัวตั้งแต่เข้ามัธยมปลายหรือก่อนหน้านั้น มีน้อยมากที่มาขยันเอาปีสุดท้ายแล้วประสบความสำเร็จ คือต้องเป็นคนที่เรียนรู้ได้เร็ว หรือเก่งเทพมากๆๆๆๆ
เมื่อสอบติดแล้วความสามารถในการเรียน นับว่าสำคัญอย่างมาก เพราะเนื้อหาตลอด 6 ปี ต้องอาศัยความจำ การทำความเข้าใจระบบการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกาย ไปจนถึงการนำความรู้นั้นมาใช้ในการรักษาโรค ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ยากและหนักเอาเรื่อง หากเทคนิคการเรียนของเราไม่ดีพอ อาจทำให้ผลการเรียนไม่ดี ยิ่งเรียนยิ่งทุกข์ ท้อใจ จนถึงขั้นเรียนไม่จบได้
แต่อย่าเข้าใจผิดว่าคนที่เคยเรียนเก่ง สอบเข้ามาด้วยคะแนนสูงลิ่วแล้วจะเรียนหมอได้ดีเสมอไป เพราะการเรียนแพทย์จะแตกต่างจากการเรียนในชั้นมัธยมโดยสิ้นเชิง เหมือนต้องมาเริ่มต้นใหม่ ถ้าไม่ใส่ใจทุ่มเทก็อาจล้มเหลวได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การเรียนแพทย์อาจดูเหมือนหนักหนา มีเนื้อหาวิชาการเยอะมากเหมือนกับมหาสมุทร แต่ถ้าเราเรียนเป็น มีเทคนิคการเรียนการท่องจำ เหมือนรู้ว่าจะต้องจับปลาในมหาสมุทรยังไง อะไรที่แพทย์ทุกคนต้องรู้ และอะไรที่อาจจะรู้ หรืออะไรที่น่ารู้เพื่อให้เราเป็นแพทย์ที่เก่งมากขึ้น ทั้งหมดนี้ต้องใช้ความเข้าใจ หรือตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์พยายามเน้นย้ำว่าสำคัญตามประสบการณ์ของอาจารย์ ก็น่าจะทำให้เรียนผ่านไปได้และประสบความสำเร็จในที่สุด
2. มีความอดทนทั้งร่างกายและจิตใจ
อย่างที่เรารู้ๆ กันว่าการเรียนแพทย์นั้นหนัก น้องต้องเรียนนานถึง 6 ปี นอกจากจะต้องท่องจำและทำความเข้าใจเนื้อหาวิชาแล้ว ยังต้องขึ้นวอร์ดไปศึกษาจากคนไข้จริง ฝึกปฏิบัติจนชำนาญ ทั้งหมดเพื่อปูพื้นฐานความรู้ให้แน่นที่สุด จะได้มีทักษะเพียงพอในการวินิจฉัยโรคและรักษาผู้ป่วย ชีวิตนักเรียนแพทย์จึงต้องทุ่มเท จนเวลาพักผ่อนและเวลาส่วนตัวมีน้อยกว่าเพื่อนคณะอื่น
แต่ถ้าถามว่า อยากเรียนหมอแบบสบายๆ เอาแค่พอผ่านได้หรือไม่ บอกเลยว่าได้ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน สมมติมีคนไข้คนหนึ่งมาหาหมอด้วยอาการเหนื่อย เจ็บหน้าอก ปวดหลัง ความดันตก ถ้าหมอที่มีความรู้พื้นๆ เพราะเรียนแบบชิลๆ อาจนึกออกแค่โรคหัวใจ แต่ถ้าเป็นหมอที่เก่งก็จะคิดถึงโรคอื่นๆ เผื่อไว้ด้วย เช่นโรคเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ซึ่งหากคนไข้เกิดเป็นโรคที่ 2 ขึ้นมาจริงๆ ย่อมมีโอกาสที่จะเสียชีวิตสูงมาก หรือลองคิดในมุมกลับ ถ้าน้องเป็นคนไข้บ้าง แล้วต้องเจอกับหมอที่พื้นฐานไม่แน่น ไม่เก่ง เราจะอยากฝากชีวิตกับหมอคนนั้นอยู่หรือเปล่า เพราะฉะนั้นการเป็นหมอที่ดีและเก่ง จึงต้องเรียนเยอะ เพื่อให้รู้รอบเป็นที่พึ่งพิงของผู้ป่วยได้อย่างแท้จริง
ในชีวิตการทำงานก็เข้มข้นไม่แพ้กัน แพทย์ในแต่ละสาขาวิชาอาจจะมีชีวิตการทำงานหนักเบาไม่เท่ากัน เช่น หมอศัลยศาสตร์หรือหมอผ่าตัด อาจต้องทำงานในห้องผ่าตัดติดต่อกันหลายชั่วโมง โดยไม่ได้หยุดพัก ไม่ได้นั่ง ไม่ได้กินข้าวจนกว่าจะผ่าตัดเสร็จ หมอฉุกเฉินอาจต้องเตรียมตัวรับกรณีฉุกเฉินตลอดเวลาเพราะชีวิตคนไข้นั้นรอไม่ได้ หมออายุรศาสตร์หากทำงานในโรงพยาบาลของรัฐ อาจต้องตรวจคนไข้วันละเป็นร้อยคน มานั่งรอตรวจจนแน่น นี่ยังไม่นับงานอื่นที่ต้องไปตรวจคนไข้ในหอพักผู้ป่วย หรือไอซียูอีก
นอกเหนือจากความเหนื่อยกาย อาชีพนี้ยังต้องเผชิญกับแรงกดดันอยู่เสมอ ทั้งจากคนไข้และญาติที่คาดหวังว่าหมอจะช่วยให้หายจากอาการป่วยได้สำเร็จ บางครั้งก็ต้องทำงานแข่งกับเวลา โดยทั้งหมดนี้ต้องพยายามไม่ให้เกิดความผิดพลาด บ่อยครั้งที่ต้องพบกับความเครียด น้ำตาไหลไม่ทันรู้ตัว แต่น้องอย่าเพิ่งตกใจ มีบางสาขาที่ไม่ได้หนักขนาดนั้น
ด้วยการเรียนและการทำงานที่เข้มข้น ถ้าเปรียบกับการเดินทางก็ต้องบอกว่าสมบุกสมบัน อาจทำให้หลายคนรู้สึกท้อถอย เหนื่อยล้า จนอยากยอมแพ้และเปลี่ยนเส้นทางไปสู่อาชีพอื่น แต่สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผ่านช่วงเวลาแบบนี้ไปได้ คือต้องมีคุณสมบัติเรื่องความอดทนทั้งร่างกายและจิตใจ ต้องคิดอยู่เสมอว่าสิ่งที่ทำอยู่เพื่อคนไข้และครอบครัวของเขา โดยท้ายที่สุด ความเหนื่อยล้า ความเครียดจะบรรเทาลงได้ เมื่อเราเห็นคนไข้กลับมาสุขภาพดี และกลับไปอยู่กับครอบครัวที่เขารักได้อีกครั้ง
3. เป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต
การเรียนหมอนั้นไม่มีวันจบ เพราะเชื้อโรคไม่ได้หยุดตามไปด้วย มีโรคใหม่ๆ มาท้าทายความสามารถอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ตกยุค หมอจึงต้องศึกษาอยู่ตลอด แม้ว่าเรียนจบได้ปริญญามาแล้วก็ตาม ไม่อย่างนั้นเราจะเป็นแค่หมอแผนปัจจุบันในวันที่เราจบการศึกษาเท่านั้น และที่สำคัญที่สุดก็เพื่อประโยชน์ของคนไข้ของเรานั่นเอง
นึกดูง่ายๆ ว่า การรักษาไข้หวัด เมื่อ 30 ปีที่แล้วกับวันนี้ ย่อมไม่เหมือนกัน ทั้งความซับซ้อนของเชื้อไวรัส สภาพสังคมสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ตัวยาใหม่ๆ ถ้าเรายังยึดกับความรู้เดิม โดยไม่ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม คงรักษาไม่ได้ดีเท่าที่ควร หรืออาจเลวร้ายถึงขั้นรักษาผิดจนคนไข้เสียชีวิต การผ่าตัดก็เหมือนกัน มีการพัฒนาจนปัจจุบันแผลผ่าตัดเล็กลง มีการผ่าตัดผ่านกล้อง หรือใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดกันแล้ว
ใครหลายคนจึงกล่าวว่า คนที่จะมาเรียนแพทย์อาจจะไม่ต้องเป็นคนเก่งมากๆ แต่ต้องเป็นคนที่ขยันหมั่นเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
คนเรียนหมอต้องมีฐานะดีหรือไม่
สำหรับน้องที่กังวลว่า ทางบ้านมีฐานะไม่ดีแล้วจะเรียนแพทย์ไม่ได้ ความจริงคณะแพทย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ต่างมีมาตรการช่วยเหลือ ด้วยการจัดหาทุนอุดหนุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพราะฉะนั้น น้องที่มีฐานะไม่ค่อยดี ก็ไม่ต้องกังวล และไม่ต้องเขินอายที่จะทำเรื่องขอรับทุน ขอให้น้องอุ่นใจได้เลยว่า เงินไม่ใช่ข้อจำกัดของการเรียนแพทย์ ขอเพียงมุ่งมั่นเรียนให้จบ และนำความรู้กลับไปพัฒนาชุมชน ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ให้สมกับความตั้งใจของผู้ให้ทุนเท่านั้นก็พอแล้ว
ถึงตรงนี้... ถ้าน้องอ่านคุณสมบัติเบื้องต้นที่อาจจะต้องมีในการเป็นแพทย์ แล้วพบว่าตนเองมีคุณสมบัติเหล่านี้อยู่ก็นับว่าดี แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ผิด เพราะเมื่อเข้ามาเรียนหมอ น้องจะได้รับการบ่มเพาะจนอาจเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นเองในตัว
อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของโลกอันสมบุกสมบันของหมอที่พี่เล่าในตอนนี้ยังเป็นแค่เบื้องต้น อยากให้ลองอ่านไปเรื่อยๆ เพราะอาจมีหลายเรื่องที่น้องยังไม่ทราบมาก่อน
ถ้าคิดจะเรียนหมอ เลือกศิริราชดีมั๊ย?
ตอนที่ 1 ความสมบุกสมบัน และโลกแห่งความเป็นจริงของคน (อยาก) เป็นหมอ
คนไทยมักมองอาชีพ “หมอ” ด้วยความชื่นชม
“หมอ” ได้ช่วยชีวิตคนอื่นทุกวัน ช่วยให้คนเจ็บป่วยพ้นจากความทรมาน สามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุข
“หมอ” เป็นอาชีพที่ผู้คนให้ความเคารพ ยกมือไหว้ ยกย่องให้เป็นฮีโร่ผู้เสียสละ เป็นสัญลักษณ์ของความดี
“หมอ” เป็นอาชีพที่มั่นคง แทบจะการันตีได้เลยว่าเรียนจบแล้วมีงาน มีรายได้เลี้ยงครอบครัวแน่นอน
ไม่แปลกเลยว่าทำไมเมื่อมีการสำรวจอาชีพยอดฮิตของเด็กไทย อายุ 7-14 ปี โดยกลุ่มบริษัทอเด็คโก้ (Adecco Children Survey) ที่เก็บข้อมูลนับสิบปี ตั้งแต่ปี 2553-2564 จึงพบว่า “หมอ” มักครองแชมป์อยู่เสมอ น้องๆ นักเรียนมัธยมจำนวนไม่น้อยที่เรียนเก่งและสอบได้คะแนนดี ต่างมีความฝันอยากเข้าเรียนแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นยุคไหนก็ตาม
ถ้าน้องเป็นหนึ่งในนั้น เคยถามตัวเองจริงๆ บ้างมั้ยว่า เราเลือกเพราะอะไร เพราะความใฝ่ฝันของพ่อแม่ ค่านิยมในสังคม หรือดูน่าจะเป็นอาชีพที่ดี แต่ตัวเราชอบจริงหรือเปล่า เราเหมาะสมกับอาชีพนี้หรือไม่ เหตุผลอะไรกันแน่ที่ทำให้เราอยากมาเป็นหมอ
ถ้าโลกในความจริงของการเป็นแพทย์ จะต้องพบกับการเรียนหนัก เรียนนาน อาจจะทุกข์ทรมานจนอยากลาออก ต้องทำงานกับความเครียด กดดัน ต้องเสียสละเพื่อคนอื่นที่ไม่เคยรู้จัก น้องจะยังรักที่จะเป็นหมออยู่หรือไม่
"ถ้าคิดจะเรียนหมอ เลือกศิริราชดีมั๊ย?" ทั้ง 7 ตอนนี้ จึงอยากบอกเล่าทุกเรื่องลึก เจาะทุกเรื่องลับเฉพาะสำหรับน้องๆ ที่ฝันอยากเรียนหมอ โดยพี่หมอศิริราชจะชวนน้องมาค้นหาสิ่งที่ใช่ เข้าใจในสิ่งที่เลือก และเตรียมพร้อมไปด้วยกัน
เป็นคำถามที่มักจะเกิดขึ้นกับวัยของน้องๆ อยู่เสมอว่า อนาคตเราอยากเป็นอะไร เราเหมาะกับอาชีพอะไร แต่ก่อนที่น้องจะสรุปคำตอบนั้น พี่อยากชวนให้น้องสำรวจตนเองก่อนว่าตัวเราเป็นคนอย่างไร ชอบอะไรไม่ชอบอะไร ชอบชีวิตแบบไหน น้องบางคนอาจมีคำตอบในใจอยู่บ้างแล้ว สำหรับน้องที่อยากเป็นหมอ ทำไมถึงอยากเป็นหมอ แล้วเราเหมาะที่จะเป็นหมอหรือเปล่า อยากให้ลองอ่านไปเรื่อยๆ พร้อมกับทบทวนตัวเอง ทุกคนอาจฝันที่จะเป็นหมอได้ แต่อาจมีเพียงบางคนที่ก้าวสู่การเป็นแพทย์ได้ตามฝัน และมีความสุขกับอาชีพนี้
"ถ้าคิดจะเรียนหมอ เลือกศิริราชดีมั๊ย?" ในตอนแรกนี้ พี่อยากแนะนำคุณสมบัติ 3 ข้อ ที่น้องอาจจะต้องมี หากอยากเลือกเรียนแพทย์
1. มีความสามารถในการเรียน
คุณสมบัติสำคัญข้อแรกคือ “ต้องสอบให้ติด” ในการสอบคัดเลือกระบบ TCAS เมื่อปี 2563 คนที่สอบติดคณะแพทย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ จะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 62 คะแนน ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ก็ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 58 คะแนน เรียกได้ว่ามีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเหนือกว่ากลุ่มคณะอื่นอีกหลายๆ คณะ
ถ้าน้องมุ่งหวังจะเรียนแพทย์ โดยทั่วไปก็ต้องขยันไว้ก่อน หลายคนเริ่มต้นแบ่งเวลาอ่านหนังสือ หรือไปเรียนกวดวิชาหาความรู้เพิ่มเติม มุ่งมั่นเตรียมตัวตั้งแต่เข้ามัธยมปลายหรือก่อนหน้านั้น มีน้อยมากที่มาขยันเอาปีสุดท้ายแล้วประสบความสำเร็จ คือต้องเป็นคนที่เรียนรู้ได้เร็ว หรือเก่งเทพมากๆๆๆๆ
เมื่อสอบติดแล้วความสามารถในการเรียน นับว่าสำคัญอย่างมาก เพราะเนื้อหาตลอด 6 ปี ต้องอาศัยความจำ การทำความเข้าใจระบบการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกาย ไปจนถึงการนำความรู้นั้นมาใช้ในการรักษาโรค ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ยากและหนักเอาเรื่อง หากเทคนิคการเรียนของเราไม่ดีพอ อาจทำให้ผลการเรียนไม่ดี ยิ่งเรียนยิ่งทุกข์ ท้อใจ จนถึงขั้นเรียนไม่จบได้
แต่อย่าเข้าใจผิดว่าคนที่เคยเรียนเก่ง สอบเข้ามาด้วยคะแนนสูงลิ่วแล้วจะเรียนหมอได้ดีเสมอไป เพราะการเรียนแพทย์จะแตกต่างจากการเรียนในชั้นมัธยมโดยสิ้นเชิง เหมือนต้องมาเริ่มต้นใหม่ ถ้าไม่ใส่ใจทุ่มเทก็อาจล้มเหลวได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การเรียนแพทย์อาจดูเหมือนหนักหนา มีเนื้อหาวิชาการเยอะมากเหมือนกับมหาสมุทร แต่ถ้าเราเรียนเป็น มีเทคนิคการเรียนการท่องจำ เหมือนรู้ว่าจะต้องจับปลาในมหาสมุทรยังไง อะไรที่แพทย์ทุกคนต้องรู้ และอะไรที่อาจจะรู้ หรืออะไรที่น่ารู้เพื่อให้เราเป็นแพทย์ที่เก่งมากขึ้น ทั้งหมดนี้ต้องใช้ความเข้าใจ หรือตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์พยายามเน้นย้ำว่าสำคัญตามประสบการณ์ของอาจารย์ ก็น่าจะทำให้เรียนผ่านไปได้และประสบความสำเร็จในที่สุด
2. มีความอดทนทั้งร่างกายและจิตใจ
อย่างที่เรารู้ๆ กันว่าการเรียนแพทย์นั้นหนัก น้องต้องเรียนนานถึง 6 ปี นอกจากจะต้องท่องจำและทำความเข้าใจเนื้อหาวิชาแล้ว ยังต้องขึ้นวอร์ดไปศึกษาจากคนไข้จริง ฝึกปฏิบัติจนชำนาญ ทั้งหมดเพื่อปูพื้นฐานความรู้ให้แน่นที่สุด จะได้มีทักษะเพียงพอในการวินิจฉัยโรคและรักษาผู้ป่วย ชีวิตนักเรียนแพทย์จึงต้องทุ่มเท จนเวลาพักผ่อนและเวลาส่วนตัวมีน้อยกว่าเพื่อนคณะอื่น
แต่ถ้าถามว่า อยากเรียนหมอแบบสบายๆ เอาแค่พอผ่านได้หรือไม่ บอกเลยว่าได้ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน สมมติมีคนไข้คนหนึ่งมาหาหมอด้วยอาการเหนื่อย เจ็บหน้าอก ปวดหลัง ความดันตก ถ้าหมอที่มีความรู้พื้นๆ เพราะเรียนแบบชิลๆ อาจนึกออกแค่โรคหัวใจ แต่ถ้าเป็นหมอที่เก่งก็จะคิดถึงโรคอื่นๆ เผื่อไว้ด้วย เช่นโรคเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ซึ่งหากคนไข้เกิดเป็นโรคที่ 2 ขึ้นมาจริงๆ ย่อมมีโอกาสที่จะเสียชีวิตสูงมาก หรือลองคิดในมุมกลับ ถ้าน้องเป็นคนไข้บ้าง แล้วต้องเจอกับหมอที่พื้นฐานไม่แน่น ไม่เก่ง เราจะอยากฝากชีวิตกับหมอคนนั้นอยู่หรือเปล่า เพราะฉะนั้นการเป็นหมอที่ดีและเก่ง จึงต้องเรียนเยอะ เพื่อให้รู้รอบเป็นที่พึ่งพิงของผู้ป่วยได้อย่างแท้จริง
ในชีวิตการทำงานก็เข้มข้นไม่แพ้กัน แพทย์ในแต่ละสาขาวิชาอาจจะมีชีวิตการทำงานหนักเบาไม่เท่ากัน เช่น หมอศัลยศาสตร์หรือหมอผ่าตัด อาจต้องทำงานในห้องผ่าตัดติดต่อกันหลายชั่วโมง โดยไม่ได้หยุดพัก ไม่ได้นั่ง ไม่ได้กินข้าวจนกว่าจะผ่าตัดเสร็จ หมอฉุกเฉินอาจต้องเตรียมตัวรับกรณีฉุกเฉินตลอดเวลาเพราะชีวิตคนไข้นั้นรอไม่ได้ หมออายุรศาสตร์หากทำงานในโรงพยาบาลของรัฐ อาจต้องตรวจคนไข้วันละเป็นร้อยคน มานั่งรอตรวจจนแน่น นี่ยังไม่นับงานอื่นที่ต้องไปตรวจคนไข้ในหอพักผู้ป่วย หรือไอซียูอีก
นอกเหนือจากความเหนื่อยกาย อาชีพนี้ยังต้องเผชิญกับแรงกดดันอยู่เสมอ ทั้งจากคนไข้และญาติที่คาดหวังว่าหมอจะช่วยให้หายจากอาการป่วยได้สำเร็จ บางครั้งก็ต้องทำงานแข่งกับเวลา โดยทั้งหมดนี้ต้องพยายามไม่ให้เกิดความผิดพลาด บ่อยครั้งที่ต้องพบกับความเครียด น้ำตาไหลไม่ทันรู้ตัว แต่น้องอย่าเพิ่งตกใจ มีบางสาขาที่ไม่ได้หนักขนาดนั้น
ด้วยการเรียนและการทำงานที่เข้มข้น ถ้าเปรียบกับการเดินทางก็ต้องบอกว่าสมบุกสมบัน อาจทำให้หลายคนรู้สึกท้อถอย เหนื่อยล้า จนอยากยอมแพ้และเปลี่ยนเส้นทางไปสู่อาชีพอื่น แต่สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผ่านช่วงเวลาแบบนี้ไปได้ คือต้องมีคุณสมบัติเรื่องความอดทนทั้งร่างกายและจิตใจ ต้องคิดอยู่เสมอว่าสิ่งที่ทำอยู่เพื่อคนไข้และครอบครัวของเขา โดยท้ายที่สุด ความเหนื่อยล้า ความเครียดจะบรรเทาลงได้ เมื่อเราเห็นคนไข้กลับมาสุขภาพดี และกลับไปอยู่กับครอบครัวที่เขารักได้อีกครั้ง
3. เป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต
การเรียนหมอนั้นไม่มีวันจบ เพราะเชื้อโรคไม่ได้หยุดตามไปด้วย มีโรคใหม่ๆ มาท้าทายความสามารถอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ตกยุค หมอจึงต้องศึกษาอยู่ตลอด แม้ว่าเรียนจบได้ปริญญามาแล้วก็ตาม ไม่อย่างนั้นเราจะเป็นแค่หมอแผนปัจจุบันในวันที่เราจบการศึกษาเท่านั้น และที่สำคัญที่สุดก็เพื่อประโยชน์ของคนไข้ของเรานั่นเอง
นึกดูง่ายๆ ว่า การรักษาไข้หวัด เมื่อ 30 ปีที่แล้วกับวันนี้ ย่อมไม่เหมือนกัน ทั้งความซับซ้อนของเชื้อไวรัส สภาพสังคมสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ตัวยาใหม่ๆ ถ้าเรายังยึดกับความรู้เดิม โดยไม่ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม คงรักษาไม่ได้ดีเท่าที่ควร หรืออาจเลวร้ายถึงขั้นรักษาผิดจนคนไข้เสียชีวิต การผ่าตัดก็เหมือนกัน มีการพัฒนาจนปัจจุบันแผลผ่าตัดเล็กลง มีการผ่าตัดผ่านกล้อง หรือใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดกันแล้ว
ใครหลายคนจึงกล่าวว่า คนที่จะมาเรียนแพทย์อาจจะไม่ต้องเป็นคนเก่งมากๆ แต่ต้องเป็นคนที่ขยันหมั่นเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
คนเรียนหมอต้องมีฐานะดีหรือไม่
สำหรับน้องที่กังวลว่า ทางบ้านมีฐานะไม่ดีแล้วจะเรียนแพทย์ไม่ได้ ความจริงคณะแพทย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ต่างมีมาตรการช่วยเหลือ ด้วยการจัดหาทุนอุดหนุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพราะฉะนั้น น้องที่มีฐานะไม่ค่อยดี ก็ไม่ต้องกังวล และไม่ต้องเขินอายที่จะทำเรื่องขอรับทุน ขอให้น้องอุ่นใจได้เลยว่า เงินไม่ใช่ข้อจำกัดของการเรียนแพทย์ ขอเพียงมุ่งมั่นเรียนให้จบ และนำความรู้กลับไปพัฒนาชุมชน ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ให้สมกับความตั้งใจของผู้ให้ทุนเท่านั้นก็พอแล้ว
ถึงตรงนี้... ถ้าน้องอ่านคุณสมบัติเบื้องต้นที่อาจจะต้องมีในการเป็นแพทย์ แล้วพบว่าตนเองมีคุณสมบัติเหล่านี้อยู่ก็นับว่าดี แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ผิด เพราะเมื่อเข้ามาเรียนหมอ น้องจะได้รับการบ่มเพาะจนอาจเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นเองในตัว
อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของโลกอันสมบุกสมบันของหมอที่พี่เล่าในตอนนี้ยังเป็นแค่เบื้องต้น อยากให้ลองอ่านไปเรื่อยๆ เพราะอาจมีหลายเรื่องที่น้องยังไม่ทราบมาก่อน