วิกฤตเมียนมาป่วนทุนไทย ระบบแบงก์เดี้ยง-มาม่าปิดโรงงาน
https://www.prachachat.net/marketing/news-627113
Photo by STR / AFP
เมียนมาวิกฤต การเมืองลามทุบเศรษฐกิจเดี้ยง ห้าง ร้านค้า สถาบันการเงินกระทบหนักแห่หยุดทำการ ธุรกิจแสนล้านชะงัก ธุรกรรมมีปัญหา การโอนเงินถูกตัดขาด โลจิสติกส์ การขนส่งสินค้าทั้งระบบล่าช้า สหพัฒน์หยุดไลน์ผลิตโรงงานมาม่าในย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ คาราบาว กรุ๊ป ชี้ยอดหด 30% สั่งชะลอแผนบุก แบงก์กรุงเทพ-SCB งัดแผนฉุกเฉินสู้ ด้านทูตพาณิชย์แนะทุนไทยเตรียมรับมือมาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก
สถานการณ์ทางการเมืองในเมียนมาหลังรัฐประหารเข้าใกล้วิกฤตมากขึ้น เพราะแม้กองทัพจะใช้มาตรการขั้นเฉียบขาดกวาดล้างจับกุมประชาชนที่ร่วมชุมนุมในหลายเมือง แต่การต่อต้านกองทัพกับทางการเมียนมาขยายวงกว้างมากขึ้น ทั้งยังเกิดเหตุการณ์รุนแรงมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก
ขณะที่ผู้ประกอบธุรกิจทั้งชาวเมียนมา ชาวต่างชาติต่างได้รับผลกระทบ ร้านค้า ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงแรม สถาบันการเงิน ฯลฯ พากันทยอยปิดสถานประกอบการไม่มีกำหนด เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน การเดินทางสัญจร การขนส่งสินค้าเริ่มมีปัญหา กระทบต่อเนื่องถึงภาคเศรษฐกิจโดยรวมของเมียนมา
ในส่วนของธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนในเมียนมา แม้ก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่ขอรอดูสถานการณ์ แต่หลังสถานการณ์บานปลายไม่มีแนวโน้มว่าจะยุติ ทำให้หลายรายได้รับผลกระทบจากยอดขาย รายได้ที่ลดลงอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ที่กำลังเป็นปัญหาและกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างหนักคือ การทำธุรกรรมทางการเงินที่สะดุดหยุดลง เนื่องจากสถาบันการเงิน หน่วยงานราชการจำนวนมากหยุดทำการ
“สหพัฒน์” หยุดไลน์ผลิตมาม่า
นาย
เวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค เปิดเผย “
ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้กลุ่มธุรกิจของสหพัฒน์ในเมียนมามีความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองอย่างมากจากเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่
โดยเฉพาะในส่วนของโรงงานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่าแห่งที่ 1 ในกรุงย่างกุ้ง ล่าสุด ไลน์การผลิตได้รับผลกระทบไม่สามารถเดินเครื่องผลิตต่อได้ เนื่องจากพนักงานไม่มาทำงาน
ทั้งนี้ จากที่ได้มีการพูดคุยกับคู่ค้า รวมทั้งชาวเมียนมาเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ พบว่าคนเมียนมาส่วนใหญ่มีความกังวลเรื่องประชาธิปไตย ทำให้การจับจ่ายสินค้าลดลง ยอดขายก็ลดลงตามไปด้วย
ธุรกรรมการเงินเดี้ยงทั้งระบบ
ขณะเดียวกัน จากที่ช่วงก่อนหน้านี้กลุ่มสหพัฒน์ได้ทยอยเข้าไปลงทุนตั้งฐานผลิตและโรงงานต่าง ๆ ในเมียนมา ส่วนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ โรงงานมาม่าแห่งที่ 2 ที่มัณฑะเลย์ ซึ่งขยายลงทุนตั้งแต่ปี 2562 และตามแผนจะเดินสายผลิตในปีนี้ ต้องหยุดไว้ก่อน
ส่วนด้านกลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ส่งออกจากไทยไปขายในเมียนมา เรื่องการขนส่งสินค้าข้ามชายแดนมีปัญหาเรื่องความล่าช้า จึงต้องชะลอไว้ก่อน เพราะสินค้าส่วนหนึ่งจำเป็นต้องรักษาคุณภาพให้สดใหม่ และอีกด้านที่เป็นกังวลอย่างมากคือ ธนาคารปิดให้บริการ ส่งผลต่อระบบการเงิน เริ่มมีปัญหา ตั้งแต่สถานการณ์รุนแรงขึ้น ทุกอย่างเดินหน้าต่อไม่ได้เลย แม้แต่รายได้ก็แทบเป็นศูนย์ จึงต้องรอให้สถานการณ์คลี่คลายขึ้น
คาราบาวยอดหด-ขนส่งมีปัญหา
นาย
เสถียร เศรษฐสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คาราบาว กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CBG ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังแบรนด์คาราบาว เปิดเผยว่า สถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมากระทบการส่งออกสินค้าทั้งระบบ สินค้าของบริษัทก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ตั้งแต่ช่วงที่มีการชุมนุมพบว่ายอดขายในเมียนมาลดลง 30%
ขณะที่การทำธุรกรรมทางการเงินไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติ จากที่ธนาคาร และหน่วยงานราชการประกาศหยุดทำการ ช่วงที่เกิดการประท้วงใหญ่ ทำให้บริษัทโอนเงินไม่ได้เลย ทั้งในส่วนของการจัดส่งและซื้อสินค้า
นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องของการขนส่งสินค้าที่ล่าช้ามากขึ้น ทำให้แผนงานหลายอย่างไม่เป็นไปตามเป้าที่กำหนดไว้ บางแผนงานก็ต้องชะลอไว้ก่อน
เบรกแผนลงทุนหวั่นยืดเยื้อ
“
นักธุรกิจที่เข้าไปทำตลาดในเมียนมาช่วงนี้ต่างเจอปัญหาจากสถานการณ์ความไม่สงบ ต้องรอพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องภายในหลายประเด็น ในส่วนของบริษัทขณะนี้ได้ชะลอแผนงานในเมียนมาไว้ก่อน ขอประเมินสถานการณ์อีกครั้ง เพราะหลังยึดอำนาจแรก ๆ ประชาชนและผู้ลงทุนรอดูสถานการณ์ แต่หลังประชาชนลุกฮือขึ้นมาประท้วงยังประเมินไม่ได้ว่าเหตุการณ์จะจบลงเมื่อไร”
ส่วนจะส่งผลต่อภาพรวมที่กลุ่มทุนต่างชาติจะเข้าไปลงทุนหรือไม่นั้น คงต้องรอดูว่าสถานการณ์จะจบอย่างไรและตรงไหน สุดท้ายแล้วความขัดแย้งหากจบลงที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะ ก็ย่อมส่งผลต่อนโยบายต่าง ๆ ในอนาคต
การผลิต-การค้าชะลอ
ด้าน นาย
กริช อึ้งวิฑูรสถิตย์ ประธานสภาธุรกิจไทย-เมียนมา เปิดเผยว่า สถานการณ์ทางการเมืองในเมียนมากระทบการประกอบธุรกิจเป็นอย่างมาก ขณะนี้หลายธุรกิจเริ่มชะงัก ร้านค้า ห้างสรรพสินค้าหลายแห่งปิดทำการ การขนส่ง โลจิสติกส์ก็มีปัญหา ภาคการผลิตและการค้าเริ่มชะลอตัว
หากสถานการณ์ยืดเยื้อ 6 เดือนขึ้นไป ธุรกิจในเมียนมาอาจปิดกิจการมากขึ้น โดยเฉพาะในเมืองใหญ่หรือเมืองธุรกิจ จะทำให้มีคนตกงานมากขึ้น กระทบต่อรายได้และกำลังซื้อของประชาชน
ส่วนผลกระทบระยะยาว หากสถานการณ์ยังไม่ได้รับการแก้ไขจะมีผลต่อความเชื่อมั่นจากนักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้าไปลงทุนในเมียนมา สะท้อนให้เห็นว่าเม็ดเงินที่จะเข้าไปลงทุนในเมียนมาจะลดลง การผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าจะลดลง การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างชาติจะหายไป
ทุนไทยรอเหตุการณ์สงบ
“
ผู้ประกอบการไทย หรือคนไทยในเมียนมา ขณะนี้ทางสถานทูตไทยประจำเมียนมาได้ช่วยเหลือให้นักธุรกิจที่ตกค้างแจ้งความจำนงเดินทางกลับไทย ในวันที่ 12 และ 16 มี.ค.นี้ เชื่อว่าจะมีผู้ที่ต้องการเดินทางกลับไทยจำนวนหนึ่ง แต่ยังคงเหลืออีกบางส่วน สำหรับการย้ายฐานธุรกิจหรือโรงงานของนักลงทุนไทยออกจากเมียนมาแบบถาวรเท่าที่ทราบยังไม่มี”
สำหรับการค้าระหว่างไทย-เมียนมา มูลค่าประมาณ 1 แสนกว่าล้านบาท ส่วนใหญ่จะเป็นมูลค่าการค้าจากชายแดน ซึ่งปัจจุบันยังสามารถส่งสินค้าเข้าไปได้ตามปกติ เพียงแต่ตลาดภายในของเมียนมาหยุดดำเนินการ ทำให้การส่งออกและนำเข้าสินค้าลดลง
“
หากความไม่สงบยุติลงอย่างสันติวิธี เชื่อว่าการค้าจะกระเตื้องขึ้นเร็ว เพราะเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้การค้าถูกอั้นไว้ ถ้าปลายทางเปิดจะทำให้กำลังซื้อที่ถูกอั้นเปิด ค้าขายได้มากขึ้น ความต้องการสินค้า การบริโภคจะกลับมา”
กรุงเทพ-SCB งัดแผน BCP
นาย
ไชยฤทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ รองผู้จัดการใหญ่ กิจการธนาคารต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า ธนาคารติดตามสถานการณ์ในเมียนมาอย่างใกล้ชิด ระหว่างนี้การบริหารจัดการและการทำธุรกรรมของสาขาธนาคารมีอุปสรรคค่อนข้างเยอะ แต่จะให้ความสำคัญ 2 เรื่อง
1. ความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน โดยการเปิดสาขาจะใช้รูปแบบทำงานอยู่ที่บ้าน (work from home) ลดความเสี่ยงพนักงานในการเดินทาง ให้พนักงานมาทำงานที่สาขาน้อยที่สุด และการเปิดสาขาจะไม่เปิดตามปกติทั่วไป โดยให้ลูกค้าใช้บริการแบบจำกัดและนัดหมายล่วงหน้า
อย่างไรก็ดี เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าธุรกิจ ปริมาณการทำธุรกรรมจึงไม่สูงมาก นอกจากนี้ด้านทรัพย์สินก็มีมาตรการดูแลป้องกันด้วย
หากสถานการณ์มีความรุนแรงจนทำให้สาขาย่างกุ้งไม่สามารถดำเนินการได้ มีแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) โดยเตรียมพื้นที่สำรอง 2 แห่ง นอกเหนือจากสาขาไว้รองรับการบริการ แต่เป็นการบริการที่จำกัด โดยให้พนักงานทำงานที่บ้านและสแตนด์บายไว้
2. ในเชิงธุรกิจ หากดูฐานลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งระหว่างนี้ปริมาณธุรกรรมจะลดลง จะระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ และการติดตามความสามารถในการชำระหนี้ลูกค้าใกล้ชิด ซึ่งจากการประเมินพบว่าลูกค้าส่วนใหญ่ทำธุรกิจหลายด้าน และสายป่านค่อนข้างยาว โดยภาพรวมยังไม่มีผลกระทบต่อพอร์ตสินเชื่อ อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์รุนแรงขึ้นจะมีมาตรการดูแลเพิ่มเติม
นาย
สารัชต์ รัตนาภรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยในทำนองเดียวกันว่า ได้ดำเนินการตามแผนการดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง (BCP) ดูแลพนักงานให้มีความปลอดภัย โดยส่วนใหญ่ให้ทำงานที่บ้าน ส่วนในเชิงธุรกิจเนื่องจากสาขาเพิ่งเริ่มดำเนินการต้นปี 2564 ปริมาณธุรกรรมธุรกิจและจำนวนฐานลูกค้ายังไม่มาก จึงไม่ได้รับผลกระทบ แต่จะติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด
แบงก์ปิดกระทบธุรกิจ
นาย
ภาสกร หงษ์หยก ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เมียนมา อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ ลิมิเต็ด (MIH) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในเมียนมา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ผ่านสายไฟเบอร์ออปติกในเมืองย่างกุ้งของบริษัทยังคงดำเนินการได้ และมีการใช้งานเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่สถานการณ์โควิด-19 ในปีที่ผ่านมา ที่ภาครัฐมีมาตรการเคอร์ฟิว เพื่อลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ทำให้บริษัทต่าง ๆ มีนโยบายทำงานที่บ้านหรือเวิร์กฟรอมโฮม เช่นกันกับการเรียนก็มีเรียนที่บ้านเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นด้วย
ขณะที่ในแง่การทำงาน มีการแบ่งทีมทำงานที่บ้านอยู่แล้ว จึงยังดำเนินธุรกิจได้ แต่มีผลกระทบในส่วนของการซ่อมบำรุง กรณีที่บริการมีปัญหา ทั้งจากการเดินทางเข้าพื้นที่ไม่ได้ เพราะห่วงเรื่องความปลอดภัย รวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ เนื่องจากธนาคารส่วนใหญ่ปิดดำเนินการมากว่า 1 เดือนแล้ว เนื่องจากพนักงานประท้วงหยุดงานทำให้บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องตุนกระแสเงินสดของตนเองเพื่อไว้ใช้จ่าย
“
การใช้อินเทอร์เน็ตสูงขึ้น เพราะคนติดตามข่าวสาร เนื่องจากสื่อสิ่งพิมพ์ปิดไปก่อนตั้งแต่มีโควิด ส่วนสื่อทีวี ภาครัฐก็เพิ่งประกาศยกเลิกใบอนุญาตสถานีโทรทัศน์หลายแห่ง ในแง่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เปรียบเสมือนบริการน้ำและไฟที่หยุดไม่ได้ แต่ภาครัฐก็เข้ามาควบคุม โดยในช่วงที่มีการยึดอำนาจใหม่ ๆ ให้ปิดบริการในช่วงตีหนึ่ง-9 โมงเช้า และปัจจุบันขยับมาเป็นปิดตี 1-06.30 น. เราก็ปฏิบัติตามคำสั่ง ที่น่าห่วงเรื่องกระแสเงินสด ทำยังไงจะมีเงินสดให้อยู่ให้นานที่สุด ทั้งเราเองก็ไม่รู้ว่าสถานการณ์จะคลี่คลายได้เมื่อไร”
ทูตพาณิชย์แนะเตรียมรับมือ
ขณะที่สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา (ทูตพาณิชย์เมียนมา) ออกประกาศเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2564 แนะนำภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการไทยว่า จากแนวโน้มที่เมียนมาอาจมีโอกาสถูกคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกและชาติพันธมิตร ภาคธุรกิจไทยจำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับมือ และประเมินสถานการณ์ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และจากที่นานาชาติมีแนวโน้มออกมาตรการกดดันต่าง ๆ เพิ่มขึ้น อาจกระทบภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนในเมียนมาในอนาคต
ชาติตะวันตกคว่ำบาตร
สำหรับความเคลื่อนไหวของนานาชาติ รอยเตอร์สรายงานว่า สถานการณ์ประเทศเมียนมาที่ยังคงรุนแรงหลังการรัฐประหารเมื่อ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา จากการชุมนุมต่อต้านและถึงขณะนี้มีผู้เสียชีวิตเกิน 60 ราย ผู้ถูกจับกุมอีกเกือบ 1,800 ราย ทั้งนี้ วันที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมา สหภาพแรงงานในเมียนมา 9 แห่ง ได้เรียกร้องให้สมาชิกยกเลิกกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยสิ้นเชิง
ขณะที่สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร (ยูเค), สหภาพยุโรป (อียู), แคนาดา และนิวซีแลนด์ ออกมาตรการคว่ำบาตรผู้นำระดับสูงในกองทัพเมียนมา อาทิ การแบนการเดินทางเข้าประเทศ, อายัดสินทรัพย์, ยกเลิกโครงการช่วยเหลือกิจการทหารเมียนมา เป็นต้น
โดยอียูกำลังประชุมหารือเพื่อวางมาตรการเพิ่ม โดยอาจสั่งห้ามนักลงทุนและสถาบันการเงินอียูไม่ให้ทำธุรกิจกับบริษัท “
เมียนมา อีโคโนมิก โฮลดิงส์ ลิมิเต็ด” (MEHL) และ “
เมียนมา อีโคโนมิก คอร์ปอเรชั่น” (MEC) 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ของผู้บัญชาการทหารเมียนมาที่ทำการค้าทั่วโลก
JJNY : วิกฤตเมียนมาป่วนทุนไทย│เฌอเอมโพสต์ IGหนุนเสรีภาพ│วันนี้ศาลรธน.ชี้ขาดอำนาจสภาตั้งส.ส.ร.│ส.ส.ก้าวไกลจี้ตู่คดี“บอส”
https://www.prachachat.net/marketing/news-627113
Photo by STR / AFP
สถานการณ์ทางการเมืองในเมียนมาหลังรัฐประหารเข้าใกล้วิกฤตมากขึ้น เพราะแม้กองทัพจะใช้มาตรการขั้นเฉียบขาดกวาดล้างจับกุมประชาชนที่ร่วมชุมนุมในหลายเมือง แต่การต่อต้านกองทัพกับทางการเมียนมาขยายวงกว้างมากขึ้น ทั้งยังเกิดเหตุการณ์รุนแรงมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก
ขณะที่ผู้ประกอบธุรกิจทั้งชาวเมียนมา ชาวต่างชาติต่างได้รับผลกระทบ ร้านค้า ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงแรม สถาบันการเงิน ฯลฯ พากันทยอยปิดสถานประกอบการไม่มีกำหนด เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน การเดินทางสัญจร การขนส่งสินค้าเริ่มมีปัญหา กระทบต่อเนื่องถึงภาคเศรษฐกิจโดยรวมของเมียนมา
ในส่วนของธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนในเมียนมา แม้ก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่ขอรอดูสถานการณ์ แต่หลังสถานการณ์บานปลายไม่มีแนวโน้มว่าจะยุติ ทำให้หลายรายได้รับผลกระทบจากยอดขาย รายได้ที่ลดลงอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ที่กำลังเป็นปัญหาและกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างหนักคือ การทำธุรกรรมทางการเงินที่สะดุดหยุดลง เนื่องจากสถาบันการเงิน หน่วยงานราชการจำนวนมากหยุดทำการ
“สหพัฒน์” หยุดไลน์ผลิตมาม่า
นายเวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้กลุ่มธุรกิจของสหพัฒน์ในเมียนมามีความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองอย่างมากจากเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่
โดยเฉพาะในส่วนของโรงงานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่าแห่งที่ 1 ในกรุงย่างกุ้ง ล่าสุด ไลน์การผลิตได้รับผลกระทบไม่สามารถเดินเครื่องผลิตต่อได้ เนื่องจากพนักงานไม่มาทำงาน
ทั้งนี้ จากที่ได้มีการพูดคุยกับคู่ค้า รวมทั้งชาวเมียนมาเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ พบว่าคนเมียนมาส่วนใหญ่มีความกังวลเรื่องประชาธิปไตย ทำให้การจับจ่ายสินค้าลดลง ยอดขายก็ลดลงตามไปด้วย
ธุรกรรมการเงินเดี้ยงทั้งระบบ
ขณะเดียวกัน จากที่ช่วงก่อนหน้านี้กลุ่มสหพัฒน์ได้ทยอยเข้าไปลงทุนตั้งฐานผลิตและโรงงานต่าง ๆ ในเมียนมา ส่วนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ โรงงานมาม่าแห่งที่ 2 ที่มัณฑะเลย์ ซึ่งขยายลงทุนตั้งแต่ปี 2562 และตามแผนจะเดินสายผลิตในปีนี้ ต้องหยุดไว้ก่อน
ส่วนด้านกลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ส่งออกจากไทยไปขายในเมียนมา เรื่องการขนส่งสินค้าข้ามชายแดนมีปัญหาเรื่องความล่าช้า จึงต้องชะลอไว้ก่อน เพราะสินค้าส่วนหนึ่งจำเป็นต้องรักษาคุณภาพให้สดใหม่ และอีกด้านที่เป็นกังวลอย่างมากคือ ธนาคารปิดให้บริการ ส่งผลต่อระบบการเงิน เริ่มมีปัญหา ตั้งแต่สถานการณ์รุนแรงขึ้น ทุกอย่างเดินหน้าต่อไม่ได้เลย แม้แต่รายได้ก็แทบเป็นศูนย์ จึงต้องรอให้สถานการณ์คลี่คลายขึ้น
คาราบาวยอดหด-ขนส่งมีปัญหา
นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คาราบาว กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CBG ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังแบรนด์คาราบาว เปิดเผยว่า สถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมากระทบการส่งออกสินค้าทั้งระบบ สินค้าของบริษัทก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ตั้งแต่ช่วงที่มีการชุมนุมพบว่ายอดขายในเมียนมาลดลง 30%
ขณะที่การทำธุรกรรมทางการเงินไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติ จากที่ธนาคาร และหน่วยงานราชการประกาศหยุดทำการ ช่วงที่เกิดการประท้วงใหญ่ ทำให้บริษัทโอนเงินไม่ได้เลย ทั้งในส่วนของการจัดส่งและซื้อสินค้า
นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องของการขนส่งสินค้าที่ล่าช้ามากขึ้น ทำให้แผนงานหลายอย่างไม่เป็นไปตามเป้าที่กำหนดไว้ บางแผนงานก็ต้องชะลอไว้ก่อน
เบรกแผนลงทุนหวั่นยืดเยื้อ
“นักธุรกิจที่เข้าไปทำตลาดในเมียนมาช่วงนี้ต่างเจอปัญหาจากสถานการณ์ความไม่สงบ ต้องรอพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องภายในหลายประเด็น ในส่วนของบริษัทขณะนี้ได้ชะลอแผนงานในเมียนมาไว้ก่อน ขอประเมินสถานการณ์อีกครั้ง เพราะหลังยึดอำนาจแรก ๆ ประชาชนและผู้ลงทุนรอดูสถานการณ์ แต่หลังประชาชนลุกฮือขึ้นมาประท้วงยังประเมินไม่ได้ว่าเหตุการณ์จะจบลงเมื่อไร”
ส่วนจะส่งผลต่อภาพรวมที่กลุ่มทุนต่างชาติจะเข้าไปลงทุนหรือไม่นั้น คงต้องรอดูว่าสถานการณ์จะจบอย่างไรและตรงไหน สุดท้ายแล้วความขัดแย้งหากจบลงที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะ ก็ย่อมส่งผลต่อนโยบายต่าง ๆ ในอนาคต
การผลิต-การค้าชะลอ
ด้าน นายกริช อึ้งวิฑูรสถิตย์ ประธานสภาธุรกิจไทย-เมียนมา เปิดเผยว่า สถานการณ์ทางการเมืองในเมียนมากระทบการประกอบธุรกิจเป็นอย่างมาก ขณะนี้หลายธุรกิจเริ่มชะงัก ร้านค้า ห้างสรรพสินค้าหลายแห่งปิดทำการ การขนส่ง โลจิสติกส์ก็มีปัญหา ภาคการผลิตและการค้าเริ่มชะลอตัว
หากสถานการณ์ยืดเยื้อ 6 เดือนขึ้นไป ธุรกิจในเมียนมาอาจปิดกิจการมากขึ้น โดยเฉพาะในเมืองใหญ่หรือเมืองธุรกิจ จะทำให้มีคนตกงานมากขึ้น กระทบต่อรายได้และกำลังซื้อของประชาชน
ส่วนผลกระทบระยะยาว หากสถานการณ์ยังไม่ได้รับการแก้ไขจะมีผลต่อความเชื่อมั่นจากนักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้าไปลงทุนในเมียนมา สะท้อนให้เห็นว่าเม็ดเงินที่จะเข้าไปลงทุนในเมียนมาจะลดลง การผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าจะลดลง การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างชาติจะหายไป
ทุนไทยรอเหตุการณ์สงบ
“ผู้ประกอบการไทย หรือคนไทยในเมียนมา ขณะนี้ทางสถานทูตไทยประจำเมียนมาได้ช่วยเหลือให้นักธุรกิจที่ตกค้างแจ้งความจำนงเดินทางกลับไทย ในวันที่ 12 และ 16 มี.ค.นี้ เชื่อว่าจะมีผู้ที่ต้องการเดินทางกลับไทยจำนวนหนึ่ง แต่ยังคงเหลืออีกบางส่วน สำหรับการย้ายฐานธุรกิจหรือโรงงานของนักลงทุนไทยออกจากเมียนมาแบบถาวรเท่าที่ทราบยังไม่มี”
สำหรับการค้าระหว่างไทย-เมียนมา มูลค่าประมาณ 1 แสนกว่าล้านบาท ส่วนใหญ่จะเป็นมูลค่าการค้าจากชายแดน ซึ่งปัจจุบันยังสามารถส่งสินค้าเข้าไปได้ตามปกติ เพียงแต่ตลาดภายในของเมียนมาหยุดดำเนินการ ทำให้การส่งออกและนำเข้าสินค้าลดลง
“หากความไม่สงบยุติลงอย่างสันติวิธี เชื่อว่าการค้าจะกระเตื้องขึ้นเร็ว เพราะเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้การค้าถูกอั้นไว้ ถ้าปลายทางเปิดจะทำให้กำลังซื้อที่ถูกอั้นเปิด ค้าขายได้มากขึ้น ความต้องการสินค้า การบริโภคจะกลับมา”
กรุงเทพ-SCB งัดแผน BCP
นายไชยฤทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ รองผู้จัดการใหญ่ กิจการธนาคารต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า ธนาคารติดตามสถานการณ์ในเมียนมาอย่างใกล้ชิด ระหว่างนี้การบริหารจัดการและการทำธุรกรรมของสาขาธนาคารมีอุปสรรคค่อนข้างเยอะ แต่จะให้ความสำคัญ 2 เรื่อง
1. ความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน โดยการเปิดสาขาจะใช้รูปแบบทำงานอยู่ที่บ้าน (work from home) ลดความเสี่ยงพนักงานในการเดินทาง ให้พนักงานมาทำงานที่สาขาน้อยที่สุด และการเปิดสาขาจะไม่เปิดตามปกติทั่วไป โดยให้ลูกค้าใช้บริการแบบจำกัดและนัดหมายล่วงหน้า
อย่างไรก็ดี เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าธุรกิจ ปริมาณการทำธุรกรรมจึงไม่สูงมาก นอกจากนี้ด้านทรัพย์สินก็มีมาตรการดูแลป้องกันด้วย
หากสถานการณ์มีความรุนแรงจนทำให้สาขาย่างกุ้งไม่สามารถดำเนินการได้ มีแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) โดยเตรียมพื้นที่สำรอง 2 แห่ง นอกเหนือจากสาขาไว้รองรับการบริการ แต่เป็นการบริการที่จำกัด โดยให้พนักงานทำงานที่บ้านและสแตนด์บายไว้
2. ในเชิงธุรกิจ หากดูฐานลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งระหว่างนี้ปริมาณธุรกรรมจะลดลง จะระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ และการติดตามความสามารถในการชำระหนี้ลูกค้าใกล้ชิด ซึ่งจากการประเมินพบว่าลูกค้าส่วนใหญ่ทำธุรกิจหลายด้าน และสายป่านค่อนข้างยาว โดยภาพรวมยังไม่มีผลกระทบต่อพอร์ตสินเชื่อ อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์รุนแรงขึ้นจะมีมาตรการดูแลเพิ่มเติม
นายสารัชต์ รัตนาภรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยในทำนองเดียวกันว่า ได้ดำเนินการตามแผนการดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง (BCP) ดูแลพนักงานให้มีความปลอดภัย โดยส่วนใหญ่ให้ทำงานที่บ้าน ส่วนในเชิงธุรกิจเนื่องจากสาขาเพิ่งเริ่มดำเนินการต้นปี 2564 ปริมาณธุรกรรมธุรกิจและจำนวนฐานลูกค้ายังไม่มาก จึงไม่ได้รับผลกระทบ แต่จะติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด
แบงก์ปิดกระทบธุรกิจ
นายภาสกร หงษ์หยก ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เมียนมา อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ ลิมิเต็ด (MIH) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในเมียนมา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ผ่านสายไฟเบอร์ออปติกในเมืองย่างกุ้งของบริษัทยังคงดำเนินการได้ และมีการใช้งานเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่สถานการณ์โควิด-19 ในปีที่ผ่านมา ที่ภาครัฐมีมาตรการเคอร์ฟิว เพื่อลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ทำให้บริษัทต่าง ๆ มีนโยบายทำงานที่บ้านหรือเวิร์กฟรอมโฮม เช่นกันกับการเรียนก็มีเรียนที่บ้านเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นด้วย
ขณะที่ในแง่การทำงาน มีการแบ่งทีมทำงานที่บ้านอยู่แล้ว จึงยังดำเนินธุรกิจได้ แต่มีผลกระทบในส่วนของการซ่อมบำรุง กรณีที่บริการมีปัญหา ทั้งจากการเดินทางเข้าพื้นที่ไม่ได้ เพราะห่วงเรื่องความปลอดภัย รวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ เนื่องจากธนาคารส่วนใหญ่ปิดดำเนินการมากว่า 1 เดือนแล้ว เนื่องจากพนักงานประท้วงหยุดงานทำให้บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องตุนกระแสเงินสดของตนเองเพื่อไว้ใช้จ่าย
“การใช้อินเทอร์เน็ตสูงขึ้น เพราะคนติดตามข่าวสาร เนื่องจากสื่อสิ่งพิมพ์ปิดไปก่อนตั้งแต่มีโควิด ส่วนสื่อทีวี ภาครัฐก็เพิ่งประกาศยกเลิกใบอนุญาตสถานีโทรทัศน์หลายแห่ง ในแง่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เปรียบเสมือนบริการน้ำและไฟที่หยุดไม่ได้ แต่ภาครัฐก็เข้ามาควบคุม โดยในช่วงที่มีการยึดอำนาจใหม่ ๆ ให้ปิดบริการในช่วงตีหนึ่ง-9 โมงเช้า และปัจจุบันขยับมาเป็นปิดตี 1-06.30 น. เราก็ปฏิบัติตามคำสั่ง ที่น่าห่วงเรื่องกระแสเงินสด ทำยังไงจะมีเงินสดให้อยู่ให้นานที่สุด ทั้งเราเองก็ไม่รู้ว่าสถานการณ์จะคลี่คลายได้เมื่อไร”
ทูตพาณิชย์แนะเตรียมรับมือ
ขณะที่สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา (ทูตพาณิชย์เมียนมา) ออกประกาศเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2564 แนะนำภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการไทยว่า จากแนวโน้มที่เมียนมาอาจมีโอกาสถูกคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกและชาติพันธมิตร ภาคธุรกิจไทยจำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับมือ และประเมินสถานการณ์ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และจากที่นานาชาติมีแนวโน้มออกมาตรการกดดันต่าง ๆ เพิ่มขึ้น อาจกระทบภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนในเมียนมาในอนาคต
ชาติตะวันตกคว่ำบาตร
สำหรับความเคลื่อนไหวของนานาชาติ รอยเตอร์สรายงานว่า สถานการณ์ประเทศเมียนมาที่ยังคงรุนแรงหลังการรัฐประหารเมื่อ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา จากการชุมนุมต่อต้านและถึงขณะนี้มีผู้เสียชีวิตเกิน 60 ราย ผู้ถูกจับกุมอีกเกือบ 1,800 ราย ทั้งนี้ วันที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมา สหภาพแรงงานในเมียนมา 9 แห่ง ได้เรียกร้องให้สมาชิกยกเลิกกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยสิ้นเชิง
ขณะที่สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร (ยูเค), สหภาพยุโรป (อียู), แคนาดา และนิวซีแลนด์ ออกมาตรการคว่ำบาตรผู้นำระดับสูงในกองทัพเมียนมา อาทิ การแบนการเดินทางเข้าประเทศ, อายัดสินทรัพย์, ยกเลิกโครงการช่วยเหลือกิจการทหารเมียนมา เป็นต้น
โดยอียูกำลังประชุมหารือเพื่อวางมาตรการเพิ่ม โดยอาจสั่งห้ามนักลงทุนและสถาบันการเงินอียูไม่ให้ทำธุรกิจกับบริษัท “เมียนมา อีโคโนมิก โฮลดิงส์ ลิมิเต็ด” (MEHL) และ “เมียนมา อีโคโนมิก คอร์ปอเรชั่น” (MEC) 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ของผู้บัญชาการทหารเมียนมาที่ทำการค้าทั่วโลก