คลัง เผยหนี้เสียพิโกไฟแนนซ์ พุ่ง 17.02% ชี้อนุมัติสินเชื่อแล้ว 10 ล้านบาท
https://www.prachachat.net/finance/news-625072
นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงการคลัง ด้านบริหาร ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนมกราคม 2564 ภาพรวมการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) มีผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์และเปิดดำเนินการแล้วสะสมสุทธิ 935 ราย ใน 75 จังหวัด
โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (558 ราย) รองลงมา ได้แก่ ภาคกลาง (148 ราย) ภาคเหนือ (116 ราย) ภาคตะวันออก (64 ราย) และภาคใต้ (49 ราย) ตามลำดับ ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 ที่กระทรวงการคลังได้เปิดให้มีการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2563 ได้มีการอนุมัติสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ให้กับประชาชนรายย่อยไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 413,622 บัญชี รวมเป็นวงเงิน 10,073.78 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 24,355.04 บาทต่อบัญชี ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
(1) ภาพรวมสถานะสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 มียอดสินเชื่อคงค้างจำนวนทั้งสิ้น 173,235 บัญชี คิดเป็นจำนวนเงิน 3,841.12 ล้านบาท โดยมีสินเชื่อค้างชำระ 1 – 3 เดือน สะสมรวมทั้งสิ้น 24,487 บัญชี หรือคิดเป็นจำนวนเงินสะสมรวม 572.38 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 14.90 ของยอดสินเชื่อคงค้างสะสม และมีสินเชื่อค้างชำระที่เกินกว่า 3 เดือน (NPL) สะสมรวมจำนวน 28,526 บัญชี หรือคิดเป็นจำนวนเงินสะสมรวม 653.94 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.02 ของยอดสินเชื่อคงค้างสะสม
(2) สินเชื่อประเภทพิโกไฟแนนซ์ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2564 มีจำนวนผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อประเภทพิโกไฟแนนซ์สะสมสุทธิทั้งสิ้น 868 ราย ใน 75 จังหวัด และมีจำนวนผู้เปิดดำเนินการแล้ว 818 ราย ใน 75 จังหวัด (เพิ่มขึ้น 1 จังหวัด คือ จังหวัดนราธิวาส) โดยจังหวัดที่มีผู้เปิดดำเนินการมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา (76 ราย) กรุงเทพมหานคร (61 ราย) และขอนแก่น (51 ราย)
(3) สินเชื่อประเภทพิโกพลัส ณ สิ้นเดือนมกราคม 2564 มีจำนวนผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อประเภทพิโกพลัสสะสมสุทธิทั้งสิ้น 140 ราย ใน 45 จังหวัด และมีจำนวนผู้เปิดดำเนินการแล้ว 117 ราย ใน 37 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีผู้เปิดดำเนินการมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา (18 ราย) อุดรธานี (8 ราย) อุบลราชธานี (8 ราย) และกรุงเทพมหานคร (7 ราย)
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังคงดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาคีแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การดำเนินการอย่างจริงจังกับเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมาย ซึ่งนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 จนถึงสิ้นเดือนมกราคม 2564 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการจับกุมผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบที่กระทำผิดกฎหมายจำนวนสะสม 8,593 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2563 จำนวน 304 ราย
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ที่เปิดดำเนินการได้ทางเว็บไซต์ www.1359.go.th และสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับเงินกู้นอกระบบที่ผิดกฎหมายได้โดยตรงที่
-สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สายด่วน 1599
-ศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 0 2255 1898
-ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์การกู้ยืมเงินโดยสัญญาที่ไม่เป็นธรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สายด่วน 1155
-ศูนย์ดำรงธรรม สายด่วน 1567
-ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สายด่วน 1359
-ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม (ศนธ.ยธ.) โทร. 0 2575 3344
พม่าต้องตายเท่าไหร่ยูเอ็นจึงขยับ ทูตวอนขอมาตรการด่วนยุติรุนแรง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6078512
พม่าต้องตายเท่าไหร่ยูเอ็นจึงขยับ ทูตวอนขอมาตรการด่วนยุติรุนแรง
พม่าต้องตายเท่าไหร่ยูเอ็นจึงขยับ – เมื่อ 6 มี.ค. เอพี รายงานการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ถึงสถานการณ์ในเมียนมา หลังชาวพม่าถูกทหารและตำรวจปราบปรามอย่างต่อเนื่อง ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 54 รายแล้วนับตั้งแต่กองทัพรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ในจำนวนนี้เหยื่อถูกสังหารเมื่อ 3 มี.ค. มากถึง 38 ราย
นาง
คริสทีน ชราเนอร์ บูร์เกเนอร์ ทูตพิเศษยูเอ็นด้านกิจการเมียนมา ตั้งคำถามต่อชาติสมาชิกว่า
“ชาวพม่าจะต้องสูญเสียอีกขนาดไหน ที่เรายังปล่อยให้ทหารลอยนวลอยู่อย่างนี้”
ทูตหญิงเรียกร้องว่า ยูเอ็นต้องรวมเป็นหนึ่งเดียวและมีมาตรการตอบโต้กองทัพเมียนมาออกมา เพราะสถานการณ์ตอนนี้บ่งบอกชัดเจนว่า ต้องยุติความรุนแรง หลังมีภาพชัดว่ากองทัพใช้สไนเปอร์ยิงผู้ประท้วงไร้อาวุธ ทั้งยังยิงลงไปในฝูงชน ส่วนนักข่าวก็ตกเป็นเป้าหมายถูกจับกุมด้วยในสถานที่ชุมนุม
“เราต้องประณามการกระทำของทหาร นี่เป็นวิกฤตที่คณะมนตรีแห่งนี้ต้องหาทางออกและเห็นพ้องกันที่จะมีคำเตือนต่อกองกำลังความมั่นคง และต้องยืนเคียงข้างประชาชน โดยสนับสนุนผลการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ออกมา” นางชราเนอร์ บูร์เกเนอร์ กล่าว
ด้านชาติสมาชิกยังไม่ออกมติใดๆ ในทันที แหล่งข่าวนักการทูตเผยว่า อังกฤษเป็นฝ่ายเดินเรื่องแถลงการณ์ให้สมาชิกพิจารณาเห็นชอบร่วมกัน ลักษณะที่ออกมาจะน้อยกว่ามติที่ตราเป็นกฎหมาย
ขณะที่จีน ซึ่งถูกจับตาเป็นพิเศษ เอกอัครราชทูต จาง จุน กล่าวว่า จีนวิตกอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ และขอให้ทุกฝ่ายแก้ปัญหาอย่างสันติ ใจเย็น อดกลั้น ป้องกันความรุนแรง พร้อมเสนอให้กลุ่มประเทศอาเซียนมีบทบาทมากขึ้น และทุกฝ่ายต้องลดความตึงเครียดของสถานการณ์ลง
ด้านรัฐบาลสหรัฐอเมริกาออกมาตรการลงโทษคณะรัฐประหารเมียนมาเพิ่มเติม ห้ามหน่วยงานกระทรวงกลาโหมและกระทรวงต่างประเทศเมียนมารวมถึงเครือบริษัทของกองทัพค้าขายบางประเภท หนึ่งในนั้นคือควบคุมส่งออกสินค้าเกี่ยวกับการทหาร เช่น อาวุธ โดยซัพพลายเออร์จากสหรัฐต้องไปขอใบอนุญาตการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นมา ก่อนจะส่งออกไปเมียนมา
นอกจากนี้ ธนาคารกลางเมียนมาพยายามเคลื่อนย้ายเงินทุนสำรองในธนาคารนิวยอร์ก 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 30,000 ล้านบาท ออกจากบัญชี แต่ทางการสหรัฐระงับการเคลื่อนย้ายดังกล่าวได้ทัน ตามคำสั่งประธานาธิบดีโจ ไบเดน ซึ่งให้อำนาจหน่วยงานเกี่ยวข้องระงับธุรกรรมการเงินกับเมียนมาได้
สำหรับสถานการณ์เมื่อวันที่ 5 มี.ค. ชาวพม่าเดินหน้าชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร ในหลายเมือง รวมถึงที่เมืองพะโค และเขตซานชวงในนครย่างกุ้ง ส่วนที่เมืองมัณฑะเลย์ มีผู้ถูกยิงเสียชีวิตเพิ่มที่นครมัณฑะเลย์ เป็นหนุ่มอายุ 26 ปีคอยช่วยตั้งสิ่งกีดขวางเพื่อถ่วงเวลาเจ้าหน้าที่ปราบผู้ชุมนุม ถูกยิงเข้าที่ลำคอ
นอกจากนี้เกิดกระแสไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างทั่วนครย่างกุ้ง ตั้งแต่ 13.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น เช่นเดียวกับกรุงเนปยีดอว์ เมืองเมาะลำใย และเมืองมะเกว
ด้านข้าราชการเมียนมาจำนวนหนึ่งใช้วิธีอารยะขัดขืนต่อต้านรัฐประหาร เช่น นายติน หม่อง เนียง รองผู้แทนทางการทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งให้เป็นทูตเมียนมาประจำยูเอ็น แทนนายจอ โม ตุน ที่ชูสามนิ้วต้านรัฐประหาร ลาออกจากตำแหน่งที่ได้รับทันที ทั้งยังแจ้งยูเอ็นว่า นายจอ โม ตุน ยังเป็นทูตเมียนมาต่อไป
ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจ 19 นาย ข้ามพรมแดนไปรัฐมิโซรัม ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เพื่อขอลี้ภัย เนื่องจากไม่ต้องการปฏิบัติตามคำสั่ง
ขณะเดียวกัน ยูทูบ ผู้ให้บริการวิดีโอ แถลงยุติช่องของโทรทัศน์ทางการเมียนมา ได้แก่ เมียวดี มีเดีย, เอ็มอาร์ทีวี, ดับเบิ้ลยูดี ออนไลน์ บรอดแคสติ้ง, เอ็มดับเบิลยูดี วาไรตี้, เอ็มดับเบิลยูดี เมียนมา เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติชุมนุมและกฎหมาย และกำลังเฝ้าสถานการณ์เพื่อสอดส่องเนื้อหาที่อาจละเมิดกฎหมายด้วย
JJNY : หนี้เสียพิโกพุ่ง17.02%│พม่าต้องตายเท่าไหร่ยูเอ็นจึงขยับ ฑูตวอน│กก.จ่อยื่นประกันชาวกระเหรี่ยง│ยากคาดเดาศาลวินิจฉัย
https://www.prachachat.net/finance/news-625072
โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (558 ราย) รองลงมา ได้แก่ ภาคกลาง (148 ราย) ภาคเหนือ (116 ราย) ภาคตะวันออก (64 ราย) และภาคใต้ (49 ราย) ตามลำดับ ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 ที่กระทรวงการคลังได้เปิดให้มีการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2563 ได้มีการอนุมัติสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ให้กับประชาชนรายย่อยไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 413,622 บัญชี รวมเป็นวงเงิน 10,073.78 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 24,355.04 บาทต่อบัญชี ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
(1) ภาพรวมสถานะสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 มียอดสินเชื่อคงค้างจำนวนทั้งสิ้น 173,235 บัญชี คิดเป็นจำนวนเงิน 3,841.12 ล้านบาท โดยมีสินเชื่อค้างชำระ 1 – 3 เดือน สะสมรวมทั้งสิ้น 24,487 บัญชี หรือคิดเป็นจำนวนเงินสะสมรวม 572.38 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 14.90 ของยอดสินเชื่อคงค้างสะสม และมีสินเชื่อค้างชำระที่เกินกว่า 3 เดือน (NPL) สะสมรวมจำนวน 28,526 บัญชี หรือคิดเป็นจำนวนเงินสะสมรวม 653.94 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.02 ของยอดสินเชื่อคงค้างสะสม
(2) สินเชื่อประเภทพิโกไฟแนนซ์ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2564 มีจำนวนผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อประเภทพิโกไฟแนนซ์สะสมสุทธิทั้งสิ้น 868 ราย ใน 75 จังหวัด และมีจำนวนผู้เปิดดำเนินการแล้ว 818 ราย ใน 75 จังหวัด (เพิ่มขึ้น 1 จังหวัด คือ จังหวัดนราธิวาส) โดยจังหวัดที่มีผู้เปิดดำเนินการมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา (76 ราย) กรุงเทพมหานคร (61 ราย) และขอนแก่น (51 ราย)
(3) สินเชื่อประเภทพิโกพลัส ณ สิ้นเดือนมกราคม 2564 มีจำนวนผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อประเภทพิโกพลัสสะสมสุทธิทั้งสิ้น 140 ราย ใน 45 จังหวัด และมีจำนวนผู้เปิดดำเนินการแล้ว 117 ราย ใน 37 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีผู้เปิดดำเนินการมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา (18 ราย) อุดรธานี (8 ราย) อุบลราชธานี (8 ราย) และกรุงเทพมหานคร (7 ราย)
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังคงดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาคีแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การดำเนินการอย่างจริงจังกับเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมาย ซึ่งนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 จนถึงสิ้นเดือนมกราคม 2564 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการจับกุมผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบที่กระทำผิดกฎหมายจำนวนสะสม 8,593 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2563 จำนวน 304 ราย
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ที่เปิดดำเนินการได้ทางเว็บไซต์ www.1359.go.th และสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับเงินกู้นอกระบบที่ผิดกฎหมายได้โดยตรงที่
-สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สายด่วน 1599
-ศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 0 2255 1898
-ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์การกู้ยืมเงินโดยสัญญาที่ไม่เป็นธรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สายด่วน 1155
-ศูนย์ดำรงธรรม สายด่วน 1567
-ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สายด่วน 1359
-ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม (ศนธ.ยธ.) โทร. 0 2575 3344
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6078512
พม่าต้องตายเท่าไหร่ยูเอ็นจึงขยับ ทูตวอนขอมาตรการด่วนยุติรุนแรง
พม่าต้องตายเท่าไหร่ยูเอ็นจึงขยับ – เมื่อ 6 มี.ค. เอพี รายงานการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ถึงสถานการณ์ในเมียนมา หลังชาวพม่าถูกทหารและตำรวจปราบปรามอย่างต่อเนื่อง ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 54 รายแล้วนับตั้งแต่กองทัพรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ในจำนวนนี้เหยื่อถูกสังหารเมื่อ 3 มี.ค. มากถึง 38 ราย
นางคริสทีน ชราเนอร์ บูร์เกเนอร์ ทูตพิเศษยูเอ็นด้านกิจการเมียนมา ตั้งคำถามต่อชาติสมาชิกว่า
ทูตหญิงเรียกร้องว่า ยูเอ็นต้องรวมเป็นหนึ่งเดียวและมีมาตรการตอบโต้กองทัพเมียนมาออกมา เพราะสถานการณ์ตอนนี้บ่งบอกชัดเจนว่า ต้องยุติความรุนแรง หลังมีภาพชัดว่ากองทัพใช้สไนเปอร์ยิงผู้ประท้วงไร้อาวุธ ทั้งยังยิงลงไปในฝูงชน ส่วนนักข่าวก็ตกเป็นเป้าหมายถูกจับกุมด้วยในสถานที่ชุมนุม
“เราต้องประณามการกระทำของทหาร นี่เป็นวิกฤตที่คณะมนตรีแห่งนี้ต้องหาทางออกและเห็นพ้องกันที่จะมีคำเตือนต่อกองกำลังความมั่นคง และต้องยืนเคียงข้างประชาชน โดยสนับสนุนผลการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ออกมา” นางชราเนอร์ บูร์เกเนอร์ กล่าว
ด้านชาติสมาชิกยังไม่ออกมติใดๆ ในทันที แหล่งข่าวนักการทูตเผยว่า อังกฤษเป็นฝ่ายเดินเรื่องแถลงการณ์ให้สมาชิกพิจารณาเห็นชอบร่วมกัน ลักษณะที่ออกมาจะน้อยกว่ามติที่ตราเป็นกฎหมาย
ขณะที่จีน ซึ่งถูกจับตาเป็นพิเศษ เอกอัครราชทูต จาง จุน กล่าวว่า จีนวิตกอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ และขอให้ทุกฝ่ายแก้ปัญหาอย่างสันติ ใจเย็น อดกลั้น ป้องกันความรุนแรง พร้อมเสนอให้กลุ่มประเทศอาเซียนมีบทบาทมากขึ้น และทุกฝ่ายต้องลดความตึงเครียดของสถานการณ์ลง
ด้านรัฐบาลสหรัฐอเมริกาออกมาตรการลงโทษคณะรัฐประหารเมียนมาเพิ่มเติม ห้ามหน่วยงานกระทรวงกลาโหมและกระทรวงต่างประเทศเมียนมารวมถึงเครือบริษัทของกองทัพค้าขายบางประเภท หนึ่งในนั้นคือควบคุมส่งออกสินค้าเกี่ยวกับการทหาร เช่น อาวุธ โดยซัพพลายเออร์จากสหรัฐต้องไปขอใบอนุญาตการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นมา ก่อนจะส่งออกไปเมียนมา
นอกจากนี้ ธนาคารกลางเมียนมาพยายามเคลื่อนย้ายเงินทุนสำรองในธนาคารนิวยอร์ก 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 30,000 ล้านบาท ออกจากบัญชี แต่ทางการสหรัฐระงับการเคลื่อนย้ายดังกล่าวได้ทัน ตามคำสั่งประธานาธิบดีโจ ไบเดน ซึ่งให้อำนาจหน่วยงานเกี่ยวข้องระงับธุรกรรมการเงินกับเมียนมาได้
สำหรับสถานการณ์เมื่อวันที่ 5 มี.ค. ชาวพม่าเดินหน้าชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร ในหลายเมือง รวมถึงที่เมืองพะโค และเขตซานชวงในนครย่างกุ้ง ส่วนที่เมืองมัณฑะเลย์ มีผู้ถูกยิงเสียชีวิตเพิ่มที่นครมัณฑะเลย์ เป็นหนุ่มอายุ 26 ปีคอยช่วยตั้งสิ่งกีดขวางเพื่อถ่วงเวลาเจ้าหน้าที่ปราบผู้ชุมนุม ถูกยิงเข้าที่ลำคอ
นอกจากนี้เกิดกระแสไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างทั่วนครย่างกุ้ง ตั้งแต่ 13.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น เช่นเดียวกับกรุงเนปยีดอว์ เมืองเมาะลำใย และเมืองมะเกว
ด้านข้าราชการเมียนมาจำนวนหนึ่งใช้วิธีอารยะขัดขืนต่อต้านรัฐประหาร เช่น นายติน หม่อง เนียง รองผู้แทนทางการทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งให้เป็นทูตเมียนมาประจำยูเอ็น แทนนายจอ โม ตุน ที่ชูสามนิ้วต้านรัฐประหาร ลาออกจากตำแหน่งที่ได้รับทันที ทั้งยังแจ้งยูเอ็นว่า นายจอ โม ตุน ยังเป็นทูตเมียนมาต่อไป
ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจ 19 นาย ข้ามพรมแดนไปรัฐมิโซรัม ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เพื่อขอลี้ภัย เนื่องจากไม่ต้องการปฏิบัติตามคำสั่ง
ขณะเดียวกัน ยูทูบ ผู้ให้บริการวิดีโอ แถลงยุติช่องของโทรทัศน์ทางการเมียนมา ได้แก่ เมียวดี มีเดีย, เอ็มอาร์ทีวี, ดับเบิ้ลยูดี ออนไลน์ บรอดแคสติ้ง, เอ็มดับเบิลยูดี วาไรตี้, เอ็มดับเบิลยูดี เมียนมา เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติชุมนุมและกฎหมาย และกำลังเฝ้าสถานการณ์เพื่อสอดส่องเนื้อหาที่อาจละเมิดกฎหมายด้วย