เตือนรัฐรับมือนศ.จบใหม่ปีนี้ 5 แสนคน หวั่นโควิดทำเตะฝุ่นทะลุ 2 ล้านคน
https://www.matichon.co.th/economy/news_2604620
อีคอนไทย เตือนรบ.รับมือนักศึกษาจบใหม่ปีนี้ 5 แสนคน จากปัจจุบันมีแรงงานเตะฝุ่น 1.5-1.7 ล้านคน หวั่นเตะฝุ่นทะลุ 2 ล้านคน
นาย
ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย(อีคอนไทย) กล่าวว่า การจ้างงานใหม่ในปีนี้ ภาพรวมยังฟื้นตัวได้ต่ำ เนื่องจากผลกระทบโควิด-19 ทำให้ภาคท่องเที่ยว บริการ และอุตสาหกรรม ได้รับผลกระทบ ประเมินตัวเลขล่าสุดพบว่าแรงงานตกงานสะสมอยู่ในระดับ1.5-1.7 ล้านคน ขณะเดียวกันนักศึกษาจบใหม่ช่วงมีนาคม-เมษายน 2564 จะเข้ามาอีกราว 5 แสนคน รัฐบาลจำเป็นต้องเตรียมมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐให้ต่อเนื่องตลอดปีนี้ เพื่อประคองและฟื้นฟูธุรกิจรองรับเศรษฐกิจที่คาดว่าทั้งไทยและโลกจะทยอยฟื้นตัวหลังมีความชัดเจนในการฉีดวัคซีนโควิด-19 มากขึ้น
“
นิยามการมีงานทำของไทยไม่สะท้อนข้อเท็จจริง แม้เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วปีนี้ และน่าจะเริ่มฟื้นตัว การตกงานจะลดน้อยลง แต่การจ้างงานใหม่ยังไม่ได้ฟื้นตัวมากนัก โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยว ยังกลับมาได้น้อยจนกว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา ดีสุดคือปลายปีนี้ ส่วนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมโอกาสรับคนเพิ่มยังน้อย ยกเว้นบางอุตสาหกรรมที่เติบโต อาทิ วัสดุทางการแพทย์” นาย
ธนิตกล่าว
"เฟซบุ๊ก" ปิด 185 บัญชีเกี่ยวข้องปฏิบัติการ "ไอโอ" กองทัพไทย
https://www.nationtv.tv/main/content/378817364
"เฟซบุ๊ก" ดำเนินการปิดบัญชีผู้ใช้ของไทยที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลและปฏิบัติการ ไอโอ ของกองทัพไทย เนื่องจากเข้าข่ายพฤติกรรมหลอกลวง .
บริษัท เฟซบุ๊ก อิงค์ แถลงวานนี้ (3 มี.ค.) ว่าบริษัทได้ ลบบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊ก จำนวน 185 บัญชีที่มีความเกี่ยวข้องกับ ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร หรือ ไอโอ (Information Operation: IO) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เฟซบุ๊กได้ดำเนินการปิดบัญชีผู้ใช้ของไทยที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลไทย
ทั้งนี้ หากลงในรายละเอียดจะพบว่า เฟซบุ๊กได้ลบ 77 บัญชี, 72 เพจ และ 18 กลุ่มออกจากเฟซบุ๊ก และลบ 18 บัญชีบนอินสตาแกรมที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายปฎิบัติการไอโอของกองทัพไทย โดยเฟซบุ๊กมีเป้าหมายต้องการขจัด "พฤติกรรมหลอกลวงที่กระทำกันเป็นกลุ่มหรือร่วมมือกัน" บนแพลตฟอร์มของเฟซบุ๊ค บริษัทระบุว่า บัญชีเหล่านี้เชื่อมโยงกับกองทัพไทยและเล็งเป้าหมายผู้ชมหรือผู้รับข่าวสารที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งและเหตุการณ์ความไม่สงบ รวมทั้งกลุ่มก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดน มาเป็นระยะเวลายาวนานหลายทศวรรษ
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าได้ติดต่อเพื่อสอบถามเรื่องนี้แต่โฆษกของกองทัพได้ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเนื่องจากเป็นนโยบายที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้ข่าวนอกเหนือจากการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ
นาย
นาธาเนียล ไกลเชอร์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายความมั่นคงทางไซเบอร์ของเฟซบุ๊กเปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า นี่เป็นครั้งแรกที่เฟซบุ๊กลบบัญชีที่เกี่ยวข้องกับกองทัพไทย และพบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการใช้ปฏิบัติการไอโอนี้ และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) "เราพบว่าบัญชีและกลุ่มเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกันและเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการไอโอ"
ไกลเชอร์ยังระบุว่า เครือข่ายดังกล่าวส่วนใหญ่เริ่มใช้งานบนเฟซบุ๊กตั้งแต่ปี 2563 มีการใช้ทั้งบัญชีปลอมและบัญชีจริงของตัวเองจัดการหน้าเพจทั้งที่เป็นเพจส่วนบุคคลและเพจกลุ่ม ซึ่งมีทั้งที่แสดงตัวตนอย่างชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับกองทัพและที่ไม่ได้เปิดเผย บางบัญชีปลอมเปิดใช้ในนามบุคคลที่ไม่ใช่ตัวตนจริงๆ ระบุว่าเป็นบุคคลจากจังหวัดชายแดนภาคใต้
นอกจากนี้ ทางเครือข่ายยังใช้เงินในการโฆษณาทั้งบนเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมไปแล้วราว 350 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 10,500 บาทบางเพจในเครือข่ายนี้มีผู้ติดตามราว 700,000 ราย และบางเพจที่เป็นเพจกลุ่มก็มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายอื่น ๆมาเข้าร่วมกลุ่มถึง 100,000 ราย
นายไกลเชอร์กล่าวว่า การถอดบัญชีเหล่านี้ออกจากระบบของเฟซบุ๊กเป็นผลมาจากพฤติกรรมที่เข้าข่ายหลอกลวง (deceptive behaviour) ไม่ใช่เนื้อหาที่โพสต์ ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการสนับสนุนทหารและสถาบันฯ รวมถึงการโจมตีว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเป็นฝ่ายสร้างความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้
ก่อนหน้านี้ในเดือนต.ค.2563 สื่อโซเชียลมีเดียยอดนิยมอีกราย คือ ทวิตเตอร์ ได้เคยปิด 926 บัญชีที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการไอโอของกองทัพไทยมาแล้ว ซึ่งในครั้งนั้น กองทัพได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับบัญชีเหล่านั้น
ข่าวระบุว่า เมื่อวานนี้ (3 มี.ค.) เฟซบุ๊กยังได้ปิดบัญชีของ 4 เครือข่ายของรัฐบาลอิหร่าน รัสเซีย และโมรอกโกด้วย โดยระบุว่าในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา บริษัทได้ถอดเครือข่ายที่มีพฤติกรรมหลอกลวงนี้ออกจากสารรบบของเฟซบุ๊กไปแล้วมากกว่า 100 เครือข่ายทั่วโลก
ภาคีนักกฎหมายฯ จี้ ผบ.ตร. ฟันวินัยเจ้าพนักงานทำร้ายผู้ชุมนุม
https://www.matichon.co.th/politics/news_2606653
จากกรณีที่เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมบริเวณหน้าโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา การสลายการชุมนุมดังกล่าวปรากฏภาพจากประชาชนและสื่อมวลชนว่าเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานตำรวจควบคุมฝูงชนมีการใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมชัดเจนทั้งรุมเตะ ฉีดน้ำ ใช้แก๊สน้ำตาและยิงด้วยกระสุนยางปรากฏตามภาพเหตุการณ์บางส่วนที่ส่งมาพร้อมกันนี้
จากเหตุการณ์ข้างต้น ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเห็นว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 วรรคสามที่บัญญัติกำหนดให้ผู้ทำการจับใช้วิธีหรือการป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับ แต่ภาพข่าวและข้อมูลจากผู้ถูกจับกุมกลับปรากฏว่ามีบางกรณีที่ผู้ถูกจับกุมถูกเจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกายภายหลังการควบคุมตัวแล้ว นอกจากนี้ ขณะจับกุมยังปรากฏภาพการใช้กำลังทำร้ายร่างกายบุคคลด้วยความรุนแรง จึงเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุอย่างชัดเจน ผิดกฎหมายและผิดวินัยข้าราชการตำรวจ พระราชบัญญัติตำรวจ พ.ศ.2547 มาตรา 80
ซึ่งกำหนดให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย และดำเนินการทางวินัยแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย และมาตรา 84 กำหนดว่าเมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชารีบดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริงหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ประกอบกับกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.2546 ข้อ 4(5) กำหนดว่ากรณีที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสารมวลชนระบุข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน กรณีแวดล้อม และหรือระบุพยานบุคคล พยานวัตถุ หรือพยานเอกสารชี้แนะแนวทางเพียงพอที่จะดำเนินการสืบสวนได้ เป็นกรณีที่ควรสืบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งกรณีนี้มีภาพใบหน้าของเจ้าพนักงานตำรวจปรากฏชัดเจน และท่านในฐานะ ผบ.ตร.สามารถสืบสวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมให้ปรากฏได้
ดังนั้น จึงขอให้ท่านดำเนินการตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.2546 ข้อ 4 จัดให้มีการสืบสวนข้อเท็จจริง โดยแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการทางวินัยกับเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งใช้กำลังทำร้ายร่างกายผู้ถูกจับกุมต่อไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัยและกฎหมาย โดยเฉพาะเจ้าพนักงานตำรวจควบคุมฝูงชน หากท่านไม่ดำเนินการทางวินัยหรือมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อยับยั้งการกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจควบคุมฝูงชนที่ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองขณะปฏิบัติหน้าที่ได้ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ของประชาชน และเสื่อมเสียเกียรติของข้าราชการตำรวจ ในระหว่างการดำเนินการดังกล่าว มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านจะต้องมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจในหน่วยหรือกองร้อย ฯลฯ ที่มีพฤติการณ์ในลักษณะดังกล่าวข้างต้นหยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อนเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ใช้กำลังทำร้ายร่างกายบุคคลเช่นในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 และวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา
ในขณะเดียวกัน ขอให้ท่านกำหนดมาตรการที่เหมาะสมและคำนึงถึงสุขภาพและความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำจรวจควบคุมฝูงชน เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียที่สามารถป้องกันได้ต่อไป
JJNY : เตือนรับมือนศ.เตะฝุ่น2ล.│"เฟซบุ๊ก"ปิด185บัญชีเกี่ยว"ไอโอ"│จี้ผบ.ตร.ฟันวินัย│ผู้แทนน.ศ.5มหาลัยประฌามรปห.เมียนมา
https://www.matichon.co.th/economy/news_2604620
อีคอนไทย เตือนรบ.รับมือนักศึกษาจบใหม่ปีนี้ 5 แสนคน จากปัจจุบันมีแรงงานเตะฝุ่น 1.5-1.7 ล้านคน หวั่นเตะฝุ่นทะลุ 2 ล้านคน
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย(อีคอนไทย) กล่าวว่า การจ้างงานใหม่ในปีนี้ ภาพรวมยังฟื้นตัวได้ต่ำ เนื่องจากผลกระทบโควิด-19 ทำให้ภาคท่องเที่ยว บริการ และอุตสาหกรรม ได้รับผลกระทบ ประเมินตัวเลขล่าสุดพบว่าแรงงานตกงานสะสมอยู่ในระดับ1.5-1.7 ล้านคน ขณะเดียวกันนักศึกษาจบใหม่ช่วงมีนาคม-เมษายน 2564 จะเข้ามาอีกราว 5 แสนคน รัฐบาลจำเป็นต้องเตรียมมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐให้ต่อเนื่องตลอดปีนี้ เพื่อประคองและฟื้นฟูธุรกิจรองรับเศรษฐกิจที่คาดว่าทั้งไทยและโลกจะทยอยฟื้นตัวหลังมีความชัดเจนในการฉีดวัคซีนโควิด-19 มากขึ้น
“นิยามการมีงานทำของไทยไม่สะท้อนข้อเท็จจริง แม้เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วปีนี้ และน่าจะเริ่มฟื้นตัว การตกงานจะลดน้อยลง แต่การจ้างงานใหม่ยังไม่ได้ฟื้นตัวมากนัก โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยว ยังกลับมาได้น้อยจนกว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา ดีสุดคือปลายปีนี้ ส่วนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมโอกาสรับคนเพิ่มยังน้อย ยกเว้นบางอุตสาหกรรมที่เติบโต อาทิ วัสดุทางการแพทย์” นายธนิตกล่าว
"เฟซบุ๊ก" ปิด 185 บัญชีเกี่ยวข้องปฏิบัติการ "ไอโอ" กองทัพไทย
https://www.nationtv.tv/main/content/378817364
"เฟซบุ๊ก" ดำเนินการปิดบัญชีผู้ใช้ของไทยที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลและปฏิบัติการ ไอโอ ของกองทัพไทย เนื่องจากเข้าข่ายพฤติกรรมหลอกลวง .
บริษัท เฟซบุ๊ก อิงค์ แถลงวานนี้ (3 มี.ค.) ว่าบริษัทได้ ลบบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊ก จำนวน 185 บัญชีที่มีความเกี่ยวข้องกับ ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร หรือ ไอโอ (Information Operation: IO) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เฟซบุ๊กได้ดำเนินการปิดบัญชีผู้ใช้ของไทยที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลไทย
ทั้งนี้ หากลงในรายละเอียดจะพบว่า เฟซบุ๊กได้ลบ 77 บัญชี, 72 เพจ และ 18 กลุ่มออกจากเฟซบุ๊ก และลบ 18 บัญชีบนอินสตาแกรมที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายปฎิบัติการไอโอของกองทัพไทย โดยเฟซบุ๊กมีเป้าหมายต้องการขจัด "พฤติกรรมหลอกลวงที่กระทำกันเป็นกลุ่มหรือร่วมมือกัน" บนแพลตฟอร์มของเฟซบุ๊ค บริษัทระบุว่า บัญชีเหล่านี้เชื่อมโยงกับกองทัพไทยและเล็งเป้าหมายผู้ชมหรือผู้รับข่าวสารที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งและเหตุการณ์ความไม่สงบ รวมทั้งกลุ่มก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดน มาเป็นระยะเวลายาวนานหลายทศวรรษ
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าได้ติดต่อเพื่อสอบถามเรื่องนี้แต่โฆษกของกองทัพได้ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเนื่องจากเป็นนโยบายที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้ข่าวนอกเหนือจากการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ
นายนาธาเนียล ไกลเชอร์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายความมั่นคงทางไซเบอร์ของเฟซบุ๊กเปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า นี่เป็นครั้งแรกที่เฟซบุ๊กลบบัญชีที่เกี่ยวข้องกับกองทัพไทย และพบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการใช้ปฏิบัติการไอโอนี้ และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) "เราพบว่าบัญชีและกลุ่มเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกันและเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการไอโอ"
ไกลเชอร์ยังระบุว่า เครือข่ายดังกล่าวส่วนใหญ่เริ่มใช้งานบนเฟซบุ๊กตั้งแต่ปี 2563 มีการใช้ทั้งบัญชีปลอมและบัญชีจริงของตัวเองจัดการหน้าเพจทั้งที่เป็นเพจส่วนบุคคลและเพจกลุ่ม ซึ่งมีทั้งที่แสดงตัวตนอย่างชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับกองทัพและที่ไม่ได้เปิดเผย บางบัญชีปลอมเปิดใช้ในนามบุคคลที่ไม่ใช่ตัวตนจริงๆ ระบุว่าเป็นบุคคลจากจังหวัดชายแดนภาคใต้
นอกจากนี้ ทางเครือข่ายยังใช้เงินในการโฆษณาทั้งบนเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมไปแล้วราว 350 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 10,500 บาทบางเพจในเครือข่ายนี้มีผู้ติดตามราว 700,000 ราย และบางเพจที่เป็นเพจกลุ่มก็มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายอื่น ๆมาเข้าร่วมกลุ่มถึง 100,000 ราย
นายไกลเชอร์กล่าวว่า การถอดบัญชีเหล่านี้ออกจากระบบของเฟซบุ๊กเป็นผลมาจากพฤติกรรมที่เข้าข่ายหลอกลวง (deceptive behaviour) ไม่ใช่เนื้อหาที่โพสต์ ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการสนับสนุนทหารและสถาบันฯ รวมถึงการโจมตีว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเป็นฝ่ายสร้างความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้
ก่อนหน้านี้ในเดือนต.ค.2563 สื่อโซเชียลมีเดียยอดนิยมอีกราย คือ ทวิตเตอร์ ได้เคยปิด 926 บัญชีที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการไอโอของกองทัพไทยมาแล้ว ซึ่งในครั้งนั้น กองทัพได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับบัญชีเหล่านั้น
ข่าวระบุว่า เมื่อวานนี้ (3 มี.ค.) เฟซบุ๊กยังได้ปิดบัญชีของ 4 เครือข่ายของรัฐบาลอิหร่าน รัสเซีย และโมรอกโกด้วย โดยระบุว่าในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา บริษัทได้ถอดเครือข่ายที่มีพฤติกรรมหลอกลวงนี้ออกจากสารรบบของเฟซบุ๊กไปแล้วมากกว่า 100 เครือข่ายทั่วโลก
ภาคีนักกฎหมายฯ จี้ ผบ.ตร. ฟันวินัยเจ้าพนักงานทำร้ายผู้ชุมนุม
https://www.matichon.co.th/politics/news_2606653
จากกรณีที่เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมบริเวณหน้าโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา การสลายการชุมนุมดังกล่าวปรากฏภาพจากประชาชนและสื่อมวลชนว่าเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานตำรวจควบคุมฝูงชนมีการใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมชัดเจนทั้งรุมเตะ ฉีดน้ำ ใช้แก๊สน้ำตาและยิงด้วยกระสุนยางปรากฏตามภาพเหตุการณ์บางส่วนที่ส่งมาพร้อมกันนี้
จากเหตุการณ์ข้างต้น ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเห็นว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 วรรคสามที่บัญญัติกำหนดให้ผู้ทำการจับใช้วิธีหรือการป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับ แต่ภาพข่าวและข้อมูลจากผู้ถูกจับกุมกลับปรากฏว่ามีบางกรณีที่ผู้ถูกจับกุมถูกเจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกายภายหลังการควบคุมตัวแล้ว นอกจากนี้ ขณะจับกุมยังปรากฏภาพการใช้กำลังทำร้ายร่างกายบุคคลด้วยความรุนแรง จึงเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุอย่างชัดเจน ผิดกฎหมายและผิดวินัยข้าราชการตำรวจ พระราชบัญญัติตำรวจ พ.ศ.2547 มาตรา 80
ซึ่งกำหนดให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย และดำเนินการทางวินัยแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย และมาตรา 84 กำหนดว่าเมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชารีบดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริงหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ประกอบกับกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.2546 ข้อ 4(5) กำหนดว่ากรณีที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสารมวลชนระบุข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน กรณีแวดล้อม และหรือระบุพยานบุคคล พยานวัตถุ หรือพยานเอกสารชี้แนะแนวทางเพียงพอที่จะดำเนินการสืบสวนได้ เป็นกรณีที่ควรสืบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งกรณีนี้มีภาพใบหน้าของเจ้าพนักงานตำรวจปรากฏชัดเจน และท่านในฐานะ ผบ.ตร.สามารถสืบสวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมให้ปรากฏได้
ดังนั้น จึงขอให้ท่านดำเนินการตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.2546 ข้อ 4 จัดให้มีการสืบสวนข้อเท็จจริง โดยแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการทางวินัยกับเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งใช้กำลังทำร้ายร่างกายผู้ถูกจับกุมต่อไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัยและกฎหมาย โดยเฉพาะเจ้าพนักงานตำรวจควบคุมฝูงชน หากท่านไม่ดำเนินการทางวินัยหรือมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อยับยั้งการกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจควบคุมฝูงชนที่ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองขณะปฏิบัติหน้าที่ได้ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ของประชาชน และเสื่อมเสียเกียรติของข้าราชการตำรวจ ในระหว่างการดำเนินการดังกล่าว มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านจะต้องมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจในหน่วยหรือกองร้อย ฯลฯ ที่มีพฤติการณ์ในลักษณะดังกล่าวข้างต้นหยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อนเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ใช้กำลังทำร้ายร่างกายบุคคลเช่นในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 และวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา
ในขณะเดียวกัน ขอให้ท่านกำหนดมาตรการที่เหมาะสมและคำนึงถึงสุขภาพและความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำจรวจควบคุมฝูงชน เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียที่สามารถป้องกันได้ต่อไป