7 สาเหตุ ที่ทำให้บริหารเวลาไม่ลงตัว เพราะอะไรกันนะ ?

7 สาเหตุ ที่ทำให้บริหารเวลาไม่ลงตัว เพราะอะไรกันนะ ?
.
.
.
 
คุณคิดว่า 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวัน
 ไม่เพียงพอจริงหรือ ?

          ในวันที่ยุ่ง ๆ 24 ชั่วโมง ก็ดูเหมือนยังไม่พอสำหรับการทำงานในออฟฟิศ หรือทำงานที่บ้าน เคยลองพิจารณาหาสาเหตุกันหรือไม่ว่า เพราะอะไรถึงจัดการเวลาไม่ลงตัวเสียที อะไรที่ควรให้เวลา อะไรที่ไม่ควรใช้เวลามากเกินไป ในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถทำภารกิจให้สำเร็จได้ และยังมีเวลาเหลือสำหรับพักผ่อนได้ อีกด้วย อยู่ที่ว่า คุณได้ลองวางแผน และบริหารจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพแล้วหรือยัง
 

          เอาจริง ๆ แล้วเวลาอาจไม่ใช่ไม่พอหรอก วันหนึ่ง ๆ เรามีเวลามากเกินพอที่จะทำในสิ่งที่เราอยากทำ แต่พอทำอะไรที่มีสาระได้สักพัก เราก็หันไปสนใจสิ่งรอบข้าง เช่น ดูยูทูป ส่องเฟซบุ๊ก ไปตามข่าวไร้สาระในโลกโซเชียลที่ไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรต่อชีวิตเลย เป็นต้น

 
          เชื่อว่าหลาย ๆ คนเลย ที่เวลาทำงานไปสักพักใหญ่ ก็จะเริ่มมีอาการวอกแวก เล่นมือถือ ดูโน่นนี่ เพลินไปเลย ซึ่งเวลาเหล่านี้นี่แหละที่ดึงความสนใจของเราไป และหลายครั้งก็ดึงพลังสมองของเราไปด้วย กว่าจะกลับมาสู่โหมดที่ทำงานอย่างจริงจังได้ก็กินเวลาไปเป็นชั่วโมงยังไงล่ะ ฉะนั้นควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง ให้รู้จักแบ่งเวลาอย่างเด็ดขาด เวลาทำงานก็ทำงาน เล่นก็คือเล่น ให้ชัดเจนไปเลย  ทีนี้ก็จะไม่เป็นปัญหาเวลาไม่พออีกต่อไป
 

แผลงศร1.จัดลำดับความสำคัญผิด ๆ
       อีกหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุด ในการบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพคือ การแยกงานระหว่างงานที่สำคัญ และงานเร่งด่วน ซึ่งคนส่วนใหญ่จะทำงานด่วนก่อน อะไร ๆ ก็ด่วนไปหมด  เรียกได้ว่าทั้งวันมีแต่งานด่วน ถ้ามัวแต่ทำงานด่วน คุณก็ไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญของงานได้เลย อย่างแรก คุณต้องเริ่มต้นจากงานที่สำคัญจริง ๆ ตามมาด้วยงานด่วน งานฉุกเฉิน อย่าให้ความสำคัญของทุกงานเท่าเทียมกัน
 

แผลงศร2.ยุ่งตลอดเวลา
        ซึ่งบางคนอาจบอกว่า “ไม่ว่างเลยงานยุ่งทั้งวัน” แม้จะรีบปั่นงานแค่ไหน ถ้าไม่มีการบริหารเวลา ก็มีความเป็นไปได้ว่างานก็ไม่เสร็จอยู่ดี หรือเสร็จแต่อาจไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะสอดคล้องกับข้อก่อนหน้านี้ที่บอกว่า คุณกำลังจัดลำดับความสำคัญของงานแบบผิด ๆ ยิ่งรีบยิ่งรนมากเท่าไร ความผิดพลาดก็ยิ่งอยู่ใกล้เท่านั้น ลองสละเวลานิดหน่อยเพื่อทำสมาธิ ใจเย็น ๆ และจัดลำดับความสำคัญของงานก่อนจะลงมือทำงาน
 

แผลงศร3.ผัดวันประกันพรุ่ง
      ประโยคที่คุ้นเคยและอันตรายที่สุด คือ  “เดี๋ยวค่อยทำก็ได้”  เป็นประโยคที่ไม่ควรพูดอย่างยิ่ง เพราะยิ่งพูดก็ยิ่งติดปาก และถ้ามีงานสำคัญรออยู่ที่ใกล้ถึงกำหนดส่งเต็มที เชื่อว่าวินาทีสุดท้าย คุณก็ยังปั่นงานอยู่ ซึ่งจะทำให้งานไม่มีคุณภาพ และคุณเองก็ไม่รู้สึกพอใจกับมันเท่าไรนัก หากคุณมีการบริหารจัดการเวลาที่ดี ทักษะนี้จะช่วยเสริมความเป็นผู้นำได้ พยายามเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ไปให้ได้ สุดท้ายผลประโยชน์ก็จะตกอยู่ที่ตัวคุณเอง
 

แผลงศร4.ทำงานแบบไร้ทิศทาง ไม่มีเป้าหมาย
       ในการทำสิ่งใดก็ตาม ถ้าคุณไม่ได้กำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแล้ว แน่นอนว่าไร้ซึ่งทิศทางของการทำงาน มันก็เหมือนกับคุณทำงานไปวัน ๆ ขอแค่ให้ผ่านไปในแต่ละวันก็พอ  แต่การกำหนดเป้าหมายจะช่วยให้คุณรู้วิธีการทำงาน ทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมายและประสบความสำเร็จได้
 

แผลงศร5.ไม่ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ 
       ในยุคสมัยนี้ที่เทคโนโลยีทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน อีกทั้งยังทำให้ประหยัดเวลาได้อีกด้วย เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือ ไอแพด ติดต่อธุรกิจ การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน อีกทั้งการประชุมในยุคปัจจุบันเรายังประชุมข้ามประเทศ ข้ามจังหวัด ได้เพียงแค่มีอินเตอร์เน็ต สะดวกสบายประหยัดเวลาอีกเพราะด้วยเทคโนโลยี สมัยใหม่ที่ก้าวไกลไปมาก
 
 
แผลงศร6.ไม่กล้าปฏิเสธ 
       ชีวิตจริง หลาย ๆ คนไม่กล้าที่จะปฏิเสธ มีความเกรงอกเกรงใจ แทนที่จะได้ทำงานของตนเองให้เสร็จทันเวลาหรือตามแผนที่วางไว้ กลับถูกผู้อื่นขอร้องให้ทำงานของคนอื่นให้ ไม่ได้บอกว่าช่วยเหลือไม่ได้ จริง ๆ การช่วยเหลือมีน้ำใจต่อกันเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องดูกาลเทศะด้วย  และบางครั้งแทนที่จะใจแข็งรู้จักปฏิเสธไป แต่กลับให้การช่วยเหลือ ทำให้งานของตนเองที่จะทำกลับไม่ได้ทำ
 

แผลงศร7.เสียเวลาไปกับสิ่งไร้สาระ
       เครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการบริหารเวลาคือ การรู้จักบังคับและมีวินัยในตัวเอง และรู้ว่าควรจะหยุดตอนไหน โดยเฉพาะเรื่องการหยุดใช้โซเชียลต่าง ๆ  หากรู้จักบริหารเวลาเป็นก็ไม่ใช่ปัญหา  แต่มีหลาย ๆ คนที่ให้ความสำคัญกับโซเชียลมากเกินไปจนทำให้เสียงานก็มีเยอะไป  และมีบางคนอาจจะคิดว่าเล่นแค่ 2 นาที ไม่เป็นไรหรอก แต่ลองถามตัวเองดูว่าคำว่า 5 นาทีมีอยู่จริงหรือเปล่า เพราะกิจกรรมเหล่านี้จะรบกวนเวลาทำงานทำให้เสียสมาธิในการทำงานเป็นอย่างมาก
 

          เพียงแค่คุณรู้จักจัดการแบ่งเวลาให้ลงตัว ว่าเวลาไหนต้องทำสิ่งใด เวลาไหนต้องหยุดอะไร คุณอาจจะทำด้วยวิธีการโน้ตออกมาเลยก็จะดีมาก ๆ  เพราะเราจะได้รู้ว่าช่วงเวลาไหนถึงไหน ต้องทำอะไร และเป็นการฝึกตัวเองให้มีวินัยด้วย และที่สำคัญหากคุณสามารถทำได้อย่างมีระบบแล้วล่ะก็ ไม่ว่าจะมุ่งมั่นตั้งใจทำสิ่งใดก็ตาม เชื่อมั่นได้เลยว่าคุณจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

          เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ? สำหรับใครที่คิดว่า พฤติกรรมดังกล่าว เหมาะที่สุดกับการทำให้บริหารจัดการเวลาไม่ลงตัว ตอนนี้คุณพอจะมีไอเดียในการจะไปต่อได้แล้วรึยัง ? ซึ่งคุณสามารถแชร์ไอเดียได้นะครับหรือพูดคุยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการระบบเวลาใหม่ หรือกับอะไรก็ตามแต่.... คุณสามารถคอมเมนต์มาด้านล่างนี้ได้เลย ผมยินดีรับฟังครับ

พาพันขอบคุณ
วรัทพภ รชตนามวงษ์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่