เราได้ผลกระทบจากโควิด-19 ว่างงานและงดไปกลุ่มโยคะ เลยต้องหางานอดิเรกอื่นทำทดแทนไม่ให้ว่างเกินไป
พอดีสนใจการเขียนตัวอักษรญี่ปุ่นด้วยพู่กัน (Shodou 書道 หรือ Shūji 習字 Japanese calligraphy)
ซึ่งจะมีการสอนในโรงเรียนให้เด็กทุกคนได้เรียนด้วยนะคะ
เรารู้จักคุณครูที่สอน เลยขอเรียนโดยครูมีเวลาให้เดือนละ 2 ครั้ง
เริ่มเรียนธันวาคม 2020 หยุดเดือนมกราคมเพราะในจังหวัดที่อยู่มีคนติดเชื้อโควิดจำนวนมากเกือบทุกวัน และมาเริ่มเรียนอีกทีเดือนกุมภาพันธ์
ตัวอักษรที่ได้ฝึกเขียนครั้งแรกช่วงปีใหม่ หมึกไม่สม่ำเสมอ
ที่มาของการเขียนพู่กัน คัดลอกข้อมูลมาจากเวปนี้นะคะ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
https://www.fun-japan.jp/th/articles/11026
การเขียนพู่กันถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่นจากประเทศจีนในศตวรรษที่ 6
ศาสนาพุทธกำลังเริ่มเป็นที่แพร่หลายญี่ปุ่น การคัดลอกพระสูตรที่เรียกว่า ฉะเคียว (写経 / Shakyō) ก็เป็นที่นิยมกันในหมู่ชนชั้นสูง
ด้วยเหตุนี้เองการเขียนตัวอักษรคันจิซึ่งเข้ามาจากจีนด้วยพู่กันจึงได้กลายเป็นการศึกษาเล่าเรียนที่ขาดไม่ได้ในหมู่ชนชั้นสูง
แต่เมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษร "คานะ" (かな / Kana คาตาคานะและฮิรางานะ) ก็ค่อย ๆ กลายเป็นรูปแบบศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของญี่ปุ่น
ประมาณศตวรรษที่ 12 การเขียนพู่กันโชะโดถูกนำเข้าจากจีนอีกครั้งพร้อมกับพระพุทธศาสนานิกายเซน
ซึ่งนำไปสู่การแยกโชะโดเป็นสองแบบ คือแบบจีนและแบบญี่ปุ่น
ฝีมือครูเขียนบทกวีญี่ปุ่นบนกระดาษยาว
ป้ายงานการสอบเลื่อนขั้นไทเก๊กของสมาคมไทเก๊กญี่ปุ่นในเมืองคามาคุระ ฝีมือครู
(เล็กๆน้อยๆจากญี่ปุ่น)............เรียนเขียนตัวอักษรญี่ปุ่นด้วยพู่กัน (Shodou 書道 หรือ Shūji 習字 Japanese calligraphy)
พอดีสนใจการเขียนตัวอักษรญี่ปุ่นด้วยพู่กัน (Shodou 書道 หรือ Shūji 習字 Japanese calligraphy)
ซึ่งจะมีการสอนในโรงเรียนให้เด็กทุกคนได้เรียนด้วยนะคะ
เรารู้จักคุณครูที่สอน เลยขอเรียนโดยครูมีเวลาให้เดือนละ 2 ครั้ง
เริ่มเรียนธันวาคม 2020 หยุดเดือนมกราคมเพราะในจังหวัดที่อยู่มีคนติดเชื้อโควิดจำนวนมากเกือบทุกวัน และมาเริ่มเรียนอีกทีเดือนกุมภาพันธ์
ตัวอักษรที่ได้ฝึกเขียนครั้งแรกช่วงปีใหม่ หมึกไม่สม่ำเสมอ
ที่มาของการเขียนพู่กัน คัดลอกข้อมูลมาจากเวปนี้นะคะ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
https://www.fun-japan.jp/th/articles/11026
การเขียนพู่กันถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่นจากประเทศจีนในศตวรรษที่ 6
ศาสนาพุทธกำลังเริ่มเป็นที่แพร่หลายญี่ปุ่น การคัดลอกพระสูตรที่เรียกว่า ฉะเคียว (写経 / Shakyō) ก็เป็นที่นิยมกันในหมู่ชนชั้นสูง
ด้วยเหตุนี้เองการเขียนตัวอักษรคันจิซึ่งเข้ามาจากจีนด้วยพู่กันจึงได้กลายเป็นการศึกษาเล่าเรียนที่ขาดไม่ได้ในหมู่ชนชั้นสูง
แต่เมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษร "คานะ" (かな / Kana คาตาคานะและฮิรางานะ) ก็ค่อย ๆ กลายเป็นรูปแบบศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของญี่ปุ่น
ประมาณศตวรรษที่ 12 การเขียนพู่กันโชะโดถูกนำเข้าจากจีนอีกครั้งพร้อมกับพระพุทธศาสนานิกายเซน
ซึ่งนำไปสู่การแยกโชะโดเป็นสองแบบ คือแบบจีนและแบบญี่ปุ่น
ฝีมือครูเขียนบทกวีญี่ปุ่นบนกระดาษยาว
ป้ายงานการสอบเลื่อนขั้นไทเก๊กของสมาคมไทเก๊กญี่ปุ่นในเมืองคามาคุระ ฝีมือครู