การเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของ “โจ ไบเดน” จากเดโมแครต แทนที่ โดนัลด์ ทรัมป์ จากรีพับลิกัน ซึ่งเคยทำให้การค้าและบรรยากาศโลกตกอยู่ในความตึงเครียดและไร้ความแน่นอนเกือบตลอด 4 ปี ทำให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้สังเกตการณ์ระหว่างประเทศส่วนใหญ่ มีความหวังเชิงบวกในตัวประธานาธิบดีคนใหม่ โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับจีนไม่พ้นจะถูกจับตามองมากเป็นพิเศษ
“เอริก โรเบิร์ตเซน” หัวหน้านักกลยุทธ์และหัวหน้าวิจัยของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่แสดงความหวังในทางบวก โดยเขาระบุว่า ถึงแม้ โจ ไบเดน และทีมงานจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างความเติบโตให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่พวกเขาย่อมตระหนักดีว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งเช่นกันที่จะสร้างสภาวะที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของการค้าโลก ซึ่งทีมงานของไบเดนแสดงความชัดเจนมากว่า พวกเขาคิดว่าการใช้กลยุทธ์การขึ้นภาษีสินค้าจากจีนมีข้อบกพร่อง แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะยกเลิกภาษีโดยทันที แต่จะใช้มันเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การเจรจาที่กว้างกว่านี้กับจีน
โรเบิร์ตเซนบอกว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศจะดีขึ้น และมองเห็นบางจุดที่ 2 ประเทศมีศักยภาพจะร่วมมือกัน เพราะมีความเห็นในแนวเดียวกัน หนึ่งในนั้นคือปัญหาโลกร้อน นี่เป็น 1 เรื่องที่ 2 ประเทศอาจจะสามารถให้พันธะผูกพันอย่างสำคัญเพื่อปรับปรุงมัน พร้อมกันนั้นก็อาจวางพื้นฐานสำหรับการประนีประนอมในเรื่องอื่น ๆ “ผมค่อนข้างมองโลกแง่ดีว่าในช่วง 12-24 เดือน จะเห็นความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นของ 2 ประเทศ”
นอกจากนี้เขาเชื่อว่ารัฐบาลไบเดนไม่น่าจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือสร้างอิทธิพลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในวาระการค้า เพราะต้องการให้ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปอย่างเสรีและมีประสิทธิภาพ โดยมีการแทรกแซงน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ขณะเดียวกันคิดว่าไบเดนจะมีความแข็งกร้าวน้อยกว่า ไม่ว่าจะนำกลยุทธ์ใดมาใช้ก็ตาม
สำหรับประเด็นของภาษีที่เก็บจากจีนตั้งแต่ยุคทรัมป์นั้น “เจเน็ต เยลเลน” รัฐมนตรีคลังคนใหม่ ส่งสัญญาณว่า ณ ขณะนี้จะยังคงอัตราภาษีไว้เท่าเดิมก่อน โดยรัฐบาลใหม่จะขอประเมินเรื่องนี้ก่อนตัดสินใจว่าจะเดินหน้าอย่างไรต่อไป
ทางด้านภาคเอกชนสหรัฐมีความเคลื่อนไหวในประเด็นนี้เช่นกัน โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้หอการค้าสหรัฐและโรเดียม กรุ๊ป ได้ออกรายงานระบุว่า หากสหรัฐตัดสินใจจะแยกตัวจากจีนอย่างรุนแรงจะทำให้สหรัฐเสียหายมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ โดยแจกแจงว่า หากสหรัฐขยายการเก็บภาษีสินค้าทุกอย่างที่มีการค้าขายกับจีนในอัตรา 25% จะทำให้จีดีพีสหรัฐหายไป 1.9 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี และหากสหรัฐบังคับให้ธุรกิจสหรัฐขายกิจการที่มีการลงทุนโดยตรงทั้งหมดในจีน จะสร้างความเสียหายให้นักลงทุนปีละ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในแง่ของกำไรจากส่วนต่างราคา (capital gain) และ 5 แสนล้านดอลลาร์ในรูปจีดีพีของประเทศ เป็นต้น
นอกจากนี้จะทำให้ธุรกิจสหรัฐเสี่ยงจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันระดับโลก หากรัฐบาลสหรัฐใช้นโยบายบังคับให้แยกตัวจากจีนแบบหว่านแหทั้งหมด
“การใช้นโยบายแบบหว่านแหจะกระทบประเทศอื่น ๆ ด้วย เพราะจะบังคับให้ประเทศเหล่านั้นทบทวนความสัมพันธ์กับสหรัฐ และจะทำให้ต้นทุนของธุรกิจสหรัฐสูงขึ้น ลดความสามารถการแข่งขันของสหรัฐในระดับโลก” ในส่วนของนโยบายความมั่นคงซึ่งกระทบต่อการค้าสินค้าเทคโนโลยีกับจีนนั้น รัฐบาลควรดำเนินการเรื่องนี้อย่างแคบ ๆ และเฉพาะ
เพราะการตัดธุรกิจสหรัฐออกจากตลาดจีนนั้น จะส่งผลกระทบใหญ่หลวงมากต่อความเป็นผู้นำของสหรัฐในระดับโลกในระยะยาว มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจผลิตชิปของสหรัฐจะต้องสามารถเข้าถึงตลาดจีนได้เช่นเดิม
https://www.prachachat.net/world-news/news-620782
มุมมองผู้เชี่ยวชาญ สัมพันธ์ ‘สหรัฐ-จีน’ ดีขึ้นใน 1-2 ปี
“เอริก โรเบิร์ตเซน” หัวหน้านักกลยุทธ์และหัวหน้าวิจัยของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่แสดงความหวังในทางบวก โดยเขาระบุว่า ถึงแม้ โจ ไบเดน และทีมงานจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างความเติบโตให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่พวกเขาย่อมตระหนักดีว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งเช่นกันที่จะสร้างสภาวะที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของการค้าโลก ซึ่งทีมงานของไบเดนแสดงความชัดเจนมากว่า พวกเขาคิดว่าการใช้กลยุทธ์การขึ้นภาษีสินค้าจากจีนมีข้อบกพร่อง แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะยกเลิกภาษีโดยทันที แต่จะใช้มันเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การเจรจาที่กว้างกว่านี้กับจีน
โรเบิร์ตเซนบอกว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศจะดีขึ้น และมองเห็นบางจุดที่ 2 ประเทศมีศักยภาพจะร่วมมือกัน เพราะมีความเห็นในแนวเดียวกัน หนึ่งในนั้นคือปัญหาโลกร้อน นี่เป็น 1 เรื่องที่ 2 ประเทศอาจจะสามารถให้พันธะผูกพันอย่างสำคัญเพื่อปรับปรุงมัน พร้อมกันนั้นก็อาจวางพื้นฐานสำหรับการประนีประนอมในเรื่องอื่น ๆ “ผมค่อนข้างมองโลกแง่ดีว่าในช่วง 12-24 เดือน จะเห็นความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นของ 2 ประเทศ”
นอกจากนี้เขาเชื่อว่ารัฐบาลไบเดนไม่น่าจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือสร้างอิทธิพลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในวาระการค้า เพราะต้องการให้ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปอย่างเสรีและมีประสิทธิภาพ โดยมีการแทรกแซงน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ขณะเดียวกันคิดว่าไบเดนจะมีความแข็งกร้าวน้อยกว่า ไม่ว่าจะนำกลยุทธ์ใดมาใช้ก็ตาม
สำหรับประเด็นของภาษีที่เก็บจากจีนตั้งแต่ยุคทรัมป์นั้น “เจเน็ต เยลเลน” รัฐมนตรีคลังคนใหม่ ส่งสัญญาณว่า ณ ขณะนี้จะยังคงอัตราภาษีไว้เท่าเดิมก่อน โดยรัฐบาลใหม่จะขอประเมินเรื่องนี้ก่อนตัดสินใจว่าจะเดินหน้าอย่างไรต่อไป
ทางด้านภาคเอกชนสหรัฐมีความเคลื่อนไหวในประเด็นนี้เช่นกัน โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้หอการค้าสหรัฐและโรเดียม กรุ๊ป ได้ออกรายงานระบุว่า หากสหรัฐตัดสินใจจะแยกตัวจากจีนอย่างรุนแรงจะทำให้สหรัฐเสียหายมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ โดยแจกแจงว่า หากสหรัฐขยายการเก็บภาษีสินค้าทุกอย่างที่มีการค้าขายกับจีนในอัตรา 25% จะทำให้จีดีพีสหรัฐหายไป 1.9 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี และหากสหรัฐบังคับให้ธุรกิจสหรัฐขายกิจการที่มีการลงทุนโดยตรงทั้งหมดในจีน จะสร้างความเสียหายให้นักลงทุนปีละ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในแง่ของกำไรจากส่วนต่างราคา (capital gain) และ 5 แสนล้านดอลลาร์ในรูปจีดีพีของประเทศ เป็นต้น
นอกจากนี้จะทำให้ธุรกิจสหรัฐเสี่ยงจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันระดับโลก หากรัฐบาลสหรัฐใช้นโยบายบังคับให้แยกตัวจากจีนแบบหว่านแหทั้งหมด
“การใช้นโยบายแบบหว่านแหจะกระทบประเทศอื่น ๆ ด้วย เพราะจะบังคับให้ประเทศเหล่านั้นทบทวนความสัมพันธ์กับสหรัฐ และจะทำให้ต้นทุนของธุรกิจสหรัฐสูงขึ้น ลดความสามารถการแข่งขันของสหรัฐในระดับโลก” ในส่วนของนโยบายความมั่นคงซึ่งกระทบต่อการค้าสินค้าเทคโนโลยีกับจีนนั้น รัฐบาลควรดำเนินการเรื่องนี้อย่างแคบ ๆ และเฉพาะ
เพราะการตัดธุรกิจสหรัฐออกจากตลาดจีนนั้น จะส่งผลกระทบใหญ่หลวงมากต่อความเป็นผู้นำของสหรัฐในระดับโลกในระยะยาว มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจผลิตชิปของสหรัฐจะต้องสามารถเข้าถึงตลาดจีนได้เช่นเดิม
https://www.prachachat.net/world-news/news-620782