JJNY : เอกชนแนะปิดจุดอ่อนอีอีซี│“แคน”ปลุกคนรุ่นใหม่ใช้สิทธิ│มะกันฉลุยเงินเยียวยา│ปลัดสธ.ฉีดเข็มแรก ตู่-หนูให้กำลังใจ

เอกชนแนะรัฐปิดจุดอ่อนอีอีซีเร่งดึงดูดการลงทุนแข่งกับเวียดนาม
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/924544

 

เอกชน -นักวิชาการ ชี้เวียดนามแซงไทยด้านเศรษฐกิจจากความพร้อมด้านต่าง ๆแนะเร่งลดอุปสรรค สร้างแรงดึงดูดนักลงทุนหันลงทุนไทย
 
นายสนั่น อังอุบลกุล รองประธานหอการค้าไทย ในฐานะประธานสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม เปิดเผยว่า  แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในขณะนี้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น ส่วนหนึ่งจากการย้ายฐานการผลิตจากจีน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามามาก เนื่องจากรัฐบาลเวียดนามมีโนยายชัดเจนล่าสุดการประชุมของพรรคคอมมิวนิสต์ได้วางนโยบายด้านเศรษฐกิจ 5 ปี เน้นเรื่องอุตสาหกรรมไฮเทค อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยพร้อมเปิดประเทศให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น มีการแก้ไขอุปสรรคที่เป็นปัญหาต่อการลงทุนทั้งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆเพื่อเอื้อต่อการลงทุน รวมทั้งไฟเขียวให้แต่ละจังหวัดของประเทศมีการแข่งขันการพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองได้และกระจายอำนาจให้แต่ละจังหวัด ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความสบายใจ
 
ส่วนการเมืองในประเทศก็มีความต่อเนื่องไม่มีสะดุด ขณะที่การทำเอฟทีเอนั้นเวียดนามมี 17 ฉบับ ครอบคลุม 55 ประเทศ โดยเฉพาะการเข้าร่วมเป็นสมาชิกซีพีทีพีพี ที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกแล้ว ทั้งที่มีความพร้อมน้อยกว่าไทย รวมทั้งการทำเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปหรืออียู ประกอบกับและอัตราแลกเปลี่ยนเงินดองในรอบ 4 ปีที่ผ่านมาอ่อนค่า 4 % เทียบกับไทยที่แข็งค่าขึ้น 15% ซึ่งแตกต่างกันมาก แม้ว่าสหรัฐจะจับตาเวียดนามในฐานะเป็นประเทศที่มีการแทรกแซงค่าเงินก็ตาม รวมทั้งความพร้อมด้านแรงงานที่มีมาก ซึ่งเวียดนามไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าวเลย ผิดจากประเทศไทยที่ต้องการแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก
 
“สิ่งเหล่านี้เอื้ออำนวยให้ประเทศเวียดนามพัฒนาเศรษฐกิจไปได้เร็วมาก และเติบโตมาก และเริ่มพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเจริญเติบโตด้านอุตสาหกรรม โดยขณะนี้ไทยเองก็เข้าไปลงทุนในเวียดนามมากขึ้น ทั้งด้านพลังงาน ไฟฟ้า ปิโตรเคมี แม้เวียดนามจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่อัตราขยายตัวด้านเศรษฐกิจโต 7% ขณะที่ไทยติดลบ 6 % จีดีพีก็โตต่อเนื่อง และตั้งเป้าใน 5 ปีข้างหน้าจะต้องโต 6-7%ต่อปี”
 
นายสนั่น กล่าวว่า ขณะนี้เวียดนามเป็นประเทศที่น่าลงทุนมาก โดยนักธุรกิจไทยต้องไปลงทุนในเวียดนามให้มากไม่ใช่เป็นการย้ายฐานการผลิตแต่เป็นการขยายฐานการผลิต ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลควรส่งเสริมให้ไปลงทุนในต่างประเทศ ปัจจุบันมีบริษัทไทยประมาณ 600 รายที่เข้าไปลงทุน คาดว่าในอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ของเวียดนามจะมีแนวโน้มเติบโตมาก และอุตสาหกรรมเกษตรจะโตแบบก้าวกระโดดและมั่นคงมาก อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็เป็นประเทศที่นักลงทุนต้องการเข้ามาลงทุนไม่ต่างกับเวียดนาม เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่บรรยากาศดี ผู้คนอัธยาศัยดี มีโครงสร้างพื้นฐานพร้อม เป็นต้น และยังได้เปรียบในเรื่องการชายแดนที่ติดต่อกับ 4 ประเทศคือ เมียนมา กัมพูชา ลาวและ มาเลเซีย ซึ่งสามารถเชื่อมโยงการค้าไปยังประเทศอินเดีย จีน เวียดนาม ได้อีก
 
สิ่งที่เป็นปัญหามากคือ เสถียรภาพทางการเมืองไทย ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ต่อเนื่อง ทำให้เกิดความกังวลด้านนโยบาย การแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน ความยากง่ายในการทำธุรกิจของไทย (Doingbusiness) การเจรจาความตกลงซีพีทีพีพีที่ยังไม่คืบหน้า การทำเอฟทีเออื่น ส่วนอีอีซีที่เป็นนโยบายหลักของรัฐบาลก็ดำเนินไปอย่างล่าช้า มีขั้นตอนยุ่งยากมากมาย และคงต้องปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเป้าหมายหลังจากเกิดโควิด-19 เพราะประเทศเพื่อนบ้านเราก็มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ควรต้องมีด้านสุขอนามัย เทคโนโลยี เป็นต้น นอกจากนี้ในเรื่องเทคโนโลยีด้านไอทีก็ช้ามาเมื่อเทียบกับเวียดนามถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในการลงทุน เร่งพัฒนาเนชั่นแนล ซิงเกิ้ล วินโดว์ หรือ การผลักดันความสะดวกด้านศุลกากรว่าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว ก็ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นข้อจำกัดและเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนในประเทศไทย
 
“หากปรับปรุงแก้ไขในสิ่งที่เป็นอุปสรรค ทำให้นักลงทุนเกิดความสบายใจ มีความสะดวกสบาย ในการเข้ามาลงทุน พร้อมเร่งเจราซีพีทีพีพีเพื่อสร้างแรงจูงใจ และดึงดูดนักลงทุน ดังนั้นจำเป็นต้องเร่งรัดเรื่องเหล่านี้และพยายามในการผลักดันหรือส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ รวมทั้งการดึงดูดคนเก่งเข้ามาทำงานประเทศด้วย”
 
นายสนั่น กล่าวว่า ไทยกับเวียดนามเป็นประเทศที่น่าลงทุนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ เพียงอยู่ตรงที่ประเทศไทยจะเหมาะสมกับการลงทุนในอุตสาหกรรมประเภทใด แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับประเทศไทยคือ แรงงานขาดแคลน ซึ่งในอนาคตจะเป็นปัญหาใหญ่มากทำให้เสียเปรียบกับเวียดนาม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ที่กลับมาฟื้นตัวจากผลกระทบโควิดที่ต้องใช้แรงงานถึง 7 แสนคน
 
นายอัทธ์ พิศาลวานิช  ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า เอฟทีเอทั้งที่ทำไปแล้วและกำลังดำเนินการเจรจาของไทยมีมากกว่าเวียดนาม ซึ่งเอฟทีเอบางตัวไทยก็ทำร่วมกับเวียดนามแต่สิ่งที่แตกต่างระหว่างไทยกับเวียดนามคือ 2 ฉบับคือ ซีพีทีพีพี และเอฟทีเอเวียดนาม-ยุโรป ซึ่งทั้ง 2 ฉบับนี้ทำให้เศรษฐกิจเวียดนามทิ้งห่างไทยไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอฟทีเอเวียดนาม-ยุโรป จะทำให้มูลค่าส่งออก ห่างจากประเทศไทยอีก 2 เท่าขณะที่การลงทุนจากต่างประเทศก็มีการลงทุนมากมากกว่าไทยถึง 3 เท่า จากเหตุผลค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่าไทย และอีก 5 ปี โครงสร้างพื้นฐานของเวียดนามก็จะมีความพร้อม
 
ขณะที่เวียดนามจะใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอเวียดนาม-ยุโรป ในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0ซึ่งจะเติมเต็มอุตสาหกรรมที่อ่อนพัฒนาให้เข้มแข็งได้ คือ
1. อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร
2. ระบบโลจิสติกส์
และ 3. การพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งจะนำเทคโนโลยีของยุโรปมาพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ของตนเองเพราะเวียดนามผลิตรถยนต์ภายใต้เบรนด์เวียดนาม
 
“ยิ่งเวียดนามอยู่ในซีพีทีพีพีก็ยิ่งทำให้เวียดนามห่างไกลจากไทยไปอีก หากพูดเช่นนี้ก็จะมีเสียงค้านว่าเราต้องเข้าร่วมซีพีทีพีพีใช่หรือไม่ ซึ่งผมไม่ได้บอกเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วม แต่อยากบอกว่า การเข้าร่วมซีพีทีพีพี ของเวียดนามได้ประโยชน์มากมาย “
 
เมื่อเปรียบเทียบตัวชี้วัดบางตัว ระหว่างไทยกับเวียดนามพบว่า เวียดนามแซงไทยใน 3 เรื่องคือ การลงทุนหรือFDI มูลค่าการส่งออก และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ค่าจ้างที่ถูกกว่าทำให้ได้เปรียบกว่าไทย นอกจากนี้ยังมีเรื่องของนโยบายที่ชัดเจนต่อเนื่อง ศักยภาพคนของเวียดนามมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ยุทธศาสตร์ดิจิทัลภายในคศ.2035 รวมทั้งระบบการบริหารงานด้านเศรษฐกิจที่มีรัฐวิสาหกิจหรือที่เรียกว่า VENA เฉพาะไปทำตลาด รับออเดอร์และนำออเดอร์มาให้ภาคการผลิตภายในประเทศ ขณะที่ประเทศไทยแตกต่างกันแบบต่างคนต่างทำโดยรายใหญ่สามารถเดินต่อไปได้ แต่ขนาดเล็กอย่างเอสเอ็มอีแทบจะไปไม่ได้
 
นายอัทธ์ กล่าวว่า สำหรับการลงทุนของต่างชาติในเวียดนามนั้น นักลงทุนรายใหญ่เป็นญี่ปุ่น เกาหลี และจีน โดยเวียดนามก็รับเทคโนโลยีจากประเทศเหล่านี้มาพัฒนาอุตสาหกรรมของตนเอง โดยการลงทุนต่างชาติในเวียดนามแซงไทยไปแล้ว เนื่องจากการเมืองมีความต่อเนื่อง ค่าแรงถูก แรงงานพร้อม คนพร้อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจให้ก้าวหน้า ขณะนี้ยังไม่เห็นจุดอ่อนของเวียดนาม แต่ก็คงมีแค่เรื่องของการต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนาเศรษฐกิจ
 
“ปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศที่นักลงทุนอยากเข้ามาลงทุน ในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวีจากเดิมมีพม่าด้วย แต่ขณะนี้สถานการณ์การเมืองในพม่ามีการเปลี่ยนแปลงอีก 2-3ปีกว่าจะสู่ภาวะปกติ ทำให้เวียดนามกลายเป็นประเทศแรกที่นักลงทุนต่างชาติต้องการเข้ามาลงทุนเพราะไม่สิ่งใดที่ทำให้เกิดการสะดุดด้านเศรษฐกิจ”
 
 ในส่วนของประเทศไทยจะต้องเร่งการปรับโครงสร้างภายในประเทศ โดยในภาคการเกษตรจะต้องปรับตัวจากการผลิตเพียงอย่างเดียวมาเป็นการพัฒนานวัตกรรมจากผลผลิตทางการเกษตร การแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมต้องปรับตัวสู่เศรษฐกิจแบบใหม่หรือBCG จากนั้นเข้าสู่วงเจรจาเอฟทีเอ
 


“แคน นายิกา” อดีตไอดอลวงดัง บุกสารคาม ปลุกคนรุ่นใหม่ ใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2599666

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564 นายิกา ศรีเนียน หรือ แคน อดีตสมาชิกไอดอลวงดัง ได้มาพร้อมกับ นายนพ เฉลิมชัย กุลาเลิศ ร่วมลงพื้นที่ เทศบาลตำบล ขามเรียง อ.กันทรวิชัย มหาสารคาม ร่วมกับ นาย ธีระวัฒน์ พรรณะ ผู้สมัครนายกเทศมนตรี ในนามคณะก้าวหน้า
 
นายิกา กล่าวว่า 2 ปีที่ผ่านมานี้ คนรุ่นใหม่ ตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น เห็นได้จากการ เลือกตั้ง สส ปี 2562 และ การชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย รวมถึงการติดตามเนื้อหาอภิปรายในสภา ซึ่งคนในสังคม ได้ถกเถียงพูดคุยกันในวงกว้าง แต่การเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น ซึ่งมีความสำคัญ เพราะถือเป็นฐานรากความเปลี่ยนแปลง ความสนใจแล้วรับรู้ กลับยังไม่มากเท่าที่ควร อาจจะเป็นเพราะข้อจำกัด ไม่เอื้ออำนวย ให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้า และนอกเขต รวมถึงกระแส ความเคยชินที่คนรุ่นใหม่ ให้ความสำคัญน้อยเกินไป โดยจากสถิติที่ผ่านมา ค่าเฉลี่ยบางพื้นที่ น้อยมากจนน่าเป็นห่วง
 
อย่างไรก็ดี นายิกา กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลง โครงสร้างทั้งประเทศให้ดีขึ้น ต้องเริ่มทุกระดับ การเลือกตั้งแทบจะเป็นทางเดียวที่จะเป็นหนทางไปสู่การเปลี่ยนแปลง แม้ทุกวันนี้ กติกาในระดับชาติ รวมถึงการผูกขาดในระดับท้องถิ่น ยังเป็นอุปสรรคใหญ่ แต่เราก็ต้องเริ่มทำทุกอย่าง ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป แม้อาจต้องใช้เวลา หรือแม้จะต้องผ่านการเลือกตั้งอีกหลายรอบ สำหรับ การมาลงพื้นที่ เทศบาลตำบลขามเรียง. แคน เลือกมาที่นี่ เนื่องจากเป็นพื้นที่ ในเขต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงหวังจะมาพปปะ ขอความเห็น คำแนะนำจาก ทั้งนักศึกษา และ ชุมชนรอบๆ มหาวิทยาลัย ซึ่งก็ได้ผลตอบรับที่ดี แม้จะอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ทำให้นักศึกษา รวมตัวกันได้ไม่มาก สำหรับ ความรู้ ความต้องการที่ แคน นายิกา และ นาย ธีระวัฒน์ พรรณะ ผู้สมัครนายกเทศมนตรี ได้รับฟังจาก นักศึกษา ก็เป็นเรื่องพื้นที่ปลอดภัยในสถานศึกษา รวมถึงการส่งเสริมด้านวัฒนธรรม ที่เป็นจุดเด่นของท้องถิ่นแห่งนี้ ส่วนชาวบ้านชุมชน รอบมหาวิทยาลัย. ก็เป็นเรื่องการพัฒนาสาธารณูปโภค น้ำสะอาด
 
ทั้งนี้ นายิกา กล่าวทิ้งท้ายถึง คนทั่วไป โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ถ้าไม่ติดขัดอะไรจริงๆ ขอให้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทุกระดับ ทุกครั้ง พยายามศึกษาหาข้อมูลเลือกผู้ที่ตั้งใจทำงานที่สุด แม้บางพื้นที่อาจจะไม่มีตัวเลือกที่เราถูกใจทั้งหมด ก็ขอให้เลือกคนที่ใกล้เคียงจริงๆ
 
สำหรับ แคน นายิกา ยังมีแผนที่จะเดินทางไป รณรงค์ รับฟังความต้องการของประชาชน เกี่ยวกับเลือกตั้งท้องถิ่น ในอีกหลายๆพื้นที่ จนถึงวันเลือกตั้ง 28 มีนาคม 2564
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่