หากสนใจศึกษาประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ จะทราบดีว่าบริเวณทัณฑสถานหญิง หรือเรือนจำหญิงเชียงใหม่
เดิมซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่นั้น เคยเป็นคุ้มหลวง เวียงแก้ว
หรือพระราชวังที่ประทับพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่ราชวงศ์มังราย มาจนถึงราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์
......................................................
อยากเขียนกระทู้นี้ให้สั้นที่สุดนะครับ เพราะผมเข้าใจว่าเพื่อนสมาชิกที่ผมได้คุยด้วยท่านหนึ่ง
มีความรู้สึกต่อ "คุก" พอสมควร แต่ด้วยเจตนาอยากให้รับทราบว่า
สถานที่นี้กำลังก้าวผ่านกาลเวลาไปสู่ "ปอดเชียงใหม่" หรือ "สวนสาธารณะแห่งใหม่ของเชียงใหม่"
จึงเก็บภาพบรรยากาศบางส่วนมาให้ชม เฉพาะอาคาร 2 หลัง เป็นสังเขปนะครับ
อันที่จริงได้เก็บบรรยากาศของสถานที่ไว้ เว้นเสียแต่ข้าวของโบราณที่บรรจุใส่ถุงไปแล้วผมไม่ขอเปิดออกบันทึกภาพ
......................................................
สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ดำเนินการขุดค้นทั้งหมด 6 หลุมขุดค้น พบแนวฐานอิฐโบราณสถาน 3 แนว
และสามารถบ่งบอกการใช้งานพื้นที่ดังกล่าวได้ 3 ช่วงเวลา
คือสมัยล้านนาตั้งแต่ช่วงกลาง สมัยรัตนโกสินทร์ มีอายุอย่างน้อยช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 และสมัยปัจจุบัน คือการใช้พื้นที่ในระยะหลังสุด
ชาวเชียงใหม่ทุกคนย่อมลุ้นอยากให้พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นหลักๆ ในพื้นที่เพื่อให้บ่งชี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ซึ่งหลักฐานเก่าแก่ที่สุดตอนนี้ คือ ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนเคลือบสีเขียวเซลาดอน จากเตาหลงฉวน สมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ. 1823-1911)
....................................................
อาคารสไตล์โคโลเนียลเพื่อใช้เป็นเรือนจำ มีอาคารสำคัญ 6 หลัง
คือ อาคารอำนวยการด้านหน้าสุด อาคารพยาบาล
เรือนแว่นแก้ว(เรือนนอนผู้ต้องขังที่เข้าร่วมกิจกรรมชุมชนบำบัด)
เรือนบัวบาน(เรือนนอนผู้ต้องขังใกล้พ้นโทษ)
เรือนเครือฟ้า(แดนแรกรับ) และ
เรือนเพ็ญ(ที่คุมขังผู้ต้องขังคดีเด็ดขาด)
ส่วนใหญ่เป็นอาคารอายุมากกว่า 100 ปีที่ก่อด้วยอิฐโดยใช้ระบบผนังรับน้ำหนัก ไม่มีเหล็กแม้แต่เส้นเดียว
อาคารลักษณะนี้มีแต่ในบริเวณพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางเมืองเชียงใหม่เท่านั้น
ผมพยายามเลือกภาพที่ดูดีไม่ส่งผลต่อภาพพจน์ในทางลบสำหรับเพื่อนสมาชิกที่ผมได้ทักทายด้วยไปแล้ว
ส่วนภาพต่างๆ นั้น ผมถ่ายด้วย GoPro แล้ว Capture มาลงแต่ปรับสีให้ดูอ่อนลงครับ
ซึ่งจะเป็นทั้งการปรับแต่งสถานที่ ที่เป็นฐานคุ้ม แนวกำแพงคุ้ม รวมไปถึงห้องขังนักโทษ ซึ่งมีทั้งห้องน้ำ ห้องส้วม
รวมไปถึงซี่กรงเหล็กหนาๆ เรียกว่า เดินถ่ายกันทุกซอกทุกมุม ยกเว้นไม่ถ่ายของในห่อพลาสติกที่ขุดค้นทางด้านโบราณคดี
เชียงใหม่-ข่วงหลวงเวียงแก้ว พัฒนาการคุ้มหลวงสู่ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่(เดิม) จนกระทั่งสวนสาธารณะในอีกไม่นาน
เดิมซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่นั้น เคยเป็นคุ้มหลวง เวียงแก้ว
หรือพระราชวังที่ประทับพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่ราชวงศ์มังราย มาจนถึงราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์
......................................................
อยากเขียนกระทู้นี้ให้สั้นที่สุดนะครับ เพราะผมเข้าใจว่าเพื่อนสมาชิกที่ผมได้คุยด้วยท่านหนึ่ง
มีความรู้สึกต่อ "คุก" พอสมควร แต่ด้วยเจตนาอยากให้รับทราบว่า
สถานที่นี้กำลังก้าวผ่านกาลเวลาไปสู่ "ปอดเชียงใหม่" หรือ "สวนสาธารณะแห่งใหม่ของเชียงใหม่"
จึงเก็บภาพบรรยากาศบางส่วนมาให้ชม เฉพาะอาคาร 2 หลัง เป็นสังเขปนะครับ
อันที่จริงได้เก็บบรรยากาศของสถานที่ไว้ เว้นเสียแต่ข้าวของโบราณที่บรรจุใส่ถุงไปแล้วผมไม่ขอเปิดออกบันทึกภาพ
......................................................
สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ดำเนินการขุดค้นทั้งหมด 6 หลุมขุดค้น พบแนวฐานอิฐโบราณสถาน 3 แนว
และสามารถบ่งบอกการใช้งานพื้นที่ดังกล่าวได้ 3 ช่วงเวลา
คือสมัยล้านนาตั้งแต่ช่วงกลาง สมัยรัตนโกสินทร์ มีอายุอย่างน้อยช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 และสมัยปัจจุบัน คือการใช้พื้นที่ในระยะหลังสุด
ชาวเชียงใหม่ทุกคนย่อมลุ้นอยากให้พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นหลักๆ ในพื้นที่เพื่อให้บ่งชี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ซึ่งหลักฐานเก่าแก่ที่สุดตอนนี้ คือ ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนเคลือบสีเขียวเซลาดอน จากเตาหลงฉวน สมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ. 1823-1911)
....................................................
อาคารสไตล์โคโลเนียลเพื่อใช้เป็นเรือนจำ มีอาคารสำคัญ 6 หลัง
คือ อาคารอำนวยการด้านหน้าสุด อาคารพยาบาล
เรือนแว่นแก้ว(เรือนนอนผู้ต้องขังที่เข้าร่วมกิจกรรมชุมชนบำบัด)
เรือนบัวบาน(เรือนนอนผู้ต้องขังใกล้พ้นโทษ)
เรือนเครือฟ้า(แดนแรกรับ) และ
เรือนเพ็ญ(ที่คุมขังผู้ต้องขังคดีเด็ดขาด)
ส่วนใหญ่เป็นอาคารอายุมากกว่า 100 ปีที่ก่อด้วยอิฐโดยใช้ระบบผนังรับน้ำหนัก ไม่มีเหล็กแม้แต่เส้นเดียว
อาคารลักษณะนี้มีแต่ในบริเวณพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางเมืองเชียงใหม่เท่านั้น
ผมพยายามเลือกภาพที่ดูดีไม่ส่งผลต่อภาพพจน์ในทางลบสำหรับเพื่อนสมาชิกที่ผมได้ทักทายด้วยไปแล้ว
ส่วนภาพต่างๆ นั้น ผมถ่ายด้วย GoPro แล้ว Capture มาลงแต่ปรับสีให้ดูอ่อนลงครับ
ซึ่งจะเป็นทั้งการปรับแต่งสถานที่ ที่เป็นฐานคุ้ม แนวกำแพงคุ้ม รวมไปถึงห้องขังนักโทษ ซึ่งมีทั้งห้องน้ำ ห้องส้วม
รวมไปถึงซี่กรงเหล็กหนาๆ เรียกว่า เดินถ่ายกันทุกซอกทุกมุม ยกเว้นไม่ถ่ายของในห่อพลาสติกที่ขุดค้นทางด้านโบราณคดี