Bugaboo.TV ทีวีออนไลน์ของช่อง 7 เปลี่ยนโลโก้ เตรียมทำรายการออริจินัลลงแพลตฟอร์ม
บริษัท บีบีทีวี นิว มีเดีย จำกัด ผู้ผลิตแอปพลิเคชัน บักกาบูดอททีวี (Bugaboo.TV) สถานีโทรทัศน์ออนไลน์ (OTT-TV) ประกาศรีแบรนด์และเปลี่ยนโลโก้ใหม่ในโอกาสครบรอบ 10 ปี สไตล์โลโก้เรียบง่าย และสื่อถึงความเป็นแพลตฟอร์มทีวีออนไลน์มากขึ้น
แต่เดิม Bugaboo.TV ฉายเนื้อหารายการย้อนหลัง (Re-run) โดยเฉพาะละครช่อง 7HD รวมถึง ภาพยนตร์ ซีรีส์ต่างประเทศ และรายการลิขสิทธิ์ต่างๆ ซึ่งทางบริษัทบอกว่าจะเพิ่มการสร้างออริจินัลคอนเทนต์ลงใน Bugaboo.TV ด้วย
นายจักรพันธ์ ลีละมาสวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีบีทีวี นิว มีเดีย จำกัด กล่าวว่า ภายในไตรมาสที่ 1 และ 2 ในปีนี้ จะเพิ่มการผลิตเนื้อหาประเภทออริจินัลออนไลน์ซีรีส์ที่ผลิตเอง จับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นและวัยทำงานทั่วประเทศ โดยเริ่มจากการเปิดตัวซีรีส์ 3 เรื่อง คือ “มัธยมบ้านเฮา” (ร่วมมืออำนวยการผลิตระหว่าง ฟินฟิน แชนแนล และ 7Star Studio) “ร้านยารักษารัก” และ “ฟิตเปรี๊ยะ”
ทางบริษัทยังบอกด้วยว่า มีผลการวิจัยพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อปรับรูปแบบรายการ เช่น รายการวาไรตี้ ความยาวควรอยู่ระหว่าง 7 ถึง 15 นาที แต่ถ้าเป็นซีรีส์ เนื้อหาความยาวอยู่ประมาณ 30 ถึง 50 นาที รวมถึงระบบสมาชิกที่ไม่เสียค่ารับชมขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับผู้ชม
Bugaboo.TV ทีวีออนไลน์ของช่อง 7 เปลี่ยนโลโก้ เตรียมทำรายการออริจินัลลงแพลตฟอร์ม
แต่เดิม Bugaboo.TV ฉายเนื้อหารายการย้อนหลัง (Re-run) โดยเฉพาะละครช่อง 7HD รวมถึง ภาพยนตร์ ซีรีส์ต่างประเทศ และรายการลิขสิทธิ์ต่างๆ ซึ่งทางบริษัทบอกว่าจะเพิ่มการสร้างออริจินัลคอนเทนต์ลงใน Bugaboo.TV ด้วย
นายจักรพันธ์ ลีละมาสวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีบีทีวี นิว มีเดีย จำกัด กล่าวว่า ภายในไตรมาสที่ 1 และ 2 ในปีนี้ จะเพิ่มการผลิตเนื้อหาประเภทออริจินัลออนไลน์ซีรีส์ที่ผลิตเอง จับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นและวัยทำงานทั่วประเทศ โดยเริ่มจากการเปิดตัวซีรีส์ 3 เรื่อง คือ “มัธยมบ้านเฮา” (ร่วมมืออำนวยการผลิตระหว่าง ฟินฟิน แชนแนล และ 7Star Studio) “ร้านยารักษารัก” และ “ฟิตเปรี๊ยะ”
ทางบริษัทยังบอกด้วยว่า มีผลการวิจัยพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อปรับรูปแบบรายการ เช่น รายการวาไรตี้ ความยาวควรอยู่ระหว่าง 7 ถึง 15 นาที แต่ถ้าเป็นซีรีส์ เนื้อหาความยาวอยู่ประมาณ 30 ถึง 50 นาที รวมถึงระบบสมาชิกที่ไม่เสียค่ารับชมขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับผู้ชม