สิ่งไหนควรจะเร็ว สิ่งไหนควรจะช้า | วิธีหาเงินและทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ


สิ่งไหนควรจะเร็ว สิ่งไหนควรจะช้า | วิธีหาเงินและทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ 


อยากมีธุรกิจที่ประสบความสำเร็จต้องโฟกัสตรงจุดไหน?!
ไม่อยากเสียเวลาลองผิด ลองถูก บ่อย ๆ แล้วจะมีวิธีไหนได้บ้าง?!
ที่จริงแล้วทุกอย่างมีเหตุ มีผล แต่จะเป็นสิ่งไหนที่ทำให้คุณไปถึงเป้าหมายได้เร็วมาดูกันครับ…

เพี้ยนแว๊น
ไม่ว่าคุณกำลังมองหารายได้เสริมหรือว่าค้าขาย ผมถือว่ามันคือธุรกิจเพราะคุณมีรายได้เข้ามามีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายออกไปและก็มีกำไรจากอาชีพนี้ ฉะนั้น หากใครที่ตัดสินใจอยากมีธุรกิจของตัวเองคุณอย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจในการลงทุน ซึ่งวันนี้ผมอยากจะแชร์ประสบการณ์ที่ว่า “สิ่งไหนควรจะเร็ว สิ่งไหนควรจะช้า” ในการทำธุรกิจ เพราะทุกอย่างมันมีเหตุมีผลแต่จะเริ่มอย่างไรมาดูกันครับ

 
สำหรับผมแล้วลักษณะการทำธุรกิจที่ดีและมีความเสี่ยงน้อย นั่นก็คือ คุณควรรู้ระบบและหน้าที่ของแต่ละฝ่ายให้ได้ทั้งหมด 
โดยที่ผมจะแบ่งออกเป็น 2 สิ่งที่ว่า “สิ่งไหนควรจะเร็ว สิ่งควรจะช้า” 
 
เริ่มจาก การทำบัญชี การเงิน สต็อกสินค้า ผลิตสินค้า ฝ่ายบุคคล ฝ่ายจัดซื้อ ซึ่งสิ่งนี้ผมจัดหมวดหมู่ว่าเป็น “สิ่งที่ควรทำช้า” แต่คุณรู้หรือไม่ว่าคนที่เริ่มทำธุรกิจส่วนใหญ่มักจะไปทุ่มเทกับหมวดนี้เป็นส่วนมากหรือเรียกว่า “เร็วผิดที่” ยกตัวอย่างเช่น การทำบัญชี – คุณอาจจะรีบไปจดชื่อบริษัทก่อนโดยไม่ได้ไตร่ตรองเรื่องรายได้ที่จะได้รับ, การเงิน – ไปกู้เงินออกมาเพื่อนำมาลงทุนในการผลิตสินค้า แม้แต่สต็อกของหรือผลิตสินค้าออกมาโดยที่ยังไม่ได้ทำการตลาด  หรือในอีกมุมนึงของการทำธุรกิจก็คือการบริการที่จะต้องมี ฝ่ายบุคคล - ในการทำหน้าที่การขายของหรือเฝ้าหน้าร้านจนไปถึงแม่บ้าน, ฝ่ายจัดซื้อ – ที่ต้องคอยดูแลเรื่องการเบิกงบซื้อของใช้ให้กับบริษัท  ฉะนั้น หมวดที่ผมได้กล่าวมาให้คุณลองสังเกตดูนะครับว่าเป็นหมวดที่มีเฉพาะ “เงินออก” ถึงแม้คุณจะบอกว่าการทำธุรกิจก็มีความเสี่ยงได้เป็นเรื่องธรรมดา ผมอยากจะบอกเลยครับว่า หากคุณโฟกัสผิดจุดและสนใจแค่เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ธุรกิจของคุณจะเสี่ยงแต่คุณอาจจะเสียเงินไปโดยใช่เหตุก็ว่าได้ 

เพี้ยนปักหมุด

ยกตัวอย่าง  คุณตั้งใจจะเปิดร้านอาหาร และมีโอกาสได้ลงทุนเช่าร้านไปกับร้านอาหารค่อนข้างเยอะ เพราะคิดว่ารสชาติอาหารอร่อยอย่างไรคนก็ต้องกิน คนก็ต้องซื้อ โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงการตลาดหรือการขายให้ได้เท่าที่ควร พอเวลาผ่านไปลูกค้าก็เริ่มหาย ไม่ได้เป็นดั่งที่คุณหวังไว้ ลูกน้องก็ต้องจ้าง ค่าเช่าก็ต้องจ่าย จนในที่สุดธุรกิจร้านอาหารคุณก็ไปไม่รอด เพราะคงไม่มีใครที่จะเข้ามาทานร้านคุณได้ซ้ำ ๆ ตลอดทุกวัน เพราะสิ่งที่คุณต้องทำคือขยายฐานลูกค้าให้มากกว่านี้
 

ที่จริงแล้วสิ่งที่คุณจะต้องโฟกัสและควรจะ “ทำให้เร็ว” นั่นก็คือ ด้านการตลาดและการขาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำหน้าหารายได้ให้กับธุรกิจของคุณ แต่คนส่วนใหญ่มักมองข้ามหรือไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งนี้มากพอ เพราะถ้าหากใครที่โฟกัสด้านการตลาดและการขายมาก่อน คุณจะคิดถึงเรื่อง การทำบัญชี การเงิน สต็อกสินค้า ผลิตสินค้า ฝ่ายบุคคล ฝ่ายจัดซื้อ น้อยลงหรือเห็นความสำคัญรองลงมาจากการทำการตลาดและการขาย โดยจะคิดถึงเป้าหมายลูกค้าที่จะมาซื้อหรือมาใช้จ่ายกับคุณว่าจะเป็นกลุ่มไหน ทำเลโซนนี้คนมีการใช้ชีวิตอย่างไร ควรตั้งราคาแบบไหน วิเคราะห์คู่แข่งยังไง และที่สำคัญสิ่งที่คุณจะขาดไม่ได้ก็คือ การทำการตลาดออนไลน์ เพื่อสะสมรายชื่อหรือฐานลูกค้าเอาไว้และโปรโมทกิจกรรมการขายให้ธุรกิจสามารถมีกำไรและดึงดูดลูกค้าให้ได้มากที่สุด เมื่อคุณวิเคราะห์ออกมาได้แล้วขั้นต่อไปก็คือการลงมือทำ และคุณก็จะเริ่มคิดแล้วว่าถ้าหากคุณลงทุนเช่าร้าน คุณจะขายสินค้าหรือบริการเท่าไหร่ ทำโปรโมชั่นออฟไลน์และออนไลน์อย่างไร และเริ่มจะรู้ขั้นตอนในการทำธุรกิจมากขึ้น 
 

ดังนั้น การทำธุรกิจคุณอย่าเพิ่งคิดว่า “เงินจะเข้า” แต่ให้คุณคิดว่า “เงินต้องอยู่ในมือก่อน” ก่อนที่จะลงทุนหรือใช้เงินในการทำอะไรลงไป เพราะทุกอย่างในธุรกิจสมัยนี้ ต้องเริ่มจากการตลาดและการขายก่อนถึงจะสามารถอยู่รอดและประสบความสำเร็จได้ ที่สำคัญคุณสามารถทำได้เลยเพราะคุณมีเครื่องมือและสามารถหาวิธีการได้จากคนที่มีประสบการณ์ที่คุณชื่นชอบให้เขาคอยช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำ เพื่อย่นเวลาในการลองผิด ลองถูกของคุณได้ด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับวิธีหาเงินและทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ  ในเรื่อง “สิ่งไหนควรจะเร็ว สิ่งไหนควรจะช้า” และเริ่มให้ความสำคัญกับการตลาดและการขายขึ้นมาบ้างหรือยัง?! หรือคุณคิดว่าการลงทุนก่อนการทำการตลาดยังเป็นไอเดียที่สำคัญกว่าในการทำธุรกิจ สามารถแชร์ไอเดียและเหตุผลมาได้ตามคอมเมนต์ด้านล่างนี้เลยนะครับ

เพี้ยนขอบคุณ

===============================================================

 สำหรับใครที่อยากได้รับอรรถรสเพิ่มมากขึ้น สามารถคลิกวีดีโอได้ตามด้านล่างนี้นะครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่