มัมมี่ของฟาโรห์ Seqenenre Taa II
เขาเป็นผู้นำกองทหารอียิปต์ที่มีชื่อเสียงในการต่อต้าน Hyksos
ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่มีต้นกำเนิดจากเอเชียตะวันตกซึ่งเข้ายึดครองสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์
Cr.MINISTRY OF ANTIQUITIES / REUTERS
King Seqenenre-Taa-II (หรือ Seqenenre Tao II) เป็นผู้ปกครองทางตอนใต้ของอียิปต์ระหว่างประมาณ ค.ศ. 1558–1553 ก่อนคริสต์ศักราช
ซึ่งอยูในช่วงของการยึดครองอียิปต์โดย Hyksos ที่น่าจะมาจากแคว้น Levant โดย Hyksos ควบคุมทางตอนเหนือของอียิปต์ แต่ต้องการเครื่องบรรณาการจากทางตอนใต้ของอาณาจักร
ตามบันทึกในชิ้นส่วนของกระดาษปาปิรัสระบุว่า ฟาโรห์ Seqenenre Taa II ได้ทำการปฏิวัติต่อกษัตริย์ฮิกซอส (Hyksos) หลังจากได้รับการกล่าวหาจากกษัตริย์ว่าเสียงของฮิปโปในสระศักดิ์สิทธิ์ใน Thebes รบกวนการนอนหลับของเขา ทั้งที่กษัตริย์อาศัยอยู่ในเมืองหลวงของ Avaris ซึ่งอยู่ห่างออกไป 400 ไมล์ (644 กม.)
ในข้อกล่าวหานี้ กษัตริย์ Hyksos เรียกร้องให้ทำลายสระศักดิ์สิทธิ์นั้น ซึ่งเหมือนเป็นการดูถูกฟาโรห์ Seqenenre Taa II และการดูถูกนี้อาจเป็นการนำไปสู่สงคราม และจากข้อความบนแผ่นหินแกะสลักที่พบใน Thebes เล่าว่า ลูกชายของฟาโรห์ Seqenenre Taa II ที่ชื่อ Kamose ขึ้นเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งทันที ที่พ่อเสียชีวิตจากการต่อสู้กับ Hyksos
แม้ไม่มีใครรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับฟาโรห์ แต่มีการค้นพบมัมมี่ของเขาในปี 1881 นักโบราณคดีสังเกตเห็นบาดแผลบนกะโหลกศีรษะ ซึ่งคาดเดาได้ว่าเขาถูกฆ่าตายในสนามรบ หรืออาจถูกสังหารในพระราชวัง ต่อมานักโบราณคดีในศตวรรษที่ 19 ที่พบมัมมี่รายงานว่า มีกลิ่นเหม็นออกมาจากที่บรรจุพระศพ พวกเขาจึงแกะมันออก ทำให้เกิดข้อสงสัยว่ามัมมี่อาจถูกดองอย่างเร่งรีบในสนามรบ
ผลสแกนพบว่า ส่วนหน้าและส่วนบนของกะโหลกศีรษะเต็มไปด้วยบาดแผลร้ายแรงจากคมอาวุธหลายชนิด
Cr.MINISTRY OF ANTIQUITIES / REUTERS
มัมมี่ฟาโรห์ Seqenenre Taa II ที่มีอายุเก่าแก่ 3,600 ปีนี้ถูกค้นพบใน Deir el-Bahari cache และได้รับการตรวจร่างกายและเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกน (CT scan) ในปี 1960
โดยผลการตรวจสอบพบว่ามีร่องรอยบาดแผลฉกรรจ์หลายแห่งบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับสถานการณ์การเสียชีวิตของเขา และที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ ฟาโรห์หนุ่มพระองค์นี้น่าจะสิ้นพระชนม์ในพิธีประหารกลางสนามรบ หลังต้องพ่ายแพ้ให้กับข้าศึกศัตรู
โดยรายงานการค้นพบล่าสุดทางโบราณคดีและการแพทย์ดังกล่าว ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers of Medicine โดยเป็นความพยายามไขปริศนาที่มีมาตั้งแต่การค้นพบมัมมี่ร่างนี้ในครั้งแรก โดยนักโบราณคดีต่างสงสัยกันว่า บาดแผลร้ายแรงซึ่งผู้ทำมัมมี่ได้พยายามปกปิดซุกซ่อนไว้นั้น เกิดจากสาเหตุใด
เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของการสิ้นพระชนม์ที่แน่ชัด ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยไคโรร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและโบราณวัตถุของอียิปต์ ได้นำร่างมัมมี่ดังกล่าวมาตรวจสอบอีกครั้ง
โดยนักโบราณคดี Zahi Hawass และ professor Sahar Salim ศาสตราจารย์ด้านรังสีวิทยามหาวิทยาลัย Cairo University radiology และฉายภาพสามมิติภายในส่วนที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน กระดูก และหลอดเลือด ทำให้พบว่ากะโหลกศีรษะของมัมมี่ฟาโรห์มีร่องรอยความเสียหายจากคมอาวุธทิ่มแทง จนอยู่ในสภาพยับเยินมากกว่าที่เคยคาดเอาไว้
จากผลสแกนครั้งล่าสุดนี้ยืนยันว่า ฟาโรห์ Seqenenre Taa II ทรงอยู่ในวัยหนุ่มใหญ่ราว 40 ปี ในขณะที่สิ้นพระชนม์ ฝีมือการทำร่างมัมมี่ของพระองค์นั้นไม่สู้จะประณีตนัก โดยผู้ทำมัมมี่ไม่ได้โรยเกลือให้ศพแห้ง และไม่ได้นำสมองออกจากโพรงกะโหลกศีรษะตามที่ควรจะเป็น ซึ่งชี้ว่าการทำมัมมี่ครั้งนี้เกิดขึ้นในสถานที่ห่างไกลจากพระราชวัง และอาจเป็นในสนามรบก็เป็นได้
สำหรับบาดแผลที่ถูกของมีคมผ่าเข้าตรงกลางหน้าผากด้านขวา, รอยเจาะเหนือดวงตาขวา, จมูกและโหนกแก้มที่แตกยับเยิน, รอยตัดที่แก้มซ้าย และรอยแตกเหนือหูข้างขวา ล้วนอยู่ในองศาที่บ่งชี้ว่า ผู้สังหารฟาโรห์อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าพระองค์และเผชิญหน้ากันโดยตรง โดยคนกลุ่มนี้มีจำนวนหลายคนและใช้อาวุธต่างชนิดกัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบร่องรอยบาดแผลดังกล่าวกับรูปทรงอาวุธของชาว Hyksos ในพิพิธภัณฑ์ พบว่าตรงกันพอดี
อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยพบว่าท่าทางการวางมือของมัมมี่กษัตริย์ที่ค่อนข้างประหลาดในกรณีนี้ เกิดจากความพยายามแก้ไขท่อนแขนและมือที่ถูกมัดไพล่หลังไว้ก่อนตาย ซึ่งทำให้ศพที่กลายสภาพแข็งทื่อไปอย่างรวดเร็วเกินคาด ทำให้มีท่าทางการวางมือที่บิดเบี้ยวผิดสังเกตดังกล่าว นอกจากนี้ ยังไม่พบร่องรอยบาดแผลจากการใช้แขนปัดป้องอาวุธที่ใช้ทำร้ายแต่อย่างใด
มัมมี่ของฟาโรห์ Seqenenre Taa II ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1881
ซึ่งนักโบราณคดีก็สังเกตเห็นบาดแผลที่โดดเด่นหลายอย่างบนใบหน้าของฟาโรห์
และจากการศึกษาใหม่ที่ใช้รังสีเอกซ์จากหลายมุม เพื่อสร้างภาพ 3 มิติของมัมมี่
ซากศพของฟาโรห์อยู่ในสภาพที่ไม่ดี มีศีรษะและกระดูกหลายส่วนถูกแยกออกจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
(Cr.ภาพ: Sahar Saleem)
ศาสตราจารย์ Sahar Saleem นักรังสีวิทยาชาวอียิปต์กับเครื่องซีทีสแกนที่ใช้ศึกษาร่างมัมมี่
จากการรวบรวมหลักฐานทั้งหมดข้างต้น นักโบราณคดีสามารถชี้ชัดได้ว่า ในขณะที่ฟาโรห์ Seqenenre Taa II สิ้นพระชนม์ ทรงประทับอยู่ในท่านั่งคุกเข่า ถูกมัดมือไพล่หลัง และถูกรุมสังหารด้วยคมอาวุธของศัตรูหลายคนที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าและหันหน้าเข้าหาพระองค์โดยตรง
ข้อมูลเหล่านี้อาจยืนยันได้ว่า มรณกรรมของฟาโรห์นักรบพระองค์นี้ เกิดจากการถูกจับตัวเป็นเชลยศึกหลังรบแพ้ แล้วถูกนำตัวไปเข้าพิธีประหารชีวิตในสนามรบ ก่อนที่ร่างของพระองค์จะถูกทำเป็นมัมมี่อย่างเร่งรีบและส่งกลับมายังนครหลวง โดยผู้ทำมัมมี่พยายามใช้วัสดุต่าง ๆ ปกปิดบาดแผลน่าสยดสยองอย่างสุดความสามารถ
ฟาโรห์ Seqenenre Taa II มีฉายาว่า " The Brave " เป็นกษัตริย์ที่ปกครองอียิปต์ตอนใต้ในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียง 5 ปี ที่แม้จะพ่ายแพ้สงครามและสิ้นพระชนม์ไปก่อนวัยอันควร แต่บันทึกทางประวัติศาสตร์ระบุว่า King Ahmose I ลูกชายคนเล็กทายาทที่เป็นกษัตริย์รุ่นหลังสามารถปกป้องอาณาจักรอียิปต์ตอนใต้จากผู้รุกรานได้สำเร็จ ทั้งยังรวมดินแดนอียิปต์ให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวได้ในยุคราชอาณาจักรใหม่ (The New Kingdom) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อียิปต์มีอำนาจสูงสุดระหว่างศตวรรษที่ 16 ถึง 11 ก่อนคริสต์ศักราช
มีวรรณกรรมที่เขียนขึ้นหลายร้อยปีหลังจากการเสียชีวิตของฟาโรห์ Seqenenre ถึงเรื่องราวความสัมพันธ์ของกษัตริย์กับคู่แข่ง Hyksos ของเขา
โดยอธิบายถึงศาลอียิปต์ที่ได้รับจดหมายจากกษัตริย์ Hyksos Apophis บ่นว่าฮิปโป Theban ในสระศักดิ์สิทธิ์ส่งเสียงดังมากเกินไปในตอนกลางคืน
และทำให้เขาตื่น แต่เป็นไปได้ว่าการร้องเรียนที่ไร้สาระของกษัตริย์ Hyksos เป็นฟางเส้นสุดท้ายในความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดของพวกเขา
(Cr.งานศิลปะโดย ALAA AWAD)
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
การตายอย่างทารุณของฟาโรห์ " King Seqenenre Taa II "