รู้ไว้! คนไทยประหยัดใช้จ่ายกว่าเดิม "ฮาคูโฮโด" ชี้ "โควิด" คลี่คลายตัวแปรผู้บริโภคกลับมาควักเงิน
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/923598
จับตาผลกระทบโควิด-19 ทำคนไทยตกงาน รายได้ลด "ฮาคูโฮโด" ชี้พฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทยในเดือนกุมภาพันธ์ลดลง ซื้อเฉพาะสินค้าจำเป็น อาหาร ของใช้ในบ้าน และต้องตอบโจทย์ใช้งานครบวงจร
นางสาว
ชุติมา วิริยะมหากุล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ได้ร่วมกับ บริษัท ฮาคูโฮโด แบงคอก ได้ศึกษาเกี่ยวกับแนวโน้มการบริโภคของคนไทยทุกๆ 2 เดือน เพื่อคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2564 พบว่าทิศทางใช้จ่ายลดลงเกือบทุกภูมิภาคและเกือบทุกช่วงอายุของประชากรในสังคมไทย
ทั้งนี้ คนไทยมีแนวโน้มระมัดระวังการใช้จ่ายต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศจะคลี่คลายดีขึ้น ขณะเดียวกันการแพร่ระบาดของไวรัสรอบใหม่ ส่งผลให้ความต้องการใช้จ่ายและระดับความสุขลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อเทียบกับผลการสำรวจในเดือนพฤศจิกายน 2563 เพราะสภาพเศรษฐกิจยังมีความเปราะบาง อยู่ในภาวะถดถอยต่อเนื่อง ส่วนกลุ่มที่ต้องการใช้จ่ายสูงขึ้น เพราะต้องการตุนสินค้าเพื่อเลี่ยงการออกไปนอกบ้าน ทำงานที่บ้านมากขึ้น ต่างจังหวัดมีการใช้บริการส่งอาหารมากขึ้น การซื้อของขวัญให้คนรัก เป็นต้น
“
ผู้บริโภคที่ระมัดระวังการใช้จ่ายเนื่องจกาได่รับผลกระทบจากโควิด ทำให้รายได้ลดลง จึงต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด การว่างงานยังส่งผลให้ไม่คิดจะซื้ออะไรเลย ส่วนคนที่มีความกังวลเรื่องการเงินของครอบครัว เพราะเป็นเสาหลักทำงานคนเดียวจึงต้องประหยัด เนื่องจากการดำรงชีวิตมีค่าใช้จ่ายอีกมากมายทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเรียนพิเศษบุตรหลาน ส่วนการที่ซื้อสินค้าเพราะซื้อเพื่อมาแทนของเก่า”
สำหรับสินค้าที่จะซื้อต้องตอบสนองจุดประสงค์การใช้งานได้หลากหลาย ไม่ใช่แค่อำนวยความสะดวกด้านเดียวอีกต่อไป เช่น การซื้อสมาร์ทโฟน นอกจากใช้ทำงาน ยังให้ลูกใช้เรียนออนไลน์ได้ด้วย
นางสาว
มนัสริน ณ ระนอง รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ฮาคูโฮโด แบงคอก กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกสองทำให้ผู้บริโภคระวังตัว ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น และจะซื้อสินค้าตุนไว้มากขึ้น ส่วนสินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่
1. อาหาร เพิ่มขึ้น 8%
2. ของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น 4% เช่น ผงซักฟอก กระดาษชำระ ฯ
3. โทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟน ลดลง 1%
4. เสื้อผ้าลดลง 2%
และ 5. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แท็บเล็ต ฯ เพิ่มขึ้น 1%
นอกจากนี้ แนวโน้มความต้องการในการใช้จ่ายลดลงเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก มีเพียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าเกิดจากผู้บริโภคย้ายถิ่นฐานจากกรุงเทพฯ กลับภูมิลำเนาเพราะได้รับผลกระทบจากโรคโควิด
นางสาว
พร้อมพร สุภัทรวณิช ผู้จัดการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ สถาบันความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า การระบาดของโรคโควิดระลอกสองยังส่งผลให้ผู้บริโภคกล่าวถึงข่าวโควิดเพิ่มเป็น 81% เทียบกับการสำรวจเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 อยู่ที่ 77% ตามด้วยข่าวการเมือง 3% จาก 57%
อย่างไรก็ตาม การสำรวจครั้งนี้ ทำผ่านออนไลน์ระหว่างวันที่ 8-15 มกราคม 2564 จากผู้ตอบแบบสอบถามเพศชายและหญิงจำนวน 1,200 คน อายุ 20-59 ปี ทั่วประเทศ
ชาวบ้านรอบเหมืองทอง วอน รัฐ เห็นใจ เร่งพิจารณาเปิด เผย ผลกระทบเรื่องปากท้อง
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2587991
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ นาย
อำนาจ ศรีศาสตร์ อายุ 41 ปี บ้านเลขที่ 989 หมู่ที่3 บ้านเขาดิน ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร อดีตพนักงานเหมืองทอง กล่าวว่า จากกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจพิเศษ ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว สั่งปิดเหมืองแร่ทองคำชาตรี ของบริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด ที่ระงับการประกอบกิจการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ผ่านมา ทำให้เกิดปัญหาอย่างยิ่งกับชาวบ้านในพื้นที่รอบๆเหมืองแร่ทองคำชาตรี ใน อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ และอ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ซี่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อกรณีดังกล่าว เนื่องจากชาวบ้านรอบๆเหมืองแร่ทองคำหลายพันคนได้เป็นพนักงาน ลูกจ้าง และคนงาน ภายในเหมืองทอง ถือว่าเป็นรายได้หลักของครอบครัวเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวประชาชนไม่สามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี
นาย
อำนาจ กล่าวอีกว่า จากปัญหาเรื่องแหล่งน้ำและภูมิประเทศที่ประสบภัยแล้งเป็นประจำ ชาวบ้านจึงต้องประกอบอาชีพสร้างรายได้ในเหมืองทองเป็นหลัก อีกทั้งมีอาชีพที่เป็นห่วงโซ่ต่อยอดต่างๆของชาวบ้านเช่นการค้าขาย อาหาร ที่พัก ร้านตัดผม ตลาดนัดฯลฯอีกทั้งที่ผ่านมาในพื้นที่รอบเหมืองทองเศรษฐกิจจะคึกคัก ค้าขายดีมีเม็ดเงินหมุนเวียนค่อนข้างมาก ประกอบกับมีเม็ดเงินค่าภาคหลวงหมุนเวียนเข้ารัฐอีกจำนวนมาก ดังนั้นวันนี้ชาวบ้านรอบๆเหมืองทองในตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร จึงวิงวอนให้รัฐบาลหรือผู้เกี่ยวข้องได้พิจารณาให้เปิดกิจการเหมืองแร่ทองคำเพื่อประชาชนจะได้มีงานทำ สร้างเศรษฐกิจชุมชนที่ซบเซาก็จะได้กลับมาคึกคัก และให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ในเรื่องปากท้องให้ดีขึ้นต่อไป ตอนนี้เดือดร้อนหนักมากเมื่อก่อนทำงานในเหมืองเป็นอาชีพหลัก เลี้ยงครอบครัวส่งลูกเรียน แต่ตอนนี้เหมืองปิดมาหลายปีต้องหันมาทำนาเป็นหลักเลี้ยงครอบครัว แต่ด้วยอายุมากจะไปทำอย่างอื่นก็คงไม่ได้ อีกทั้งการทำนาในพื้นที่ก็จะทำได้ครั้งเดียว ทำให้รายรับที่ได้จากการทำนาไม่เท่ากับรายจ่าย ทำให้เป็นหนี้สินตามมา ซึ่งตนเองเป็นเสาหลักของครอบครัวก็ต้องดูแลภรรยาและบุตรที่กำลังเรียนอีก 3 คนตอนนี้เดือดร้อนมาก
ทางด้าน นาย
บุญยัง บุญชู อายุ 63 ปี กล่าวว่าชาวบ้านกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ที่อยู่รอบเหมืองต่างๆรอความหวังที่จะได้เปิดเหมืองแร่ทองคำอีกครั้ง หลังจากเหมืองถูกสั่งให้ปิดชาวบ้านเดือดร้อนกันทั้งนั้น การค้าการขายก็เงียบเหงาซบเซาไม่เหมือนกับเมื่อก่อนที่เหมืองเปิดมีคนมาตลาดนัด แทบจะล้นตลาดการค้าการขายก็ดีไปหมด แต่ตอนนี้ซบเซาเงียบเหงาและเว้งว้างมาก เศรษฐกิจไม่ดีอีกด้วย ประกอบกับช่วงนี้การแพร่ระบาดโควิด-19 เข้ามาด้วยยิ่งทำให้ซบเซาไปใหญ่ ชาวบ้านเดือดร้อนกันมาก ซึ่งตนเองทำนาหลังจากเหมืองปิดมา 3 ปีก็เป็นหนี้กว่า 3 แสนบาทแล้งก็แล้ง ราคาข้าวก็ตกต่ำอีกทำให้เป็นหนี้สินเพิ่มเติม ไม่เหมือนเมื่อก่อนทำงานในเหมืองมีเงินหมุนเวียนจากเหมืองตลอด เพราะตนเองจบแค่ ป.4 ก็ทำงานกับเหมืองก็พออยู่ได้ ครอบครัวก็พอมีสุขไปด้วย หากินก็ง่ายและงานก็อยู่กับบ้าน ซึ่งทำงานกับเหมืองเราแค่ลงแรงเท่านั้นเราไม่ได้ลงทุน ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่อยากให้เหมืองเปิดโดยเร็ว
ด้านนาง
บุญรัตน์ สีสุทธนา อายุ 34 ปี บ้านเลขที่ 439 ม.7 ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร อดีตแม่ค้าเจียงหมู ขายหมูชำแหระตลาดนัดรอบเหมืองทอง กล่าวว่า…หลังจากเหมืองปิดไปกว่า 3-4 ปีในฐานะชาวบ้านคนหนึ่ง ก็รู้สึกแย่มาก คุณภาพชีวิตแย่ลง ซึ่งเมื่อก่อนเคยค้าขายดี และเมื่อก่อนเศรษฐกิจมันจะดูดีกว่านี้ตอนเหมืองยังเปิดอยู่ แต่ตอนนี้เหมืองปิด ทำให้ตลาดก็ซบเซาแย่ลงมาก ตนเองจึงต้องหยุดค้าขายชั่วคราวก่อนเพราะขาดทุน เมื่อก่อนเคยเปิดเขียงหมู ชาวบ้านและคนกินขายดิบขายดี แต่ตอนนี้เหมืองปิดชาวบ้านและคนกินไม่มีกำลังซื้อจึงต้องเลิกขายหมูไปก่อน แต่ก่อนนี้เคยเป็นผู้ขายก็ยังไม่มีกำลังซื้อเลย ประกอบกับโควิดมาระบาดอีกทำให้ซบเซาไปกันใหญ่ ซึ่งชาวบ้านกว่า 99 เปอร์เซ็นต์รอบเหมืองทองอยากให้เหมืองทองกลับมาเปิดได้อีกครั้งชาวบ้านจะได้ลืมตาอ้าปากได้
JJNY : คนไทยประหยัดใช้จ่ายกว่าเดิม│ชาวบ้านรอบเหมืองทองวอนเร่งเปิด│แพ้แต่เนื้อหาชัด เดินหน้ายื่นศาล│ชวนย้ำประชุมแก้รธน.
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/923598
จับตาผลกระทบโควิด-19 ทำคนไทยตกงาน รายได้ลด "ฮาคูโฮโด" ชี้พฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทยในเดือนกุมภาพันธ์ลดลง ซื้อเฉพาะสินค้าจำเป็น อาหาร ของใช้ในบ้าน และต้องตอบโจทย์ใช้งานครบวงจร
นางสาวชุติมา วิริยะมหากุล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ได้ร่วมกับ บริษัท ฮาคูโฮโด แบงคอก ได้ศึกษาเกี่ยวกับแนวโน้มการบริโภคของคนไทยทุกๆ 2 เดือน เพื่อคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2564 พบว่าทิศทางใช้จ่ายลดลงเกือบทุกภูมิภาคและเกือบทุกช่วงอายุของประชากรในสังคมไทย
ทั้งนี้ คนไทยมีแนวโน้มระมัดระวังการใช้จ่ายต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศจะคลี่คลายดีขึ้น ขณะเดียวกันการแพร่ระบาดของไวรัสรอบใหม่ ส่งผลให้ความต้องการใช้จ่ายและระดับความสุขลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อเทียบกับผลการสำรวจในเดือนพฤศจิกายน 2563 เพราะสภาพเศรษฐกิจยังมีความเปราะบาง อยู่ในภาวะถดถอยต่อเนื่อง ส่วนกลุ่มที่ต้องการใช้จ่ายสูงขึ้น เพราะต้องการตุนสินค้าเพื่อเลี่ยงการออกไปนอกบ้าน ทำงานที่บ้านมากขึ้น ต่างจังหวัดมีการใช้บริการส่งอาหารมากขึ้น การซื้อของขวัญให้คนรัก เป็นต้น
“ผู้บริโภคที่ระมัดระวังการใช้จ่ายเนื่องจกาได่รับผลกระทบจากโควิด ทำให้รายได้ลดลง จึงต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด การว่างงานยังส่งผลให้ไม่คิดจะซื้ออะไรเลย ส่วนคนที่มีความกังวลเรื่องการเงินของครอบครัว เพราะเป็นเสาหลักทำงานคนเดียวจึงต้องประหยัด เนื่องจากการดำรงชีวิตมีค่าใช้จ่ายอีกมากมายทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเรียนพิเศษบุตรหลาน ส่วนการที่ซื้อสินค้าเพราะซื้อเพื่อมาแทนของเก่า”
สำหรับสินค้าที่จะซื้อต้องตอบสนองจุดประสงค์การใช้งานได้หลากหลาย ไม่ใช่แค่อำนวยความสะดวกด้านเดียวอีกต่อไป เช่น การซื้อสมาร์ทโฟน นอกจากใช้ทำงาน ยังให้ลูกใช้เรียนออนไลน์ได้ด้วย
นางสาวมนัสริน ณ ระนอง รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ฮาคูโฮโด แบงคอก กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกสองทำให้ผู้บริโภคระวังตัว ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น และจะซื้อสินค้าตุนไว้มากขึ้น ส่วนสินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่
1. อาหาร เพิ่มขึ้น 8%
2. ของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น 4% เช่น ผงซักฟอก กระดาษชำระ ฯ
3. โทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟน ลดลง 1%
4. เสื้อผ้าลดลง 2%
และ 5. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แท็บเล็ต ฯ เพิ่มขึ้น 1%
นอกจากนี้ แนวโน้มความต้องการในการใช้จ่ายลดลงเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก มีเพียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าเกิดจากผู้บริโภคย้ายถิ่นฐานจากกรุงเทพฯ กลับภูมิลำเนาเพราะได้รับผลกระทบจากโรคโควิด
นางสาวพร้อมพร สุภัทรวณิช ผู้จัดการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ สถาบันความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า การระบาดของโรคโควิดระลอกสองยังส่งผลให้ผู้บริโภคกล่าวถึงข่าวโควิดเพิ่มเป็น 81% เทียบกับการสำรวจเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 อยู่ที่ 77% ตามด้วยข่าวการเมือง 3% จาก 57%
อย่างไรก็ตาม การสำรวจครั้งนี้ ทำผ่านออนไลน์ระหว่างวันที่ 8-15 มกราคม 2564 จากผู้ตอบแบบสอบถามเพศชายและหญิงจำนวน 1,200 คน อายุ 20-59 ปี ทั่วประเทศ
ชาวบ้านรอบเหมืองทอง วอน รัฐ เห็นใจ เร่งพิจารณาเปิด เผย ผลกระทบเรื่องปากท้อง
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2587991
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ นายอำนาจ ศรีศาสตร์ อายุ 41 ปี บ้านเลขที่ 989 หมู่ที่3 บ้านเขาดิน ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร อดีตพนักงานเหมืองทอง กล่าวว่า จากกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจพิเศษ ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว สั่งปิดเหมืองแร่ทองคำชาตรี ของบริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด ที่ระงับการประกอบกิจการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ผ่านมา ทำให้เกิดปัญหาอย่างยิ่งกับชาวบ้านในพื้นที่รอบๆเหมืองแร่ทองคำชาตรี ใน อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ และอ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ซี่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อกรณีดังกล่าว เนื่องจากชาวบ้านรอบๆเหมืองแร่ทองคำหลายพันคนได้เป็นพนักงาน ลูกจ้าง และคนงาน ภายในเหมืองทอง ถือว่าเป็นรายได้หลักของครอบครัวเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวประชาชนไม่สามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี
นายอำนาจ กล่าวอีกว่า จากปัญหาเรื่องแหล่งน้ำและภูมิประเทศที่ประสบภัยแล้งเป็นประจำ ชาวบ้านจึงต้องประกอบอาชีพสร้างรายได้ในเหมืองทองเป็นหลัก อีกทั้งมีอาชีพที่เป็นห่วงโซ่ต่อยอดต่างๆของชาวบ้านเช่นการค้าขาย อาหาร ที่พัก ร้านตัดผม ตลาดนัดฯลฯอีกทั้งที่ผ่านมาในพื้นที่รอบเหมืองทองเศรษฐกิจจะคึกคัก ค้าขายดีมีเม็ดเงินหมุนเวียนค่อนข้างมาก ประกอบกับมีเม็ดเงินค่าภาคหลวงหมุนเวียนเข้ารัฐอีกจำนวนมาก ดังนั้นวันนี้ชาวบ้านรอบๆเหมืองทองในตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร จึงวิงวอนให้รัฐบาลหรือผู้เกี่ยวข้องได้พิจารณาให้เปิดกิจการเหมืองแร่ทองคำเพื่อประชาชนจะได้มีงานทำ สร้างเศรษฐกิจชุมชนที่ซบเซาก็จะได้กลับมาคึกคัก และให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ในเรื่องปากท้องให้ดีขึ้นต่อไป ตอนนี้เดือดร้อนหนักมากเมื่อก่อนทำงานในเหมืองเป็นอาชีพหลัก เลี้ยงครอบครัวส่งลูกเรียน แต่ตอนนี้เหมืองปิดมาหลายปีต้องหันมาทำนาเป็นหลักเลี้ยงครอบครัว แต่ด้วยอายุมากจะไปทำอย่างอื่นก็คงไม่ได้ อีกทั้งการทำนาในพื้นที่ก็จะทำได้ครั้งเดียว ทำให้รายรับที่ได้จากการทำนาไม่เท่ากับรายจ่าย ทำให้เป็นหนี้สินตามมา ซึ่งตนเองเป็นเสาหลักของครอบครัวก็ต้องดูแลภรรยาและบุตรที่กำลังเรียนอีก 3 คนตอนนี้เดือดร้อนมาก
ทางด้าน นายบุญยัง บุญชู อายุ 63 ปี กล่าวว่าชาวบ้านกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ที่อยู่รอบเหมืองต่างๆรอความหวังที่จะได้เปิดเหมืองแร่ทองคำอีกครั้ง หลังจากเหมืองถูกสั่งให้ปิดชาวบ้านเดือดร้อนกันทั้งนั้น การค้าการขายก็เงียบเหงาซบเซาไม่เหมือนกับเมื่อก่อนที่เหมืองเปิดมีคนมาตลาดนัด แทบจะล้นตลาดการค้าการขายก็ดีไปหมด แต่ตอนนี้ซบเซาเงียบเหงาและเว้งว้างมาก เศรษฐกิจไม่ดีอีกด้วย ประกอบกับช่วงนี้การแพร่ระบาดโควิด-19 เข้ามาด้วยยิ่งทำให้ซบเซาไปใหญ่ ชาวบ้านเดือดร้อนกันมาก ซึ่งตนเองทำนาหลังจากเหมืองปิดมา 3 ปีก็เป็นหนี้กว่า 3 แสนบาทแล้งก็แล้ง ราคาข้าวก็ตกต่ำอีกทำให้เป็นหนี้สินเพิ่มเติม ไม่เหมือนเมื่อก่อนทำงานในเหมืองมีเงินหมุนเวียนจากเหมืองตลอด เพราะตนเองจบแค่ ป.4 ก็ทำงานกับเหมืองก็พออยู่ได้ ครอบครัวก็พอมีสุขไปด้วย หากินก็ง่ายและงานก็อยู่กับบ้าน ซึ่งทำงานกับเหมืองเราแค่ลงแรงเท่านั้นเราไม่ได้ลงทุน ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่อยากให้เหมืองเปิดโดยเร็ว
ด้านนางบุญรัตน์ สีสุทธนา อายุ 34 ปี บ้านเลขที่ 439 ม.7 ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร อดีตแม่ค้าเจียงหมู ขายหมูชำแหระตลาดนัดรอบเหมืองทอง กล่าวว่า…หลังจากเหมืองปิดไปกว่า 3-4 ปีในฐานะชาวบ้านคนหนึ่ง ก็รู้สึกแย่มาก คุณภาพชีวิตแย่ลง ซึ่งเมื่อก่อนเคยค้าขายดี และเมื่อก่อนเศรษฐกิจมันจะดูดีกว่านี้ตอนเหมืองยังเปิดอยู่ แต่ตอนนี้เหมืองปิด ทำให้ตลาดก็ซบเซาแย่ลงมาก ตนเองจึงต้องหยุดค้าขายชั่วคราวก่อนเพราะขาดทุน เมื่อก่อนเคยเปิดเขียงหมู ชาวบ้านและคนกินขายดิบขายดี แต่ตอนนี้เหมืองปิดชาวบ้านและคนกินไม่มีกำลังซื้อจึงต้องเลิกขายหมูไปก่อน แต่ก่อนนี้เคยเป็นผู้ขายก็ยังไม่มีกำลังซื้อเลย ประกอบกับโควิดมาระบาดอีกทำให้ซบเซาไปกันใหญ่ ซึ่งชาวบ้านกว่า 99 เปอร์เซ็นต์รอบเหมืองทองอยากให้เหมืองทองกลับมาเปิดได้อีกครั้งชาวบ้านจะได้ลืมตาอ้าปากได้