ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับมวยจีน

หลังจากที่ติดตามอ่านความเห็นจากหลายแหล่ง พบว่ามีคนจำนวนมากกำลังเข้าใจผิดในเรื่องนี้อยู่ เลยอยากเอามาแก้ให้เข้าใจถูกกัน หากมีมากกว่านี้ก็ชี้แจงด้วยนะครับ

๑.ความหมายของคำ
คนมักเข้าใจผิดกันเยอะ อย่างเช่น “วูซ” มักถูกเข้าใจว่าเป็นมวยจีนยุคใหม่ ส่วน “กังฟู” เป็นของเก่า แต่ความหมายจริงๆของมันก็คือ
วูซู-ศิลปะการต่อสู้ หมายรวมถึงทุกวิชาที่มีอยู่ในจีน ทั้งที่เป็นของเก่าและใหม่
กังฟู-ฝีมือที่ได้จากการฝึกฝน เป็นคำที่ชาวกวางตุ้งใช้เรียกวิชาหมัดมวย
กุนเถา-เป็นคำที่ชาวฮกเกี้ยนใช้เรียกวิชาหมัดมวย
ทั้งหมดนี้หมายถึงวิชาการต่อสู้ แค่เรียกคนละอย่างเท่านั้นเอง

๒.สูญหายไปในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม
นี่ยิ่งเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง อย่าลืมว่ามวยคือศิลปะการต่อสู้ ไม่ใช่โบราณสถานหรือโบราณวัตถุ ขอเพียงมีคนฝึกอยู่ก็ไม่หายไปไหน แม้จะมีการห้ามปราม แต่แน่ใจหรือว่าจะไม่แอบฝึกในที่ลับตาคน ทุกวันนี้ก็ยังมีค่ายสำนักได้รับการฟื้นฟู หากหายจริง แล้ววิชาจะตกทอดมาจนถึงปัจจุบันหรอกหรือ?

๓.ไม่มีการแข่งขัน
อยากรู้จังว่าใครเป่าหูคนอื่นให้เชื่อแบบนี้ มันมีการแข่งขันทั้งยุทธลีลาและประลองยุทธ แล้วไม่ใช่เพิ่งมีในเดี๋ยวนี้ด้วย แต่แข่งขันกันตั้งแต่รุ่นคุณปู่แล้ว หากติดตามก็น่าจะเห็นไม่ใช่หรือ

นี่คลิปรวมร่วมสมัย
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
นี่ปัจจุบัน
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
๔.วาดแขนกว้างๆ
เป็นสิ่งที่บางคนเข้าใจว่าเป็นเทคนิคของกังฟูยุคใหม่ โดยที่ไม่รู้จักประเภทหรือวิธีใช้ของกังฟูเลย ซึ่งมวยจีนพวกนี้มีหลากวิชาหลายสาขา แยกออกไปตามแต่ละภูมิภาค มีวิธีแบ่งประเภทมากมายเช่น

มวยเหนือ-ผู้คนทางตอนเหนือของจีนมีรูปร่างสูงใหญ่ กระบวนท่าต่อสู้จึงเหยียดกว้าง ต่อสู้ระยะไกล ท่าเท้าโดดเด่น จึงถูกขนานนามว่า “เตะเหนือ”
เช่น
Cha quan (มวยสกุลจา)
หนึ่งในห้ามวยยาวแห่งฝ่ายเหนือ เน้นท่าเหยียดกว้าง ออกหมัดหนักแน่น จู่โจมชัดเจน มีเทคนิคกระโดดและจู่โจมกลางอากาศ
จึงต้องอาศัยเทคนิคกางแขน แกว่งแขน เพื่อสร้างสมดุลการเคลื่อนไหว
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Hong Quan (红拳-มวยมงคล)
กล่าวกันว่าคิดค้นในสมัยราชวงศ์โจว-ฉิน ท่วงท่าสวยงามละเอียดอ่อน เน้นหลักก้าวเท้าสยบคน โจมตีมีหลอกล่อ ร่างชิดพิง
มีหลักฝึกสำคัญคือ 盘功 (ผานกง) เป็นการฝึกเพื่อให้ตัวอ่อน
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

มวยใต้-ทางตอนใต้ของจีน คนส่วนใหญ่จะรูปร่างสันทัด จึงฝึกต่อสู้ระยะใกล้ เน้นยืนหลักมั่นคง ออกหมัดหนุนเนื่อง เปลี่ยนท่ามือหลากหลาย จึงถูกขนานนามว่า”หมัดใต้”
เช่น

Wuzu Quan (มวยห้าบรรพชน)
เป็นมวยใต้แถบมณฑลฝูเจี้ยน(ฮกเกี๊ยน) เกิดจากการเอาวิชาห้าสายมารวมกัน เช่น มวยไท่จู่ มวยตั๊กม้อ มวยอรหันต์ มวยลิง มวยกระเรียน 
เน้นยืนย่อสูง ยํ่าเท้าแน่น ออกหมัดก่อนผ่อนคลาย พลังเก็บแน่น เวลาตีสองมือดีดสะบัด เอวไหล่ทั้งตัวพุ่งเป็นแรงเดียว
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

Long xing quan (龍形李 มวยมังกร)
เน้นสติสมาธิ รุกรับอยู่ในกระบวนท่าเดียวกัน เน้นท่าก้าวไม่เน้นท่าเตะ ท่าก้าวหันข้างเหมือนปู (ด้านข้าง,ทแยง)
ออกหมัดกระแทกรุนแรง ตีสั้นรวบรัด เป็นมวยที่เลียนแบบการเคลื่อนไหวของมังกร
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
๕.กระบวนท่าฟุ่มเฟือย
อันนี้หลายคนตัดสินจากการเห็นท่ารำ ทั้งที่ท่ารำเกิดจากการเอาท่าเดี่ยวมา "ร้อยรวม" เป็นชุด จุดประสงค์เพื่อฝึกความเคลื่อนไหวแบบต่อเนื่อง แน่นอนก่อนจะฝึกรำท่าแบบนี้ ต้องฝึกพื้นฐานให้ชำนาญก่อน

๖.ไม่มีการฝึกเข้าคู่ (Sparring)
อันนี้ยิ่งเข้าใจผิดกันไปใหญ่ ไม่ว่าวิชาการต่อสู้ไหนก็ต้องมีการฝึกเข้าคู่ทั้งสิ้น มวยจีนคือหนึ่งในนั้น แน่นอนว่าต้องฝึกเดี่ยวให้คล่องก่อนเข้าคู่

สาธิตการตีของมวยสกุลหง
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
การเข้าคู่ในท่าอื่น
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ทั้งหมดนี้คือเท่าที่ผมสังเกตุเห็น และอยากแก้ความเข้าใจผิดของผู้คน หากพลาดตรงไหนก็ชี้แจงด้วยนะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่