.
.
วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
O ลมรื่นแตะตื่นมธุระเก-
สระเรณุกาไพร
พาหอม ลุ ล้อม, ยุคะสมัย-
ะพิไลพิลาสรอ
O งดงาม ณ ยามรุจะกระหนาบ-
นภะภาพะพร่างพอ-
กำจายสยายบทะลออ
กระแหนะช่อสุมาลย์สี
O ฝั่งฟ้าประภา, และ ธรณิน
ภุมรินะเริ่มลี-
ลาศ-หาผการสะเพราะมี
ดุษฎีกะหอมหวาน
O โลกกว้างระหว่างวตะอรุณ
ดุจะหมุนประกอบการณ์
โผนผกวิหค ณ คคนาน-
ตะผสานผสมเสียง
O เริ่มกาลประสารรหัสะเลศ
ทุระเภทะพร้อมเพรียง-
กล่อมเมาหะเขลา, มุสะประเดียง-
ก็ระเรียงประโลมร้อย
O เผยภาพละภาพ ณ บุพะภพ-
ระบุครบ .. ระบัดคอย
ราวเรื่องก็เปลื้องบทะทะยอย
สุขะ-สร้อย .. ผสานเสริม
O เยี่ยงหวานสุมาลยะประนัง
รสะตั้งจะเตรียบเติม-
คลื่นหอมตะล่อมบทะกระเหิม
ระอุเพิ่ม .. ณ กลีบกรอง
O ทิพเทพวิเลปนะกระวน
สติคน ก็ ถูกครอง
เพียงรสประพจนะสนอง
ผัสะต้อง สิ เจียนตาย
O ผึ้งภู่เสาะสู่มธุระรส
ระบุกฏ บ อาจกลาย
แสงสูรยะพูนพละสยาย
ขณะผายก็แผดเผา
O อำนาจและอาชญะประภาพ
ฤทธิทาบ ฤ บรรเทา
ถ้วนกฏและพจนะเฉลา
ก็คละเคล้าระคนความ
O หยาดพินทุรินมธุ-ละออง
ผัสะต้องจะตื่นตาม
หยาดคำเพราะคัมภิระ-ละลาม
อุระหวาม ฤ ข้ามไหว
O ภาพพจน์จรดกะนัยนา
คุณะค่า ฤ ควรใคร-
เทียมทัศน์และวัตระอดิศัย-
ะประไพประพิณพร้อม
O เทียบ-ภาพก็ภาพมธุกุสุม
กระแหนะนุ่มระรุมดอม
เปรียบ-บทสุพจนะประนอม
ประลุล้อมระรายเรียง
O สามารถเหมาะอาชญะผสาน-
อุปการะเกริกเกรียง
แซ่ศัพทะรับดุจะจะเอียง-
ธรณินะล่มสูญ
O สามารถเหมาะอาชวะสมรรถ
เพราะขจัด บ เพิ่มพูน
พ้องความกะทราม, ก็บริบูรณ์-
ภวะกูณฑะสุมเมือง
O พร้อมพินทุสิ้นภวะจะหยด
จิตะคดก็แค้นเคือง
โดยพิษะริษยะเมลือง
ทะนุเนื่องและน้อมนำ
O ริ้ววาตะพารสะประทิ่น
ภุมรินะเริงรำ
ปีกลู่เสาะสู่มธุระสัม-
ผัสะย้ำกะหยาดหวาน
O ริ้ววาทะพามุสะประนอม
ผัสะย้อม กะ วิญญาณ
เจตจินตะสิ้น, สติพิชาน-
ก็จะลาญ บ เหลือรอย
O หวาน, วาตะ, อาชญะประนัง
ฤดิคลั่ง ก็ หมอบคอย
เสพลิ้มกระหยิ่ม บ ละ บ ถอย
สติด้อย สิ ดึงดัน
O เลศวาทะ, อาชวะรหัส
อวิภัชะรำพัน
เกณฑ์กรอบระบอบมุหะมหัน-
ตะกระนั้นจะเนื่องหนุน
O สูงค่าสุภาษิตะประกอบ-
คละระบอบ .. ระเบียบบุญ
สูงส่งเพราะมงคละเหมาะสุน-
ทริยะดุลยะภาพพร้อม
O ภาพงามละลามยุคะสมัย
มธุ-ไพระสุดออม-
แอบกลิ่นประทิ่น, กฏะพะยอม-
ก็ ลุ ล้อมประนอมกรรม
O แฉกลิ้น มุ ภินทนะสมา-
คมะชาติด้วยชำ-
นาญ..บท .. และพจนะกลัม-
พ-ระพร่ำ ก็ เป็นผล
O สามารถเหมาะชาติจะอภิวัฒ-
นะขจัดซะอับจน
จารีตและคีตะอนุสน-
ธิ ระคนประโคมคอย
O หอมหวานสุมาลยะก็ภิน-
ทนะสิ้นและสุดรอย
หยาดพินทุสิ้น, มธุระพลอย-
รสะถ่อย .. ผิ เอาทาร !
========================================
คำศัพท์บางคำ
(ที่มา ..
https://www.chatchawan.net/2014/05/vibhajyavada/)
วิภัชชวาที ..
แปลว่า การพูดแยกแยะ การพูดจำแนก หรือพูดแจกแจง หรือการพูดเชิงวิเคราะห์ ลักษณะสำคัญของการคิดและการพูดแบบนี้คือ การมองและแสดงความจริง โดยแยกแยะออกให้เห็นแต่ละแง่แต่ละด้าน แต่ละประเด็นครบทุกแง่ทุกด้าน ทุกประเด็น ไม่ใช่จับเอาประเด็นใดประเด็นหนึ่งมาคิดวิเคราะห์แล้วสรุปครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด
วิภัชชวาท ..
เป็นชื่อเรียกอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา หรือเป็นคำหนึ่งที่แสดงระบบความคิดของพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธเจ้าทรงเรียกพระองค์เองว่าเป็น วิภัชชวาท หรือ วิภัชชวาที และคำว่า วิภัชชวาท หรือวิภัชชวาทีนั้น ก็ได้เป็นคำเรียกพระพุทธศาสนา หรือคำเรียกพระนามของพระพุทธเจ้าซึ่งได้ใช้อ้างกันมาในประวัติการณ์แห่งพระพุทธศาสนา เช่น ในคราวสังคายนาครั้งที่ 3 พระเจ้าอโศกมหาราชตรัสถามพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานสงฆ์ในการสังคายนาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีวาทะอย่างไร พระเถระทูลตอบว่า “มหาบพิตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นวิภัชชวาที”
อ .. แปลว่า ไม่
อวิภัชชวาที .. จึงแปลตรงกันข้ามกับ .. วิภัชชวาที
หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายก็หมายถึง การพูด (การกล่าวหา) แบบ "เหมารวม" ไม่จำแนกแยกแยะด้วยเหตุผล .. อันจะพบเห็นได้มากในทางการเมืองในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
ปกติเมื่อเป็นภาษาไทยจะลดรูป "ช" ออกตัวหนึ่ง
========================================
O ภุมรินและพินทุรส .. O
.
วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
O ลมรื่นแตะตื่นมธุระเก-
สระเรณุกาไพร
พาหอม ลุ ล้อม, ยุคะสมัย-
ะพิไลพิลาสรอ
O งดงาม ณ ยามรุจะกระหนาบ-
นภะภาพะพร่างพอ-
กำจายสยายบทะลออ
กระแหนะช่อสุมาลย์สี
O ฝั่งฟ้าประภา, และ ธรณิน
ภุมรินะเริ่มลี-
ลาศ-หาผการสะเพราะมี
ดุษฎีกะหอมหวาน
O โลกกว้างระหว่างวตะอรุณ
ดุจะหมุนประกอบการณ์
โผนผกวิหค ณ คคนาน-
ตะผสานผสมเสียง
O เริ่มกาลประสารรหัสะเลศ
ทุระเภทะพร้อมเพรียง-
กล่อมเมาหะเขลา, มุสะประเดียง-
ก็ระเรียงประโลมร้อย
O เผยภาพละภาพ ณ บุพะภพ-
ระบุครบ .. ระบัดคอย
ราวเรื่องก็เปลื้องบทะทะยอย
สุขะ-สร้อย .. ผสานเสริม
O เยี่ยงหวานสุมาลยะประนัง
รสะตั้งจะเตรียบเติม-
คลื่นหอมตะล่อมบทะกระเหิม
ระอุเพิ่ม .. ณ กลีบกรอง
O ทิพเทพวิเลปนะกระวน
สติคน ก็ ถูกครอง
เพียงรสประพจนะสนอง
ผัสะต้อง สิ เจียนตาย
O ผึ้งภู่เสาะสู่มธุระรส
ระบุกฏ บ อาจกลาย
แสงสูรยะพูนพละสยาย
ขณะผายก็แผดเผา
O อำนาจและอาชญะประภาพ
ฤทธิทาบ ฤ บรรเทา
ถ้วนกฏและพจนะเฉลา
ก็คละเคล้าระคนความ
O หยาดพินทุรินมธุ-ละออง
ผัสะต้องจะตื่นตาม
หยาดคำเพราะคัมภิระ-ละลาม
อุระหวาม ฤ ข้ามไหว
O ภาพพจน์จรดกะนัยนา
คุณะค่า ฤ ควรใคร-
เทียมทัศน์และวัตระอดิศัย-
ะประไพประพิณพร้อม
O เทียบ-ภาพก็ภาพมธุกุสุม
กระแหนะนุ่มระรุมดอม
เปรียบ-บทสุพจนะประนอม
ประลุล้อมระรายเรียง
O สามารถเหมาะอาชญะผสาน-
อุปการะเกริกเกรียง
แซ่ศัพทะรับดุจะจะเอียง-
ธรณินะล่มสูญ
O สามารถเหมาะอาชวะสมรรถ
เพราะขจัด บ เพิ่มพูน
พ้องความกะทราม, ก็บริบูรณ์-
ภวะกูณฑะสุมเมือง
O พร้อมพินทุสิ้นภวะจะหยด
จิตะคดก็แค้นเคือง
โดยพิษะริษยะเมลือง
ทะนุเนื่องและน้อมนำ
O ริ้ววาตะพารสะประทิ่น
ภุมรินะเริงรำ
ปีกลู่เสาะสู่มธุระสัม-
ผัสะย้ำกะหยาดหวาน
O ริ้ววาทะพามุสะประนอม
ผัสะย้อม กะ วิญญาณ
เจตจินตะสิ้น, สติพิชาน-
ก็จะลาญ บ เหลือรอย
O หวาน, วาตะ, อาชญะประนัง
ฤดิคลั่ง ก็ หมอบคอย
เสพลิ้มกระหยิ่ม บ ละ บ ถอย
สติด้อย สิ ดึงดัน
O เลศวาทะ, อาชวะรหัส
อวิภัชะรำพัน
เกณฑ์กรอบระบอบมุหะมหัน-
ตะกระนั้นจะเนื่องหนุน
O สูงค่าสุภาษิตะประกอบ-
คละระบอบ .. ระเบียบบุญ
สูงส่งเพราะมงคละเหมาะสุน-
ทริยะดุลยะภาพพร้อม
O ภาพงามละลามยุคะสมัย
มธุ-ไพระสุดออม-
แอบกลิ่นประทิ่น, กฏะพะยอม-
ก็ ลุ ล้อมประนอมกรรม
O แฉกลิ้น มุ ภินทนะสมา-
คมะชาติด้วยชำ-
นาญ..บท .. และพจนะกลัม-
พ-ระพร่ำ ก็ เป็นผล
O สามารถเหมาะชาติจะอภิวัฒ-
นะขจัดซะอับจน
จารีตและคีตะอนุสน-
ธิ ระคนประโคมคอย
O หอมหวานสุมาลยะก็ภิน-
ทนะสิ้นและสุดรอย
หยาดพินทุสิ้น, มธุระพลอย-
รสะถ่อย .. ผิ เอาทาร !
========================================
คำศัพท์บางคำ
(ที่มา .. https://www.chatchawan.net/2014/05/vibhajyavada/)
วิภัชชวาที ..
แปลว่า การพูดแยกแยะ การพูดจำแนก หรือพูดแจกแจง หรือการพูดเชิงวิเคราะห์ ลักษณะสำคัญของการคิดและการพูดแบบนี้คือ การมองและแสดงความจริง โดยแยกแยะออกให้เห็นแต่ละแง่แต่ละด้าน แต่ละประเด็นครบทุกแง่ทุกด้าน ทุกประเด็น ไม่ใช่จับเอาประเด็นใดประเด็นหนึ่งมาคิดวิเคราะห์แล้วสรุปครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด
วิภัชชวาท ..
เป็นชื่อเรียกอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา หรือเป็นคำหนึ่งที่แสดงระบบความคิดของพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธเจ้าทรงเรียกพระองค์เองว่าเป็น วิภัชชวาท หรือ วิภัชชวาที และคำว่า วิภัชชวาท หรือวิภัชชวาทีนั้น ก็ได้เป็นคำเรียกพระพุทธศาสนา หรือคำเรียกพระนามของพระพุทธเจ้าซึ่งได้ใช้อ้างกันมาในประวัติการณ์แห่งพระพุทธศาสนา เช่น ในคราวสังคายนาครั้งที่ 3 พระเจ้าอโศกมหาราชตรัสถามพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานสงฆ์ในการสังคายนาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีวาทะอย่างไร พระเถระทูลตอบว่า “มหาบพิตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นวิภัชชวาที”
อ .. แปลว่า ไม่
อวิภัชชวาที .. จึงแปลตรงกันข้ามกับ .. วิภัชชวาที
หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายก็หมายถึง การพูด (การกล่าวหา) แบบ "เหมารวม" ไม่จำแนกแยกแยะด้วยเหตุผล .. อันจะพบเห็นได้มากในทางการเมืองในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
ปกติเมื่อเป็นภาษาไทยจะลดรูป "ช" ออกตัวหนึ่ง
========================================