โควิด เพิ่มวิกฤติเหลื่อมล้ำ คนจนเสี่ยงติดเชื้อ รอคอยวัคซีน ตกงานเพิ่ม เงินไม่มี
https://www.thairath.co.th/news/business/2029489
ความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นอย่างชัดเจนมากขึ้น จากการแพร่ระบาดของโควิด เมื่อวัคซีนความหวังของคนทั้งโลกในการต่อสู้กับโควิด เป็นกระจกสะท้อนย้ำให้เห็นได้ชัดระหว่างคนรวยและจน ในการเข้าถึงวัคซีนได้ก่อน ยังไม่รวมถึงความได้เปรียบของผู้มีเงินทุนมากกว่า ย่อมมีโอกาสใช้จังหวะในห้วงวิกฤติตกยากของคนทั่วไป ปูทางทำธุรกิจเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ได้มากกว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นจริงตามคำกล่าวของ "
ผศ.ดร.สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข" คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ระบุกับ "
ทีมข่าวเจาะประเด็นไทยรัฐออนไลน์" ว่า ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำมานานก่อน "
โควิดระบาด" และเมื่อโควิดระบาดได้ทำให้เศรษฐกิจหยุดนิ่งจากมาตรการต่างๆ ของรัฐ ทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจสะดุด ทำให้คนขาดรายได้ โดยไม่เลือกว่าเป็นคนกลุ่มไหน แต่ในประเด็นวัคซีนโควิดนั้น ไทยไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี แต่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปผลิตให้เขา และไทยหวังจะเรียนรู้เทคโนโลยี เริ่มจากวัคซีนของซิโนแวค 2 ล้านโดส และตามมาด้วยแอสตราเซเนกา 26 ล้านโดส ซึ่งไทยต้องจ่ายเงินให้เขาทั้งสิ้น และเมื่อไทยเพิ่มวัคซีนเป็นอีก 35 ล้านโดส จึงมีคำถามว่าจะจัดให้ใครก่อน แต่ของไทยได้ก้าวข้ามจะฉีดให้กับทุกคน หากเปิดให้มีการซื้อขายก่อนก็จะทำให้คนมีเงินเข้าถึงได้ก่อน
จากปัญหาการระบาดของโควิด พบว่าคนจนมีโอกาสรับเชื้อได้มากกว่า เพราะต้องเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งไม่แน่ชัดจะมีการประเมินอย่างไรในการฉีดวัคซีน แม้ไทยจะเริ่มจากกลุ่มเสี่ยงก่อน แต่หลังจากนั้นไม่มีความชัดเจน จึงมองว่าคนระดับล่างมีความเสี่ยงในการติดโควิดมากที่สุดจากการดำรงชีพ จึงไม่แน่ใจว่าจัดสรรวัคซีนกันอย่างไร ยกตัวอย่างการจะไปฉีดวัคซีนใน จ.ภูเก็ต เพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยว ซึ่งเห็นชัดถึงความเหลื่อมล้ำ จึงถามอีกว่าคนจังหวัดอื่นจะเป็นอย่างไร และถามว่าจะจัดวัคซีนให้ใคร เพราะทุกคนมีความจำเป็นต้องไปทำงานกันทุกคน โดยประเมินว่าวัคซีนเบื้องต้น 28 ล้านโดสที่จะใช้ไปถึงสิ้นปีนี้ ครอบคลุมประชากรเพียง 18 ล้านคน และประชากรที่เหลือยังไม่ได้วัคซีน
นอกจากนี้คนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากจนปานกลาง มาจนมากสุด แสดงให้เห็นว่ามีคนจนเพิ่มมากขึ้นแบบก้าวกระโดดจากข้อมูลของธนาคารโลก และเศรษฐกิจไทยจะไม่ฟื้นตัวเป็นวีเชฟแน่นอน เนื่องจากคนชั้นกลางจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ได้ เพราะฉะนั้นรัฐต้องช่วยเหลือในการออกมาตรการต่างๆ ซึ่งความจริงแล้วเป็นเพียงมาตรการซื้อเวลา ยิ่งใช้เวลานานแค่ไหนก็ยิ่งเพิ่มความเหลื่อมล้ำ เพราะในที่สุดเงินก็ไหลไปหานายทุนมากกว่าอยู่แล้ว
"
รัฐจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวเพียงแค่ในช่วงความไม่ปกติที่คนไม่ใช้จ่ายเท่านั้นหรือ ทั้งที่ก่อนหน้าจะเกิดโควิดคนก็ระมัดระวังการใช้จ่ายอยู่แล้ว จะทำให้ในอนาคตจะเกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น กลายเป็นปัญหาระยะยาว มาช่วยซ้ำเติมกลุ่มคนให้ถูกถีบกลายเป็นคนจน เมื่อมาตรการของรัฐสิ้นสุดลง พวกเขาจะไม่เหลืออะไร จากหนี้ครัวเรือน 78 เปอร์เซ็นต์ เขยิบมาที่ 80 กว่าเปอร์เซ็นต์ เมื่อสิ้นเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา และกลางปีนี้น่าจะเพิ่มขึ้นอีก 80 เปอร์เซ็นต์แก่ๆ ของจีดีพี ส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลาง และคนจนที่ไปต่อไม่ได้ เมื่อคนถูกถีบให้เป็นคนจนโดยโควิด บังคับให้ใช้ดิจิทัล หากตามเทคโนโลยีไม่ทัน ก็จะตามไปไม่ได้ในที่สุด แต่กลุ่มนายทุน ไม่กระทบสามารถลงทุนไปซื้อกิจการต่างๆ ในต่างประเทศได้อยู่แล้ว"
จากการระบาดของโควิดได้ทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนไป หากปรับตัวกันไม่ทัน คิดว่าจะเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และเมื่อผ่านไประยะหนึ่งหากพยุงกันไม่ได้ จึงเดาไม่ถูกจะเกิดวิกฤติอย่างไรระหว่างหนี้ท่วม หรือเงินเฟ้อ เพราะเศรษฐกิจขยับไม่ได้ และไม่สนใจคนระดับล่าง เพราะของมีราคาแพง จึงต้องไปซื้อของคุณภาพที่น้อยลง ดังนั้นจะต้องสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หากเป็นคนทำงบประมาณจะไม่ทำให้ขาดดุล 2 แสนล้านบาท แต่ควรทำให้ขาดดุล 7 แสนล้านบาท เพราะรัฐบาลใช้จ่ายเอง แต่ขณะนี้กลับเอาเงินไปใส่มือประชาชน ซึ่งเท่าไรก็ไม่พอ จึงควรบังคับให้สร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพราะการให้เงินประชาชน สุดท้ายแล้วก็ไปอยู่ที่นายทุนทั้งหมด
สรุปแล้วมาตรการเยียวยาโควิด ยิ่งนานยิ่งไม่ดี ซึ่งไม่ได้คัดค้านไม่ให้ช่วยเหลือ แต่ต้องรู้ว่าจะมีผลกระทบสืบเนื่อง ควรทำในรูปแบบของการจ้างงานแทน ซึ่งไม่ควรอ้างว่าติดกระบวนการของทางราชการ แต่ควรเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจเหมือนอย่างประเทศเยอรมนี เอาเงินให้ประชาชนในรูปแบบของกรีน เอ็นเนอร์ยี่ ซึ่งเน้นด้านสิ่งแวดล้อม สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพราะโควิดยังอยู่กับเราอีกนาน จะก่อให้เกิดผลกระทบทำให้คนจนในช่วง 10 ปีก่อน กลับมาที่เดิม เพราะมีคนว่างงานเพิ่มขึ้น และจะเกิดปัญหาสังคมตามมา ทั้งอาชญากรรมเพิ่ม คนฆ่าตัวตายมากขึ้นจากพิษเศรษฐกิจ.
แฉบ่อนทั่วไทย 200 แห่ง ‘ชาญเชาวน์’ เตรียมรายงานลับส่งบิ๊กตู่ ระยองสะพัด100ล้าน 10จนท.เอี่ยวฟอกเงิน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2571231
แฉบ่อนทั่วประเทศ 200 แห่ง กทม.มี 47 บ่อน ‘ชาญเชาวน์’ เตรียมรายงานลับส่งบิ๊กตู่ – 2 แหล่งระยองเงินสะพัด 100ล้าน 10จนท.เอี่ยวฟอกเงิน
เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ กรณีการแก้ไขปัญหาบ่อนการพนันจากกรณีการพบการแพร่ระบาดไวรัสโควิดจากบ่อนการพนันที่จ.ระยอง ช่วงปลายปี2563 ที่ผ่านมาจนนำไปสู่การปูพรมระดมกวาดล้างบ่อนการพนันทั่วประเทศ รวมทั้งมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ ล่าสุดที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) นาย
ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำความผิดกรณีสถานที่เล่นการพนันเป็นเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโควิด-19 แถลงความคืบหน้าภายหลังการประชุมเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ว่า
ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์จะครบกำหนด 30 วัน ที่คณะกรรมการฯจะต้องส่งรายงานลับให้พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบข้อมูล โดยเน้นตรวจสอบบ่อนการพนันในพื้นที่ จ.ระยอง 2 แห่ง ซึ่งเป็นบ่อนขนาดใหญ่และมีเจ้าของคนเดียวกัน โดยบ่อนดังกล่าวทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และกรมการปกครองให้ดำเนินการทางคดีไปแล้ว เบื้องต้นพบว่าบ่อนดังกล่าวเปิดมาแล้ว 1 ปี ทุกหน่วยงานยืนยันตรงกันว่าเจ้าของบ่อนเป็นผู้ดำเนินการอย่างชัดเจน นอกจากนี้ พบว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกว่า 10 ราย ทั้งตำรวจและฝ่ายปกครอง มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน จากการสืบสวนพบว่ามีวงเงินหมุนเวียนในบ่อนดังกล่าวมากกว่า 100 ล้านบาท
นาย
ชาญเชาวน์กล่าวว่า คณะกรรมการฯเห็นว่าการดำเนินการเรื่องบ่อนการพนัน ยังมีปัญหาการประสานงานกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในหลายหน่วย และการใช้กฎหมายเพื่อดำเนินการกับบ่อนหลายฉบับ ไม่ถูกบังคับใช้อย่างเคร่งครัด อีกทั้งข้อมูลข้อเท็จจริงจากหน่วยงานต่างๆ ยังขาดประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน ทั้งที่การทำงานต้องการความรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่มีหน่วยงานที่ประสานอย่างชัดเจน จึงเป็นปัญหา โดยเฉพาะการนำกฎหมายด้านการฟอกเงิน กฎหมายด้านการพนัน และการดำเนินการทางอาญา เข้ามาดำเนินการ
นาย
ชาญเชาวน์กล่าวว่า บ่อนการพนันเป็นองค์กรอาชญากรรมที่สำคัญ จึงมีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายเพื่อตรวจสอบเส้นทางการเงิน หากวิเคราะห์ดูก็จะทราบว่าเหตุใดการดำเนินการถึงล่าช้า ในคณะอนุกรรมการชุดที่มีดีเอสไอ และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ซึ่งทำหน้าที่ในการตรวจสอบเส้นทางการเงิน สามารถชี้ชัดและเห็นความเชื่อมโยงว่า มีบุคคลใดเข้าไปเกี่ยวข้องบ้าง ซึ่งบ่อนการพนันจ.ระยอง มีรายชื่ออย่าง
ชัดเจน
“
ขณะนี้ตัวเลขสถิติของบ่อนการพนันทั่วประเทศ ยังอยู่ที่ 200 แห่ง โดยพื้นที่ กทม. มีเบาะแส ในพื้นที่รับผิดชอบของนครบาลมีบ่อนการพนันถึง 47 แห่ง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้มาในช่วงระยะตั้งแต่วันที่ 20 มกราคมจนถึงปัจจุบัน โดยทั้งหมดจะเป็นข้อมูลลับที่คณะกรรมการจะส่งตรงไปยังนายกรัฐมนตรีและทุก 30 วันหลังคณะทำงานลงพื้นที่ตรวจจสอบข้อเท็จจริง และรายงานผลมายังคณะกรรมการชุดใหญ่” นาย
ชาญเชาวน์กล่าว
JJNY : โควิดเพิ่มวิกฤติเหลื่อมล้ำ│แฉบ่อนทั่วไทย200แห่ง│อ.จวกส.ส.-สว.มะเร็งสังคม│ฟันธงเตะถ่วงร่างรธน.ส่งผลเสถียรภาพรบ.
https://www.thairath.co.th/news/business/2029489
ความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นอย่างชัดเจนมากขึ้น จากการแพร่ระบาดของโควิด เมื่อวัคซีนความหวังของคนทั้งโลกในการต่อสู้กับโควิด เป็นกระจกสะท้อนย้ำให้เห็นได้ชัดระหว่างคนรวยและจน ในการเข้าถึงวัคซีนได้ก่อน ยังไม่รวมถึงความได้เปรียบของผู้มีเงินทุนมากกว่า ย่อมมีโอกาสใช้จังหวะในห้วงวิกฤติตกยากของคนทั่วไป ปูทางทำธุรกิจเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ได้มากกว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นจริงตามคำกล่าวของ "ผศ.ดร.สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข" คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ระบุกับ "ทีมข่าวเจาะประเด็นไทยรัฐออนไลน์" ว่า ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำมานานก่อน "โควิดระบาด" และเมื่อโควิดระบาดได้ทำให้เศรษฐกิจหยุดนิ่งจากมาตรการต่างๆ ของรัฐ ทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจสะดุด ทำให้คนขาดรายได้ โดยไม่เลือกว่าเป็นคนกลุ่มไหน แต่ในประเด็นวัคซีนโควิดนั้น ไทยไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี แต่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปผลิตให้เขา และไทยหวังจะเรียนรู้เทคโนโลยี เริ่มจากวัคซีนของซิโนแวค 2 ล้านโดส และตามมาด้วยแอสตราเซเนกา 26 ล้านโดส ซึ่งไทยต้องจ่ายเงินให้เขาทั้งสิ้น และเมื่อไทยเพิ่มวัคซีนเป็นอีก 35 ล้านโดส จึงมีคำถามว่าจะจัดให้ใครก่อน แต่ของไทยได้ก้าวข้ามจะฉีดให้กับทุกคน หากเปิดให้มีการซื้อขายก่อนก็จะทำให้คนมีเงินเข้าถึงได้ก่อน
จากปัญหาการระบาดของโควิด พบว่าคนจนมีโอกาสรับเชื้อได้มากกว่า เพราะต้องเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งไม่แน่ชัดจะมีการประเมินอย่างไรในการฉีดวัคซีน แม้ไทยจะเริ่มจากกลุ่มเสี่ยงก่อน แต่หลังจากนั้นไม่มีความชัดเจน จึงมองว่าคนระดับล่างมีความเสี่ยงในการติดโควิดมากที่สุดจากการดำรงชีพ จึงไม่แน่ใจว่าจัดสรรวัคซีนกันอย่างไร ยกตัวอย่างการจะไปฉีดวัคซีนใน จ.ภูเก็ต เพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยว ซึ่งเห็นชัดถึงความเหลื่อมล้ำ จึงถามอีกว่าคนจังหวัดอื่นจะเป็นอย่างไร และถามว่าจะจัดวัคซีนให้ใคร เพราะทุกคนมีความจำเป็นต้องไปทำงานกันทุกคน โดยประเมินว่าวัคซีนเบื้องต้น 28 ล้านโดสที่จะใช้ไปถึงสิ้นปีนี้ ครอบคลุมประชากรเพียง 18 ล้านคน และประชากรที่เหลือยังไม่ได้วัคซีน
นอกจากนี้คนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากจนปานกลาง มาจนมากสุด แสดงให้เห็นว่ามีคนจนเพิ่มมากขึ้นแบบก้าวกระโดดจากข้อมูลของธนาคารโลก และเศรษฐกิจไทยจะไม่ฟื้นตัวเป็นวีเชฟแน่นอน เนื่องจากคนชั้นกลางจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ได้ เพราะฉะนั้นรัฐต้องช่วยเหลือในการออกมาตรการต่างๆ ซึ่งความจริงแล้วเป็นเพียงมาตรการซื้อเวลา ยิ่งใช้เวลานานแค่ไหนก็ยิ่งเพิ่มความเหลื่อมล้ำ เพราะในที่สุดเงินก็ไหลไปหานายทุนมากกว่าอยู่แล้ว
"รัฐจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวเพียงแค่ในช่วงความไม่ปกติที่คนไม่ใช้จ่ายเท่านั้นหรือ ทั้งที่ก่อนหน้าจะเกิดโควิดคนก็ระมัดระวังการใช้จ่ายอยู่แล้ว จะทำให้ในอนาคตจะเกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น กลายเป็นปัญหาระยะยาว มาช่วยซ้ำเติมกลุ่มคนให้ถูกถีบกลายเป็นคนจน เมื่อมาตรการของรัฐสิ้นสุดลง พวกเขาจะไม่เหลืออะไร จากหนี้ครัวเรือน 78 เปอร์เซ็นต์ เขยิบมาที่ 80 กว่าเปอร์เซ็นต์ เมื่อสิ้นเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา และกลางปีนี้น่าจะเพิ่มขึ้นอีก 80 เปอร์เซ็นต์แก่ๆ ของจีดีพี ส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลาง และคนจนที่ไปต่อไม่ได้ เมื่อคนถูกถีบให้เป็นคนจนโดยโควิด บังคับให้ใช้ดิจิทัล หากตามเทคโนโลยีไม่ทัน ก็จะตามไปไม่ได้ในที่สุด แต่กลุ่มนายทุน ไม่กระทบสามารถลงทุนไปซื้อกิจการต่างๆ ในต่างประเทศได้อยู่แล้ว"
จากการระบาดของโควิดได้ทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนไป หากปรับตัวกันไม่ทัน คิดว่าจะเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และเมื่อผ่านไประยะหนึ่งหากพยุงกันไม่ได้ จึงเดาไม่ถูกจะเกิดวิกฤติอย่างไรระหว่างหนี้ท่วม หรือเงินเฟ้อ เพราะเศรษฐกิจขยับไม่ได้ และไม่สนใจคนระดับล่าง เพราะของมีราคาแพง จึงต้องไปซื้อของคุณภาพที่น้อยลง ดังนั้นจะต้องสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หากเป็นคนทำงบประมาณจะไม่ทำให้ขาดดุล 2 แสนล้านบาท แต่ควรทำให้ขาดดุล 7 แสนล้านบาท เพราะรัฐบาลใช้จ่ายเอง แต่ขณะนี้กลับเอาเงินไปใส่มือประชาชน ซึ่งเท่าไรก็ไม่พอ จึงควรบังคับให้สร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพราะการให้เงินประชาชน สุดท้ายแล้วก็ไปอยู่ที่นายทุนทั้งหมด
สรุปแล้วมาตรการเยียวยาโควิด ยิ่งนานยิ่งไม่ดี ซึ่งไม่ได้คัดค้านไม่ให้ช่วยเหลือ แต่ต้องรู้ว่าจะมีผลกระทบสืบเนื่อง ควรทำในรูปแบบของการจ้างงานแทน ซึ่งไม่ควรอ้างว่าติดกระบวนการของทางราชการ แต่ควรเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจเหมือนอย่างประเทศเยอรมนี เอาเงินให้ประชาชนในรูปแบบของกรีน เอ็นเนอร์ยี่ ซึ่งเน้นด้านสิ่งแวดล้อม สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพราะโควิดยังอยู่กับเราอีกนาน จะก่อให้เกิดผลกระทบทำให้คนจนในช่วง 10 ปีก่อน กลับมาที่เดิม เพราะมีคนว่างงานเพิ่มขึ้น และจะเกิดปัญหาสังคมตามมา ทั้งอาชญากรรมเพิ่ม คนฆ่าตัวตายมากขึ้นจากพิษเศรษฐกิจ.
แฉบ่อนทั่วไทย 200 แห่ง ‘ชาญเชาวน์’ เตรียมรายงานลับส่งบิ๊กตู่ ระยองสะพัด100ล้าน 10จนท.เอี่ยวฟอกเงิน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2571231
แฉบ่อนทั่วประเทศ 200 แห่ง กทม.มี 47 บ่อน ‘ชาญเชาวน์’ เตรียมรายงานลับส่งบิ๊กตู่ – 2 แหล่งระยองเงินสะพัด 100ล้าน 10จนท.เอี่ยวฟอกเงิน
เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ กรณีการแก้ไขปัญหาบ่อนการพนันจากกรณีการพบการแพร่ระบาดไวรัสโควิดจากบ่อนการพนันที่จ.ระยอง ช่วงปลายปี2563 ที่ผ่านมาจนนำไปสู่การปูพรมระดมกวาดล้างบ่อนการพนันทั่วประเทศ รวมทั้งมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ ล่าสุดที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำความผิดกรณีสถานที่เล่นการพนันเป็นเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโควิด-19 แถลงความคืบหน้าภายหลังการประชุมเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ว่า
ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์จะครบกำหนด 30 วัน ที่คณะกรรมการฯจะต้องส่งรายงานลับให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบข้อมูล โดยเน้นตรวจสอบบ่อนการพนันในพื้นที่ จ.ระยอง 2 แห่ง ซึ่งเป็นบ่อนขนาดใหญ่และมีเจ้าของคนเดียวกัน โดยบ่อนดังกล่าวทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และกรมการปกครองให้ดำเนินการทางคดีไปแล้ว เบื้องต้นพบว่าบ่อนดังกล่าวเปิดมาแล้ว 1 ปี ทุกหน่วยงานยืนยันตรงกันว่าเจ้าของบ่อนเป็นผู้ดำเนินการอย่างชัดเจน นอกจากนี้ พบว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกว่า 10 ราย ทั้งตำรวจและฝ่ายปกครอง มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน จากการสืบสวนพบว่ามีวงเงินหมุนเวียนในบ่อนดังกล่าวมากกว่า 100 ล้านบาท
นายชาญเชาวน์กล่าวว่า คณะกรรมการฯเห็นว่าการดำเนินการเรื่องบ่อนการพนัน ยังมีปัญหาการประสานงานกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในหลายหน่วย และการใช้กฎหมายเพื่อดำเนินการกับบ่อนหลายฉบับ ไม่ถูกบังคับใช้อย่างเคร่งครัด อีกทั้งข้อมูลข้อเท็จจริงจากหน่วยงานต่างๆ ยังขาดประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน ทั้งที่การทำงานต้องการความรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่มีหน่วยงานที่ประสานอย่างชัดเจน จึงเป็นปัญหา โดยเฉพาะการนำกฎหมายด้านการฟอกเงิน กฎหมายด้านการพนัน และการดำเนินการทางอาญา เข้ามาดำเนินการ
นายชาญเชาวน์กล่าวว่า บ่อนการพนันเป็นองค์กรอาชญากรรมที่สำคัญ จึงมีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายเพื่อตรวจสอบเส้นทางการเงิน หากวิเคราะห์ดูก็จะทราบว่าเหตุใดการดำเนินการถึงล่าช้า ในคณะอนุกรรมการชุดที่มีดีเอสไอ และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ซึ่งทำหน้าที่ในการตรวจสอบเส้นทางการเงิน สามารถชี้ชัดและเห็นความเชื่อมโยงว่า มีบุคคลใดเข้าไปเกี่ยวข้องบ้าง ซึ่งบ่อนการพนันจ.ระยอง มีรายชื่ออย่าง
ชัดเจน
“ขณะนี้ตัวเลขสถิติของบ่อนการพนันทั่วประเทศ ยังอยู่ที่ 200 แห่ง โดยพื้นที่ กทม. มีเบาะแส ในพื้นที่รับผิดชอบของนครบาลมีบ่อนการพนันถึง 47 แห่ง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้มาในช่วงระยะตั้งแต่วันที่ 20 มกราคมจนถึงปัจจุบัน โดยทั้งหมดจะเป็นข้อมูลลับที่คณะกรรมการจะส่งตรงไปยังนายกรัฐมนตรีและทุก 30 วันหลังคณะทำงานลงพื้นที่ตรวจจสอบข้อเท็จจริง และรายงานผลมายังคณะกรรมการชุดใหญ่” นายชาญเชาวน์กล่าว