Ancient Mayan king’s mask
หน้ากากปูนปั้นที่เชื่อกันว่าเป็น "Pakal the great" Cr.HéctorMontaño, INAH
มีการค้นพบหน้ากากโบราณที่แสดงภาพกษัตริย์ของชาวมายันในศตวรรษที่ 7 ทางตอนใต้ของเม็กซิโก โดยการค้นพบนี้เกิดขึ้นในเมือง Palenque ที่มีชื่อเสียงในรัฐเชียปัส ของเม็กซิโก ในอาคารสถาปัตยกรรมที่ซึ่งรู้จักกันในชื่อ El Palacio (House E )
การค้นพบนี้ถูกเปิดเผยในแถลงการณ์ที่เผยแพร่โดยสถาบัน Instituto Nacional de Antropologia e Historia (INAH) ของเม็กซิโก ซึ่งนักโบราณคดี
กล่าวว่า ประติมากรรมดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ของ K'inich Janaab 'Pakal ผู้ปกครองชาวมายันในศตวรรษที่ 7 หรือที่เรียกว่า“ Pakal the Great”
ในขณะที่ยังไม่ทราบที่มาเฉพาะของหน้ากากปูนปั้นนี้ แต่หลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการสังเกตขนาดและรูปแบบที่เป็นธรรมชาติแล้ว พวกเขาจึงสันนิษฐานว่า สิ่งประดิษฐ์นี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งสถาปัตยกรรมบางอย่าง ส่วนวัตถุโบราณอื่น ๆ ที่พบในบริเวณนี้ ได้แก่ รูปแกะสลักที่มีลักษณะคล้ายกุ้งแม่น้ำ, แก้วที่มีลวดลายดอกลิลลี่ และ fish motifs
King Pakal วัยรุ่น (ซ้าย) และชายหนุ่ม (ขวา) (Cr.Jebulon / Jamie Dwyer / Wikimedia Commons)
ซากปรักหักพังของ Palenque ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยองค์การ UNESCO ซึ่งยังคงแสดงให้เห็นถึงอารยธรรมมายาที่สูญหายไป
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ เจริญรุ่งเรืองสูงสุดในระหว่างปี 500 - 700 ความสง่างามและงานฝีมือของอาคาร ตลอดจนภาพสลักนูนของเรื่องราวในตำนานของชาวมายัน เป็นเครื่องยืนยันได้ถึงอัจฉริยะแห่งการสร้างสรรค์ของอารยธรรมมายาได้เป็นอย่างดี
โดยในปี 2016 นักโบราณคดีจาก Palenque ยังได้ค้นพบอุโมงค์น้ำใต้ดินที่สร้างขึ้นภายใต้วิหารแห่งจารึกซึ่งเป็นที่ตั้งของหลุมฝังศพของ Pakal อีกด้วย
และเมื่อต้นปี 2018 นักโบราณคดีได้ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนเพื่อเปิดเผยเมืองที่สูญหาย และโครงสร้างโบราณหลายพันแห่ง ที่อยู่ลึกเข้าไปในป่ากัวเตมาลาซึ่งยืนยันว่าอารยธรรมมายามีขนาดใหญ่กว่าที่เคยคิดไว้
และตามรายงานของ History.com ก็คือ อาณาจักรของชาวมายันในกัวเตมาลานั้น ถึงจุดสูงสุดของอำนาจในศตวรรษที่หก แม้ว่าเมืองอารยธรรมส่วนใหญ่จะถูกทิ้งร้างในราว 900 AD ทั้งนี้ รัชสมัยของ Pakal the Great นั้นยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของอเมริกา พระองค์ขึ้นครองราชย์เมื่ออายุ 12 ปี
ในปี 615 ก่อนคริสต์ศักราช และปกครองจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ 68 ปีต่อมาเมื่ออายุ 80 ปี
Cr.
https://nypost.com/2018/08/28/ancient-mayan-kings-mask-discovered-in-mexico/ James Rogers
Unique Mayan mask
หน้ากากปูนปั้นของ Ucanha (ภาพ: © INAH)
ในปี 2017 นักโบราณคดี Jacob Welch ได้ทำการขุดค้นพื้นที่ Ucanha ซึ่งเป็นที่ตั้งบนคาบสมุทร Yucatán ใกล้ชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก และได้พบหน้ากาก
ของชาวมายาขนาดมหึมา ที่แกะสลักจากปูนปั้นหรือปูนปลาสเตอร์ที่ทำมาจากปูนขาว
จากรายงานของสำนักข่าวท้องถิ่น Novedades Yucatán ระบุว่า ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์แห่งชาติ (INAH) ของเม็กซิโก
ได้ทำการฟื้นฟูหน้ากาก ซึ่งแสดงภาพของขุนนางหรือเทพที่ไม่ปรากฏชื่อ จากช่วงปลายยุคพรีคลาสสิกของอาณาจักรมายา (ประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 250 AD) จนถึงปัจจุบัน
ตามที่ INAH ได้บันทึกไว้ว่า หน้ากาก Ucanha แสดงถึงองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์ในภูมิภาคนี้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วประติมากรรมสีสดใสจะถูกวางไว้ใกล้บันไดที่มีฐานรูปพีระมิด และหน้ากากมายาชนิดนี้รู้จักกันในชื่อ " stucco reliefs "
ประติมากรรมที่เพิ่งขุดพบนี้แสดงให้เห็นถึงรูปที่มีศีรษะที่ยาว และจมูกขนาดใหญ่ที่ยื่นออกมา ซึ่งข้างใบหน้าทั้งสองด้านถูกขนาบด้วยสัญลักษณ์ที่แกะสลักอย่างประณีต โดยในบทความเกี่ยวกับ Metropolitan Museum of Art ในปี 2016 ของภัณฑารักษ์ James Doyle ระบุว่า
ชาวมายาได้สร้างรูปปั้นจากวัสดุตั้งแต่ปูนปั้นไปจนถึงไม้ กระดูก เปลือกหอย และดินเผา เช่นเดียวกับภาพนูนต่ำปูนปั้น (stucco reliefs) ซึ่งศิลปะของชาวมายาส่วนใหญ่มักจะพรรณนาถึงสิ่งมีชีวิตเหนือธรรมชาติหรือผู้ปกครอง โดยราชสำนักจะใช้จิตรกรและช่างแกะสลักมืออาชีพ ที่ได้รับมอบหมายให้ตกแต่งพระราชวังและวิหาร นอกเหนือจากการสร้างเครื่องราชกกุธภัณฑ์เช่น คทาและเครื่องรางหยก
นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้พบตัวอย่างของประติมากรรมอื่นๆที่ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรมายาในอดีต ที่อยู่ในสถานที่ต่างๆตั้งแต่ Tikal ในกัวเตมาลาไปจนถึง Kohunlich ในรัฐ Quintana Roo ของเม็กซิโก และ Xunantunich ทางตะวันตกของเบลีซ
และรายงานของ Yucatan Times ที่ระบุว่า งานแกะสลักในพื้นที่ Ucanha ภายในที่ราบลุ่มทางตอนเหนือ ซึ่งภูมิภาคมายาตั้งอยู่นี้ สามารถเทียบเคียงได้กับที่ซากปรักหักพังของ Acanceh และ Izamal
Cr.
https://www.smithsonianmag.com/smart-news/giant-maya-mask-restored-180976835/
2,000-Year-Old Realistic Green Mask
เม็กซิโกเต็มไปด้วยโบราณคดีที่น่าทึ่ง ซึ่งให้เบาะแสเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุคก่อนโคลัมเบียอันยาวนาน ซึ่งหนึ่งในโครงสร้างที่น่าประทับใจที่สุดคือ
พีระมิดแห่งดวงอาทิตย์ ที่เต็มไปด้วยความประหลาดใจใหม่ ๆ ในฐานะอาคารที่ใหญ่ที่สุดใน Teotihuacan
จากการศึกษาโครงสร้างดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง นักโบราณคดีพบว่ามันถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 100 CE แม้ว่าจะมีการค้นพบสิ่งประดิษฐ์เพียงไม่กี่ชิ้นในสถานที่ แต่ในปี 2011 นักวิจัยจากสถาบันมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์แห่งชาติของเม็กซิโก (INAH) ก้ได้ค้นพบสิ่งที่น่าประหลาดใจอีกครั้ง
โดยอุโมงค์ยาว 380 ฟุตที่สามารถไปถึงระดับหินแม่ได้นี้ ถูกขุดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1930 ซึ่งที่นั่น กลุ่มนักโบราณคดีได้ค้นพบขุมทรัพย์ที่หายาก
ซึ่งรวมถึงเศษภาชนะดินเผา กระดูกสัตว์ ชิ้นส่วนของออบซิเดียน รูปแกะสลักมนุษย์สามชิ้น และหน้ากากหินสีเขียวที่น่าทึ่ง ที่เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งเพราะในช่วงเวลาของการค้นพบนี้ มันเป็นหน้ากากชนิดเดียวที่พบได้ในบริบทพิธีกรรมใน Teotihuacan
ปิระมิดโบราณ Pyramid of the Sun ที่พบหน้ากากสีเขียวเหมือนจริงอายุ 2,000 ปี
(Cr.ภาพ Stock Photos from Barna Tanko/Shutterstock)
เชื่อกันว่า เครื่องเซ่นเหล่านี้ถูกทิ้งให้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเพื่อเริ่มการก่อสร้างพีระมิด ดังนั้น ตำแหน่งของมันจึงอยู่ลึกลงไปที่ชั้นล่าง สำหรับหน้ากากนั้นมีความเหมือนจริงมาก จึงก่อให้เกิดทฤษฎีที่ว่ามันน่าจะเป็นรูปหน้าคน แต่นักโบราณคดีก็ไม่แน่ใจ เพราะมีข้อมูลเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับคนที่สร้าง Teotihuacan นอกจากนี้ ยังมีทฤษฎีที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับการใช้พีระมิด ที่แม้แต่ชื่อก็ไม่ใช่ชื่อดั้งเดิมของมัน
อาจเป็นไปได้ว่า ชาว Aztecs มาเยี่ยมเยียน Teotihuacan เมื่อหลายศตวรรษมาแล้วหลังจากที่มันถูกทิ้งร้าง และให้ชื่อมันว่า " Pyramid of the Sun "
ซึ่งเป็นชื่อเดิมของปิรามิดที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกที่ตอนนั้นยังไม่เป็นที่รู้จัก สำหรับเมือง Teotihuacan ที่เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดครั้งหนึ่งถูกเรียกว่า
City of the Gods และมีผู้คนอาศัยอยู่กว่า 200,000 คน แต่นักวิจัยแทบไม่รู้เลยว่าคนเหล่านี้เป็นใครและทำไมจึงหายไปอย่างไร้ร่องรอย
ปัจจุบัน INAH ยังคงทำการวิจัยในพื้นที่นี้ และเมื่อไม่นานมานี้ก้มีการพบอุโมงค์ใต้ดินใต้พีระมิดแห่งดวงจันทร์ที่อยู่ใกล้ ๆ ด้วย ซึ่งจากการใช้เทคโนโลยี
ความต้านทานไฟฟ้า พวกเขาสามารถทำแผนที่อุโมงค์ได้โดยไม่ทำลายพื้นที่รอบๆ
Cr.
https://mymodernmet.com/serpentine-mask-pyramid-sun-teotihuacan/ Jessica Stewart
แผงหน้ากากปูนปั้น, Early Classic, Kohunlich
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
หน้ากากของชาวมายันที่พิเศษ
การค้นพบนี้ถูกเปิดเผยในแถลงการณ์ที่เผยแพร่โดยสถาบัน Instituto Nacional de Antropologia e Historia (INAH) ของเม็กซิโก ซึ่งนักโบราณคดี
กล่าวว่า ประติมากรรมดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ของ K'inich Janaab 'Pakal ผู้ปกครองชาวมายันในศตวรรษที่ 7 หรือที่เรียกว่า“ Pakal the Great”
ในขณะที่ยังไม่ทราบที่มาเฉพาะของหน้ากากปูนปั้นนี้ แต่หลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการสังเกตขนาดและรูปแบบที่เป็นธรรมชาติแล้ว พวกเขาจึงสันนิษฐานว่า สิ่งประดิษฐ์นี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งสถาปัตยกรรมบางอย่าง ส่วนวัตถุโบราณอื่น ๆ ที่พบในบริเวณนี้ ได้แก่ รูปแกะสลักที่มีลักษณะคล้ายกุ้งแม่น้ำ, แก้วที่มีลวดลายดอกลิลลี่ และ fish motifs
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ เจริญรุ่งเรืองสูงสุดในระหว่างปี 500 - 700 ความสง่างามและงานฝีมือของอาคาร ตลอดจนภาพสลักนูนของเรื่องราวในตำนานของชาวมายัน เป็นเครื่องยืนยันได้ถึงอัจฉริยะแห่งการสร้างสรรค์ของอารยธรรมมายาได้เป็นอย่างดี
โดยในปี 2016 นักโบราณคดีจาก Palenque ยังได้ค้นพบอุโมงค์น้ำใต้ดินที่สร้างขึ้นภายใต้วิหารแห่งจารึกซึ่งเป็นที่ตั้งของหลุมฝังศพของ Pakal อีกด้วย
และเมื่อต้นปี 2018 นักโบราณคดีได้ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนเพื่อเปิดเผยเมืองที่สูญหาย และโครงสร้างโบราณหลายพันแห่ง ที่อยู่ลึกเข้าไปในป่ากัวเตมาลาซึ่งยืนยันว่าอารยธรรมมายามีขนาดใหญ่กว่าที่เคยคิดไว้
และตามรายงานของ History.com ก็คือ อาณาจักรของชาวมายันในกัวเตมาลานั้น ถึงจุดสูงสุดของอำนาจในศตวรรษที่หก แม้ว่าเมืองอารยธรรมส่วนใหญ่จะถูกทิ้งร้างในราว 900 AD ทั้งนี้ รัชสมัยของ Pakal the Great นั้นยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของอเมริกา พระองค์ขึ้นครองราชย์เมื่ออายุ 12 ปี
ในปี 615 ก่อนคริสต์ศักราช และปกครองจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ 68 ปีต่อมาเมื่ออายุ 80 ปี
Cr.https://nypost.com/2018/08/28/ancient-mayan-kings-mask-discovered-in-mexico/ James Rogers
ของชาวมายาขนาดมหึมา ที่แกะสลักจากปูนปั้นหรือปูนปลาสเตอร์ที่ทำมาจากปูนขาว
จากรายงานของสำนักข่าวท้องถิ่น Novedades Yucatán ระบุว่า ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์แห่งชาติ (INAH) ของเม็กซิโก
ได้ทำการฟื้นฟูหน้ากาก ซึ่งแสดงภาพของขุนนางหรือเทพที่ไม่ปรากฏชื่อ จากช่วงปลายยุคพรีคลาสสิกของอาณาจักรมายา (ประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 250 AD) จนถึงปัจจุบัน
ตามที่ INAH ได้บันทึกไว้ว่า หน้ากาก Ucanha แสดงถึงองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์ในภูมิภาคนี้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วประติมากรรมสีสดใสจะถูกวางไว้ใกล้บันไดที่มีฐานรูปพีระมิด และหน้ากากมายาชนิดนี้รู้จักกันในชื่อ " stucco reliefs "
ประติมากรรมที่เพิ่งขุดพบนี้แสดงให้เห็นถึงรูปที่มีศีรษะที่ยาว และจมูกขนาดใหญ่ที่ยื่นออกมา ซึ่งข้างใบหน้าทั้งสองด้านถูกขนาบด้วยสัญลักษณ์ที่แกะสลักอย่างประณีต โดยในบทความเกี่ยวกับ Metropolitan Museum of Art ในปี 2016 ของภัณฑารักษ์ James Doyle ระบุว่า
ชาวมายาได้สร้างรูปปั้นจากวัสดุตั้งแต่ปูนปั้นไปจนถึงไม้ กระดูก เปลือกหอย และดินเผา เช่นเดียวกับภาพนูนต่ำปูนปั้น (stucco reliefs) ซึ่งศิลปะของชาวมายาส่วนใหญ่มักจะพรรณนาถึงสิ่งมีชีวิตเหนือธรรมชาติหรือผู้ปกครอง โดยราชสำนักจะใช้จิตรกรและช่างแกะสลักมืออาชีพ ที่ได้รับมอบหมายให้ตกแต่งพระราชวังและวิหาร นอกเหนือจากการสร้างเครื่องราชกกุธภัณฑ์เช่น คทาและเครื่องรางหยก
นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้พบตัวอย่างของประติมากรรมอื่นๆที่ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรมายาในอดีต ที่อยู่ในสถานที่ต่างๆตั้งแต่ Tikal ในกัวเตมาลาไปจนถึง Kohunlich ในรัฐ Quintana Roo ของเม็กซิโก และ Xunantunich ทางตะวันตกของเบลีซ
และรายงานของ Yucatan Times ที่ระบุว่า งานแกะสลักในพื้นที่ Ucanha ภายในที่ราบลุ่มทางตอนเหนือ ซึ่งภูมิภาคมายาตั้งอยู่นี้ สามารถเทียบเคียงได้กับที่ซากปรักหักพังของ Acanceh และ Izamal
Cr.https://www.smithsonianmag.com/smart-news/giant-maya-mask-restored-180976835/
พีระมิดแห่งดวงอาทิตย์ ที่เต็มไปด้วยความประหลาดใจใหม่ ๆ ในฐานะอาคารที่ใหญ่ที่สุดใน Teotihuacan
จากการศึกษาโครงสร้างดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง นักโบราณคดีพบว่ามันถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 100 CE แม้ว่าจะมีการค้นพบสิ่งประดิษฐ์เพียงไม่กี่ชิ้นในสถานที่ แต่ในปี 2011 นักวิจัยจากสถาบันมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์แห่งชาติของเม็กซิโก (INAH) ก้ได้ค้นพบสิ่งที่น่าประหลาดใจอีกครั้ง
โดยอุโมงค์ยาว 380 ฟุตที่สามารถไปถึงระดับหินแม่ได้นี้ ถูกขุดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1930 ซึ่งที่นั่น กลุ่มนักโบราณคดีได้ค้นพบขุมทรัพย์ที่หายาก
ซึ่งรวมถึงเศษภาชนะดินเผา กระดูกสัตว์ ชิ้นส่วนของออบซิเดียน รูปแกะสลักมนุษย์สามชิ้น และหน้ากากหินสีเขียวที่น่าทึ่ง ที่เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งเพราะในช่วงเวลาของการค้นพบนี้ มันเป็นหน้ากากชนิดเดียวที่พบได้ในบริบทพิธีกรรมใน Teotihuacan
อาจเป็นไปได้ว่า ชาว Aztecs มาเยี่ยมเยียน Teotihuacan เมื่อหลายศตวรรษมาแล้วหลังจากที่มันถูกทิ้งร้าง และให้ชื่อมันว่า " Pyramid of the Sun "
ซึ่งเป็นชื่อเดิมของปิรามิดที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกที่ตอนนั้นยังไม่เป็นที่รู้จัก สำหรับเมือง Teotihuacan ที่เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดครั้งหนึ่งถูกเรียกว่า
City of the Gods และมีผู้คนอาศัยอยู่กว่า 200,000 คน แต่นักวิจัยแทบไม่รู้เลยว่าคนเหล่านี้เป็นใครและทำไมจึงหายไปอย่างไร้ร่องรอย
ปัจจุบัน INAH ยังคงทำการวิจัยในพื้นที่นี้ และเมื่อไม่นานมานี้ก้มีการพบอุโมงค์ใต้ดินใต้พีระมิดแห่งดวงจันทร์ที่อยู่ใกล้ ๆ ด้วย ซึ่งจากการใช้เทคโนโลยี
ความต้านทานไฟฟ้า พวกเขาสามารถทำแผนที่อุโมงค์ได้โดยไม่ทำลายพื้นที่รอบๆ
Cr.https://mymodernmet.com/serpentine-mask-pyramid-sun-teotihuacan/ Jessica Stewart