แม่ค้าก๊วยเตี๋ยว โวย ‘คนละครึ่ง’ เงินเข้าไม่ครบ โอด 80 ก็เงิน เตือนร้านค้า ตรวจสอบบัญชี!
https://www.matichon.co.th/region/news_2563584
แม่ค้าก๊วยเตี๋ยว โวย ‘คนละครึ่ง’ เงินเข้าไม่ครบ โอด 80 ก็เงิน เตือนร้านค้า ตรวจสอบบัญชี!
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากแม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยวแห่งหนึ่งในตัว อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ว่าอยากทราบคำตอบจากรัฐบาล หลังจากเงินอีกครึ่งของรัฐบาลโอนให้ไม่ครบ
จากการตรวจสอบ พบเป็นร้านก๋วยเตี๋ยวชื่อ “
เจ๊อ๋า” ใกล้กับสี่แยกยืนยง และตลาดสดเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ โดย น.ส.
ณทชา อยู่ประพัต อายุ 45 ปี เจ้าของร้าน ได้นำสลิปเงินที่ได้รับจากการโอนเงินมาเป็นหลักฐาน
น.ส.
ณทชา กล่าวว่า ปกติจะตรวจสอบทุกวัน ว่าเงินจะโอนเข้ามาตอนไหน เพราะขายของค่อนข้างยาก ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ และยอมรับว่าโครงการนี้ช่วยพยุงผู้ประกอบการและประชาชน ต่างได้รับประโยชน์ แต่เมื่อมาตรวจเช็ค พบว่า เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา วันนั้นมีคนใช้บริการคนละครึ่งของทางร้าน เป็นจำนวน 440 บาท ซึ่งปกติเงินครึ่งแรกจะเข้าบัญชีหลังเที่ยงคืน ไปจนถึงตอนเช้า และเงินอีกครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นเงินส่วนของรัฐบาลที่จะโอนให้ ประมาณช่วงเย็นของวันเดียวกัน
“
ปรากฏว่า เงินยอดแรกที่เข้ามาเมื่อเวลา 03.07 น. (22 ม.ค.) เข้ามา 220 บาท จากยอดขายได้ 440 บาท ถือว่าตรง จากนั้นเมื่อเวลา 16.28 น.ของวันเดียวกัน กลับมียอมเงินโอนซึ่งเป็นเงินส่วนของรัฐบาล เข้ามาเพียง 140 บาท ขาดไป 80 บาท”
ตอนแรกคิดว่าน่าจะมีการผิดพลาดและน่าจะโอนเข้าซ้ำ แต่เมื่อรอมาหลายวัน ไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดๆ จึงมั่นใจว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นอย่างแต่นอน แต่ไม่รู้ว่าจะไปเรียกร้องกับใคร
น.ส.
ณทชา กล่าวด้วยว่า ส่วนตัวคิดว่า เงินจำนวน 80 บาทที่หายไป เป็นเรื่องเล็ก สำหรับคนรวยทั่วไป แต่สำหรับยุคนี้ เงินจำนวนนี้จะกินข้าวได้ 2 มื้อ และสิ่งสำคัญคือ อยากรู้ว่า “
เงินจำนวนนี้หายไปไหน” และเกิดความผิดพลาดได้อย่างไร จึงขอแจ้งเตือนร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ตรวจสอบบัญชีของตัวเอง และอยากจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบ และหาแนวทางการแก้ไข เพราะหากแม่ค้าทั้งประเทศไทยได้รับเงินโอนที่ไม่ครบตามจำนวนเหมือนกันกับตนเอง จะเป็นเงินเท่าไหร่ และเงินจำนวนที่หายไป “
อยู่ตรงไหน”
ตุนเงินแจกตรุษจีนแผ่ว ธปท.คาดมีการเบิกจ่าย 28,000 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6
https://www.matichon.co.th/economy/news_2563739
ตุนเงินแจกตรุษจีนแผ่ว ธปท.คาดมีการเบิกจ่าย 28,000 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6
นาย
สมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีน เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งความต้องการใช้ธนบัตรของประชาชนอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกตินั้น
ธปท. ได้พิจารณาปัจจัยทางเศรษฐกิจ รวมถึงสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งมีผลกระทบต่อการใช้จ่ายของประชาชน โดยประมาณการว่าธนาคารพาณิชย์จะมีการเบิกจ่ายธนบัตรจาก ธปท. ในช่วงสองสัปดาห์ก่อนเทศกาลตรุษจีนเพิ่มขึ้นจากการเบิกจ่ายปกติ เป็นมูลค่าสุทธิประมาณ 28,000 ล้านบาท ซึ่งลดลงประมาณร้อยละ 6 จากปีก่อน เนื่องจากประชาชนยังมีความกังวลในการใช้จ่าย ประกอบกับภาคการท่องเที่ยวที่ยังชะลอตัว รวมถึงแนวโน้มการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ ธปท. ได้เตรียมสำรองธนบัตรชนิดราคาต่าง ๆ เพื่อรองรับความต้องการไว้อย่างเพียงพอ
ไม่ผ่าน! "เราชนะ" ใช้ฐานเงินเดือนปีภาษี'62
https://news.thaipbs.or.th/content/301115
เสียงสะท้อน "เราชนะ" หว่านเงินไม่ครบกลุ่มคนละครึ่ง เที่ยวด้วยกัน เจอใช้ฐานเงินเดือนปี 62 รายได้เกิน 300,000 บาท แต่ปี 63 ตกงานหมดสิทธิ วอนเยียวยาทุกกลุ่ม แม้แต่บริษัทเองก็คือผู้ได้รับผลกระทบ เพราะไม่มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
วันนี้ (5 ก.พ.2564) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากวันแรกที่โครงเราชนะ ได้เริ่มโอนเงินให้กลุ่มแรก ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห้งรัฐงวดแรกจำนวน 1,000 บาทจากวงเงินเยียว 7,000 บาท พร้อมทั้งเปิดให้กลุ่มประชาชนที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลโครงการคนละครึ่ง และเทียวด้วยกัน ผ่านทาง www.เราชนะ .com เท่านั้น เพื่อตรวจสอบสิทธิเงินเยียวยา เพื่อให้แสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ.–8 มี.ค.2564 และสามารถตรวจสอบผลการทบทวนสิทธิ์ได้ทางเว็บไซต์เช่นเดียวกัน
แต่ในโลกออนไลน์พูดถึงประเด็นการใช้เกณฑ์เยียวยาสำหรับกลุ่มคนละครึ่ง และเที่ยวด้วยกันจำนวนมาก เนื่องจากพบว่ามีการใช้เกณฑ์ฐานเงินเดือนปี 2562 คือต้องมีรายได้ไม่เกิน 300,000 บาท ขณะที่บางคนก็ไม่มีประกันสังคม เนื่องจากออกจากงานและตกงานในช่วงนี้
ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์หญิงอายุ 30 ปีที่ตกงานหลังจากออกจากบริษัทมาเกือบ 1 ปีและประกอบอาชีพค้าขาย ซึ่งได้สิทธิคนละครึ่ง ยอมรับว่าผิดหวังที่ลองเช็กสถานะแล้ว ถูกคัดกรองออกด้วยเงื่อนไขที่มีเงินรายได้ปี 62 เกิน 300,000 บาท เป็นเกณฑ์ที่ไม่ได้ยึดหลักเงินได้ในปัจจุบัน ซึ่งตอนนั้นโรค COVID-19 ยังไม่ได้ระบาดมาก ทุกคนยังใช้ชีวิตปกติ มีงานมีเงินใช้ แต่ปี 63 โรคระบาดมากคนตกงาน ว่างงานเยอะ
“
เชื่อว่าหลายคนก็เจอปัญหานี้เป็นช่วงตกงานคาบเกี่ยวกับปีที่ COVID-19 ระบาด บางคนมีอาชีพค้าขาย แต่รายได้ไม่แน่ไม่นอน ก็หวังว่าจะได้รับเงินเยียวยามาบรรเทาความเดือดร้อนค่าครองชีพ”
แม่ค้า-บริษัท คนตกงานเพียบ
แหล่งข่าวระบุว่า อยากรัฐควรพิจารณาหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงด้วย เพราะทำให้คนที่ตกงาน รายได้น้อยจากสถานการณ์โควิดได้รับผลกระทบกันปี 63 ดังนั้นถ้าจะเอาเกณฑ์ปี 62 มาเป็นเกณฑ์ในการให้เงิน คิดว่าไม่เป็นธรรมกับคนจำนวนมากเช่นกัน
ขณะที่ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์จากเรื่องเงินรายได้เกิน 300,000 บาทจากปีภาษี 62 ระบุว่า อยากให้รัฐเยียวยาททุกคน เพราะว่าผลกระทบหมด แม้แต่ผู้บริหาร ก็มีผลกระทบ เพราะไม่มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ งานก็ลด แต่ยังต้องจ่ายค่าใช้จ่ายเท่าเดิม และมองว่าคนที่แบกรับภาวะผลกระทบ COVID-19 ที่สุดคือ บริษัทด้วย เพราะคนที่สามารถยื่นมาตรา 33 ได้ คือผู้มีประกันสังคม และต้องมีเงินต่ำกว่า 500,000 ถือว่าไม่ยุติธรรม กับคนทำมาหากินที่ต้องเลี้ยงลูกน้องอีก
ก่อนหน้านี้กระทรวงการคลัง เคยชี้แจงเกณฑ์เยียวยาเราชนะ สำหรับกลุ่มคนละครึ่งและเราเที่ยวด้วยกันดังนี้ กลุ่มผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 300,000 บาท หลังจากที่ประชาชนทั่วไปลงทะเบียนแล้ว ทางกระทรวงการคลังจะตรวจสอบว่าท่านได้มีการยื่นแบบแสดงรายได้การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ หากยื่นก็จะดูว่ามีรายได้ก่อนหักค่าลดหย่อนเกิน 300,000 บาท หรือไม่ และกลุ่มผู้มีเงินฝากรวมทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท หากไม่เกินและมีคุณสมบัติอื่นครบก็จะได้สิทธิรับเงินเยียวยา 3,500 บาท
JJNY : โวย‘คนละครึ่ง’เงินเข้าไม่ครบ│ตุนเงินแจกตรุษจีนแผ่ว│ไม่ผ่าน!"เราชนะ"│เชื่อทุจริต-ละเลยต้นเหตุบ่อน!│อ.คนพิการยื่น
https://www.matichon.co.th/region/news_2563584
แม่ค้าก๊วยเตี๋ยว โวย ‘คนละครึ่ง’ เงินเข้าไม่ครบ โอด 80 ก็เงิน เตือนร้านค้า ตรวจสอบบัญชี!
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากแม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยวแห่งหนึ่งในตัว อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ว่าอยากทราบคำตอบจากรัฐบาล หลังจากเงินอีกครึ่งของรัฐบาลโอนให้ไม่ครบ
จากการตรวจสอบ พบเป็นร้านก๋วยเตี๋ยวชื่อ “เจ๊อ๋า” ใกล้กับสี่แยกยืนยง และตลาดสดเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ โดย น.ส.ณทชา อยู่ประพัต อายุ 45 ปี เจ้าของร้าน ได้นำสลิปเงินที่ได้รับจากการโอนเงินมาเป็นหลักฐาน
น.ส.ณทชา กล่าวว่า ปกติจะตรวจสอบทุกวัน ว่าเงินจะโอนเข้ามาตอนไหน เพราะขายของค่อนข้างยาก ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ และยอมรับว่าโครงการนี้ช่วยพยุงผู้ประกอบการและประชาชน ต่างได้รับประโยชน์ แต่เมื่อมาตรวจเช็ค พบว่า เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา วันนั้นมีคนใช้บริการคนละครึ่งของทางร้าน เป็นจำนวน 440 บาท ซึ่งปกติเงินครึ่งแรกจะเข้าบัญชีหลังเที่ยงคืน ไปจนถึงตอนเช้า และเงินอีกครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นเงินส่วนของรัฐบาลที่จะโอนให้ ประมาณช่วงเย็นของวันเดียวกัน
“ปรากฏว่า เงินยอดแรกที่เข้ามาเมื่อเวลา 03.07 น. (22 ม.ค.) เข้ามา 220 บาท จากยอดขายได้ 440 บาท ถือว่าตรง จากนั้นเมื่อเวลา 16.28 น.ของวันเดียวกัน กลับมียอมเงินโอนซึ่งเป็นเงินส่วนของรัฐบาล เข้ามาเพียง 140 บาท ขาดไป 80 บาท”
ตอนแรกคิดว่าน่าจะมีการผิดพลาดและน่าจะโอนเข้าซ้ำ แต่เมื่อรอมาหลายวัน ไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดๆ จึงมั่นใจว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นอย่างแต่นอน แต่ไม่รู้ว่าจะไปเรียกร้องกับใคร
น.ส.ณทชา กล่าวด้วยว่า ส่วนตัวคิดว่า เงินจำนวน 80 บาทที่หายไป เป็นเรื่องเล็ก สำหรับคนรวยทั่วไป แต่สำหรับยุคนี้ เงินจำนวนนี้จะกินข้าวได้ 2 มื้อ และสิ่งสำคัญคือ อยากรู้ว่า “เงินจำนวนนี้หายไปไหน” และเกิดความผิดพลาดได้อย่างไร จึงขอแจ้งเตือนร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ตรวจสอบบัญชีของตัวเอง และอยากจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบ และหาแนวทางการแก้ไข เพราะหากแม่ค้าทั้งประเทศไทยได้รับเงินโอนที่ไม่ครบตามจำนวนเหมือนกันกับตนเอง จะเป็นเงินเท่าไหร่ และเงินจำนวนที่หายไป “อยู่ตรงไหน”
ตุนเงินแจกตรุษจีนแผ่ว ธปท.คาดมีการเบิกจ่าย 28,000 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6
https://www.matichon.co.th/economy/news_2563739
ตุนเงินแจกตรุษจีนแผ่ว ธปท.คาดมีการเบิกจ่าย 28,000 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6
นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีน เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งความต้องการใช้ธนบัตรของประชาชนอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกตินั้น
ธปท. ได้พิจารณาปัจจัยทางเศรษฐกิจ รวมถึงสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งมีผลกระทบต่อการใช้จ่ายของประชาชน โดยประมาณการว่าธนาคารพาณิชย์จะมีการเบิกจ่ายธนบัตรจาก ธปท. ในช่วงสองสัปดาห์ก่อนเทศกาลตรุษจีนเพิ่มขึ้นจากการเบิกจ่ายปกติ เป็นมูลค่าสุทธิประมาณ 28,000 ล้านบาท ซึ่งลดลงประมาณร้อยละ 6 จากปีก่อน เนื่องจากประชาชนยังมีความกังวลในการใช้จ่าย ประกอบกับภาคการท่องเที่ยวที่ยังชะลอตัว รวมถึงแนวโน้มการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ ธปท. ได้เตรียมสำรองธนบัตรชนิดราคาต่าง ๆ เพื่อรองรับความต้องการไว้อย่างเพียงพอ
ไม่ผ่าน! "เราชนะ" ใช้ฐานเงินเดือนปีภาษี'62
https://news.thaipbs.or.th/content/301115
เสียงสะท้อน "เราชนะ" หว่านเงินไม่ครบกลุ่มคนละครึ่ง เที่ยวด้วยกัน เจอใช้ฐานเงินเดือนปี 62 รายได้เกิน 300,000 บาท แต่ปี 63 ตกงานหมดสิทธิ วอนเยียวยาทุกกลุ่ม แม้แต่บริษัทเองก็คือผู้ได้รับผลกระทบ เพราะไม่มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
วันนี้ (5 ก.พ.2564) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากวันแรกที่โครงเราชนะ ได้เริ่มโอนเงินให้กลุ่มแรก ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห้งรัฐงวดแรกจำนวน 1,000 บาทจากวงเงินเยียว 7,000 บาท พร้อมทั้งเปิดให้กลุ่มประชาชนที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลโครงการคนละครึ่ง และเทียวด้วยกัน ผ่านทาง www.เราชนะ .com เท่านั้น เพื่อตรวจสอบสิทธิเงินเยียวยา เพื่อให้แสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ.–8 มี.ค.2564 และสามารถตรวจสอบผลการทบทวนสิทธิ์ได้ทางเว็บไซต์เช่นเดียวกัน
แต่ในโลกออนไลน์พูดถึงประเด็นการใช้เกณฑ์เยียวยาสำหรับกลุ่มคนละครึ่ง และเที่ยวด้วยกันจำนวนมาก เนื่องจากพบว่ามีการใช้เกณฑ์ฐานเงินเดือนปี 2562 คือต้องมีรายได้ไม่เกิน 300,000 บาท ขณะที่บางคนก็ไม่มีประกันสังคม เนื่องจากออกจากงานและตกงานในช่วงนี้
ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์หญิงอายุ 30 ปีที่ตกงานหลังจากออกจากบริษัทมาเกือบ 1 ปีและประกอบอาชีพค้าขาย ซึ่งได้สิทธิคนละครึ่ง ยอมรับว่าผิดหวังที่ลองเช็กสถานะแล้ว ถูกคัดกรองออกด้วยเงื่อนไขที่มีเงินรายได้ปี 62 เกิน 300,000 บาท เป็นเกณฑ์ที่ไม่ได้ยึดหลักเงินได้ในปัจจุบัน ซึ่งตอนนั้นโรค COVID-19 ยังไม่ได้ระบาดมาก ทุกคนยังใช้ชีวิตปกติ มีงานมีเงินใช้ แต่ปี 63 โรคระบาดมากคนตกงาน ว่างงานเยอะ
“เชื่อว่าหลายคนก็เจอปัญหานี้เป็นช่วงตกงานคาบเกี่ยวกับปีที่ COVID-19 ระบาด บางคนมีอาชีพค้าขาย แต่รายได้ไม่แน่ไม่นอน ก็หวังว่าจะได้รับเงินเยียวยามาบรรเทาความเดือดร้อนค่าครองชีพ”
แม่ค้า-บริษัท คนตกงานเพียบ
แหล่งข่าวระบุว่า อยากรัฐควรพิจารณาหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงด้วย เพราะทำให้คนที่ตกงาน รายได้น้อยจากสถานการณ์โควิดได้รับผลกระทบกันปี 63 ดังนั้นถ้าจะเอาเกณฑ์ปี 62 มาเป็นเกณฑ์ในการให้เงิน คิดว่าไม่เป็นธรรมกับคนจำนวนมากเช่นกัน
ขณะที่ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์จากเรื่องเงินรายได้เกิน 300,000 บาทจากปีภาษี 62 ระบุว่า อยากให้รัฐเยียวยาททุกคน เพราะว่าผลกระทบหมด แม้แต่ผู้บริหาร ก็มีผลกระทบ เพราะไม่มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ งานก็ลด แต่ยังต้องจ่ายค่าใช้จ่ายเท่าเดิม และมองว่าคนที่แบกรับภาวะผลกระทบ COVID-19 ที่สุดคือ บริษัทด้วย เพราะคนที่สามารถยื่นมาตรา 33 ได้ คือผู้มีประกันสังคม และต้องมีเงินต่ำกว่า 500,000 ถือว่าไม่ยุติธรรม กับคนทำมาหากินที่ต้องเลี้ยงลูกน้องอีก
ก่อนหน้านี้กระทรวงการคลัง เคยชี้แจงเกณฑ์เยียวยาเราชนะ สำหรับกลุ่มคนละครึ่งและเราเที่ยวด้วยกันดังนี้ กลุ่มผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 300,000 บาท หลังจากที่ประชาชนทั่วไปลงทะเบียนแล้ว ทางกระทรวงการคลังจะตรวจสอบว่าท่านได้มีการยื่นแบบแสดงรายได้การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ หากยื่นก็จะดูว่ามีรายได้ก่อนหักค่าลดหย่อนเกิน 300,000 บาท หรือไม่ และกลุ่มผู้มีเงินฝากรวมทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท หากไม่เกินและมีคุณสมบัติอื่นครบก็จะได้สิทธิรับเงินเยียวยา 3,500 บาท