การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้มีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น มีการแข่งขันที่สูงขึ้น รวมไปถึงมีการเปลี่ยนแปลงของโลกการทำงานที่ตามมา เชื่อว่าหลายคนคงอยากรู้ว่าแล้วตลาดแรงงานในตอนนี้เป็นยังไงกันแน่ คนหางานเปลี่ยนแปลงไปในทางไหน ดังนั้นวันนี้ JobThai Tips จะพาไปไขข้อข้องใจพร้อมกับบอกเคล็ดลับดี ๆ จากพี่เดือน หรือคุณแสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ COO & Co-founder ของ JobThai กันค่ะ
COVID-19 สร้างจุดเปลี่ยนทั้งเศรษฐกิจ พฤติกรรมในการใช้ชีวิต และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงาน
ภาพรวมของการหางานในปี 2563 ที่ผ่านมา ต้องบอกว่าปกติช่วงต้นปีทั้งคนหางาน และบริษัทที่หาคนจะมีจำนวนเยอะ แต่พอเกิด Lockdown ก็ทำให้เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 63 ประกาศงานลดลง ซึ่งเดือนเมษายน 63 ลดเยอะมากที่สุดถึง 18.6% แต่หลังจากคลาย Lockdown แล้ว ประกาศงานค่อย ๆ กลับมาเพิ่มมากขึ้น แต่อัตราการเปิดรับก็ยังไม่สูงเหมือนเมื่อก่อน ส่วนภาพรวมการประกาศรับสมัครงานตลอดทั้งปี เมื่อดึงข้อมูลออกมาจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน มีตำแหน่งงานทั้งหมด 346,357 อัตรา ซึ่งลดลงจากปีก่อน โดยบริษัทเองยังชะลอการรับคนเพิ่มอยู่ ดังนั้นตำแหน่งที่เปิดรับอยู่เหล่านี้ก็จะมีอัตราการแข่งขันที่สูงขึ้นกว่าปีก่อน ๆ ด้วย
พอการแข่งขันสูงขึ้น การคัดคนเข้าทำงานก็เข้มข้นขึ้น องค์กรจะมองหาคนเก่ง เชี่ยวชาญในตำแหน่งที่ตัวเองสมัคร และนอกจากรู้ลึกในตำแหน่งงานแล้ว ยังต้องรู้กว้าง หรือมีทักษะหลากหลาย ต้องเป็นคนที่ทำให้องค์กรแข่งขันได้มากขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ซึ่งผลกระทบของ COVID-19 ยังทำให้พฤติกรรม การหางาน สัมภาษณ์งาน และรูปแบบการทำงานเปลี่ยนไปด้วย บริษัทและคนหางานก็ต้องมีการเปลี่ยนวิธีการหางานสมัครงาน ที่เห็นได้ชัดเลยคือมีการสัมภาษณ์งานออนไลน์มากขึ้น อย่าง JobThai เองก็มีบอกเลยว่าตำแหน่งงานไหนสัมภาษณ์ออนไลน์ได้บ้าง และสิ่งเหล่านี้น่าจะกลายเป็นเรื่องคุ้นชินในอนาคตอีกด้วย
ในช่วง COVID-19 หลายบริษัทมีวิธีการทำงานที่เปลี่ยนไป รวมถึงสวัสดิการบางอย่างที่เพิ่มขึ้นและถูกลดลง JobThai เองก็อยากรู้ว่าการทำงานในช่วง COVID-19 ของบริษัทต่าง ๆ มีการปรับตัวยังไง จึงทำ Survey เกี่ยวกับเรื่องของการทำงานในช่วงที่ COVID-19 เกิดการระบาด
ความกังวลในการหางานใหม่ อันดับที่หนึ่งหนีไม่พ้นเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจ และการแข่งขันในตลาดแรงงานที่สูงขึ้น
เป็นเรื่องปกติที่คนอยากหางานใหม่ จะมีความกังวลในการหางานอยู่ ซึ่งผลสำรวจก็พบว่าเรื่องที่คนหางานกังวล 5 อันดับมีดังนี้
อันดับ 1: เรื่องวิกฤตเศรษฐกิจ 72.57%
อันดับ 2: การแข่งขันในตลาดแรงงานที่สูงขึ้น 66.30%
อันดับ 3: ความสามารถในการสื่อสารภาษาต่างประเทศไม่เพียงพอ 59.90
อันดับ 4: ทักษะความสามารถของตนเองอาจมีไม่เพียงพอ 56.99%
อันดับ 5: เรื่องประสบการณ์ในการทำงานไม่เพียงพอ 55.68%
เด็กจบใหม่ได้เปรียบคนทำงานตรงที่มีความกระตือรือร้นและไฟแรง สามารถเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่ และสายงานที่เปิดรับเด็กจบใหม่มากที่สุดคือ งานขาย
โอกาสในการหางานของเด็กจบใหม่ก็ยังมีอยู่ เพราะจากแบบสำรวจพบว่ามีองค์กรเปิดรับนักศึกษาจบใหม่ประมาณ 53.3% ซึ่งสิ่งที่ทำให้องค์กรสนใจรับนักศึกษาจบใหม่เพราะพวกเขามีข้อได้เปรียบบางอย่างที่เหนือกว่าคนที่มีประสบการณ์แล้วหรือย้ายสายงาน ได้แก่
1. มีความกระตือรือร้น ไฟแรง 64.06%
2. ตำแหน่งงานเป็นระดับปฏิบัติการ ไม่ต้องการประสบการณ์มาก 63.82%
3. ต้องการความคิดสร้างสรรค์จากคนรุ่นใหม่ 59.45%
4. ปรับตัวได้ง่ายกว่าคนที่มีประสบการณ์แล้ว 49.08%
5. เงินเดือนไม่สูงเท่าคนทำงานที่มีประสบการณ์แล้ว 49.08%
อย่างไรก็ตาม ถึงจะมีข้อได้เปรียบตามที่บอกไป แต่ก็ต้องมีทักษะที่เพียงพอด้วยถึงจะได้งานทำ ซึ่งทักษะที่องค์กรใช้พิจารณานักศึกษาจบใหม่เข้าร่วมงานมีดังนี้
1. ความสามารถในการเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่ 66.13%
2. ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น 59.22%
3. การสื่อสาร และการถ่ายทอดข้อมูล 55.99%
4. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) 54.15%
5. ความสามารถในการวิเคราะห์ ประเมิน และวิพากษ์สิ่งต่าง ๆ (Critical Thinking) 44.01%
COVID-19 เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลง และความท้าทายในการทำงาน รวมถึง Culture ขององค์กร
New Normal ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่ามันคือเรื่องใหม่ที่จะกลายเป็นเรื่องปกติ เมื่อ COVID-19 เข้ามามันทำให้เราเกิดความเปลี่ยนแปลงแบบปุบปับขึ้นก็จริง แต่มันก็มาพร้อมกับความท้าทายใหม่ ๆ ในโลกการทำงาน ซึ่ง New normal ที่รู้สึกได้ชัด ๆ ก็คือ Work from Home ทำงานผ่านระบบ Online ทำให้ต้องเกิดการปรับตัว การเรียนรู้ เลือกใช้เครื่องมือ และการสื่อสารที่แตกต่างจากการสื่อสารในออฟฟิศ ส่วนฝั่ง HR เองก็ต้องมามองหาแนวทางที่จะเอามาใช้งานในการมอนิเตอร์พนักงาน บริหารจัดการข้อมูลพนักงานให้ได้เหมือนที่ทำตอนพนักงานเข้าไปทำงานในออฟฟิศ
อีกหนึ่งผลกระทบโดยตรงกับบริษัทคือเรื่อง Culture เพราะถ้าเราไม่สามารถเข้ามาทำงานด้วยกันได้ 100% สวัสดิการหรือกิจกรรมบางอย่างก็ต้องลดหรือเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ ทำให้อาจส่งผลกระทบกับความรู้สึก และความเป็นอยู่ในองค์กรของพนักงาน ซึ่งหลังจากนี้จะมีวิธีการยังไงที่จะเป็นการสร้าง Culture ให้พนักงานรับรู้และเข้าใจ Core Value ของบริษัท ให้พนักงานมีประสบการณ์ที่ดีเหมือนแต่ก่อน และสามารถสร้าง Employer Branding ที่ดีเพื่อดึงดูดคนให้เข้ามาสมัครกับบริษัทได้ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ HR และผู้บริหารอาจจะต้องกลับมาพิจารณากันใหม่อีกครั้งว่าจะกำหนดแนวทางการทำงานออกมาเป็นแบบไหน
นอกจากนี้พี่เดือนยังได้พูดถึงประเด็นอื่น ๆ อีกมากมายสามารถไปฟังกันแบบเต็ม ๆ ได้ที่ Oh My Job! Podcast EP.6: ตลาดงานยังดีอยู่ไหม คนหางานปีนี้เป็นยังไง และแนวโน้มโลกการทำงานในปี 2021
คลิก
ตลาดงานยังดีอยู่ไหม คนหางานเป็นยังไงกันบ้าง?
COVID-19 สร้างจุดเปลี่ยนทั้งเศรษฐกิจ พฤติกรรมในการใช้ชีวิต และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงาน
ภาพรวมของการหางานในปี 2563 ที่ผ่านมา ต้องบอกว่าปกติช่วงต้นปีทั้งคนหางาน และบริษัทที่หาคนจะมีจำนวนเยอะ แต่พอเกิด Lockdown ก็ทำให้เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 63 ประกาศงานลดลง ซึ่งเดือนเมษายน 63 ลดเยอะมากที่สุดถึง 18.6% แต่หลังจากคลาย Lockdown แล้ว ประกาศงานค่อย ๆ กลับมาเพิ่มมากขึ้น แต่อัตราการเปิดรับก็ยังไม่สูงเหมือนเมื่อก่อน ส่วนภาพรวมการประกาศรับสมัครงานตลอดทั้งปี เมื่อดึงข้อมูลออกมาจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน มีตำแหน่งงานทั้งหมด 346,357 อัตรา ซึ่งลดลงจากปีก่อน โดยบริษัทเองยังชะลอการรับคนเพิ่มอยู่ ดังนั้นตำแหน่งที่เปิดรับอยู่เหล่านี้ก็จะมีอัตราการแข่งขันที่สูงขึ้นกว่าปีก่อน ๆ ด้วย
พอการแข่งขันสูงขึ้น การคัดคนเข้าทำงานก็เข้มข้นขึ้น องค์กรจะมองหาคนเก่ง เชี่ยวชาญในตำแหน่งที่ตัวเองสมัคร และนอกจากรู้ลึกในตำแหน่งงานแล้ว ยังต้องรู้กว้าง หรือมีทักษะหลากหลาย ต้องเป็นคนที่ทำให้องค์กรแข่งขันได้มากขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ซึ่งผลกระทบของ COVID-19 ยังทำให้พฤติกรรม การหางาน สัมภาษณ์งาน และรูปแบบการทำงานเปลี่ยนไปด้วย บริษัทและคนหางานก็ต้องมีการเปลี่ยนวิธีการหางานสมัครงาน ที่เห็นได้ชัดเลยคือมีการสัมภาษณ์งานออนไลน์มากขึ้น อย่าง JobThai เองก็มีบอกเลยว่าตำแหน่งงานไหนสัมภาษณ์ออนไลน์ได้บ้าง และสิ่งเหล่านี้น่าจะกลายเป็นเรื่องคุ้นชินในอนาคตอีกด้วย
ในช่วง COVID-19 หลายบริษัทมีวิธีการทำงานที่เปลี่ยนไป รวมถึงสวัสดิการบางอย่างที่เพิ่มขึ้นและถูกลดลง JobThai เองก็อยากรู้ว่าการทำงานในช่วง COVID-19 ของบริษัทต่าง ๆ มีการปรับตัวยังไง จึงทำ Survey เกี่ยวกับเรื่องของการทำงานในช่วงที่ COVID-19 เกิดการระบาด
ความกังวลในการหางานใหม่ อันดับที่หนึ่งหนีไม่พ้นเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจ และการแข่งขันในตลาดแรงงานที่สูงขึ้น
เป็นเรื่องปกติที่คนอยากหางานใหม่ จะมีความกังวลในการหางานอยู่ ซึ่งผลสำรวจก็พบว่าเรื่องที่คนหางานกังวล 5 อันดับมีดังนี้
อันดับ 1: เรื่องวิกฤตเศรษฐกิจ 72.57%
อันดับ 2: การแข่งขันในตลาดแรงงานที่สูงขึ้น 66.30%
อันดับ 3: ความสามารถในการสื่อสารภาษาต่างประเทศไม่เพียงพอ 59.90
อันดับ 4: ทักษะความสามารถของตนเองอาจมีไม่เพียงพอ 56.99%
อันดับ 5: เรื่องประสบการณ์ในการทำงานไม่เพียงพอ 55.68%
เด็กจบใหม่ได้เปรียบคนทำงานตรงที่มีความกระตือรือร้นและไฟแรง สามารถเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่ และสายงานที่เปิดรับเด็กจบใหม่มากที่สุดคือ งานขาย
โอกาสในการหางานของเด็กจบใหม่ก็ยังมีอยู่ เพราะจากแบบสำรวจพบว่ามีองค์กรเปิดรับนักศึกษาจบใหม่ประมาณ 53.3% ซึ่งสิ่งที่ทำให้องค์กรสนใจรับนักศึกษาจบใหม่เพราะพวกเขามีข้อได้เปรียบบางอย่างที่เหนือกว่าคนที่มีประสบการณ์แล้วหรือย้ายสายงาน ได้แก่
1. มีความกระตือรือร้น ไฟแรง 64.06%
2. ตำแหน่งงานเป็นระดับปฏิบัติการ ไม่ต้องการประสบการณ์มาก 63.82%
3. ต้องการความคิดสร้างสรรค์จากคนรุ่นใหม่ 59.45%
4. ปรับตัวได้ง่ายกว่าคนที่มีประสบการณ์แล้ว 49.08%
5. เงินเดือนไม่สูงเท่าคนทำงานที่มีประสบการณ์แล้ว 49.08%
อย่างไรก็ตาม ถึงจะมีข้อได้เปรียบตามที่บอกไป แต่ก็ต้องมีทักษะที่เพียงพอด้วยถึงจะได้งานทำ ซึ่งทักษะที่องค์กรใช้พิจารณานักศึกษาจบใหม่เข้าร่วมงานมีดังนี้
1. ความสามารถในการเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่ 66.13%
2. ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น 59.22%
3. การสื่อสาร และการถ่ายทอดข้อมูล 55.99%
4. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) 54.15%
5. ความสามารถในการวิเคราะห์ ประเมิน และวิพากษ์สิ่งต่าง ๆ (Critical Thinking) 44.01%
COVID-19 เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลง และความท้าทายในการทำงาน รวมถึง Culture ขององค์กร
New Normal ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่ามันคือเรื่องใหม่ที่จะกลายเป็นเรื่องปกติ เมื่อ COVID-19 เข้ามามันทำให้เราเกิดความเปลี่ยนแปลงแบบปุบปับขึ้นก็จริง แต่มันก็มาพร้อมกับความท้าทายใหม่ ๆ ในโลกการทำงาน ซึ่ง New normal ที่รู้สึกได้ชัด ๆ ก็คือ Work from Home ทำงานผ่านระบบ Online ทำให้ต้องเกิดการปรับตัว การเรียนรู้ เลือกใช้เครื่องมือ และการสื่อสารที่แตกต่างจากการสื่อสารในออฟฟิศ ส่วนฝั่ง HR เองก็ต้องมามองหาแนวทางที่จะเอามาใช้งานในการมอนิเตอร์พนักงาน บริหารจัดการข้อมูลพนักงานให้ได้เหมือนที่ทำตอนพนักงานเข้าไปทำงานในออฟฟิศ
อีกหนึ่งผลกระทบโดยตรงกับบริษัทคือเรื่อง Culture เพราะถ้าเราไม่สามารถเข้ามาทำงานด้วยกันได้ 100% สวัสดิการหรือกิจกรรมบางอย่างก็ต้องลดหรือเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ ทำให้อาจส่งผลกระทบกับความรู้สึก และความเป็นอยู่ในองค์กรของพนักงาน ซึ่งหลังจากนี้จะมีวิธีการยังไงที่จะเป็นการสร้าง Culture ให้พนักงานรับรู้และเข้าใจ Core Value ของบริษัท ให้พนักงานมีประสบการณ์ที่ดีเหมือนแต่ก่อน และสามารถสร้าง Employer Branding ที่ดีเพื่อดึงดูดคนให้เข้ามาสมัครกับบริษัทได้ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ HR และผู้บริหารอาจจะต้องกลับมาพิจารณากันใหม่อีกครั้งว่าจะกำหนดแนวทางการทำงานออกมาเป็นแบบไหน
นอกจากนี้พี่เดือนยังได้พูดถึงประเด็นอื่น ๆ อีกมากมายสามารถไปฟังกันแบบเต็ม ๆ ได้ที่ Oh My Job! Podcast EP.6: ตลาดงานยังดีอยู่ไหม คนหางานปีนี้เป็นยังไง และแนวโน้มโลกการทำงานในปี 2021 คลิก